กฎหมาย คือ กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ

นิยาม แก้

พัฒนาการของกฎหมาย แก้

ในการที่มนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ย่อมต้องเผชิญความขัดแย้งและกระทบกระทั่งกันเองซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่สงบได้ ดังนั้น เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยของสังคม จึงจำต้องมีกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติของสมาชิกแห่งสังคม กฎเกณฑ์ประเภทนี้ได้แก่กฎหมายซึ่งเป็นเครื่องควบคุมพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และระเบียบข้อบังคับ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม กับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม กฎหมายจึงนับเป็นการควบคุมทางสังคม (อังกฤษ: social control) อย่างหนึ่ง[1] ซึ่งบางแห่งก็เรียกกฎหมายว่าเป็น "ปทัสถานทางสังคม" หรือ "บรรทัดฐานของสังคม" (อังกฤษ: social norms)

ในเมื่อกฎหมายมีขึ้นเพื่อสังคมเช่นนี้ กฎหมายกับสังคมจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ดังภาษิตละตินที่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย ด้วยเหตุนั้น ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย" (ละติน: Ubi homo, ibi societas. Ubi societas, ibi ius. Ergo ubi homo, ibi ius)

การอุบัติขึ้นของกฎหมาย แก้

สังคมประกอบด้วยบุคคลแต่ละคนที่มาหลอมรวมตัวกันเป็นคณะ บุคคลเป็นหน่วยย่อยที่สุดของสังคมและมีความแตกต่างกันไปตามแต่กรณี ซึ่งการมารวมกันเป็นสังคมนี้เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม (อังกฤษ: social animal) ดังที่อริสโตเติลกล่าวว่าเพราะมนุษย์จำต้องใช้ชีวิตร่วมและมีปฏิกิริยาตอบโต้กับมนุษย์ผู้อื่น แต่อะไรเป็นตัวเชื่อมให้เกิดการรวมตัวเป็นสังคมนั้นยังเป็นสิ่งที่ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาค้นหาคำตอบอยู่ในบัดนี้[2]

นับแต่บังเกิดมนุษยชาติขึ้นมาก็พบว่ามนุษย์ไม่ได้มีชีวิตในรูปแบบตัวคนเดียวแล้ว หากจะพบว่ามนุษย์อยู่รวมกลุ่มกันเป็นสังคมและมีกิจกรรมร่วมกันหรือเพื่อกัน เช่น เพื่อล่าสัตว์ เพื่อดูแลกัน ฯลฯ หมู่คณะย่อยและแรกเริ่มที่สุดของสังคม ได้แก่ ครอบครัว ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น "สังคมปฐมภูมิ" (อังกฤษ: primary society) โดยทางวิชาการนั้นสันนิษฐานว่าครอบครัวคงเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษยชาติเลยทีเดียว และเป็นรูปแบบสากลของมนุษยชาติ ไม่ได้มีแต่ที่ใดที่หนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะสัญชาตญาณความเป็นพ่อเป็นแม่แท้ ๆ เลยที่ต้องห่วงใยลูก เกิดเป็นการอยู่ร่วมกันด้วยความใกล้ชิดและไว้วางใจกัน เกิดการเรียนรู้ว่าควรปฏิบัติอย่างไรต่อกัน กลายเป็นจุดแรกเริ่มของ "ความเป็นมนุษย์" ซึ่งสมยศ เชื้อไทย รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เป็น "รุ่งอรุณแห่งมนุษยธรรม" และเป็น "จุดเริ่มต้นแห่งศีลธรรม" ในหมู่มนุษย์[3]

จากความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างแม่กับลูก ขยายเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผัวกับเมีย พี่กับน้อง ยายกับหลาน ฯลฯ จนที่สุดก็กลายเป็นความสัมพันธ์ที่เีรียก "ครอบครัว" และไปสู่ "ระบบเครือญาติ" สังคมเหล่านี้เป็นสังคมระดับพื้นฐานที่ไม่เิกิดขึ้นโดยความเผอิญและความจำเป็นตามธรรมชาติทางกายภาพและจิตใจของมนุษย์ สังคมระดับครอบครัวจึงชื่อว่่า "ระบบเกิดขึ้นเอง" (อังกฤษ: spontaneous order)

