ตีรถังกร
ในแนวคิดของศาสนาเชน ตีรถังกร (สันสกฤต: tīrthaṅkara; แปลว่า ผู้ทำท่าสำหรับลุยข้ามน้ำ) คือพระผู้ช่วยให้รอด (saviour) และศาสดาผู้สั่งสอนธรรมะในศาสนาเชน คือ ทางที่ถูกที่ควร[1] คำว่า ตีรถังกร หลัก ๆ แล้วหมายถึงผู้สร้างตีรถะ[2] คือสะพานที่จะพาข้ามทะเลแห่งการเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏ) ผู้ที่นับถือศาสนาเชนถือว่าองค์ตีรถังกรนั้นเป็นบุคคลที่หายากยิ่ง ผู้สามารถก้าวข้ามสงสารคือการเวียนว่ายตายเกิดไปได้ด้วยตนเอง และยังนำพาผู้อื่นให้เชื่อและปฏิบัติตามหนทางนั้น เมื่อตีรถังกรองค์หนึ่งสามารถเข้าถึงแก่นแท้ของธรรมชาติของจิตและวิญญาณแล้ว จะเข้าถึง เกวลญาณ (ภาวะสัพพัญญู) และตีรถังกรองค์แรกคือผู้ที่รื้อฟื้นศาสนาเชนขึ้นมาอีกครั้ง การหลุดพ้นจากสัมสาระในเชน เรียกว่า โมกษะ[3][1][4]
ตีรถังกรพระนามว่าพระมาลลีนาถ (Māllīnātha) เชื่อกันว่าเป็นเป็นสตรี พระนามเดิมว่า "พระนางมัลลิ" (Malli bai) ในเศวตัมพร (Svetambara) ในขณะที่ทิคัมพร (Digambara) เชื่อว่าตีรถังกรทั้ง 24 พระองค์เป็นบุรุษทั้งสิ้น รวมถึงพระมัลลินาถด้วย ลัทธิทิฆัมพรเชื่อว่าสตรีสามารถเข้าถึงสวรรค์ได้สูงสุดที่ชั้น 16 และถ้าจะหลุดพ้น (โมกฆษะ) ต้องกลับชาติมาเกิดใหม่เป็นบุรุษเท่านั้น
จักรวาลวิทยาเชนเชื่อว่า กงล้อแห่งเวลานั้นแบ่งเป็นสองส่วน คือ อุตสรรปิณี (Utsarpiṇī) คือวัฏจักรเวลาที่กำลังเพิ่มขึ้น และ อวสรรปิณี คือวัฏจักรเวลาที่กำลังลดลง กล่าวคือเวลาในปัจจุบัน ในแต่ละจักรวาลของวัฏจักรเวลาปัจจุบัน (อวสรรปิณี) จะแบ่งเป็น 24 ตีรถังกร ส่วนในอุตสรรปิณี มีตีรถังกรมากมายหาสิ้นสุดมิได้[5] ตีรถังกรองค์แรกในอวสรรปิณีคือพระฤษภเทพ ผู้สร้างและจัดการให้มนุษย์อยู่กันอย่างสันติกลมเกลียวในสังคม และมีตีรถังกรองค์สุดท้ายคือองค์ปัจจุบันคือพระมหาวีระ (599–527 ก่อน ค.ศ.)[6][4][7] ประวัติศาสตร์มีการบันทึกการดำรงอยู่ของพระมหาวีระและตีรถังกรองค์ที่ 23 คือ พระปารศวนาถ[8]
ถึงแม้ตีรถังกรจะเป็นที่เคารพบูชาในศาสนาเชน แต่ความยิ่งใหญ่เดียวกันนี้เชื่อกันว่ามีอยู่ได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ที่นับถือศาสนาอื่นนอกเหนือจากศาสนาเชน[9]
รายพระนาม
แก้รายพระนามตีรถังกรทั้ง 24 องค์ในจักรวาลปัจจุบัน[10][1][11][12] หน่วยที่ปรากฏในตารางเป็นหน่วยที่ปรากฏในบันทึกของเชน ได้แก่ Dhanuṣa คือ ศอก, hatha คือ หัตถ์ หรือ มือ และช่วงเวลา หนึ่ง ปูรวะ คือ 8,400,000 x 8,400,000 = 70,560,000,000,000 ปี[13]
ลำดับ | พระนาม | สัญลักษณ์ | สีกาย | ความสูง | อายุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | พระฤษภเทพ (อาทินาถ) | กระทิง | ทอง | 500 dhanuṣa | 84,000,000 ปูรวะ |
2 | พระอชิตนาถ | ช้าง | ทอง | 450 dhanuṣa | 72,000,000 ปูรวะ |
3 | พระสัมภวนาถ | ม้า | ทอง | 400 dhanuṣa | 60,000,000 ปูรวะ |
4 | พระอภินันทนนาถ | ลิง | ทอง | 350 dhanuṣa | 50,000,000 ปูรวะ |
5 | พระสุมตินาถ | เป็ดพม่า | ทอง | 300 dhanuṣa | 40,000,000 ปูรวะ |
6 | พระปัทมประภะ | บัวหลวง | แดง | 250 dhanuṣa | 30,000,000 ปูรวะ |
