ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ

ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ (ญี่ปุ่น: 新千歳空港โรมาจิชินชิโตเซะ คูโก, อังกฤษ: New Chitose Airport), (IATA: CTSICAO: RJCC) เป็นท่าอากาศยานนานาชาติของจังหวัดฮกไกโด เปิดบริการเมื่อปี ค.ศ. 1991 ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองชิโตเซะและโทมาโกไม[3] ให้บริการด้านการคมนาคมทางอากาศสำหรับนครซัปโปโระ ซึ่งจัดว่าเป็นท่าอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในฮกไกโด

ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ

新千歳空港

Shin-Chitose Kūkō
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานกระทรวงคมนาคมญี่ปุ่น
บริษัท ฮกไกโดแอร์พอร์ตเทอร์มินัล จำกัด
พื้นที่บริการซัปโปโระ
ชิโตเซะ
ที่ตั้งชิโตเซะ และ โทมาโกไม
เหนือระดับน้ำทะเล70 ฟุต / 21.3 เมตร
พิกัด42°46′31″N 141°41′33″E / 42.77528°N 141.69250°E / 42.77528; 141.69250
แผนที่
CTSตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
CTS
CTS
ที่ตั้งของสนามบินชิโตเซะ ในญี่ปุ่น
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
01R/19L 9,847 3,000 ยางมะตอย/คอนกรีต
01L/19R 9,847 3,000 ยางมะตอย/คอนกรีต
18R/36L[1] 8,860 2,700 คอนกรีต
18L/36R[1] 9,847 3,000 ยางมะตอย
สถิติ (2015)
จำนวนเที่ยวบิน (2015)141,612
ผู้โดยสารทั้งหมด (2015)20,461,531
ที่มา: Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism (Japan)[2]
ซุปเปอร์เลาจ์ ภายในสนามบิน

อาคารผู้โดยสารภายในประเทศและต่างประเทศมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมและอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศแห่งใหม่อยู่ด้านหลังอาคารผู้โดยสารครึ่งวงกลม ซึ่งอาคารผู้โดยสารภายในประเทศมี 18 ประตู ในขณะที่อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศมี 6 ประตู

ในปี ค.ศ. 2005 ท่าอากาศยานชินชิโตเซะจัดว่าเป็นสนามบินที่มีผู้ใช้บริการมากเป็นอันดับ 3 ของญี่ปุ่น รองจาก นาริตะ และ ฮาเนดะ และถือเป็นอันดับที่ 64 ของโลก[4] และเส้นทางการบินระหว่าง ชิโตเซะ − โตเกียว ฮาเนะดะ ด้วยระยะทาง 894 กิโลเมตร ก็จัดว่าเป็นเส้นทางที่มีผู้โดยมากที่สุดของโลก ด้วยจำนวนผู้โดยสาร 8.8 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2010[5]


