ตะกร้อไทยแลนด์ลีก

ตะกร้อ ไทยแลนด์ ลีก เป็นการแข่งขันตะกร้อลีกอาชีพซึ่งจัดโดยสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ การกีฬาแห่งประเทศไทย โดยเป็นลีกระดับสูงสุดของระบบลีกตะกร้อไทย มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 9 ทีม (ฤดูกาล 2563)

ตะกร้อไทยแลนด์ลีก
ประเทศไทย ไทย
สมาพันธ์สมาพันธ์ตะกร้อเอเชีย
ก่อตั้ง2545
จำนวนทีม10 สโมสร
ทีมชนะเลิศปัจจุบันสุพรรณบุรี (2565)
ชนะเลิศมากที่สุดนครปฐม (10)
หุ้นส่วนโทรทัศน์โมโน 29
เว็บไซต์www.sepaktakrawworld.com
ฤดูกาล 2565

ประวัติ แก้

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) ได้แต่งตั้ง พลตรีจารึก อารีราชการัณย์ นายกสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย เป็นประธานคณะกรรมการบริหารการแข่งขัน ตะกร้อไทยแลนด์ลีก พร้อมทั้งคณะผู้บริหารผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 18 คน

การแข่งขันใช้ชื่อ "ตะกร้อไทยแลนด์ลีก" โดยการแข่งขันปีแรก กำหนดรับทีมจังหวัดต่าง ๆ สมัครเข้าแข่งขันภายในวันที่ 31 ต.ค. 2543 หลังจากนั้นคณะกรรมการฯ จะพิจารณาทีมที่มีความเหมาะสมเข้าร่วมการแข่งขัน 10 ทีม เนื่องมีปัญหาหลายอย่างจึงทำให้ การแข่งขัน “ตะกร้อ ไทยแลนด์ ลีก” เริ่มในปลายปี พ.ศ. 2544 โดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย ได้กำหนดการอบรมสัมมนา ผู้ฝึกสอน ผู้จัดการทีม ผู้ตัดสิน และผู้จัดการแข่งขัน ขึ้นในระหว่างวันที่ 9 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ณ โรงแรมชาลีน่าปริ้นเซส กรุงเทพมหานคร จึงทำให้เกิดการแข่งขันเซปักตะกร้อเพื่อการอาชีพขึ้น โดยมีผู้ตัดสินเข้าร่วมการอบรมสัมมนาประมาณ 50 คน มีทีมที่พร้อมและผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการให้เข้าร่วมการแข่งขัน ในครั้งแรก จำนวน 10 ทีม ดังนี้ นครปฐม กาญจนบุรี แพร่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุดรธานี อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ขอนแก่น นครราชสีมา

การแข่งขันมีขึ้นในครั้งแรกระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2545 จัดการแข่งขันแบบเหย้าเยือน ผลการแข่งขันเมื่อหมดฤดูกาลแข่งขันแล้วทีมที่ชนะเลิศ ได้แก่นครปฐม ได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท

พ.ศ. 2547 การแข่งขันตะกร้อไทยแลนด์ลีกครั้งที่ 3 ได้มีการทีมสโมสรเข้าร่วมการแข่งขันเป็น 12 สโมสร ได้แก่ นครปฐม กาญจนบุรี แพร่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุดรธานี อุบลราชธานี ศรีสะเกษ นครราชสีมา มหาสารคาม นนทบุรี และ สุพรรณบุรี ทีมชนะเลิศ ได้แก่ นครปฐม

ทั้งนี้ กกท. ได้ให้ความช่วยเหลือในการประสานเจรจาอัตราค่าใช้จ่ายการถ่ายทอดสดการแข่งขันนัดละ 2.5 แสนบาท นอกจากนี้ยังจะช่วยเหลือในการเจรจากับการบินไทย ขอลดหย่อนค่าเครื่องบินโดยสารในการเดินทางแข่งขันแบบเหย้า-เยือนของทีมจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้ง การตรวจสอบความฟิตและการใช้สารต้องห้ามของนักกีฬาในระหว่างการแข่งขันด้วย[1]

รูปแบบการแข่งขัน และ ผู้สนับสนุน แก้

รูปการแข่งขันเดิม แก้

ระบบการแข่งขันตะกร้อ ไทยลีก ดิวิชั่น 1 แต่ละสโมสรสามารถส่งชื่อผู้เล่นตลอดฤดูกาลแข่งขันได้ไม่เกิน 18 คน ในการทำการแข่งขันแต่ละครั้ง จะส่งทีมลงทำการแข่งขันได้ 2 ทีม คือทีม ก. กับ ทีม ข. แต่ละทีมจะส่งรายชื่อลงทำการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 คน ตัวจริง 3 คน ตัวสำรอง 2 คน เปลี่ยนตัวได้ 1 คน ในการทำการแข่งขันแต่ละครั้ง หากสามารถชนะได้ทั้ง 2 ทีม จะได้ 2 คะแนน ชนะทีมเดียวจะได้ 1 คะแนน แพ้ทั้ง 2 ทีม จะได้ 0 คะแนน การจัดลำดับบนตารางคะแนน ดังนี้

