ปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา

เภสัชกรหญิง ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม วิทุรธรรมพิเนตุ; 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2567) เป็นเภสัชกรชาวไทย เป็นธิดาของพระยาวิทุรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันทน์) กับคุณหญิงจำรัส วิทุรธรรมพิเนตุ (สกุลเดิม ยอดมณี) จบการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อปีพ.ศ. 2499 เป็นผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกด้านเภสัชตำรับสากลและการเตรียมการทางเภสัชกรรม (WHO Expert Advisory Panel on the International Pharmacopoeia and Pharmaceutical) และประธานกรรมการมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการแพทย์ได้แก่ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข [1]อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นอกจากนี้ ยังมีบทบาทดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง โดยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ด้านชีวิตส่วนตัว ท่านผู้หญิงปรียา สมรสกับนายแพทย์ หม่อมราชวงศ์อุดมพร เกษมสันต์ ท่านผู้หญิงปรียามีบุตรสองคนได้แก่ ม.ล. อนุพร เกษมสันต์ และ ม.ล. พงศ์ธร เกษมสันต์

เภสัชกรหญิง ท่านผู้หญิง

ปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
เกิดปรียา วิทุรธรรมพิเนตุ
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2475
เสียชีวิต9 ธันวาคม พ.ศ. 2567 (92 ปี)
สัญชาติไทย
การศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยเภสัชกรรมและวิทยาศาสตร์แห่งฟิลาเดเฟีย สหรัฐอเมริกา และ ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด อังกฤษ
อาชีพเภสัชกร
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
คู่สมรสหม่อมราชวงศ์อุดมพร เกษมสันต์
บิดามารดาพระยาวิทุรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันทน์)
คุณหญิงจำรัส วิทุรธรรมพิเนต

ประวัติ

แก้

ท่านผู้หญิงปรียา เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดพระนคร เป็นธิดาของพระยาวิทุรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันทน์) กับคุณหญิงจำรัส วิทุรธรรมพิเนตุ (สกุลเดิม ยอดมณี) เข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย[2] และสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ภายหลังย้ายไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เมื่อปี พ.ศ. 2499 และศึกษาต่อในระดับปริญญามหาบัณฑิต ณ วิทยาลัยเภสัชกรรมและวิทยาศาสตร์แห่งฟิลาเดเฟีย (Philladelphia College of Pharmacy and Science) สหรัฐ ในปี พ.ศ 2504 เริ่มต้นชีวิตการทำงานราชการในฐานะนักวิทยาศาสตร์ชั้นโท กองวิเคราะห์ยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 และได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2534

ท่านผู้หญิงปรียา ได้ขยายการติดต่อกับต่างประเทศให้บุคลากรทางเภสัชกรรมมีความรู้ความชำนาญมากขึ้น จัดตั้งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขแห่งชาติ จัดทำตำรายาเล่มแรกของประเทศไทยและริเริ่มโครงการผลิตสารมาตรฐานอาเซียน และโครงการเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐานของยาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยผลงานของท่านผู้หญิงปรียาจึงได้รับความไว้วางใจดำรงตำแหน่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)[3] และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เภสัชศาสตร์จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน ปี พ.ศ. 2529

รับราชการ

แก้
  • 2518 ผู้อำนวยการกอง กองวิเคราะห์ยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • 2524 รองอธิบดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • 2528 รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • 2531 อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • 2534 เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา

ผลงานในอดีต

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
  2. อาริยา สินธุ. ๑๓๐ ปี กุลสตรีวังหลัง-วัฒนาวิทยาลัย พัฒนาการที่สร้างรากฐานอันมั่นคงของสตรีไทย. นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2595 ปีที่ 50 ประจำวัน อังคาร ที่ 13 กรกฎาคม 2547 เก็บถาวร 2005-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
  3. สารสภาเภสัชกรรม เก็บถาวร 2009-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕๙, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