ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์

(เปลี่ยนทางจาก ไทยแอร์เอเชียเอกซ์)

ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ (อังกฤษ: Thai AirAsia X) เป็นสายการบินต้นทุนต่ำระยะไกลสายการบินแรกของประเทศไทย จากการร่วมลงทุนระหว่างไทยแอร์เอเชียและแอร์เอเชียเอกซ์ โดยมีฐานการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสำนักงานใหญ่ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองในกรุงเทพมหานคร

ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์
Thai AirAsia X
IATA ICAO รหัสเรียก
XJ TAX EXPRESS WING
ก่อตั้ง18 กันยายน พ.ศ. 2556 (10 ปี)
เริ่มดำเนินงาน17 มิถุนายนยน พ.ศ. 2557 (9 ปี)
ท่าหลักท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[1]
สะสมไมล์BIG Loyalty Programme [2]
ขนาดฝูงบิน7
จุดหมาย6
บริษัทแม่บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน)[3]
สำนักงานใหญ่ไทย ท่าอากาศยานดอนเมือง ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
บุคลากรหลักธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ [4]
เว็บไซต์http://www.airasia.com

ประวัติ แก้

เริ่มให้บริการครั้งแรกในเส้นทาง กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - โซล (อินช็อน) ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557[5] และขยายเส้นทางบินสู่ประเทศญี่ปุ่น โตเกียว (นะริตะ) และ โอซะกะ (คันไซ) ในเวลาต่อมา

ด้วยกระแสการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในปี พ.ศ. 2558 จึงทำการขยายเส้นทางการบิน กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - ซัปโปะโระ (ชิโตะเซะ) และจะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 แต่เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสถานการณ์การบินของประเทศไทยกับทางองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ทำให้กรมการบินพลเรือนของประเทศญี่ปุ่น (JCAB) ได้ประกาศแจ้งไม่อนุมัติการเพิ่มความถี่และเส้นทางบินใหม่ เที่ยวบินเช่าเหมาลำ (Charter Flight) และการเปลี่ยนขนาดของอากาศยานสัญชาติไทยเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น มีผลตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558 แต่หลังจากนั้นทางสายการบินได้รับการอนุญาตจากกรมการบินพลเรือนของประเทศญี่ปุ่น ให้สามารถทำการบินได้ในเส้นทาง ซัปโปะโระ (ชิโตะเซะ) ที่จะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไปได้ ผ่านความร่วมมือของสายการบินแอร์เอเชีย เอ็กซ์ (D7) เข้ามาให้บริการแทน และได้ขอเปลี่ยนแปลงหมายเลขเที่ยวบินจาก XJ เป็น D7 เป็นการชั่วคราว แต่เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสถานการณ์การบินของประเทศไทยกับทางองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ยังไม่กลับมาสู่สภาวะปกติ จึงต้องทำการระงับการบินเป็นชั่วคราวในเส้นทาง ซัปโปะโระ (ชิโตะเซะ) ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป

หลังจากที่ให้บริการสู่ประเทศเกาหลีและประเทศญี่ปุ่นจนประสบผลสำเร็จแล้ว ในปี พ.ศ. 2559 เมื่อประเทศไทยกำลังเป็นที่นิยมจากตลาดนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน จึงได้เริ่มทำการขยายเปิดเส้นทางใหม่สู่ประเทศจีน ในเส้นทาง กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - เซี่ยงไฮ้ (ผู่ตง) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

จากนั้นในปี พ.ศ. 2559 ได้ขยายเส้นทางบินตรงสู่ภูมิภาคตะวันออกกลางในเส้นทาง กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - เตหะราน (อิหม่ามโคไมนี) ประเทศอิหร่าน เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และ กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - มัสกัต ประเทศโอมาน ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559 หลังจากนั้นไม่นานด้วยเหตุที่ตลาดนักท่องเที่ยวและการเดินทางไปท่องเที่ยวของภูมิภาคตะวันออกกลางนั้นอาจยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เส้นทาง เตหะราน ประเทศอิหร่าน จึงได้ปิดให้บริการลงในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในเวลาต่อมาไม่นานเส้นทาง มัสกัต ประเทศโอมาน ก็ได้ปิดให้บริการลงด้วยในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

และเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ทางเว็บไซต์ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้ปลดธงแดงให้กับสายการบินภายในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เส้นทาง ซัปโปะโระ (ชิโตะเซะ) จึงกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561 ล่าสุดได้เปิดเส้นทางไปยัง บริสเบน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2562

จุดหมายปลายทาง แก้

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางดังต่อไปนี้:

ประเทศ เมือง ท่าอากาศยาน หมายเหตุ อ้างอิง
ออสเตรเลีย บริสเบน ท่าอากาศยานบริสเบน ยกเลิกแล้ว [6]
เมลเบิร์น ท่าอากาศยานเมลเบิร์น ยกเลิกแล้ว [7]
ซิดนีย์ ท่าอากาศยานซิดนีย์ คิงส์ฟอร์ด สมิท
จีน หนานชาง ท่าอากาศยานนานาชาติหนานชางฉางเป่ย ยกเลิกแล้ว
เซี่ยงไฮ้ ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง
เสิ่นหยาง ท่าอากาศยานนานาชาติเสิ่นหยางเถาเซียน ยกเลิกแล้ว
เทียนจิน ท่าอากาศยานนานาชาติเทียนจินปินไห่ ยกเลิกแล้ว
โครเอเชีย ซาเกร็บ ท่าอากาศยานซาเกร็บ ยกเลิกแล้ว [8]
จอร์เจีย ทบิลีซี ท่าอากาศยานนานาชาติทบิลิซิ ยกเลิกแล้ว [9]
อิหร่าน Tehran ท่าอากาศยานนานาชาติอิหม่ามโคไมนี ยกเลิกแล้ว [10][11]
ญี่ปุ่น ฟูกูโอกะ ท่าอากาศยานฟูกูโอกะ ยกเลิกแล้ว
นาโงยะ ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ ยกเลิกแล้ว
โอซากะ ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ
ซัปโปโระ ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ ยกเลิกแล้ว
โตเกียว ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ
โอมาน มัสกัต ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต ยกเลิกแล้ว [12][11]
เกาหลีใต้ โซล ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน
ไทย กรุงเทพมหานคร ท่าอากาศยานดอนเมือง ยกเลิกแล้ว [13]
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ฐานการบิน [13]

ฝูงบิน แก้

 
แอร์บัส เอ330-300 ของไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[14]

ฝูงบินของไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
P Y รวม
แอร์บัส เอ330-300 3 12 365 377
2 367 367
1 367 367
1 18 345 363
รวม 7

ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 15.3 ปี

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Chua2022-04-26T07:13:00+01:00, Alfred. "Thai AirAsia X marks return to service with Japan, South Korea relaunch". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  2. http://www.airasia.com/th/th/big/big-loyalty.page
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-30. สืบค้นเมื่อ 2014-09-23.
  4. Bloomberg Bussinessweek: Bijleveld, CEO of Thai AirAsia
  5. [1]
  6. "Travel Advisory : Thai AirAsia X (XJ) Suspends Bangkok-Brisbane Route". 11 March 2020. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  7. "THAI AIRASIA X DISCONTINUES MELBOURNE SERVICE IN MID-2Q23". สืบค้นเมื่อ 17 July 2023.
  8. "Thai AirAsia X Schedules Airbus A330 Charter Flights to Croatia". 30 March 2020.
  9. Kvaratskheliya, Ketevan (8 October 2019). "Thai Air Asia X to Carry out Direct Bangkok-Tbilisi Flights". Georgia Today on the Web. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2 December 2019.
  10. "AirAsia X now flies direct to Tehran from Kuala Lumpur and Bangkok!" (Press release). AirAsia Group Berhad. 14 May 2016. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
  11. 11.0 11.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ me
  12. "Thai AirAsia X Celebrates Inaugural Flight to Muscat, Oman" (Press release). AirAsia Group Berhad. 29 June 2016. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
  13. 13.0 13.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ relaunch
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-16. สืบค้นเมื่อ 2014-08-31.