ทีมที่ได้คะแนนรวมสูงสุดเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลเป็นทีมชนะเลิศ ส่วนทีมที่ได้คะแนนรองลงมาจะถูกจัดอันดับลดหลั่นกันตามคะแนนรวมที่ได้จนถึงทีมสุดท้าย ในกรณีที่มีทีมมากกว่า 1 ทีมขึ้นไป ได้คะแนนรวมเท่ากันเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลให้ใช้เกณฑ์พิจารณาเรียงลำดับ ดังนี้

  1. พิจารณาจากผลต่างของเซตได้ และเซตเสีย (Set Difference)
  2. พิจารณาจากผลต่างของคะแนนได้ และคะแนนเสีย (Score Difference)
  3. พิจารณาเฉพาะเซตได้ (Set For)
  4. แข่งขันกันใหม่ 1 นัด เพื่อหาทีมชนะ หากผลการแข่งขันเสมอกันในเวลาปกติให้ตัดสินด้วยการเตะลูกโทษ ณ จุดเตะโทษ
  5. ในกรณีที่พิจารณาตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นตามลำดับแล้วและได้เกณฑ์ตัดสินตามข้อหนึ่งข้อใดแล้วให้ยุติการพิจารณาข้อต่อไป

ในการจัดอันดับระหว่างการแข่งขันเพื่อแสดงลำดับในตารางคะแนนระหว่างฤดูกาลให้ใช้เกณฑ์พิจารณาดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาจากคะแนนรวมสูงสุด
  2. พิจารณาจากผลต่างของเซตได้ และเซตเสีย (Set Difference)
  3. พิจารณาจากผลต่างของคะแนนได้ และคะแนนเสีย (Score Difference)

ผู้สนับสนุน

เงินรางวัล แก้

กกท. เป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัล ของฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก

  • ทีมชนะเลิศ  : 1,500,000 บาท
  • ทีมรองชนะเลิศ  : 700,000 บาท
  • ทีมอันดับที่ 3  : 400,000 บาท
  • ทีมอันดับที่ 4  : 250,000 บาท

นอกจากนี้ยังมีเงินบำรุงทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน ทีมละ 1ล้านบาท , เงินรางวัลสำหรับนักฟุตบอลยอดเยี่ยม,ดาวซัลโว,โค้ชยอดเยี่ยม และ เงินรางวัลอื่นๆ

ทีมชนะเลิศตะกร้อไทยแลนด์ลีก แก้

ครั้งที่ ฤดูกาล ทีมเข้าร่วม ทีมชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับ 3
20 2565 (7)

หนองคาย สุพรรณบุรี ศรีสะเกษ พิษณุโลก ชลบุรี อำนาจเจริญ แพร่

สุพรรณบุรี อำนาจเจริญ แพร่
2564 งดจัดการแข่งขันเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย
19 2563 (9)

แพร่ นครปฐม ปทุมธานี ศรีสะเกษ พิษณุโลก ชลบุรี อำนาจเจริญ ชัยภูมิ เลย

ปทุมธานี นครปฐม พิษณุโลก
18 2562 (10)

กรุงเทพฯ แพร่ นครปฐม ปทุมธานี ราชบุรี  ศรีสะเกษ  พิษณุโลก ชลบุรี  อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์

ราชบุรี อำนาจเจริญ ปทุมธานี
17 2561 (8)

กรุงเทพฯ นครปฐม แพร่ ชลบุรี ปทุมธานี กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ ขอนแก่น

  ม.กรุงเทพธนบุรี

นครปฐม แพร่
16 2560 (10)

กรุงเทพฯ นครปฐม ปทุมธานี กาฬสินธุ์ แพร่ ชลบุรี ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา ขอนแก่น

  ม.กรุงเทพธนบุรี

นครปฐม ปทุมธานี
15 2559 (9)

นครปฐม ราชบุรี มหาสารคาม กรุงเทพฯ แพร่ สุรินทร์ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ ชัยภูมิ

  นครปฐม

นมหนองโพราชบุรี มหาสารคาม
14 2558 (10)

นครปฐม ราชบุรี สุรินทร์ กรุงเทพฯ ชลบุรี แพร่ อุบลฯ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ ชัยภูมิ

  นครปฐม

ม.กรุงเทพธนบุรี ชลบุรี
13 2557 (10)

ราชบุรี กรุงเทพฯ สุรินทร์ แพร่ กาญจนบุรี ชลบุรี นครปฐม อุบลฯ พิษณุโลก ชัยภูมิ

ราชบุรี ม.กรุงเทพธนบุรี ชลบุรี-พัทยา
12 2556 (10)

ราชบุรี นครปฐม กรุงเทพฯ ชลบุรี อุบลฯ กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ชัยภูมิ ศรีสะเกษ สุรินทร์

ราชบุรี ม.กรุงเทพธนบุรี กาญจนบุรี
11 2555 (10)

