ปลาอะโรวาน่าเอเชีย

ปลาอะโรวาน่าเอเชีย หรือ ปลาตะพัดเอเชีย (อังกฤษ: Asian arowana) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในสกุล Scleropages (/สะ-เคอ-โอ-พา-กิส/) ในวงศ์ Osteoglossidae พบในทวีปเอเชียและทวีปออสเตรเลีย[1]

Scleropages
Scleropages jardinii
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: อันดับปลาลิ้นกระดูก
Osteoglossiformes
วงศ์: วงศ์ปลาตะพัด
Osteoglossidae
สกุล: ปลาอะโรวาน่าเอเชีย
Scleropages
Günther, 1864
ชนิดต้นแบบ
Scleropages leichardti
Günther, 1864

ถือเป็นปลาโบราณที่สืบเผ่าพันธุ์มาจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีลักษณะรูปร่างไม่ต่างจากบรรพบุรุษในยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการแยกออกจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน เมื่อกว่า 140 ล้านปีก่อน ในยุคครีเตเชียสตอนต้น[2]

ศัพทมูลวิทยา

แก้

คำว่า Scleropages มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า "σκληρός" (skleros) หมายถึง "หนัก" หรือ "ยาก, ลำบาก" และ pages สันนิษฐานว่ามาจากรากศัพท์ละติน หมายถึง "ใบไม้" หมายถึง ลักษณะของเกล็ดบนลำตัวปลาที่มีขนาดใหญ่[3]

ลักษณะและพฤติกรรม

แก้

เป็นปลาที่มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวยาว ด้านข้างแบน เกล็ดมีขนาดใหญ่เป็นระเบียบอย่างสวยงาม เกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 24 ชิ้น ตาโต ปากใหญ่เฉียงขึ้นด้านบน ฟันแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาวไปใกล้บริเวณครีบหาง สันท้องคม ครีบทุกครีบแหลมยาวโดยเฉพาะครีบอก และฉีกขาดได้ง่ายมาก มีหนวด 1 คู่อยู่ใต้คาง ขนาดโตเต็มที่ได้ยาวได้ราว 90 เซนติเมตร หนักได้ถึง 7 กิโลกรัม พฤติกรรมมักจะว่ายบริเวณริมผิวน้ำ เป็นปลากินเนื้อซึ่งอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจนแมลง, สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก ปลาโตเต็มวัยสามารถโดดงับอาหารได้สูงถึง 1 เมตร

มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มีพฤติกรรมชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียว หรือไม่ก็จับกลุ่มเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่เกิน 3-5 ตัว ในป่าดิบชื้นที่มีน้ำใสสะอาด และในบางแหล่งที่มีสภาพความเป็นกรดของน้ำ (pH) ค่อนข้างสูง เช่น ป่าพรุ

พบกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และออสเตรเลียบริเวณรัฐควีนส์แลนด์และนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีเท่านั้น

เป็นปลาที่มีสีสันหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยและพันธุกรรม ซึ่งมีทั้ง สีเงิน, สีเขียว, สีแดง, สีส้ม หรือเหลือบสีต่าง ๆ เหล่านี้ในเกล็ด โดยเฉพาะในชนิด S. formosus

การจำแนก

แก้

ปัจจุบันมีชนิดที่ได้รับการยอมรับในสกุลนี้ 4 ชนิด:

ภาพ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ที่อยู่อาศัย
  Scleropages formosus (S. Müller & Schlegel, 1840) Asian bonytongue; green arowana,[4] Asian arowana ไทย กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ คาบสมุทรมลายู
Scleropages inscriptus T. R. Roberts, 2012 [5] Myanmar bonytongue, Scripted arowana, inscriptus arowana พม่า
  Scleropages jardinii (Saville-Kent, 1892) Australian bonytongue, northern barramundi, Jardini arowana ระบบระบายน้ำอ่าวคาร์เพนแทเรีย ทางตะวันตกของแม่น้ำแอดิเลดในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ทั่วรัฐควีนส์แลนด์ตอนเหนือ และในนิวกินี
  Scleropages leichardti Günther, 1864 Spotted bonytongue/Saratoga[6] ระบบแม่น้ำฟิตซ์รอย ประเทศออสเตรเลีย

วิวัฒนาการชาติพันธุ์

แก้

ตารางวิวัฒนาการชาติพันธุ์อิงจากผลงานของ Pouyaud, Sudarto & Teugels 2003[7]

Osteoglossidae
Osteoglossum

Osteoglossum bicirrhosum



Osteoglossum ferreirai



Scleropages
(Delsmania)