สมัยกฎหมายชาวบ้าน แก้

สมัยกฎหมายนักกฎหมาย แก้

สมัยกฎหมายเทคนิค แก้

บ่อเกิดของกฎหมาย แก้

"...ในภาษาลาติน...คำว่า "fons" หมายถึง แหล่งที่น้ำำุ่พุ่งขึ้นมา บ่อเกิดของกฎหมายจึงเป็นคำที่ใช้เปรียบเทียบให้เห็นภาพพจน์ว่า ถ้าเราจะไปหาน้ำจะต้องไปหาที่แหล่งของน้ำหรือบ่อน้ำก็จะได้น้ำ ทำนองเดียวกัน เมื่อเกิดปัญหาว่าใครถูกใครผิดในการพิจารณาคดีหรือข้อพิพาท ผู้ตัดสินคดีหรือชี้ขาดข้อพิพาทก็จะต้องไปหากฎหมายมาตัดสิน มีปัญหาว่าจะไปหากฎหมายที่ไหน คำตอบก็คือ จะต้องไปหาที่บ่อเกิดของกฎหมาย..."
สมยศ เชื้อไทย[4]
รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บ่อเกิดของกฎหมาย (อังกฤษ: source of law; เยอรมัน: rechtsquelle; ละติน: juris fons หรือ juris fontes) คือ แหล่งที่กฎหมายกำเนิดขึ้นมา หรือคือที่มาของกฎหมาย เรียกได้ว่าเป็นบิดาหรือมารดาของกฎหมาย ถ้าผู้ตัดสินคดีหรือชี้ขาดข้อพิพาทไม่รู้จักที่มาของกฎหมาย ก็ไม่อาจหากฎหมายใช้เพื่อการนั้นได้

มโนทัศน์ แก้

บ่อเิกิดของกฎหมายจะหมายเอาว่าเป็นสิ่งใดนั้น ขึ้นอยู่กับมโนทัศน์ของแต่ละบุคคล ซึ่งกรณีเช่นนี้สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่นักนิติศาสตร์อย่างยิ่ง โดยสามารถพิจารณาได้ดังนี้[5] [6]

1. แง่ประวัติศาสตร์ หมายเอา "ต้นตอทางประวัติศาสตร์" (อังกฤษ: historical source) ของกฎหมาย กล่าวคือ ว่ากันตามแง่ประวัติศาสตร์แล้วจะพิจารณาว่ากฎหมายมาจากไหนและมีความเป็นมาเยี่ยงไร เช่น มาตรา 4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย มาจากมาตรา 1 ประมวลกฎหมายแพ่งแห่งสวิตเซอร์แลนด์ รวมถึุงจะสืบสาวราวเรื่องต่อไปว่าที่มาของกฎหมายฉบับหนึ่งมีความเป็นมาอย่างไรอีกทอดหนึ่ง เช่น จากตัวอย่างดังกล่าวจะสืบสาวต่อไปว่า มาตรา 1 ประมวลกฎหมายแำพ่งแห่งสวิตเซอร์แลนด์ มาจากมาตรา 157 และมาตรา 242 ประมวลกฎหมายแพ่งแห่งเยอรมัน เป็นต้น ในกรณีนี้ บ่อเกิดของกฎหมายคือที่มาของกฎหมายหรือความเป็นมาของกฎหมาย เป็นความหมายตามที่คนทั่วไปเข้าใจกัน หาใช่ความหมายทางนิติศาสตร์ไม่

2. แง่นิติปรัชญา หมายเอา "ต้นตอทางปรัชญา" (อังกฤษ: philosophical source) ของกฎหมาย เป็นการมองกฎหมายในแง่ปรัชญาและแนวความคิดที่แฝงอยู่ในกฎหมาย ซึ่งผลแห่งการมองนี้อาจแตกต่างกันได้ตามแต่ละแนวคิด เป็นต้นว่า สำนักกฎหมายธรรมชาติว่า เหตุผลอันเป็นสิ่งที่อยู่ในความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์เรานั้นเป็นบ่อเกิดและต้นตอของกฎหมาย ส่วนสำนัีกประวัติศาสตร์ เช่น ฟรีดริช คาร์ล ฟอน ซาฟิจนือ (เยอรมัน: Friedrich Carl von Savigny) นักนิติศาสตร์ชาวเยอรมัน อธิบายว่า ความรู้ผิดชอบชั่วดีอันเป็นอุปนิสัยของสมาชิกทั่วไปในแต่ละสังคมเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ขณะที่ทางฝ่ายสำนักกฎหมายบ้านเมืองเห็นว่า กฎหมายมีอำนาจบังคับได้เพราะเกิดขึ้นจากการสั่งชองผู้มีอำนาจ สำนักนี้จึงเห็นว่าบ่อเกิดของกฎหมายคือรัฏฐาธิปัตย์

