ทิคัมพร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ทิคัมพร (สันสกฤต: दिगम्बर) เป็นหนึ่งในสองนิกายหลักของศาสนาเชน[1] อีกนิกายหนึ่งคือเศวตามพร คำว่า "ทิคัมพร" มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า "ทิค" (ทิศทาง, ฟ้า) และ "อัมพร" (นุ่งห่ม) แปลว่า ผู้มีฟ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม[2]
สาธุทิคัมพร (นักบวช) จะเปลือยทั้งร่างกาย และพก "ปิจฉี" (पिच्छी) คือไม้กวาดขนาดเล็กที่ทำจากหางนกยูงที่ร่วงแล้ว (ใช้ในการปัดกวาดพื้นดินก่อนจะเดินหรือนั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เผลอเหยียบหรือนั่งทับสัตว์เล็ก ๆ บนดิน เช่น แมลง) พก "กมัณฑลุ" คือกระบอกใส่น้ำทำจากไม้ และพก "ศาสตระ" คือคัมภีร์ โดยทั่วไปสาธุทิคัมพรเปลือยทั้งร่างกายโดยไม่มีการปกปิดอวัยวะเพศ ยกเว้นในกรณีที่ต้องเข้าสถานที่ชุมชนหรือสถานที่สาธารณะ เจ้าหน้าที่จะรบกวนให้มีการสวมกางเกงปกปิดอวัยวะเพศ
ทิคัมพรมีความเชื่อว่าสตรีไม่สามารถหลุดพ้นสังสารวัฏ (เข้าถึงโมกษะ) ได้ หากจะหลุดพ้นได้จริง ๆ ต้องเวียนว่ายตายเกิดใหม่เป็นบุรุษก่อนจึงจะสามารถหลุดพ้นได้ในชาติที่เกิดเป็นบุรุษ
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4