Scleropages formosus (Green arowana)



Scleropages macrocephalus Pouyaud, Sudarto & Teugels 2003 (Silver Indonesian arowana)





Scleropages legendrei Pouyaud, Sudarto & Teugels 2003 (Super red/blood Indonesian arowana)



Scleropages aureus Pouyaud, Sudarto & Teugels 2003 (Indonesian/red-tailed golden arowana)




(Scleropages)

Scleropages leichardti



Scleropages jardinii






การแพร่พันธุ์และสถานะ

แก้

พฤติกรรมเมื่อเวลาผสมพันธุ์และวางไข่ ปลาตัวผู้และตัวเมียจะจับคู่กัน เมื่อได้เวลาที่ปลาตัวเมียจะออกไข่ ปลาตัวผู้จะว่ายเข้าไปผสมน้ำเชื้อ ไข่มีลักษณะเป็นลูกกลมสีส้ม ไข่ไม่จับตัวกัน ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่โดยอมไว้ในปากจนกระทั่งฟักเป็นตัว ปริมาณในการวางไข่แต่ละครั้งประมาณ 40-100 ฟอง ซึ่งอายุของปลาที่พร้อมจะผสมพันธุ์ได้นั้นอยู่ที่ประมาณ 1.5-2 ปี ลูกปลาเมื่อแรกเกิดจะยังว่ายน้ำไม่ได้ และมีถุงไข่แดงติดออกมา ซึ่งถุงไข่แดงนี้จะยุบลงในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ พร้อมกับลูกปลาที่เริ่มจะว่ายน้ำได้แล้วและเข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ

ปลาในสกุลนี้ ทุกชนิดเป็นปลาที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์แล้ว โดยมีชื่อติดอยู่ในรายชื่อบัญชีของ CITES ในบัญชีที่ 1 (Appendix I) ซึ่งผู้ที่เลี้ยง, ค้าขายหรือครอบครองต้องได้รับอนุญาตจากทางการของแต่ละประเทศซะก่อน

ปัจจุบัน มีการเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในหลายประเทศ จนกลายเป็นอุตสาหกรรมอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เช่น อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และไทย[8]

อนึ่ง ปลาชนิด S. formosus ซึ่งมีสีสันที่หลากหลายนั้นได้ถูกจัดแบ่งออกเป็นหลายชนิดในปี ค.ศ. 2003 แต่ทว่าชื่อวิทยาศาสตร์เหล่านี้ยังไม่ค่อยใช้แพร่หลายใช้กันเท่าใดนัก ได้แก่ S. aureus, S. legendrei และ S. macrocephalus[9]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2016). Species of Scleropages in FishBase. October 2016 version.
  2. Kumazawa, Yoshinori (2003). "The reason the freshwater fish arowana live across the sea". Quarterly Journal Biohistory (Winter). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2006-07-02. {{cite journal}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  3. Tyson R. Roberts (2012). "Scleropages inscriptus, a new fish species from the Tananthayi or Tenasserim River basin, Malay Peninsula of Myanmar (Osteoglossidae: Osteoglossiformes)". Aqua. 18 (2): 113–118. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 2016-02-22.
  4. van Oijen, M.J.P.; van der Meij, S.E.T. (2013). "The types of Osteoglossum formosum Müller & Schlegel, 1840 (Teleostei, Osteoglossidae)" (PDF). Zootaxa. 3722 (3): 361–371. doi:10.11646/zootaxa.3722.3.5. PMID 26171532.
  5. Roberts, T.R. (2012): Scleropages inscriptus, a new fish species from the Tananthayi or Tenasserim River basin, Malay Peninsula of Myanmar (Osteoglossidae: Osteoglossiformes). เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน aqua, International Journal of Ichthyology, 18 (2): 113-118.
  6. Pusey, B.J.; Fisher, C.; Maclaine, J. (2016). "On the nature of Scleropages leichardti Günther, 1864 (Pisces: Osteoglossidae)". Zootaxa. 4173 (1): 75–84. doi:10.11646/zootaxa.4173.1.7. PMID 27701205.
  7. Pouyaud, L.; Sudarto; Teugels, G.G. (2003). "The different colour varieties of the Asian arowana Scleropages formosus (Osteoglossidae) are distinct species: morphologic and genetic evidences". Cybium. 27 (4): 287–305.
  8. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 8-13. ISBN 974-00-8701-9
  9. Pouyaud, L. , Sudarto & G.G. Teugels 2003: The different colour varieties of the Asian arowana Scleropages formosus (Osteoglossidae) are distinct species: morphologic and genetic evidences. Cybium, 27(4): 287-305.