ที่ตั้งของโลกในเอกภพ
ที่ตั้งของโลกในเอกภพ (อังกฤษ: Earth's location in the Universe) นับตั้งแต่มนุษย์ได้เริ่มสร้างและสมมุติตำแหน่งที่ตั้งของโลกขึ้นเมื่อประมาณ 400 ปีที่แล้วจากการสังเกตการณ์ด้วยกล้องส่องทางไกล ซึ่งเริ่มมีความแพร่หลายมากในหลายศตวรรษที่ผ่านมา ในอดีตนานมาแล้วนั้นมนุษย์เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลซึ่งประกอบด้วยดาวเคราะห์, ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์หมุนรอบโลก[1] ต่อมามีการยอมรับแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางในศตวรรษที่ 17 และจากการสังเกตของนักดาราศาสตร์นามว่าวิลเลียม เฮอร์เชลได้อธิบายต่ออีกว่าดวงอาทิตย์และระบบสุริยะอยู่ในดาราจักรที่เป็นรูปแผ่นดิสก์ขนาดใหญ่[2] ในศตวรรษที่ 20 มีข้อสังเกตจากการสำรวจดาราจักรชนิดก้นหอย ซึ่งเผยให้เห็นว่าดาราจักรทางช้างเผือกของเราเป็นหนึ่งในพันล้านดาราจักรในจักรวาลที่กำลังขยายตัว[3][4] จึงมีการจัดกลุ่มกระจุกดาราจักรขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 20 จากนั้นก็มีการกำหนดเอกภพที่สังเกตได้ซึ่งเกิดจากกลุ่มกระจุกดาราจักรและช่องว่างขนาดใหญ่ (Cosmic voids) รวมกันเป็นใยเอกภพ (Galaxy filament) [5] กลุ่มกระจุกดาราจักร, ช่องว่างและใยเอกภพนั้นเป็นโครงสร้างใหญ่ ๆ ที่สามารถพบและสังเกตได้ในเอกภพ[6] โครงสร้างเหล่ามีขนาดใหญ่มาก อาจมีขนาดมากกว่า 1000 เมกะพาร์เซก[a] เอกภพนั้นจะรวมจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันซึ่งหมายความว่าทุกส่วนของเอกภพนั้นมีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นขององค์ประกอบและโครงสร้างเดียวกัน[7]
ปัจจุบันนี้มนุษย์ก็ยังไม่รู้ว่าจุดสิ้นสุดหรือขอบของเอกภพนั้นอยู่ที่ใด เนื่องจากโลกเป็นส่วนเล็ก ๆ ในเอกภพจึงไม่สามารถหาขอบของเอกภพได้จากโลก[8] เอกภพที่สังเกตได้เป็นเขตที่กำหนดขึ้นและเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเอกภพเท่านั้น เอกภพที่สังเกตได้สามารถมองเห็นได้จากโลกเพราะเป็นอาณาเขตที่เป็นผลมาจากการสังเกตการณ์บนพื้นโลก ทำให้เอกภพที่สังเกตได้มีโลกเป็นศูนย์กลาง[9]
การอ้างอิงตำแหน่งของโลกนี้เป็นเพียงการสมุติขึ้นเนื่องจากยังไม่ทราบขนาด, จุดสิ้นสุดและรูปร่างของเอกภพอย่างแน่ชัด นอกจากนี้ยังมีสมมุติฐานมากมายที่บอกว่าเอกภพนี้เป็นเพียง 1 ในหลาย ๆ พหุภพ ซึ่งสมมุติฐานนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนและเชื้อถือได้[10][11]
ชื่อ | เส้นผ่าศูนย์กลาง | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|
โลก | 12,756.2 ก.ม. (แถบเส้นศูนย์สูตร) |
วัดตามแถบเส้นศูนย์สูตรไม่นับรวมกับชั้นบรรยากาศ | [12][13][14][15] |
วงโคจรดวงจันทร์ | 768,210 ก.ม.[b] | เป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยเฉลี่ย | [16] |
สนามแม่เหล็กของโลก | 6,363,000 -12,663,000 ก.ม. | พื้นที่สนามแม่เหล็กโลกที่สามารถป้องกันลมสุริยะ | [17] |
วงโคจรโลก | 299.2 ล้านก.ม.[b] 2 หน่วยดาราศาสตร์[c] |
เส้นผ่านศูนย์กลางโดยเฉลี่ยของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ | [18] |
แถบดาวเคราะห์ชั้นใน | ~6.54 หน่วยดาราศาสตร์ | ดวงอาทิตย์ถึงแถบดาวเคราะห์น้อย | [19][20][21] |