7 | พระสุปารศวนาถ | สวัสดิกะ | ทอง | 200 dhanuṣa | 20,000,000 ปูรวะ |
8 | พระจันทรประภะ | ดวงจันทร์ | ขาว | 150 dhanuṣa | 10,000,000 ปูรวะ |
9 | พระปุษปทันตะ (สุวิธินาถ) | จระเข้ (มกร) | ขาว | 100 dhanuṣa | 2,000,000 ปูรวะ |
10 | พระศีตลนาถ | ศรีวัตสะ | ทอง | 90 dhanuṣa | 1,000,000 ปูรวะ |
11 | พระเศรยางสนาถ | แรด | ทอง | 80 dhanuṣa | 84,000,000 ปี |
12 | พระวาสุปูชยะ | ควาย | แดง | 70 dhanusa | 72,000,000 ปี |
13 | พระวิมลนาถ | หมูป่า | ทอง | 60 dhanusa | 60,000,000 ปี |
14 | พรอนันตนาถ | เม่น (ทิคัมพร) เหยี่ยว (เศวตัมพร) |
ทอง | 50 dhanuṣa | 30,000,000 ปี |
15 | พระธรรมนาถ | วัชระ | ทอง | 45 dhanuṣa | 10,000,000 ปี |
16 | พระศานตินาถ | กวาง | ทอง | 40 dhanuṣa | 1,00,000 ปี |
17 | พระกุนถุนาถ | แพะ | ทอง | 35 dhanuṣa | 95,000 ปี |
18 | พระอรนาถ | ปลา | ทอง | 30 dhanuṣa | 84,000 ปี |
19 | พระมาลลีนาถ | กลัศ | น้ำเงิน | 25 dhanuṣa | 55,000 ปี |
20 | พระมุนิสุวรตะ | เต่า | ดำ | 20 dhanuṣa | 30,000 ปี |
21 | พระนมินาถ | บัวเผื่อน | ทอง | 15 dhanuṣa | 10,000 ปี |
22 | พระเนมินาถ | สังข์ | ดำ | 10 dhanuṣa | 1,000 ปี |
23 | พระปารศวนาถ | งู | น้ำเงิน | 9 hath | 100 ปี |
24 | พระมหาวีระ | สิงโต | ทอง | 7 hath | 72 ปี |
ประติมาณวิทยา
แก้รูปเคารพขององค์ตีรถังกรมักสร้างในกริยานั่งขัดสมาธิ (ปัทมาสนะ) หรือ ยืนสมาธิ (Khadgasana หรือ Kayotsarga)[14][15] ในทิคัมพรและเศวตัมพร ต่างมีการสร้างองค์ตีรถังกรต่างกัน โดยทิคัมพรนิยมสร้างให้ตีรถังกรอยู่ในลักษณะเปลือยกาย ไม่มีแม้แต่เครื่องตกแต่งใด ๆ ส่วนเศวตัมพรมีการสวมเสื้อผ้าและมีเครื่องตกแต่งกาย[16] การเปลือยกายนั้นหมายถึงการที่ตีรถังกรสามารถละทิ้งทุกสิ่งในโลกได้ ไม่หลือแม้นแต่ความต้องการในทรัพย์สมบัติหรือความอับอาย บนพระกายมักพบศรีวัตสะบนพระอุระ (อก) และดิลกระหว่างคิ้ว[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Britannica Tirthankar Definition, Encyclopædia Britannica
- ↑ Babb 1996, p. 5.
- ↑ Sangave 2006, p. 16.
- ↑ 4.0 4.1 Taliaferro & Marty 2010, p. 286.
- ↑ Dundas 2002, p. 20.
- ↑ Dundas 2002, p. 19.
- ↑ Sanghvi, Vir (14 September 2013), Rude Travel: Down The Sages, Hindustan Times, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-25, สืบค้นเมื่อ 2019-03-24
- ↑ Zimmer 1953, p. 182-183.
- ↑ Flügel, P. (2010). The Jaina Cult of Relic Stūpas. Numen: International Review For The History Of Religions, 57(3/4), 389–504. doi:10.1163/156852710X501351
- ↑ Doniger 1999, p. 550.
- ↑ Vijay K. Jain 2015, p. 181-208.
- ↑ Tirthankara (EMBLEMS OR SYMBOLS) pdf เก็บถาวร 13 กรกฎาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Structural View of the Universe – Time (Kal or Samaya)
- ↑ Zimmer 1953, p. 209-210.
- ↑ Umakant P. Shah 1987, p. 79.
- ↑ Cort 2010.
- ↑ Red sandstone figure of a tirthankara