ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล

ซานเตียโก เฟลิเป รามอน อี กาฆัล (สเปน: Santiago Felipe Ramón y Cajal) ForMemRS[1][2] (ออกเสียง: [sanˈtjaɣo raˈmon i kaˈxal]; 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1852 – 18 ตุลาคม ค.ศ. 1934)[3] เป็นแพทย์ อาจารย์ พยาธิแพทย์ นักมิญชวิทยา และนักประสาทวิทยาศาสตร์ชาวสเปน ได้รับรางวัลรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ. 1906[4] จากการศึกษาระบบประสาทด้วยการย้อมสี เป็นบุตรของฆุสโต รามอน กาซาซุส กับอันโตเนีย กาฆัล

ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล
ภาพถ่ายของซานเตียโก รามอน อี กาฆัล
เกิด1 พฤษภาคม ค.ศ. 1852
เปติยาเดอารากอน แคว้นนาวาร์ ประเทศสเปน
เสียชีวิต17 ตุลาคม ค.ศ. 1934 (76 ปี)
มาดริด ประเทศสเปน
สัญชาติสเปน
การศึกษามหาวิทยาลัยซาราโกซา มหาวิทยาลัยกอมปลูเตนเซแห่งมาดริด
อาชีพแพทย์

การสำรวจรุ่นบุกเบิกของเขาเกี่ยวกับโครงสร้างจุลทรรศน์ของสมอง เป็นงานต้นฉบับในประสาทวิทยาศาสตร์ จึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นบิดาของประสาทวิทยาศาสตร์ เขามีความชำนาญในการวาดรูปและภาพวาดเซลล์สมองเป็นร้อย ๆ ของเขาก็ยังถูกใช้ในการศึกษาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้[5]

ประวัติ แก้

ซานเตียโกมีชีวิตวัยเด็กที่ต้องย้ายที่อยู่บ่อยเนื่องจากต้องติดตามบิดาที่เป็นศัลยแพทย์ เริ่มเข้าเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนของคณะเยซูอิตที่ฆากา และเรียนมัธยมศึกษาที่อูเอสกา เขาจบมัธยมศึกษาในปีเดียวกับที่ประเทศสเปนประกาศเป็นสาธารณรัฐครั้งที่หนึ่ง เข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยซาราโกซา ในเมืองหลักของแคว้นอารากอน ซึ่งครอบครัวทั้งหมดของเขาก็ย้ายไปอยู่ที่นั่นด้วยในปี ค.ศ. 1870 จบการศึกษาอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1873 ปี ค.ศ. 1874 สมัครไปเป็นแพทย์ทหารที่คิวบา และเขาติดโรคมาลาเรียและโรคบิดที่นั่น เขาถูกส่งตัวถึงสเปนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1875

ก่อนจะถึง ค.ศ. 1876 เขาซื้อกล้องจุลทรรศน์ตัวแรก ค.ศ. 1876 ได้เป็นแพทย์ฝึกหัดที่โรงพยาบาลแม่พระแห่งพระหรรษทานที่เมืองซาราโกซา ค.ศ. 1878 เขาป่วยเป็นวัณโรค ค.ศ. 1879 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์แห่งซาราโกซา 19 กรกฎาคม ปีเดียวกัน เขาแต่งงานกับซิลเบเรีย ฟัญญานัส การ์ซิอา มีบุตรธิดา 7 คน ค.ศ. 1883 เป็นอาจารย์สาขาการอธิบายกายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบาเลนเซีย ซึ่งเขามีโอกาสศึกษาอหิวาตกโรคที่นี่ ค.ศ. 1887 ย้ายไปสอนสาขามิญชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบาร์เซโลนา

ค.ศ. 1892 ย้ายไปทำงานในสาขาวิชามิชญวิทยา มิชญวิทยาเคมีพื้นฐานและพยาธิกายวิภาคศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยกอมปลูเตนเซแห่งมาดริด ค.ศ. 1902 สามารถทำให้รัฐบาลสร้างห้องปฏิบัติการทางชีววิทยาใหม่ ซึ่งเขาทำงานที่นั่นถึง ค.ศ. 1922 หลังจากนั้นเขาย้ายไปทำวิจัยที่สถาบันรามอน อี กาฆัล[6] จนเสียชีวิต

ในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1934 เขาเสียชีวิตในบ้านที่มาดริด ประเทศสเปน

ผลงานทางวิทยาศาสตร์ แก้

 
รามอน อี กาฆัล ในห้องทดลองของเขา

ค.ศ. 1888 ตอนที่เขาอยู่ที่บาร์เซโลนา ได้ใช้เทคนิกการย้อมสีตามแบบของกามิลโล กอลจี นักวิทยาศาสตร์อิตาลี และค้นพบการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทในสารสีเทา ระบบประสาทของสมองและกระดูกสันหลัง ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกนำเสนอที่ สถาบันกายวิภาคศาสตร์เยอรมันใน ค.ศ. 1889 ซึ่งให้คำอธิบายเกี่ยวกับกระแสประสาท ในปี ค.ศ. 1906 เขาและกอลจีด้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์ จากการศึกษาระบบประสาท

สิ่งตีพิมพ์ แก้

รามอน อี กาฆัลพิมพ์เผยแพร่งานและบทความทางวิทยาศาสตร์ มากกว่า 100 ผลงานในภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน และภาษาเยอรมัน ที่โด่งดังมากที่สุดก็คือ "กฎเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับการสืบสวนทางวิทยาศาสตร์", "มิญชวิทยา (วิทยาเนื้อเยื่อ)", "ความเสื่อมและการเจริญทดแทนของระบบประสาท", "คู่มือเทคนิคมาตรฐานในวิทยาเนื้อเยื่อและไมโครกราฟ", "องค์ประกอบต่าง ๆ ของวิทยาเนื้อเยื่อ", "คู่มือพยาธิวิทยาทั่วไป", "ข้อคิดใหม่ ๆ ในกายวิภาคแบบละเอียดของศูนย์ประสาท", "ตำราระบบประสาทของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง", "เรตินาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง"[3]

ในปี ค.ศ. 1905 เขาตีพิมพ์หนังสือนวนิยายวิทยาศาสตร์ "เรื่องต่าง ๆ ในเวลาหยุดงาน" ภายใต้นามปากกา "ดร. แบคทีเรีย"

งานตีพิมพ์ของเขารวมทั้ง

ภาพวาดโดย รามอน อี กาฆัล แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. ForMemRS เป็นชื่อเรียกที่อนุญาตให้ใช้ ตามหลังชื่อของผู้ที่เป็นสมาชิกต่างชาติของราชสมาคมแห่งลอนดอน
  2. doi:10.1098/rsbm.1935.0007
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  3. 3.0 3.1 Nobel lectures, Physiology or Medicine 1901-1921. Amsterdam: Elsevier Publishing Company. 1967. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2013-01-29.
  4. The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1906|"http://nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/laureates/1906/index.html"
  5. "History of Neuroscience". Society for Neuroscience. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-15. สืบค้นเมื่อ 2008-10-09.
  6. http://www.cajal.csic.es/ingles/historia.html เก็บถาวร 2017-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Institue of Cajal's history

ดูเพิ่ม แก้

หนังสืออ้างอิงอื่น แก้

แหล่งอ้างอิงอื่น แก้