สายการบินและปลายทาง

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง อาคารผู้โดยสาร
แอร์เอเชียเจแปน โตเกียว-นาริตะ [ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2012][6] ในประเทศ
แอร์ไชนา ปักกิ่ง-แคปิตัล ระหว่างประเทศ
ออล นิปปอน แอร์เวย์ ฟุกุโอกะ, ฮาโกดาเตะ, โคเบะ, คุชิโระ, เมมัมเบสึ, นาโงยะ-เซ็นแทรร์, นากาชิเบสึ, โอซากะ-อิตามิ, โอซากะ-คันไซ, เซ็นได, โตเกียว-ฮาเนดะ, โตเกียว-นาริตะ, วักกาไน
ตามฤดูกาล: มาสึยามะ, โอกายามะ, ริชิริ
ในประเทศ
คาเธ่ย์แปซิฟิค ฮ่องกง ระหว่างประเทศ
ไชนาแอร์ไลน์ ไต้หวัน-เถายฺเหวียน ระหว่างประเทศ
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เซี่ยงไฮ้-ปูตง ระหว่างประเทศ
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ ต้าเหลี่ยน ระหว่างประเทศ
Eastar Jet โซล-อินชอน ระหว่างประเทศ
อีวีเอแอร์ ไต้หวัน-เถายฺเหวียน ระหว่างประเทศ
Fuji Dream Airlines ชินชุ-มาสึโมโตะ, ชิซุโอกะ ในประเทศ
Hawaiian Airlines โฮโนลูลู [ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2012][7] ระหว่างประเทศ
สายการบินนานาชาติฮกไกโด ฟุกุชิมะ, โคมาสึ, นีงาตะ, เซ็นได, โตเกียว-ฮาเนดะ, โทยามะ ในประเทศ
ฮ่องกงแอร์ไลน์ ตามฤดูกาล: ฮ่องกง ระหว่างประเทศ
ฮ่องกงเอ็กซเพรส ฮ่องกง ระหว่างประเทศ
เจแปนแอร์ไลน์ อากิตะ, อาโอโมริ, ฟุกุโอกะ, อิวาเตะ-ฮานามากิ, ฮิโรชิมะ, โคเบะ, เมมัมเบสึ, นาโงยะ-เซ็นแทรร์, โอซากะ-อิตามิ, โอซากะ-คันไซ, เซ็นได, โตเกียว-ฮาเนดะ, โตเกียว-นาริตะ, ยามางาตะ ในประเทศ
Jetstar Japan โตเกียว-นาริตะ [ตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2012] ในประเทศ
จินแอร์ โซล-อินชอน ระหว่างประเทศ
โคเรียนแอร์ ปูซาน, โซล-อินชอน ระหว่างประเทศ
Peach โอซากะ-คันไซ ในประเทศ
SAT Airlines ยุชโน-ซาฮาลิน
ตามฤดูกาล: กาบารอฟ
ระหว่างประเทศ
Skymark Airlines อาซาฮิกาวะ, โคเบะ, นาโงยะ-เซ็นแทรร์, โอซากะ-คันไซ,[8] โตเกียว-ฮาเนดะ, โตเกียว-นาริตะ ในประเทศ
ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ กรุงเทพ-ดอนเมือง ระหว่างประเทศ
การบินไทย กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ ระหว่างประเทศ
UNI Air เกาสฺยง ระหว่างประเทศ
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ กวม ระหว่างประเทศ

สถิติ

แก้
เส้นทางบินในประเทศตามจำนวนผู้โดยสาร ค.ศ. 2011
สนามบิน จำนวนผู้โดยสาร อันดับในประเทศ
ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว 853,000 1
ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ 104,000 18
ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ 103,000 19
ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ 53,000 39
ท่าอากาศยานเซ็นได 47,000 43
ท่าอากาศยานโคเบะ 47,000 44
ท่าอากาศยานฟุกุโอกะ 39,000 50

การคมนาคมทางบก

แก้
 
ชานชาลารถไฟเข้าเมือง ใต้อาคารผู้โดยสารในประเทศ
รถไฟ

(รถไฟด่วนถึง/จาก สถานีซัปโปโระ ใช้เวลาราว 36–39 นาที ด้วยราคา ¥1,040)

รถโดยสาร
  • รถร่วม ฮกไกโดชูโอบัส/โฮกุโตโคสึ (ซัปโปโระและโอยาชิ 4 เที่ยว/ชั่วโมง)
  • ฮกไกโดชูโอบัส (อาซาบุ 1–2 เที่ยว/ชั่วโมง, มิยาโนซาวะ 1–2 เที่ยว/ชั่วโมง)
  • โฮกุโตโคสึ (Apa Hotel & Resort 2 เที่ยว/ชั่วโมง, มารุยามะ พาร์ก ทุกชั่วโมง)
  • โดนัง บัส (โทมาโกไม 1–2 เที่ยว/ชั่วโมง, โนโบริเบสึ 3 เที่ยว/วัน, มุโรรัง 12 เที่ยว/วัน, โฮเบสึ 2 เที่ยว/วัน, อุรากาวะ 2 เที่ยว/วัน)
  • อาสึมะ บัส (อาสึมะ 3 เที่ยว/วัน)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 18R/36L และ 18L/36R เป็นส่วนหนึ่งของฐานทัพอากาศชิโตเซะ และดำเนินการโดยกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น
  2. "New Chitose Airport Briefcase" (PDF). Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2012.
  3. AIS Japan. Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism.
  4. "Total number of domestic/international passengers since the opening of New Chitose Airport". Hokkaido Airport Terminal co. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2012.
  5. 特定本邦航空運送事業者に係る情報 [Information on specified Japanese air carriers] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism.
  6. "AirAsia offers direct flights to Japan". Business Times (ภาษาอังกฤษ). The New Straits Times Press. 23 กรกฎาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2012.
  7. "Hawaiian Adds Sapporo as Fourth Japan Gateway" (Press release). Honolulu: Hawaiian Airlines. 9 พฤษภาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012.
  8. 2012年3月25日~3月31日期間の運航ダイヤについて [About the flight schedule for the period from March 25 to March 31, 2012] (PDF) (Press release). Skymark Airlines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้