ทัศนัย บูรณุปกรณ์

ทัศนัย บูรณุปกรณ์ หรือชื่อเล่นว่า ไก่ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ หลานของนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์

ทัศนัย บูรณุปกรณ์
นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 – 31 มกราคม พ.ศ. 2564
ก่อนหน้าตัวเอง
ถัดไปอัศนี บูรณุปกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
4 ตุลาคม พ.ศ. 2552 – 6 กันยายน พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าเดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่
ถัดไปตัวเอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 (49 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองกิจสังคม (2542–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2567)
ก้าวไกล (2567-ปัจจุบัน)
คู่สมรสนภัส จิวะกิดาการ

ประวัติ แก้

ทัศนัย บูรณุปกรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 เป็นบุตรของนายพรทัศน์ บูรณุปกรณ์ และนางผ่องศรี บูรณุปกรณ์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และระดับปริญญาโท เศรษฐศาสตร์การเงิน มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร และปริญญาโท สาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด

ทัศนัย บูรณุปกรณ์ สมรสกับนภัส จิวะกิดาการ หรือ ฝน Teen Voice GIRL อดีตนักร้องสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

งานการเมือง แก้

ปี พ.ศ. 2543 นายทัศนัยได้สู่วงการการเมือง ด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคกิจสังคม[1] ประเภทแบ่งเขต จังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ 1 แข่งขันกับปกรณ์ บูรณุปกรณ์ จากพรรคไทยรักไทย และสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล จากพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[2][3] ต่อมา ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงใหม่ สังกัด กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม กระทั่งบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ผู้เป็นอาได้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายทัศนัยจึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ ในขณะที่นายบุญเลิศ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้จากคดีความทางการเมือง นายทัศนัย ก็ได้รักษาราชการแทนนายบุญเลิศ

การดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ แก้

สมัยที่ 1 แก้

หลังจากที่ ร้อยเอกหญิง ดร.เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีฯคนใหม่ ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552 นายทัศนัยได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนที่ชื่นชอบทักษิณ ชินวัตร โดยนายทัศนัย ได้รับเลือกมาเป็นอันดับหนึ่งด้วยคะแนนทั้งสิ้น 24,384 คะแนน ห่างจากลำดับที่สองเกือบเท่าตัว โดย กกต.กลาง ได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ต่อมา 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ทัศนัยได้แถลงข่าวลาออกจากตำแหน่ง ก่อนที่จะหมดวาระเพียงไม่ถึงเดือน เนื่องจากเขาจะเข้าอุปสมบทให้แก่อา คือนายปกรณ์ บูรณุปกรณ์ ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กันยายน [4]

สมัยที่ 2 แก้

ต่อมามีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ผลปรากฏว่านายทัศนัย ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ อีกสมัยหนึ่ง และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564 จึงพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีประกาศให้จัดการเลือกตั้งทั่วประเทศ โดยนายทัศนัย บูรณุปกรณ์ ได้ประกาศวางมือทางการเมืองหลังจากการดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 นี้เอง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2012-02-21.
  2. "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-02-21.
  3. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  4. นายกเล็กนครเชียงใหม่ประกาศลาออกก่อนหมดวาระ 3 ตุลาคม[ลิงก์เสีย] 5 กันยายน 2556. ASTVผู้จัดการออนไลน์
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๒๓, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
ก่อนหน้า ทัศนัย บูรณุปกรณ์ ถัดไป
ร้อยเอกหญิง เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่   นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
(4 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 6 กันยายน พ.ศ. 2556 (สมัยที่ 1)
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 31 มกราคม พ.ศ. 2564(สมัยที่ 2))
  อัศนี บูรณุปกรณ์