ตำบลโพนโก

ตำบลในอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย

ตำบลโพนโก เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนโก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนโกทั้งตำบล[2]

ตำบลโพนโก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Phon Ko
ตำบลโพนโกตั้งอยู่ในจังหวัดสุรินทร์
ตำบลโพนโก
ตำบลโพนโก
ที่ตั้งในจังหวัดสุรินทร์
พิกัด: 15°15′48.7″N 103°45′16.4″E / 15.263528°N 103.754556°E / 15.263528; 103.754556
ประเทศไทย
จังหวัดสุรินทร์
อำเภอสนม
พื้นที่[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด41 ตร.กม. (16 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด6,933 คน
 • ความหนาแน่น169.09 คน/ตร.กม. (437.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 32160
รหัสภูมิศาสตร์320802
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลโพนโก
พิกัด: 15°15′48.7″N 103°45′16.4″E / 15.263528°N 103.754556°E / 15.263528; 103.754556
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุรินทร์
อำเภอสนม
รหัส อปท.06320804
ที่อยู่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโพนโก ตำบลโพนโก อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ 32160
เว็บไซต์www.phoneko.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

เดิมท้องที่ตำบลโพนโกเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอรัตนบุรีและต่อมาได้แบ่งท้องที่เขตปกครองใหม่จึงทำให้ตำบลโพนโกมาเป็นตำบลหนึ่งในท้องที่กิ่งอำเภอสนม ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องแบ่งท้องที่อำเภอรัตนบุรีตั้งเป็นกิ่งอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์[3]เพื่อประโยชน์ในการปกครองและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนภายในท้องที่ กระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจตามความใน พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 64 และมาตรา 65 จึงแบ่งท้องที่อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง ให้เรียกชื่อว่า "กิ่งอำเภอสนม" ให้มีเขตปกครองรวม 5 ตำบล คือ ตำบลสนม ตำบลแคน ตำนานวน ตำบลหนองระฆัง และตำบลโพนโก ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอที่ตำบลสนม ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2514 ลงชื่อ พลเอกประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 88 ตอนที่ 69 วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2514 หน้าที่ 1864 และ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์[4]ข้อ ๕. กำหนดเขตตำบลโพนโก ในท้องที่อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์โดยให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านโพนดวน หมู่ที่ 2 บ้านโพนโก หมู่ที่ 3 บ้านเปือยป่าน หมู่ที่ 4 บ้านเป้า หมู่ที่ 5 บ้านหนองบัวแดง หมู่ที่ 6 บ้านโนนเปือย หมู่ที่ 7 บ้านโนนเปือย หมู่ที่ 8 บ้านหนองคู หมู่ที่ 9 บ้านหนองบัวแดง หมู่ที่ 10 บ้านเป้าน้อย หมู่ที่ 11 บ้านโพนโก หมู่ที่ 12 บ้านโนนโพธิ์ [5] ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ลงชื่อ นายบรรจง กันตรุฒ รองปลัดกระทรวง ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนพิเศษ 133 ง วันที่ 30 ธันวามคม พ.ศ. 2541หน้าที่ 240-258

โดยยกฐานะจากสภาตำบลโพนโก[6]เป็น "องค์การบริหารส่วนตำบลโพนโก" ในลำดับที่ 1889[7]จัดตั้งขึ้น ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล โดยที่มาตรา 40 และมาตราที่ 41 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในปีพุทธศักราช 2537 ได้บัญญัติให้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล และให้โอนงบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิ สิทธิเรียกร้อง หนี้ และเจ้าหน้าที่ของสภาตำบลไปเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539 ลงชื่อ นายบรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 9 ง วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539 หน้าที่ 5-219 ทำให้สภาตำบล 2,143 แห่ง เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลทันที ทั้งนี้มีผลใช้บังคับในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2539

ภูมิศาสตร์

แก้

ตำบลโพนโกอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสนมไปทางทิศเหนือประมาณ 6 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 41 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิศาสตร์โดยทั่วไปของตำบลมีลักษณะเป็นที่ราบสูง ดินร่วนปนทรายและมีพื้นที่ลุ่มบางส่วน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร บ้านเรือนตั้งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตำบลโพนโกมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง ดังนี้

หมู่บ้าน

แก้

ตำบลโพนโกประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านโพนดวน
  • หมู่ที่ 2 บ้านโพนโก
  • หมู่ที่ 3 บ้านเปือยป่าน
  • หมู่ที่ 4 บ้านเป้า
  • หมู่ที่ 5 บ้านหนองบัวแดง
  • หมู่ที่ 6 บ้านโนนเปือย
  • หมู่ที่ 7 บ้านโนนเปือย
  • หมู่ที่ 8 บ้านหนองคู
  • หมู่ที่ 9 บ้านหนองบัวแดง
  • หมู่ที่ 10 บ้านเป้าน้อย
  • หมู่ที่ 11 บ้านโพนโก
  • หมู่ที่ 12 บ้านโนนโพธิ์

เศรษฐกิจ

แก้

อาชีพหลักของประชาชนในตำบลโพนโก ซึ่งได้แก่ อาชีพเกษตรกรรม ซึ่งประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีประมาณ ร้อยละ 95 (ทำนา) และเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรแล้วจะว่างงาน ซึ่งทำให้มีการอพยพแรงงานชั่วคราวไปทำงานต่างถิ่น เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว โดยแรงงานส่วนใหญ่จะอพยพเข้ากรุงเทพฯ และจังหวัดในภาคตะวันออกในช่วงเดือน มกราคม ถึง เดือน พฤษภาคม

การคมนาคม

แก้

ปัจจุบันถนนในตำบลโพนโก ส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยางเชื่อมระหว่างหมู่บ้านกับหมู่บ้านในตำบล ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน และถนนหินคลุก และมีเส้นทางติดต่อกันระหว่างอำเภอและตำบลดังนี้ - ถนน รพช. สร.12022 (สายสนม – หนองยาง) จากอำเภอสนมถึงตำบลโพนโกระยะทาง 6 กม. - ถนน โยธาธิการ (สายสนม – โนนเปือย) ระยะทาง 3 กม.

การศาสนา

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ระบบสถิติทางการทะเบียน: รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2563 ตำบลโพนโก". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2012-01-18.
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/E/133/240.PDF
  5. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนพิเศษ 133 ง วันที่ 30 ธันวามคม พ.ศ. 2541 หน้าที่ 250-253
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2516/D/108/1.PDF
  7. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 9 ง วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539 หน้าที่ 194 ลำดับที่ 1889 สภาตำบลโพนโก อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโพนโก

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้