นครปฐม นครราชสีมา กรุงเทพฯ ชัยภูมิ แพร่ ชลบุรี ระยอง กาฬสินธุ์ ราชบุรี ศรีสะเกษ

  ม.กรุงเทพธนบุรี

ศรีสะเกษ ชลบุรี
10 2554 (10)

นครปฐม ศรีสะเกษ ชลบุรี เชียงใหม่ กรุงเทพฯ นครราชสีมา แพร่ กาฬสินธุ์ เลย ระยอง

  นครปฐม ศรีสะเกษ ม.กรุงเทพธนบุรี
9 2553 (8)

นครปฐม กรุงเทพฯ เลย แพร่ ชลบุรี ศรีสะเกษ นครราชสีมา เชียงใหม่

  นครปฐม ม.กรุงเทพธนบุรี เลย
8 2552 (8)

นครปฐม นครราชสีมา กรุงเทพฯ เลย ชลบุรี เชียงใหม่ แพร่ ศรีสะเกษ

  นครปฐม นครราชสีมา ม.กรุงเทพธนบุรี
7 2551 (8)

นครปฐม แพร่ เชียงใหม่ เลย นครราชสีมา ศรีสะเกษ มหาสารคาม พิษณุโลก

  นครปฐม
6 2550 (8)

แพร่ นครปฐม นครสวรรค์ นครราชสีมา เชียงใหม่ ศรีสะเกษ มหาสารคาม เลย

 

แพร่

5 2549 (8)

แพร่ นครปฐม นครสวรรค์ อุบลฯ เชียงใหม่ ลพบุรี มหาสารคาม เลย

 

แพร่

4 2548   นครปฐม แพร่
3 2547 (12)

นครปฐม กาญจนบุรี แพร่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุดรธานี อุบลฯ นครราชสีมา ศรีสะเกษ มหาสารคาม นนทบุรี สุพรรณบุรี

  นครปฐม
2 2546 (10)

ศรีสะเกษ อุดรธานี นครปฐม นครสวรรค์ แพร่ กาญจนบุรี อุบลฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ นครราชสีมา

  นครปฐม
1 2544/45 (10)

นครปฐม กาญจนบุรี แพร่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุดรธานี อุบลฯ นครราชสีมา ศรีสะเกษ ขอนแก่น

  นครปฐม

สโมสรในตะกร้อ ไทยแลนด์ ลีก 2555 แก้

สโมสร สถานที่สนามเหย้า ฤดูกาลในพรีเมียร์ลีก อันดับที่ดีที่สุด (ฤดูกาล) อันดับที่แย่ที่สุด (ฤดูกาล)
กรุงเทพธน โรงยิมส์ ม.กรุงเทพธนบุรี , ทวีวัฒนา
กาฬสินธุ์ หอประชุมอำเภอห้วยเม็ก, ห้วยเม็ก กาฬสินธุ์ 2554-2555 อันดับ 6 (2554) อันดับ 6 (2554)
ชลบุรี-พัทยา โรงยิมส์โรงเรียนเมืองพัทยา 7, เมืองพัทยา (บางละมุง)
ชัยภูมิ โรงยิมส์สิริวรรณวลี สนามกีฬากลาง ชัยภูมิ 2555 - -
นครปฐม โรงยิมส์โรงเรียนเทศบาล 1 วัดพระงาม, นครปฐม 2545-2555 ชนะเลิศ
นครราชสีมา โรงยิมเอนกประสงค์ค่ายสุรนารี, นครราชสีมา
แพร่ โรงยิมส์ สนามกีฬา อบจ.แพร่, แพร่ ชนะเลิศ
ราชบุรี โรงยิมส์ สนามกีฬากลาง, ราชบุรี 2555 - -
ระยอง โรงยิมส์ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) , บ้านค่าย 2554-2555 อันดับ 4 (2554) อันดับ 4 (2554)
ศรีสะเกษ อาคารวีสมหมาย, ศรีสะเกษ

สโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขันมากที่สุด แก้

สโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขัน-แยกตามรายชื่อสโมสร แก้

สโมสร จำนวนครั้ง ปีที่ชนะเลิศ ครั้งที่
นครปฐม 10 2545, 2546, 2547, 2548, 2551, 2552, 2553, 2554, 2558, 2559 1, 2, 3, 4, 7, 8, 9, 10, 14, 15
ม.กรุงเทพธนบุรี 3 2555, 2560, 2561 11, 16, 17
ราชบุรี 3 2556, 2557, 2562 12, 13, 18
แพร่ 2 2549, 2550 5, 6
ปทุมธานี 1 2563 19
สุพรรณบุรี 1 2565 20

[2]

สโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขัน-แยกตามภาค แก้

ภาค จำนวน สโมสร
กรุงเทพและปริมณฑล
14
นครปฐม (10), ม.กรุงเทพธนบุรี (3), ปทุมธานี (1)
ภาคเหนือ
2
แพร่ (2)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-
ภาคใต้
-
ภาคกลาง
4
ราชบุรี (3), สุพรรณบุรี (1)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-04. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
  2. http://www.bangsaensook.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539268420&Ntype=9