สัพพัญญู[1] (บาลี: สพฺพญฺญู, จาก สพฺพ คุณนาม + ญู (ญา ธาตุ + -รู ปัจจัยในนามกิตก์)) หรือ สรรเพชญ[2] (สันสกฤต: सर्वज्ञू สรฺวชฺญู) แปลว่า ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ผู้รู้ทั่ว คือรู้สิ่งทั้งปวงอย่างสัมบูรณ์ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต[3]

ในคติเทวนิยมมักใช้คำนี้เป็นเนมิตกนามของพระเป็นเจ้า เพราะเชื่อว่าพระองค์ทรงคุณลักษณะเช่นนั้น และเรียกคุณลักษณะนั้นว่า สัพพัญญุตา (สพฺพญฺญู (สพฺพ คุณนาม + ญู (ญา ธาตุ + -รู ปัจจัยในนามกิตก์) + -ตา ปัจจัยในภาวตัทธิต) ส่วนศาสนาอเทวนิยม เช่น ศาสนาพุทธใช้หมายถึงพระพุทธเจ้า และศาสนาเชนใช้หมายถึงเกวลิน

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 1209
  2. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 1175
  3. พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา ฉบับราชบัณฑิตยสภา, หน้า 174
บรรณานุกรม
  • ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4
  • สำนักงานราชบัณฑิตยสภาพจนานุกรมศัพท์ปรัชญา ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ ๕, กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2560. 320 หน้า. ISBN 978-616-389-061-0