แถบดาวเคราะห์ชั้นนอก | 60.14 หน่วยดาราศาสตร์ | ดวงอาทิตย์ถึงดาวเนปจูน | [22] |
แถบไคเปอร์ | ~96 หน่วยดาราศาสตร์ | แถบวัตถุน้ำแข็งที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ระยะทางที่เป็นจุดสิ้นสุดคือจุดที่มีการสะท้อนเสียง 2: 1 กับดาวเนปจูน | [23] |
เฮลิโอสเฟียร์ | 160 หน่วยดาราศาสตร์ | ขอบเขตสิ้นสุดของลมสุริยะและสสารระหว่างดาวเคราะห์ | [24][25] |
แถบหินกระจาย | 195.3 หน่วยดาราศาสตร์ | บริเวณที่มีแสงน้อยกระจัดกระจายอยู่รอบ ๆ แถบไคเปอร์ ครอบคลุมดาวเอริส | [26] |
เมฆออร์ต | 100,000–200,000 หน่วยดาราศาสตร์ 0.613–1.23 พาร์เซก[a] |
เป็นจุดวงโคจรของดาวหางและก้อนน้ำแข็งสกปรก มีส่วนประกอบไปด้วยน้ำแข็งคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย ฝุ่น และหินซึ่งเป็นเศษเหลือจาการสร้างดาวเคราะห์ | [27] |
ระบบสุริยะ | 1.23 พาร์เซก | นับตามเส้นผ่านศูนย์กลางระบบสุริยะโดยจุดสิ้นสุดคือจุดที่อิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์สิ้นสุดลง | [28] |
กลุ่มเมฆระหว่างดาวท้องถิ่น | 9.2 พาร์เซก | เมฆระหว่างดวงดาวเป็นก๊าซที่อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์อื่น ๆ | [29] |
ฟองท้องถิ่น | 2.82–250 พาร์เซก | ห้วงอวกาศที่ค่อนข้างโปร่งระหว่างดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์อื่น ๆ ซึ่งน่าจะเกิดจากมหานวดารา | [30][31] |
แถบกูลด์ | 1,000 พาร์เซก | วงโคจรที่ดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์อื่น ๆ กำลังโคจรอยู่ | [32] |
แขนนายพราน | 3000 พาร์เซก (ความยาว) |
แขนเกลียวของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก | [33] |
วงโครงของระบบสุริยะ | 17,200 พาร์เซก | จุดที่ระบบสุริยะโคจรรอบศูนย์กลางทางช้างเผือก ระยะเวลาโคจรอยู่ที่ระหว่าง 225 ถึง 250 ล้านปีแสง |
[34][35] |
ทางช้างเผือก | 30,000 พาร์เซก | ดาราจักรที่ดวงอาทิตย์อาศัยอยู่ | [36][37] |
กลุ่มย่อยทางช้างเผือก | 840,500 พาร์เซก | จุดที่ทางช้างเผือก และดาราจักรแคระคนยินธนู, ดาราจักรแคระหมีเล็ก เหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วง | [38] |
กลุ่มท้องถิ่น | 3 เมกะพาร์เซก | กลุ่มที่มีดาราจักร 47 ดาราจักรรวมอยู่ด้วยกันโดยมีดาราจักรใหญ่ ๆ คือดาราจักรแอนดรอเมดา, ดาราจักรสามเหลี่ยมและทางช้างเผือกที่เป็นดาราจักรแคระ | [39] |
Local Sheet | 7 เมกะพาร์เซก | กลุ่มของดาราจักรกลุ่มอื่น ๆ และกลุ่มท้องถิ่นที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็วสัมพัทธ์เดียวกันกับกลุ่มดาวหญิงสาว | [40][41] |
กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว | 30 เมกะพาร์เซก | กลุ่มใหญ่ซึ่งมีกลุ่มท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกลุ่มดาราจักรประมาณ 100 กลุ่มและกระจุกดาวรวมมาอยู่ในกลุ่มราศีกันย์ | [42][43] |
ลาเนียเคอา | 160 เมกะพาร์เซก | ประกอบด้วยกลุ่มกลุ่มท้องถิ่นและกลุ่มดาราจักรประมาณ 300 ถึง 500 กลุ่มโดยเน้นที่กลุ่มใหญ่ซึ่งก็คือกลุ่มไฮดรา - เซ็นทอรัส | [44][45][46][47] |
เอกภพที่สังเกตได้ | 28,000 เมกะพาร์เซก | ดาราจักรมากกว่า 100พันล้านดาราจักรจัดอยู่ในกระจุกดาวหลายล้านดาวที่รวมตัวเป็นเส้นใยดาราจักรที่มีช่องว่างเล็ก ๆ ระหว่างโครงสร้างและมีรูปร่างพื้นฐานคล้ายโฟม | [48][49] |