3. แง่นิติศาสตร์โดยแท้ หมายเิอา ลักษณะที่กฎหมายปรากฏตัว (อังกฤษ: form of existence) เนื่องจากโดยปรกติแล้ว การที่บุคคลจะกำหนดรู้สิ่งต่าง ๆ ได้นั้นต้องรู้ว่าสิ่งนั้นมีรูปลักษณ์และสภาพเป็นอย่างไรเสียก่อน เมื่อพิเคราะห์แล้วเห็นว่าสิ่งนั้นตรงกับความคิดเห็นของตนจึงสรุปชี้ขาดลงไปได้ว่าสิ่งที่พบดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่เรียกอย่างนั้นอย่างนี้ ในทางนิติศาสตร์ก็ดุจกัน การที่จะสรุปชี้ขาดว่าสิ่งไรเป็นกฎหมาย สิ่งไรมิใช่กฎหมาย บุคคลต้องรู้เสียก่อนว่ากฎหมายมีลักษณะเช่นไร สิ่งนั้นมีสภาพบังคับในสังคมอันจะสามารถนำมาใช้ตัดสินชี้ขาดคดีความหรือข้อพิพาทได้หรือไม่ อนึ่ง ทางนิติศาสตร์ยังยอมรับอีกด้วยว่า นอกเหนือข้อความที่บัญญัติไว้ให้เป็นกฎเกณฑ์อันมีสภาพบังคับแล้ว ยังมีกฎเกณฑ์อีกแบบหนึ่งซึ่งมิได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่มีสภาพบังคับในสังคมเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า บ่อเกิดของกฎหมายในแง่นิติศาสตร์ได้แก่ลักษณะที่บ่งบอกถึงความเป็นกฎหมาย หรือคือสภาพบังคับของสิ่ง ๆ นั้นนั่นเอง โดยบ่อเกิดของกฎหมายมีสองลักษณะ คือ ลักษณะเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้น และลักษณะเป็นกฎหมายที่มิได้บัญญัติขึ้น

นอกจากนี้ ด้วยมโนทัศน์ที่แตกต่างกันจึงเกิดเป็นคำถามหลายประการเกี่ยวกับบ่อเกิดของกฎหมาย โดยที่บ่อเกิดของกฎหมายในสมัยโบราณได้แก่จารีตประเพณีที่สังคมนั้น ๆ ยึดถือโดยทั่วกัน ความเคลือบแคลงใจเรื่องบ่อเกิดของกฎหมายจึงไม่เกิดขึ้น กระทั่งถึงยุคที่มีการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จึงมีผู้สงสัยว่ากฎเกณฑ์ที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นถืิอเป็นกฎหมายด้วยหรือไม่ หรือเป็นเพียงคำแนะนำทางศีลธรรมเท่านั้น[4] กับทั้งความสงสัยเรื่องบ่อเกิดแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่งคือ ใครสามารถบัญญัติกฎหมายได้ ซึ่งปัญหาเช่นนี้มีมาแต่สมัยโรมันเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว ครั้งนั้นมีการประกาศใช้กฎหมายหลายรูปแบบ ทั้งที่พระจักรพรรดิทรงบัญญัติขึ้นก็มี ที่วุฒิสภาแห่งโรมบัญญัติขึ้นก็มี และที่สภาสามัญชนแห่งโรมบัญญัติขึ้นก็มี มีการอภิปรายกันข้างกว้างขวางในจักรวรรดิโรมัน กระทั่งได้ความว่าสภาสามัญชนแห่งโรมมีอำนาจอย่างแท้จริงในการบัญญัติกฎหมายให้ใช้บังคับแก่ชาวโรม[7] เหล่านี้เป็นตัวอย่างของมโนทัศน์ที่แตกต่างกันในเรื่องบ่อเกิดของกฎหมาย

กฎหมายลายลักษณ์อักษร แก้

กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แก้

ระบบกฎหมาย แก้

ระบบกฎหมายจารีตประเพณี แก้

ระบบประมวลกฎหมาย แก้

ระบบกฎหมายศาสนา แก้

การใช้บังคับกฎหมาย แก้

นิติวิธี แก้

การใช้กฎหมาย แก้

การตีความกฎหมาย แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. สมยศ เชื้อไทย, 2551 : 41.
  2. สมยศ เชื้อไทย, 2551 : 42.
  3. สมยศ เชื้อไทย, 2551 : 43.
  4. 4.0 4.1 สมยศ เชื้อไทย, 2551 : 77.
  5. สมยศ เชื้อไทย, 2551 : 78-79.
  6. ปรีดี เกษมทรัพย์, 2520. อ้างถึงใน สมยศ เชื้อไทย, 2551 : 78.
  7. สมยศ เชื้อไทย, 2551 : 78.

