ดาวเอริส
136199 เอริส (Eris, สัญลักษณ์: )[1] หรือ 2003 UB313 เป็นดาวเคราะห์แคระหนึ่งในวัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) เป็นดาวเคราะห์แคระดวงใหญ่ เป็นลำดับที่ 2 ในระบบสุริยะที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน มีขนาดเล็กกว่าดาวพลูโตเล็กน้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1445 กิโลเมตร(ขนาดดาวพลูโต 1473 กิโลเมตร) มีดวงจันทร์บริวาร 1 ดวง ชื่อ ดิสโนเมีย (Dysnomia)
เอริส(กลาง) และดิสโนเมีย(ซ้าย) | |
การค้นพบ | |
---|---|
ค้นพบโดย: | ไมเคิล อี. บราวน์ และคณะ |
ค้นพบเมื่อ: | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2546 |
ชื่ออื่น ๆ: | 2003 UB313 |
ชนิดของดาวเคราะห์น้อย: | ดาวเคราะห์แคระ วัตถุพ้นดาวเนปจูน |
ลักษณะของวงโคจร | |
ต้นยุคอ้างอิง 6 มีนาคม พ.ศ. 2549 (JD 2453800.5) | |
ระยะจุดไกล ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 97.56 หน่วยดาราศาสตร์ (14.60 เทระเมตร) |
ระยะจุดใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 37.77 หน่วยดาราศาสตร์ (5.65 เทระเมตร) |
กึ่งแกนเอก: | 67.6681 หน่วยดาราศาสตร์ (10.12 เทระเมตร) |
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.44177 |
คาบดาราคติ: | 203,500 วัน (557 ปี) |
อัตราเร็วเฉลี่ย ในวงโคจร: | 3.436 กม./วินาที |
อัตราเร็วสูงสุด ในวงโคจร: | 4.126 กม./วินาที |
อัตราเร็วต่ำสุด ในวงโคจร: | 2.567 กม./วินาที |
มุมกวาดเฉลี่ย: | 197.63427° |
ความเอียง: | 44.187° |
ลองจิจูด ของจุดโหนดขึ้น: | 35.8696° |
มุมของจุด ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 151.4305° |
จำนวนดาวบริวาร: | 1 ชื่อ ดิสนอเมีย |
ลักษณะทางกายภาพ | |
เส้นผ่านศูนย์กลาง ตามแนวศูนย์สูตร: | 1200 กม. ± 50 กม. (19% ของโลก) |
มวล: | 1.6×1022กก. |
คาบการหมุน รอบตัวเอง: | >8 ชม.? |
อัตราส่วนสะท้อน: | 0.86 ± 0.07 |
อุณหภูมิ: | ประมาณ 30 K |
เอริสถูกค้นพบโดย ไมเคิล อี. บราวน์และคณะ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2005 จากภาพที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวพาโลมาร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย คณะผู้ค้นพบได้เสนอให้ตั้งชื่อดาวที่พบใหม่นี้ว่า ซีนา (Xena) ตามชื่อของละครโทรทัศน์ Xena: Warrior Princess โดยตัวอักษร X หมายถึง ดาวเคราะห์ X ที่เปอร์ซิวัล โลเวลล์ เคยเสนอไว้ และให้ดวงจันทร์บริวารของมันใช้ชื่อว่า แกเบรียลล์ (Gabrielle) แต่ไม่ได้มีการประกาศใช้ชื่อนี้อย่างเป็นทางการ
ภายหลังการค้นพบ คณะผู้ค้นพบและนาซาได้ประกาศว่าเอริสเป็น ดาวเคราะห์ดวงที่ 10 แต่จากการประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้ข้อสรุปว่าเอริสไม่จัดเป็นดาวเคราะห์ แต่เป็นดาวเคราะห์แคระ
ชื่อเอริส มาจากชื่อของเทพเจ้าแห่งความวุ่นวาย ผู้วางอุบายโดยใช้แอปเปิลทองคำ เพื่อทำให้เฮรา อาเทนา และอะโฟรไดต์ ซึ่งเป็นสามเทวีพรหมจรรย์ในบรรดาเทพแห่งโอลิมปัสแตกคอกัน เพราะว่าไม่ได้เชิญนางมางานเลี้ยงของเทพ ส่วน ดิสโนเมีย คือชื่อธิดาของเอริส
-
ภาพถ่าย 3 ภาพในระยะเวลา 3 ชั่วโมงที่ ไมเคิล อี. บราวน์ ค้นพบเอริส ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ทางซ้ายของภาพ
-
ภาพแสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูน
-
วงโคจรของเอริส (สีน้ำเงิน) และดาวเสาร์ ยูเรนัส เนปจูน และพลูโต
-
ภาพแสดงระยะห่างของเอริสจากดวงอาทิตย์
-
เอริส(กลาง) และดิสโนเมีย(ซ้าย)
-
ภาพจินตนาการของเอริส(ใหญ่สุด) ดิสโนเมีย(ข้างบนเอริส) ดวงอาทิตย์(ดาวที่จ้าที่สุดในภาพ) แอนทาเรส(ดาวสีส้มๆ อยู่ด้านซ้ายของภาพ และอาร์คตุรุส(ดาวที่จ้าที่สุดด้านซ้าย)
-
ภาพวาดจินตนาการของเอริส และดิสโนเมีย
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ↑ JPL/NASA (2015-04-22). "What is a Dwarf Planet?". Jet Propulsion Laboratory. สืบค้นเมื่อ 2022-01-19.