เอกภพ | ขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 28,000 เมกะพาร์เซก | อาณาเขตที่เลยออกไปจากเอกภพที่สังเกตได้อยู่ในบริเวณที่มองไม่เห็นเนื่องจากไม่มีแสงที่สามารถส่องมายังโลก | [50] |
หมายหตุ
แก้- ↑ 1.0 1.1 A parsec (pc) is the distance at which a star's parallax as viewed from Earth is equal to one second of arc, equal to roughly 206,000 AU or 3.0857×1013 km. One megaparsec (Mpc) is equivalent to one million parsecs.
- ↑ 2.0 2.1 Semi-major and semi-minor axes.
- ↑ 1 AU or astronomical unit is the distance between the Earth and the Sun, or 150 million km. Earth's orbital diameter is twice its orbital radius, or 2 AU.
อ้างอิง
แก้- ↑ Kuhn, Thomas S. (1957). The Copernican Revolution. Harvard University Press. pp. 5–20. ISBN 0-674-17103-9.
- ↑ "1781: William Herschel Reveals the Shape of our Galaxy". Carnegie Institution for Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
- ↑ "The Spiral Nebulae and the Great Debate". Eberly College of Science. สืบค้นเมื่อ 22 April 2015.
- ↑ "1929: Edwin Hubble Discovers the Universe is Expanding". Carnegie Institution for Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 22 April 2015.
- ↑ "1989: Margaret Geller and John Huchra Map the Universe". Carnegie Institution for Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 22 April 2015.
- ↑ John Carl Villanueva (2009). "Structure of the Universe". Universe Today. สืบค้นเมื่อ 22 April 2015.
- ↑ Robert P Kirshner (2002). The Extravagant Universe: Exploding Stars, Dark Energy and the Accelerating Cosmos. Princeton University Press. p. 71. ISBN 0-691-05862-8.
- ↑ Klaus Mainzer; J Eisinger (2002). The Little Book of Time. Springer. ISBN 0-387-95288-8.. P. 55.
- ↑ Andrew R. Liddle; David Hilary Lyth (13 April 2000). Cosmological inflation and large-scale structure. Cambridge University Press. pp. 24–. ISBN 978-0-521-57598-0. สืบค้นเมื่อ 1 May 2011.
- ↑ Clara Moskowitz (2012). "5 Reasons We May Live in a Multiverse". space.com. สืบค้นเมื่อ 29 April 2015.
- ↑ Kragh, H. (2009). "Contemporary History of Cosmology and the Controversy over the Multiverse". Annals of Science. 66 (4): 529–551. doi:10.1080/00033790903047725.
- ↑ "Selected Astronomical Constants, 2011". The Astronomical Almanac. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2013. สืบค้นเมื่อ 25 February 2011.
- ↑ World Geodetic System (WGS-84). Available online เก็บถาวร 2020-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from National Geospatial-Intelligence Agency Retrieved 27 April 2015.
- ↑ "Exosphere — overview". University Corporation for Atmospheric Research. 2011. สืบค้นเมื่อ 28 April 2015.