อ้างอิง แก้

ภาษาไทย แก้

  • กำชัย จงจักรพันธ์. (2551). คู่มือกฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ISBN 9789749900451.
  • กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2550). คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไปว่าด้วยบุคคลธรรมดา และหลักทั่วไปว่าด้วยนิติบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : วิญญูชน. ISBN 9789742885755.
  • ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์). (2549, มีนาคม). พจนานุกรมกฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : วิญญูชน. ISBN 9742883653.
  • จิ๊ด เศรษฐบุตร. (2528). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและสัญญา เล่ม 1, (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2526 โดย จิตติ ติงศภัทิย์). กรุงเทพฯ : มิตรนราการพิมพ์. ISBN 9789744662774.
  • ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2525). กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • ดาราพร เตชะกัมพุ. (2533). หลักความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนาในสัญญา. (เอกสารประกอบการบรรยายในโครงการวิจัยเสริมหลักสูตร พ.ศ. 2533 : อัดสำเนา).
  • ปรีดี เกษมทรัพย์.
    • (2520). ความรู้พื้นฐานทางนิติศาสตร์ หรือกฎหมายแพ่ง หลักทั่วไป. กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • (2526). "หลักสุจริตคือหลักความซื่อสัตย์และความไว้วางใจ". อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ดร.สมศักดิ์ สิงหพันธ์. ม.ป.ท.
    • (2527). "การตีความกฎหมายอาญา". วารสารนิติศาสตร์, (14, 4).
    • (2531). นิติปรัชญา : Philosophy of Law. กรุงเทพฯ : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • (2538). "การใช้ การตีความกฎหมาย". วารสารนิติศาสตร์, (15, 1).
  • ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2551). คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา. (พิมพ์ครั้งที่ 13, แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : วิญญูชน. ISBN 9789742886653.
  • สมยศ เชื้อไทย.
    • (2531). "ทฤษฎีกฎหมายสามชั้นของ ดร.ปรีดี". รวมบทความในโิอกาศครบรอบ 60 ปี ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ (Essays in honour of Preedee Kasemsup / Festschrift fur Preedee Kasemsup ZUR 60 Geburtstag). กรุงเทพฯ : พี. เค. พริ้นติ้งเฮ้าส์.
    • (2551). ความรู้กฎหมายทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 15, แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : วิญญูชน. ISBN 978-974-288-659-2.
  • ราชบัณฑิตยสถาน.
    • (2543). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ISBN 9748123529.
    • (2544). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ISBN 9748123758.
    • (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
    • (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
  • ศาลฎีกา. (2550, 26 มกราคม). ระบบสืบค้นคำพิพากษาและคำสั่งคำร้องศาลฎีกา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/search.jsp> (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
  • สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  • เสริม วินิจฉัยกุล. (2477). ธรรมศาสตร์ (ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป). พระนคร : โรงพิมพ์นิติสาส์น.
  • โสภณ รัตนากร. (2521-2522). "นิติกรรม." สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, (15 : ธรรมวัตร-นิลเอก). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์.
  • หยุด แสงอุทัย. (2527). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 10). พระนคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • อักขราทร จุฬารัตน. (2531). คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์. (2551). "การเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ." ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย. มานิตย์ จุมปา, บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ISBN 9789740321316.

ภาษาต่างประเทศ แก้

  • Arangio-Ruiz V. (1984). "Istituzioni di Diritto Romano." Quattrodicesima edizione riveduta ristampata analistica. Napoli : Jovene.
  • Bianca C.M. (1984). Diritto Civile : II Contratto. Milano : Giuffré.
  • Cian G. & Trabucchi A. (1992). Commentario Breve al Codice Civíle. Padova : Cedam.
  • Pietrobon V. (n.d.). "Errore : Diritto Civile." Enciclopedia Giuridica, (Vol. XIII). Instituto della Enciclopedia Italianna fondata da Giovanni Treccani.
  • Scognamiglio R. (1961). Contratti in Generale : Trattato di Diritto Civile. Milano : Dr. Francesso Vallardi.