ปริญญา จินดาประเสริฐ

ศาสตราจารย์ ปริญญา จินดาประเสริฐ (เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2494) เป็นนักวิชาการชาวไทยในตำแหน่งศาสตราจารย์ มีผลงานวิจัยที่โดดเด่นในด้านเถ้าลอยและจีโอโพลิเมอร์ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี พ.ศ. 2558[1] ได้รับทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ประจำปี 2561[1] และได้ปรากฏในรายชื่อของนักวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่นของโลก World’s Top 2% Scientists ในปี พ.ศ. 2564[2] ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น คนที่ 8 สองวาระ ในระหว่าง (พ.ศ. 2538-2546) และได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาพในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 7 (2539–2543)[3]


ปริญญา จินดาประเสริฐ

เกิด30 สิงหาคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
ศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแทสเมเนีย
มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์
มีชื่อเสียงจากเถ้าลอย
จีโอโพลิเมอร์
รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ (2558)[1]
ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น (2561)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาวิศวกรรมโยธา
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปัจจุบันเป็นกรรมการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และราชบัณฑิตของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ประวัติ

แก้

ศาสตราจารย์ ปริญญา เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ที่กรุงเทพมหานคร จบมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และได้รับทุนโคลอมโบ ศึกษาต่อในด้านวิศวกรรมโยธาที่มหาวิทยาลัยแทสเมเนียในระดับปริญญาตรี และศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ในสาขาวัสดุคอนกรีต ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก[4]

ภายหลังจบการศึกษาในระดับปริญญาเอกในปี พ.ศ. 2523 ได้รับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้เริ่มตำแหน่งบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิชาการ (พ.ศ. 2526–2528) ต่อมาได้รับเลือกให้เป็น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2528–2535) 2 วาระ หลังจากนั้น ได้ดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน (พ.ศ. 2535–2538) ก่อนที่จะดำรงตำแหน่ง อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 วาระ ในระหว่าง พ.ศ. 2535–2542

ในระหว่างที่เป็นอธิการบดี ในปี พ.ศ. 2539 ได้ดำรงตำแหน่งรองประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) พร้อมทั้งได้รับเลือกให้เป็น สมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 7 ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2539–2543[3] คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและพลังงาน วุฒิสภา (พ.ศ. 2539–2543) เลขานุการคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและพลังงาน วุฒิสภา (พ.ศ. 2539–2543) ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร และ กรรมการสรรหา ปปช. กกต. คตง. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. 2541 ประธานเครือข่ายจีโอโพลิเมอร์ไทย (พ.ศ 2548–ปัจจุบัน) กรรมการตำแหน่งทางวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ (พ.ศ. 2550–2555) กรรมการสภามหาวิทยาลัยพะเยา (พ.ศ. 2553 -2557)[5]

ในปี พ.ศ. 2558 ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[1] และได้รับทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ประจำปี 2561[1] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 11 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และประธานคลัสเตอร์วิจัยวัสดุหน้าที่พิเศษขั้นสูง มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยยังคงเป็นกรรมการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และราชบัณฑิตของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ผลงานวิจัย

แก้

ศาสตราจารย์ ปริญญา จินดาประเสริฐ มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง โดยเริ่มต้นงานวิจัยด้านนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2523 นับตั้งแต่เริ่มทำงานที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะเถ้าลอย และจีโอโพลิเมอร์ โดยเน้นในด้านวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และวัสดุซีเมนต์ผสมวัสดุนาโนในการทำวัสดุฉลาดและเก็บกักพลังงาน โดยมีผลงานที่ถูกนำไปอ้างอิงในวารสารนานาชาติ มากกว่าจำนวน 14,400 ครั้ง ปรากฏในฐานข้อมูล SCOPUS โดยมีดัชนี h-index ที่ค่า 62[6] โดยผลงานด้านเถ้าลอย และจีโอโพลิเมอร์ ได้รับการจัดอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 ของโลกในฐานะนักวิจัยที่มีผลกระทบต่อวงการวิจัยในด้านนี้ตามการจัดอันดับของไมโครซอฟท์ แอคาเดมิก [7][8] ปรากฏในรายชื่อของนักวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่นของโลก World’s Top 2% Scientists ในปี พ.ศ. 2564 ที่จัดอันดับโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดร่วมกับบริษัทแอ็ลเซอเฟียร์[2]

