พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[1] พรรคเพื่อไทย ต่อมาย้ายมาเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[2]
พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ถัดไป | ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | รวมไทยสร้างชาติ |
คู่สมรส | ลดาวัลย์ เจริญประเสริฐ |
ประวัติ
แก้พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ หรือฉายา"เสี่ยลาว" เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ที่อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายคิม แซ่จึง กับนางสู่ขิม แซ่อึ้ง สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และระดับปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางลดาวัลย์ เจริญประเสริฐ (สกุลเดิม แซ่ชิ) มีบุตร 3 คน คือ นายสิทธิพงษ์ เจริญประเสริฐ นางสาวสุดารัตน์ เจริญประเสริฐ และนายวุฒิชัย เจริญประเสริฐ
การทำงาน
แก้พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ประกอบธุรกิจโรงสีข้าวในจังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมืองท้องถิ่น โดยเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ (ส.อบจ.) ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคชาติพัฒนา ต่อจากนั้นได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย
ในการจัดตั้งรัฐบาลนำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[3][4] และถูกปรับออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[5]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 36[6]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 15[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ต่อมาในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ได้ยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย และต่อมาในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
- ↑ ‘เสี่ยลาว’ ทิ้งเพื่อไทย ซบ พปชร. ยัน คดีความใน ป.ป.ช. ไม่ใช่เงื่อนไขต่อรอง
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
- ↑ "พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯครม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ ‘เสี่ยลาว’ ย้ายขั้วอีก ชิ่งเพื่อไทย ซบ”พปชร.” คาดปมโกดังที่ศรีสะเกษ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