ในสังคมของมนุษย์ครอบครัวเป็นกลุ่มทางสังคมของผู้คนที่เกี่ยวข้องกันโดยความสัมพันธ์ทางสายเลือด (จากการให้กำเนิด) หรือโดยความสัมพันธ์ทางกฎหมายระบุ (เช่นจากการสมรสหรืออื่น ๆ) เป้าหมายของการมีครอบครัวนั้นเพื่อเป็นการคงไว้ซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีของสมาชิกและของสังคม ในเชิงอุดมคติแล้ว ครอบครัวเป็นผู้มอบความมั่นคง โครงสร้าง และความปลอดภัยให้แก่สมาชิก เพื่อที่สมาชิกได้เติบโตและมีส่วนร่วมในสังคม[1] ในสังคมส่วนใหญ่ เด็ก ๆ ได้รับความสามารถในการเข้าสังคมจากครอบครัว เพื่อใช้ในชีวิตจริงนอกครอบครัว

ประติมากรรมแสดงผู้ปกครองสองคนกับลูกหนึ่งคน ชื่อผลงาน ฟามิลี (Family) ในสวนของพาเลซออฟเนชั่นส์, เจนีวา, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปแล้วแบ่งประเภทครอบครัวออกเป็นมารดาเป็นหัวหน้าครอบครัว (Matrifocal; มารดาและลูก); บิดาเป็นหัวหน้าครอบครัว (บิดาและลูก); ครอบครัวร่วม (conjugal; สามี ภรรยา และลูก หรือเรียกว่าครอบครัวนิวเคลียส); ครอบครัวอวังคูลาร์ (avuncular เช่น ปู่ย่าตายายกับพี่น้องและลูก); หรือ ครอบครัวขยาย (extended; ผู้ปกครองและลูกอาศัยอยู่ร่วมกับสมาชิกอื่น ๆ ของครอบครัวที่เป็นอีกผู้ปกครอง)

สมาชิกของครอบครัวทางตรง (immediate family) อาจะประกอบด้วย คู่ครอง, ผู้ปกครอง, ปู่ย่าตายาย, พี่น้อง, บุตรและธิดา ส่วนวมาชิกของครอบครัวขยาย (extended family) อาจรวมถึงป้าน้าอา, ญาติ, หลาน, ลูกพี่ลูกน้อง, ลูกเขย อย่างไรก็ตามแนวคิดและขอบเขตของการจำกัดความครอบครัวชนิดต่าง ๆ นั้นมีความแตกต่างกันไป รวมถึงแตกต่างกันในระดับนิติศาสตร์[2]

สำหรับกฎหมายครอบครัวในไทย ฝ่ายชายสามารถจดทะเบียนสมรสได้แต่เฉพาะฝ่ายหญิง ซึ่งในขณะนี้มีขบวนการในการออกกฎหมายที่ส่งเสริมให้มีการสมรสระหว่างคู่รักที่มีเพศสภาพเดียวกันให้สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้(⁠ノ⁠^⁠_⁠^⁠)⁠ノอ้น

อ้างอิง แก้

  1. Donald Collins; Catheleen Jordan; Heather Coleman (2010). An Introduction to Family Social Work. Brooks/Cole, Cengage Learning. pp. 28–29. ISBN 978-0-495-80872-5.
  2. "Immediate Family Law and Legal Definition | USLegal, Inc". definitions.uslegal.com. สืบค้นเมื่อ 2020-02-04.