พรชัย อรรถปรียางกูร
พรชัย อรรถปรียางกูร (เกิด 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 5 สังกัดพรรคไทยรักไทย 2 สมัย ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
พรชัย อรรถปรียางกูร | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 5 | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (1 ปี 18 วัน) | |
คะแนนเสียง | 69,824 (69.71%) |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548 (3 ปี 365 วัน) | |
คะแนนเสียง | 39,521 (44.05%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2544–2549) พลังประชารัฐ (2561–2564, 2566–ปัจจุบัน) ไทยสร้างไทย (2564–2566) |
ประวัติ
แก้นายพรชัย เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายศักดิ์ชัย กับนางไข่แก้ว อรรถปรียางกูร สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาพาณิชยกรรม จากวิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ เมื่อปี พ.ศ. 2520 ระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชี จากวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2524 และระดับปริญญาโท สาขาต้นทุน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2530[1]
การทำงาน
แก้นายพรชัย อรรถปรีบางกูร เข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 39,521 คะแนน มากกว่าคู่แข่งสำคัญอย่างนายพงศ์ประยูร ราชอาภัย นักแสดงละครทางช่อง 7 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าของพื้นที่เดิม 5 สมัย ในสังกัดพรรคความหวังใหม่[2][3] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ยังได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในพื้นที่เดิม
ในปี พ.ศ. 2549 นายพรชัย เป็นนักการเมืองคนหนึ่งที่ถูกจับเชิญตัวไปสอบสวนในกรณีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก แต่ก็ได้รับการปล่อยตัวในภายหลัง เนื่องจากเจ้าตัวให้เหตุผลว่าเข้าใจผิดว่ามีการยกเลิกประกาศแล้ว[4] ช่วงหลังเหตุการณ์ทางการเมืองในปี พ.ศ. 2549 นายพรชัย จึงวางมือทางการเมืองชั่วคราว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ประกาศตัวลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชารัฐ[5] และลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6] ต่อมาย้ายไปร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย
แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชารัฐอีกครั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เขต 3
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-08.
- ↑ http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
- ↑ อดีต ส.ส. ไทยรักไทยเชียงใหม่ เปิดใจ หลังถูกปล่อยตัว "คิดว่ายกเลิกคำสั่ง คปค. ฉบับที่ 15 ไปแล้ว"
- ↑ 'พลังประชารัฐ' ขึ้นเหนือ วางยุทธศาสตร์ชิงเก้าอี้ส.ส.38ที่นั่ง
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๒๑ ตอน ๒๓ ข หน้า ๓๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๑๙ ตอน ๒๑ ข หน้า ๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