ในปี พ.ศ. 2554 ศาสตราจารย์ ปริญญา จินดาประเสริฐ ได้รับเลือกให้เป็นเมธีวิจัยอาวุโส สกว.ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2554–2560[1] และยังได้รับเลือกให้เป็น ศาสตราภิชาน บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด[1] ถึง 3 วาระอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554–2561 คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทดโนโลยี (พ.ศ. 2546–2548) รองประธานสมาคมคอนกรีตไทย (พ.ศ. 2547–2552) Vice-President ACI-Thailand Chapter (พ.ศ. 2547–2552) ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการวิจัย ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบบริหารจัดการคุณภาพงานวิจัย บัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (พ.ศ. 2547) ผู้อำนวยการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ UBICO สกอ. (พ.ศ. 2549–2550) หลังจากนั้น ใน พ.ศ. 2556 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสถาน สำนักวิทยาศาสตร์[4] ถัดจากนั้น ใน ปี พ.ศ. 2557 ได้รับเลือกจาก จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[1] และในปี พ.ศ. 2558 ได้รับรางวัล Thomson Reuters Thailand Frontier Researcher Award และรางวัล Toray Foundation Thailand: Science and Technology Award[1] และในปี พ.ศ. 2561 ได้ทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [1]

นอกจากนี้ได้เป็นบรรณาธิการ วารสารวิจัย มข (พ.ศ. 2551–2554) และ บรรณาธิการ Engineering and Applied Science Research (EASR) หรือ ในชื่อเดิมคือ วิศวกรรมสาร มข (พ.ศ. 2551–ปัจจุบัน) ในประเทศไทยได้เป็นผู้ประเมินบทความสำหรับลงในวารสารทางวิชาการ (ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, อุบลราชธานี และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย) ผู้ประเมินบทความในการประชุมวิชาการด้านคอนกรีตและวัสดุ ที่ปรึกษาคณะกรรมการวิชาการ สาขาวิศวกรรมโยธา ว.ส.ท.ที่ปรึกษาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ปริญญาโทและเอก (ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยรังสิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยศรีนครินทราวิโรฒ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)[5] ส่วนในระดับนานาชาติ ศาสตราจารย์ ปริญญา เป็น Academic editor ให้กับ Journal of Scientific Research and Reports (ตั้งแต่ พ.ศ. 2556), และ Technical Committee on Establishment of Construction and Quality Control Standards for Performance–based Design of Porous Concrete ให้กับ Japan Concrete Institute และยังอยู่ในกองบรรณาธิการ (Editorial board) วารสารระดับนานาชาติ ได้แก่ Engineers , KMUTNB International Journal of Applied Science and Technology และได้เป็นผู้ประเมินให้กับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคจิ ประเทศญี่ปุ่นและ ผู้ประเมินผลงานวิจัยของสถาบันคารีโปล ประเทศอิตาลี

ผลงานด้านอื่น

แก้

ศาสตราจารย์ ปริญญา จินดาประเสริฐ ได้เคยดำรงตำแหน่งบริหารสำคัญภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ กรรมการสภาสถาบันราชภัฎมหาสารคาม (พ.ศ. 2535–41, 44–47) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (กม.) (พ.ศ. 2545–2548) คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) (พ.ศ. 2545–46, 2550–2554) กรรมการสภาสมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม (พ.ศ. 2548–2552) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (กพอ.) (พ.ศ. 2548–2554) กรรมการสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (พ.ศ. 2550–2552) และ ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของ กพอ (พ.ศ. 2553–2555)[5]

ในระหว่าง พ.ศ 2554–2558 ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน[4] และในช่วงเวลาเดียวกัน ก็ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (พ.ศ. 2554–2562)[5]

