พหุภพ

ทฤษฎีของการมีอยู่ของหลายเอกภพ

พหุภพ หรือ พหุจักรวาล (อังกฤษ: multiverse, meta-universe, metaverse[1]) คือแนวคิดตามสมมติฐานว่ามีเอกภพ จำนวนมากมายนับไม่ถ้วน เกิดขึ้นและสลายไปอยู่ ตลอดเวลา (รวมถึงเอกภพของเราเป็นหนึ่งในนั้น) ซึ่งประกอบด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริงทางกายภาพ เช่น กาล อวกาศ รูปแบบทุกชนิดของสสาร พลังงาน โมเมนตัม และกฎทางฟิสิกส์รวมถึงค่าคงที่ต่างๆ ที่ครอบคลุมอยู่ ศัพท์คำนี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1895 โดยนักปรัชญาและจิตวิทยาชาวอเมริกัน วิลเลียม เจมส์[2] เอกภพอื่น ๆ ที่มีอยู่ในพหุภพ บางครั้งก็เรียกว่า เอกภพคู่ขนาน

รากฐานของแนวคิดเรื่อง พหุภพ หรืออนันตภพนี้ ยืนอยู่บนทฤษฏีทางฟิสิกส์ 3 ทฤษฎีคือ ทฤษฎี String Theory, ทฤษฎีเอกภพขยายตัว และทฤษฎีสสารมืด (Dark matters) โดยเมื่อมีทฤษฎีสสารมืด นักฟิสิกส์ คำนวณปริมาณสสารแล้วมีมากกว่าสสารทั้งเอกภพถึง สิบยกกำลังกว่า 500 ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับพหุภพที่มีผู้เสนอเอาไว้ในช่วงทศวรรษ 1970s มีความเป็นไปได้สูง

โครงสร้างของพหุภพ ธรรมชาติของแต่ละเอกภพภายในพหุภพ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกภพแต่ละแห่งมีอยู่หลายแนวทางขึ้นกับสมมุติฐานของพหุภพที่นำมาพิจารณา สมมุติฐานพหุภพมีอยู่ในการศึกษาจักรวาลวิทยา ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา และในนวนิยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนิยายวิทยาศาสตร์และแฟนตาซี ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปเช่น เอกภพคู่ขนาน โลกคู่ขนาน ความเป็นจริงคู่ขนาน มิติคู่ขนาน และอื่น ๆ อีก

สมมติฐานเกี่ยวกับพหุภพในทางฟิสิกส์

แก้

แม็กซ์ เทกมาร์ค (Max Tegmark) และ ไบรอัน กรีน (Brian Greene) ได้คิดค้นรูปแบบของการจัดหมวดหมู่ที่จะจัดจำแนกหมวดหมู่ประเภทของพหุภพประเภทต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างหลากหลายในทางทฤษฎี, หรือประเภทของเอกภพ (universe) ที่อาจประกอบด้วยจำนวนของพหุภพทั้งหมดที่มีอยู่ในทางทฏษฎี

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Laszlo, Ervin (2003). The Cennectivity Hypothesis: Fountations of an Integral Science of Quantum, Cosmos, Life, and Consciousness, p.108. State University of New York Press, Albany. ISBN 0791457850
  2. James, William, The Will to Believe, 1895; and earlier in 1895, as cited in OED's new 2003 entry for "multiverse": "1895 W. JAMES in Internat. Jrnl. Ethics 6 10 Visible nature is all plasticity and indifference, a multiverse, as one might call it, and not a universe."

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้