- ↑ S. Sanz Fernández de Córdoba (2004-06-24). "The 100 km Boundary for Astronautics". Fédération Aéronautique Internationale. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-22. สืบค้นเมื่อ 2014-05-07.
- ↑ NASA Moon Factsheet and NASA Solar System Exploration Moon Factsheet เก็บถาวร 2015-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน NASA Retrieved on 17 November 2008
- ↑ Koskinen, Hannu (2010), Physics of Space Storms: From the Surface of the Sun to the Earth, Environmental Sciences Series, Springer, ISBN 3-642-00310-9
- ↑ NASA Earth factsheet and NASA Solar System Exploration Earth Factsheet เก็บถาวร 2009-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน NASA Retrieved on 17 November 2008
- ↑ Petit, J.-M.; Morbidelli, A.; Chambers, J. (2001). "The Primordial Excitation and Clearing of the Asteroid Belt" (PDF). Icarus. 153 (2): 338–347. Bibcode:2001Icar..153..338P. doi:10.1006/icar.2001.6702. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-02-21. สืบค้นเมื่อ 22 March 2007.
- ↑ Roig, F.; Nesvorný, D. & Ferraz-Mello, S. (2002). "Asteroids in the 2 : 1 resonance with Jupiter: dynamics and size distribution". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 335 (2): 417–431. Bibcode:2002MNRAS.335..417R. doi:10.1046/j.1365-8711.2002.05635.x.
- ↑ M. Brož; D. Vokrouhlický; F. Roig; D. Nesvornýy; W. F. Bottke; A. Morbidelli (2005). "Yarkovsky origin of the unstable asteroids in the 2/1 mean motionresonance with Jupiter". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 359: 1437–1455. Bibcode:2005MNRAS.359.1437B. doi:10.1111/j.1365-2966.2005.08995.x.
- ↑ NASA Neptune factsheet and NASA Solar System Exploration Neptune Factsheet เก็บถาวร 2015-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน NASA Retrieved on 17 November 2008
- ↑ M. C. De Sanctis; M. T. Capria; A. Coradini (2001). "Thermal Evolution and Differentiation of Edgeworth–Kuiper Belt Objects". The Astronomical Journal. 121 (5): 2792–2799. Bibcode:2001AJ....121.2792D. doi:10.1086/320385. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-12. สืบค้นเมื่อ 28 August 2008.
- ↑ NASA/JPL (2009). "Cassini's Big Sky: The View from the Center of Our Solar System". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-09. สืบค้นเมื่อ 20 December 2009.
- ↑ Fahr, H. J.; Kausch, T.; Scherer, H.; Kausch; Scherer (2000). "A 5-fluid hydrodynamic approach to model the Solar System-interstellar medium interaction". Astronomy & Astrophysics. 357: 268. Bibcode:2000A&A...357..268F. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) See Figures 1 and 2. - ↑ "JPL Small-Body Database Browser: 136199 Eris (2003 UB313)" (2008-10-04 last obs). สืบค้นเมื่อ 21 January 2009.
- ↑ Alessandro Morbidelli (2005). "Origin and dynamical evolution of comets and their reservoir". arXiv:astro-ph/0512256.
- ↑ Littmann, Mark (2004). Planets Beyond: Discovering the Outer Solar System. Courier Dover Publications. pp. 162–163. ISBN 978-0-486-43602-9.
- ↑ Mark Anderson, "Don't stop till you get to the Fluff", New Scientist no. 2585, 6 January 2007, pp. 26–30
- ↑ DM Seifr; Lallement; Crifo; Welsh (1999). "Mapping the Countours of the Local Bubble". Astronomy and Astrophysics. 346: 785–797. Bibcode:1999A&A...346..785S.
- ↑ Tony Phillips (2014). "Evidence for Supernovas Near Earth". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-09. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
- ↑ S. B. Popov; M. Colpi; M. E. Prokhorov; A. Treves; R. Turolla (2003). "Young isolated neutron stars from the Gould Belt". Astronomy and Astrophysics. 406 (1): 111–117. arXiv:astro-ph/0304141. Bibcode:2003A&A...406..111P. doi:10.1051/0004-6361:20030680. สืบค้นเมื่อ 2 October 2009.