รางวัลที่ได้รับ

แก้

ศาสตราจารย์ ปริญญา จินดาประเสริฐ ได้รับรางวัลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาสังคมในระดับประเทศ จำนวน 16 รางวัล ดังนี้ เหรียญทองการพัฒนาแหล่งน้ำดีเด่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2534, กลุ่มนักเทคโนโลยีดีเด่น ปี 2545 เรื่องการพัฒนาการใช้เถ้าลอยลิกไนต์ไทย จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูถัมภ์, รางวัลข้าราชการดีเด่นศรีมอดินแดง รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ พ.ศ. 2546, รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นพ.ศ. 2547, 49, 51, 52, 53, 54, รางวัลเหรียญทองศาสตราจารย์ วิทยา เพียรวิจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2550, คนดีคู่สังคม รายการ “คนดีคู่สังคม” UBC พ.ศ. 2550, รางวัลอาจารย์ดีเด่นของ ปอมท. ประจำปี 2552 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับเงิน ประจำปี 2553 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับทอง ประจำปี 2555 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รางวัล นักวิจัยที่มีผลงานด้านการวิจัยดีเลิศ พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับเพชร ประจำปี 2556 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รางวัลพระธาตุพนมทองคำ พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยขอนแก่น[9], รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2557 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย สภาวิจัยแห่งชาติ[1], รางวัลนักวิจัยดีเด่นสารสิน ประจำปี 2558 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รางวัล Thomson Reuters Thailand Frontier Researcher Award และ รางวัล Toray Foundation Thailand: Science and Technology Award ประจำปี 2558[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ตำราและผลงานทางวิชาการที่คัดมา

แก้
  • Pacheco-Torgal, F; Labrincha, J; Leonelli, C; Palomo, A; Chindaprasit, P (2014). Handbook of Alkali-Activated Cements, Mortars and Concretes. Elsevier Science. ISBN 978-1-78242-276-1.
  • Pacheco-Torgal, F; Lourenco, Paulo B.; Labrincha, J; Kumar, S; Chindaprasit, P (2014). Eco-efficient Masonry Bricks and Blocks: Design, Properties and Durability. Woodhead Publishing. ISBN 978-1-78242-305-8.
  • ปริญญา จินดาประเสริฐ (2006). เถ้าลอยในงานคอนกรีต (3 (ฉบับปรับปรุง) ed.). ศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ISBN 974-93960-4-9.
  • อุบลรัตน์ รัตนศักดิ์; ปริญญา จินดาประเสริฐ (2011). เถ้าแกลบในงานคอนกรีต. Science and Engineering. ISBN 978-974-235-591-3.
  • ปริญญา จินดาประเสริฐ (2012). ปูนซีเมนต์ ปอซโซลาน และคอนกรีต (5 ed.). สมาคมคอนกรีตไทย. ISBN 978-974-13-3051-5.
  • ปริญญา จินดาประเสริฐ (2012). ทฤษฎีและการทดสอบ คอนกรีตเทคโนโลยี. แองเกิ้ลออฟไซ. ISBN 978-616-90816-6-1.

อ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 สกว. ประกาศเชิดชูเกียรติ อดีตอธิการบดี มข. “ศ.ดร.ปริญญา” เป็นศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ประจำปี 61. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  2. 2.0 2.1 August 2021 data-update for "Updated science-wide author databases of standardized citation indicators". Elsevier BV: Research Data.
  3. 3.0 3.1 รายชื่อวุฒิสภาชุดที่ ๗ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๓๙) เก็บถาวร 2021-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
  4. 4.0 4.1 4.2 ประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ. สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "ประวัติ ศ.ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ". จดหมายเหตุมหาวิทยาลัย. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2016. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  6. SCOPUS Author Profile : Prinya Chindaprasirt. Scopus. Elsevier.
  7. "Fly ash". Microsoft Academic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ 2021-12-19. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  8. "Geopolymer". Microsoft Academic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ 2021-12-19. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  9. รางวัลพระธาตุพนมทองคำ. KKU Archive.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณอันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๙๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๖๒ ข หน้า ๒, ๑๗ กันยายน ๒๕๖๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๑๕๕, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า ปริญญา จินดาประเสริฐ ถัดไป
ศาสตราจารย์ นายแพทย์
วันชัย วัฒนศัพท์
  อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
(20 กันยายน พ.ศ. 2538 – 19 กันยายน พ.ศ. 2541)
  (รักษาการแทนอธิการบดี)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์
สุชาติ อารีมิตร
(รักษาการแทนอธิการบดี)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์
สุชาติ อารีมิตร
  อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 – 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เภสัชกร
สุมนต์ สกลไชย