พงศ์ประยูร ราชอาภัย
พงศ์ประยูร ราชอาภัย ชื่อเล่น พงศ์ เป็นนักแสดงชาวไทย ที่มีผลงานแสดงละครโทรทัศน์สังกัดช่อง 7 และเป็นอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
พงศ์ประยูร ราชอาภัย | |
---|---|
ไฟล์:พงศ์ประยูร ราชอาภัย.jpg | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 เมษายน พ.ศ. 2496 จังหวัดเชียงใหม่ |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | สาธิกา ราชอาภัย |
ชื่อเล่น | พงศ์ |
ประวัติ
แก้พงศ์ประยูร ราชอาภัย เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2496 ที่ตำบลป่าตัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เกษตรศาสตรบัณฑิต จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2519 และเคยเป็นประธานชมรมนักศึกษาเก่าคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางสาธิกา ราชอาภัย มีบุตรชาย 2 คน คนหนึ่งเป็นนักกีฬาลีลาศทีมชาติไทย คือ ปวัตน์พงศ์ ราชอาภัย[1] อีกคนหนึ่งชื่อ ษัษฐชาคร ราชอาภัย
การทำงาน
แก้พงศ์ประยูร ราชอาภัย เคยทำงานเป็นผู้จัดการบริษัทประกันชีวิต[2] และเป็นนักแสดงละครโทรทัศน์ มีผลงานการแสดงหลายเรื่อง อาทิ
ละคร
แก้- 2537 ศิลามณี ช่อง 7
- 2538 สุดสายป่าน ช่อง 7
- 2538 คือหัตถาครองพิภพ ช่อง 7
- 2538 พระเอกเรื่องนี้ชื่ออ้ายเล็ก ช่อง 7
- 2538 ปราสาทสีขาว ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2539 ญาติกา ช่อง 7
- 2539 รัตนโกสินทร์ ช่อง 7
- 2540 นิรมิต ช่อง 7
- 2540 ภูตคนอลเวง ช่อง 7
- 2540 เงิน เงิน เงิน ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2541 กิ่งไผ่ ช่อง 7
- 2542 สาวน้อยร้อยมายา ช่อง 7
- 2542 ขุนเดช ช่อง 7
- 2542 ลูกหว้า ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2542 หนึ่งในดวงใจ ช่อง 5
- 2543 รากนครา ช่อง 7
- 2543 มรสุมแห่งชีวิต ช่อง 7
- 2543 แค่เอื้อม ช่อง 7
- 2545 พรหมพาล ช่อง 7
- 2546 แก้วตาหวานใจ ช่อง 7
- 2546 ชะชะช่า ท้ารัก ช่อง 7
- 2546 เลือดขัตติยา ช่อง 5
- 2547 รักได้ไหม ถ้าหัวใจไม่เพี้ยน ช่อง 7
- 2547 แหวนทองเหลือง ช่อง 7
- 2548 เหมราช ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2548 ค้นรัก สุดขอบฟ้า ช่อง 7
- 2548 ฟ้ากระจ่างดาว ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2550 สุภาพบุรุษชาวดิน ช่อง 7
- 2551 สายใยสวาท ช่อง 7
- 2551 ภูตแม่น้ำโขง ช่อง 7
- 2551 สู่แสงตะวัน ช่อง 7
- 2552 รอยรักรอยบาป ช่อง 7
- 2552 กุหลาบเหนือเมฆ ช่อง 7
- 2553 รักในม่านเมฆ ช่อง 7
- 2553 สาวใช้ไฮเทค ช่อง 7
- 2554 หอบรักมาห่มป่า ช่อง 7
- 2555 ปางเสน่หา ช่อง 7
- 2555 เปรตวัดสุทัศน์ ช่องจ๊ะทิงจา
- 2555 นางแบบโคกกระโดน ช่อง 7
- 2555 มาหยารัศมี ช่อง 7
- 2556 ปิ่นรัก ช่อง 7
- 2556 โดมทอง ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2557 แม่ผัวตัวร้าย สะใภ้ตัวแสบ ช่อง จ๊ะทิงจา ทีวี
- 2557 สะใภ้หัวแดง ช่อง 7
- 2557 ลูกผู้ชายพันธุ์ดี ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2558 ดั่งสวรรค์สาป ช่อง 7
- 2558 เจ้านาง ช่อง 7
- 2558 บ้านทรายทอง ช่อง 7
- 2559 ทะเลไฟ ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2560 มัสยา ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2561 พันธกานต์รัก ช่อง 7
- 2561 เพชรร้อยรัก ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2561 สายโลหิต ช่อง 7
- 2563 วิมานมนตรา ช่อง 7
- 2563 ตะวันอาบดาว ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2564 เรือนร่มงิ้ว ช่อง 8 (รับเชิญ)
- 2566 เภตรานฤมิต ช่อง 7 (รับเชิญ)
- 2567 ขวัญหล้า ช่อง 7
งานการเมือง
แก้พงศ์ประยูร ราชอาภัย เคยลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2544 เขต 5 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพื้นที่บ้านเกิดของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[3] ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนั้นพงษ์ประยูร ได้รับคะแนนถึง 26,911 คะแนน เป็นลำดับที่ 2 มากกว่าเจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าของพื้นที่เดิม[4][5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[6]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 พงศ์ประยูร ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม และสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม โดยการสนับสนุนของเจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง[7] หลังจากนั้นเขาก็ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกเลย แต่ยังมีส่วนสนับสนุนในการช่วยนางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ หาเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2556 ในนามพรรคประชาธิปัตย์
อ้างอิง
แก้- ↑ "ต้อนรับ นักกีฬาลีลาศเหรียญทอง เยี่ยมชมเขาเขียว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-17. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
- ↑ "ข่าวสังคมลูกช้าง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-03. สืบค้นเมื่อ 2013-03-16.
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-02-21.
- ↑ http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
- ↑ "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-06-06. สืบค้นเมื่อ 2012-02-02.
- ↑ ย้อนรอยศึกเลือกตั้งเขต 5 เชียงใหม่บ้านเกิด %”ทักษิณ” พิสูจน์ฐานเสียง “เจ้าหนุ่ย”[ลิงก์เสีย]