พระมหาพิชัยราชรถ

ราชรถไทย

พระมหาพิชัยราชรถ เป็นราชรถที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2338 มีขนาดกว้าง 4.85 เมตร ความยาวรวมงอนรถ 18.00 เมตร (ความยาวเฉพาะตัวรถ 14.10 เมตร)[4] สูง 11.20 เมตร น้ำหนัก 13.70 ตัน ปัจจุบันใช้กำลังพลฉุดชักจากกรมสรรพาวุธทหารบก 216 นาย[5]

พระมหาพิชัยราชรถ
พระมหาพิชัยราชรถ (รหัส 9780)[1]
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2338 (จำนวน 1 องค์)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ผู้ออกแบบช่างสิบหมู่
ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทราชรถ[2]
โครงสร้างทรงบุษบก ย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาซ้อน 5 ชั้น
มิติ
ความยาว18 เมตร (เฉพาะตัวรถ 14.10 เมตร)[3]
ความกว้าง4.85 เมตร[3]
ความสูง11.20 เมตร[3]
น้ำหนัก13.70 ตัน[3]
ระยะเหตุการณ์
รุ่นต่อไปพระเวชยันตราชรถ
ราชรถน้อย

เมื่อแรกสร้างนั้นโปรดให้สร้างขึ้นเป็นราชรถขนาดใหญ่ตามโบราณราชประเพณีที่เคยมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพื่อเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกออกถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง ในปี พ.ศ. 2339 หลังจากนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2342 ก็โปรดให้อัญเชิญพระโกศทรงบนพระมหาพิชัยราชรถออกพระเมรุอีกครั้ง และนับจากนั้นพระมหาพิชัยราชรถเชิญพระโกศพระบรมศพพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าในสมัยต่อ ๆ มา

พระมหาพิชัยราชรถ ใช้ทรงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกเป็นพระองค์แรก และทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีเป็นพระองค์ล่าสุด จนถึงปัจจุบันได้มีการเชิญพระมหาพิชัยราชรถในงานพระบรมศพและพระศพต่าง ๆ แล้วจำนวน 24 ครั้ง (ไม่นับครั้งที่เชิญพระเวชยันตราชรถใช้งานแต่ให้ออกนามว่าพระมหาพิชัยราชรถในหมายกำหนดการ) นอกจากนี้ พระมหาพิชัยราชรถยังใช้เชิญพระโกศประกอบพระอิสริยยศของพระราชวงศ์ที่พระศพไม่ได้ประทับในพระโกศอีกด้วย เช่น พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ภายหลังการเชิญออกประดิษฐานพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้วก็มิได้เชิญออก แม้จะมีการบูรณปฏิสังขรณ์ด้วยการเพิ่มล้ออีก 1 ล้อ เพื่อรับน้ำหนัก และซ่อมแซมเพื่อความสวยงาม โดยมีการเชิญพระเวชยันตราชรถออกใช้การแทน[6] แต่ให้ขนานนามราชรถตามหมายกำหนดการว่าพระมหาพิชัยราชรถ จนกระทั่งในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในปี พ.ศ. 2539 จึงได้มีการบูรณะพระมหาพิชัยราชรถครั้งใหญ่โดยกรมสรรพาวุธทหารบก และเชิญออกใช้การอีกครั้งหนึ่ง

ปัจจุบันพระมหาพิชัยราชรถได้เก็บรักษาไว้ ณ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร[5]

การเชิญพระโกศพระบรมศพและพระศพ แก้

  1. พ.ศ. 2339 เชิญพระบรมโกศพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก[5]
  2. พ.ศ. 2342 เชิญพระโกศทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี ในรัชกาลที่ 1[5]
  3. พ.ศ. 2355 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช[5]
  4. พ.ศ. 2361 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์[5]
  5. พ.ศ. 2368 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[5]
  6. พ.ศ. 2369 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี[5]
  7. พ.ศ. 2376 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ[6]
  8. พ.ศ. 2380 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 3[5]
  9. พ.ศ. 2380 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี[6]
  10. พ.ศ. 2382 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระมเหสีในรัชกาลที่ 2[6]
  11. พ.ศ. 2395 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[5]
  12. พ.ศ. 2395 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในรัชกาลที่ 4[6]
  13. พ.ศ. 2405 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 4[6]
  14. พ.ศ. 2409 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว[5]
  15. พ.ศ. 2412 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[6]
  16. พ.ศ. 2424 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี[5]
  17. พ.ศ. 2429 เชิญพระโกศทรงพระบรมศพกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ [6]
  18. พ.ศ. 2437 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
  19. พ.ศ. 2443 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร[7]
  20. พ.ศ. 2454 เชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[5]
  21. พ.ศ. 2539 เชิญพระบรมโกศประกอบพระราชอิสริยยศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[5]
  22. พ.ศ. 2551 เชิญพระโกศประกอบพระอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[5]
  23. พ.ศ. 2555 เชิญพระโกศทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี[8][5]
  24. พ.ศ. 2560 เชิญพระบรมโกศประกอบพระบรมราชอิสริยยศพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[5]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ‘ราชรถ ราชยาน’ เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ ร.9, เว็บไซด์:https://www.matichon.co.th/ .วันที่ 24 ตุลาคม 2560
  2. ‘ราชรถ ราชยาน’ เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ ร.9, เว็บไซด์:www.matichon.co.th .วันที่ 24 ตุลาคม 2560
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 [https://www2.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000111603%27 ยลความงาม “พระมหาพิชัยราชรถ” ราชรถหลักที่ใช้ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย][ลิงก์เสีย], เว็บไซด์:www2.manager.co.th .8 พฤศจิกายน 2559
  4. ยลความงาม “พระมหาพิชัยราชรถ” ราชรถหลักที่ใช้ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย[ลิงก์เสีย]. ผู้จัดการออนไลน์, วันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 เวลา 15:15 น. (สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2560).
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 องค์ความรู้เกี่ยวกับพระราชพิธีพระบรมศพ - ราชรถ ราชยาน คานหาม โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร เก็บถาวร 2020-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2560).
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 พระมหาพิชัยราชรถ[ลิงก์เสีย] ข่าวสด
  7. ราชกิจจานุเบกษา, การพระศพพระเจ้ามหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร แลพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์, เล่ม ๑๗, ตอน ๔๗, ๑๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓), หน้า ๖๖๑.
  8. พระราชทานอัญเชิญพระมหาพิชัยราชรถ เก็บถาวร 2012-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,วันที่ 12 มีนาคม 2555 เวลา 16:18 น. (สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2555).

ดูเพิ่ม แก้