- ↑ Harold Spencer Jones, T. H. Huxley, Proceedings of the Royal Institution of Great Britain, Royal Institution of Great Britain, v. 38–39
- ↑ Eisenhauer, F.; Schoedel, R.; Genzel, R.; Ott, T.; Tecza, M.; Abuter, R.; Eckart, A.; Alexander, T. (2003). "A Geometric Determination of the Distance to the Galactic Center". Astrophysical Journal. 597 (2): L121–L124. arXiv:astro-ph/0306220. Bibcode:2003ApJ...597L.121E. doi:10.1086/380188.
- ↑ Leong, Stacy (2002). "Period of the Sun's Orbit around the Galaxy (Cosmic Year)". The Physics Factbook.
- ↑ Christian, Eric; Samar, Safi-Harb. "How large is the Milky Way?". สืบค้นเมื่อ 28 November 2007.
- ↑ Frommert, H.; Kronberg, C. (25 August 2005). "The Milky Way Galaxy". SEDS. สืบค้นเมื่อ 9 May 2007.
- ↑ Irwin, V.; Belokurov, V.; Evans, N. W.; และคณะ (2007). "Discovery of an Unusual Dwarf Galaxy in the Outskirts of the Milky Way". The Astrophysical Journal. 656 (1): L13–L16. arXiv:astro-ph/0701154. Bibcode:2007ApJ...656L..13I. doi:10.1086/512183.
- ↑ "The Local Group of Galaxies". University of Arizona. Students for the Exploration and Development of Space. สืบค้นเมื่อ 2 October 2009.
- ↑ Tully, R. Brent; Shaya, Edward J.; Karachentsev, Igor D.; Courtois, Hélène M.; Kocevski, Dale D.; Rizzi, Luca; Peel, Alan (March 2008). "Our Peculiar Motion Away from the Local Void". The Astrophysical Journal. 676 (1): 184–205. arXiv:0705.4139. Bibcode:2008ApJ...676..184T. doi:10.1086/527428.
- ↑ Tully, R. Brent (May 2008), "The Local Void is Really Empty", Dark Galaxies and Lost Baryons, Proceedings of the International Astronomical Union, IAU Symposium, vol. 244, pp. 146–151, arXiv:0708.0864, Bibcode:2008IAUS..244..146T, doi:10.1017/S1743921307013932
- ↑ R. Brent Tully (1982). "The Local Supercluster" (PDF). The Astrophysical Journal. 257: 389–422. Bibcode:1982ApJ...257..389T. doi:10.1086/159999. สืบค้นเมื่อ 27 April 2015.
- ↑ "Galaxies, Clusters, and Superclusters". NOVA Online. สืบค้นเมื่อ 27 April 2015.
- ↑ "Newly identified galactic supercluster is home to the Milky Way". National Radio Astronomy Observatory. ScienceDaily. 3 September 2014.
- ↑ Irene Klotz (3 September 2014). "New map shows Milky Way lives in Laniakea galaxy complex". Reuters. ScienceDaily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
- ↑ Elizabeth Gibney (3 September 2014). "Earth's new address: 'Solar System, Milky Way, Laniakea'". Nature. doi:10.1038/nature.2014.15819.
- ↑ Camille M. Carlisle (3 September 2014). "Laniakea: Our Home Supercluster". Sky and Telescope.
- ↑ Mackie, Glen (1 February 2002). "To see the Universe in a Grain of Taranaki Sand". Swinburne University. สืบค้นเมื่อ 20 December 2006.
- ↑ Lineweaver, Charles; Tamara M. Davis (2005). "Misconceptions about the Big Bang". Scientific American. สืบค้นเมื่อ 6 November 2008.
- ↑ Margalef-Bentabol, Berta; Margalef-Bentabol, Juan; Cepa, Jordi (February 2013). "Evolution of the cosmological horizons in a universe with countably infinitely many state equations". Journal of Cosmology and Astroparticle Physics. 015. 2013 (02): 015. arXiv:1302.2186. Bibcode:2013JCAP...02..015M. doi:10.1088/1475-7516/2013/02/015.