ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล
ซานเตียโก เฟลิเป รามอน อี กาฆัล (สเปน: Santiago Felipe Ramón y Cajal) ForMemRS[1][2] (ออกเสียง: [sanˈtjaɣo raˈmon i kaˈxal]; 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1852 – 18 ตุลาคม ค.ศ. 1934)[3] เป็นแพทย์ อาจารย์ พยาธิแพทย์ นักมิญชวิทยา และนักประสาทวิทยาศาสตร์ชาวสเปน ได้รับรางวัลรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ. 1906[4] จากการศึกษาระบบประสาทด้วยการย้อมสี เป็นบุตรของฆุสโต รามอน กาซาซุส กับอันโตเนีย กาฆัล
ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล | |
---|---|
ภาพถ่ายของซานเตียโก รามอน อี กาฆัล | |
เกิด | 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1852 เปติยาเดอารากอน แคว้นนาวาร์ ประเทศสเปน |
เสียชีวิต | 17 ตุลาคม ค.ศ. 1934 (76 ปี) มาดริด ประเทศสเปน |
สัญชาติ | สเปน |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยซาราโกซา มหาวิทยาลัยกอมปลูเตนเซแห่งมาดริด |
อาชีพ | แพทย์ |
การสำรวจรุ่นบุกเบิกของเขาเกี่ยวกับโครงสร้างจุลทรรศน์ของสมอง เป็นงานต้นฉบับในประสาทวิทยาศาสตร์ จึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นบิดาของประสาทวิทยาศาสตร์ เขามีความชำนาญในการวาดรูปและภาพวาดเซลล์สมองเป็นร้อย ๆ ของเขาก็ยังถูกใช้ในการศึกษาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้[5]
ประวัติ
แก้ซานเตียโกมีชีวิตวัยเด็กที่ต้องย้ายที่อยู่บ่อยเนื่องจากต้องติดตามบิดาที่เป็นศัลยแพทย์ เริ่มเข้าเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนของคณะเยซูอิตที่ฆากา และเรียนมัธยมศึกษาที่อูเอสกา เขาจบมัธยมศึกษาในปีเดียวกับที่ประเทศสเปนประกาศเป็นสาธารณรัฐครั้งที่หนึ่ง เข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยซาราโกซา ในเมืองหลักของแคว้นอารากอน ซึ่งครอบครัวทั้งหมดของเขาก็ย้ายไปอยู่ที่นั่นด้วยในปี ค.ศ. 1870 จบการศึกษาอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1873 ปี ค.ศ. 1874 สมัครไปเป็นแพทย์ทหารที่คิวบา และเขาติดโรคมาลาเรียและโรคบิดที่นั่น เขาถูกส่งตัวถึงสเปนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1875
ก่อนจะถึง ค.ศ. 1876 เขาซื้อกล้องจุลทรรศน์ตัวแรก ค.ศ. 1876 ได้เป็นแพทย์ฝึกหัดที่โรงพยาบาลแม่พระแห่งพระหรรษทานที่เมืองซาราโกซา ค.ศ. 1878 เขาป่วยเป็นวัณโรค ค.ศ. 1879 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์แห่งซาราโกซา 19 กรกฎาคม ปีเดียวกัน เขาแต่งงานกับซิลเบเรีย ฟัญญานัส การ์ซิอา มีบุตรธิดา 7 คน ค.ศ. 1883 เป็นอาจารย์สาขาการอธิบายกายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบาเลนเซีย ซึ่งเขามีโอกาสศึกษาอหิวาตกโรคที่นี่ ค.ศ. 1887 ย้ายไปสอนสาขามิญชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบาร์เซโลนา
ค.ศ. 1892 ย้ายไปทำงานในสาขาวิชามิชญวิทยา มิชญวิทยาเคมีพื้นฐานและพยาธิกายวิภาคศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยกอมปลูเตนเซแห่งมาดริด ค.ศ. 1902 สามารถทำให้รัฐบาลสร้างห้องปฏิบัติการทางชีววิทยาใหม่ ซึ่งเขาทำงานที่นั่นถึง ค.ศ. 1922 หลังจากนั้นเขาย้ายไปทำวิจัยที่สถาบันรามอน อี กาฆัล[6] จนเสียชีวิต
ในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1934 เขาเสียชีวิตในบ้านที่มาดริด ประเทศสเปน
ผลงานทางวิทยาศาสตร์
แก้ค.ศ. 1888 ตอนที่เขาอยู่ที่บาร์เซโลนา ได้ใช้เทคนิกการย้อมสีตามแบบของกามิลโล กอลจี นักวิทยาศาสตร์อิตาลี และค้นพบการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทในสารสีเทา ระบบประสาทของสมองและกระดูกสันหลัง ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกนำเสนอที่ สถาบันกายวิภาคศาสตร์เยอรมันใน ค.ศ. 1889 ซึ่งให้คำอธิบายเกี่ยวกับกระแสประสาท ในปี ค.ศ. 1906 เขาและกอลจีด้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์ จากการศึกษาระบบประสาท
สิ่งตีพิมพ์
แก้รามอน อี กาฆัลพิมพ์เผยแพร่งานและบทความทางวิทยาศาสตร์ มากกว่า 100 ผลงานในภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน และภาษาเยอรมัน ที่โด่งดังมากที่สุดก็คือ "กฎเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับการสืบสวนทางวิทยาศาสตร์", "มิญชวิทยา (วิทยาเนื้อเยื่อ)", "ความเสื่อมและการเจริญทดแทนของระบบประสาท", "คู่มือเทคนิคมาตรฐานในวิทยาเนื้อเยื่อและไมโครกราฟ", "องค์ประกอบต่าง ๆ ของวิทยาเนื้อเยื่อ", "คู่มือพยาธิวิทยาทั่วไป", "ข้อคิดใหม่ ๆ ในกายวิภาคแบบละเอียดของศูนย์ประสาท", "ตำราระบบประสาทของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง", "เรตินาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง"[3]
ในปี ค.ศ. 1905 เขาตีพิมพ์หนังสือนวนิยายวิทยาศาสตร์ "เรื่องต่าง ๆ ในเวลาหยุดงาน" ภายใต้นามปากกา "ดร. แบคทีเรีย"
งานตีพิมพ์ของเขารวมทั้ง
- ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล (1900). Manual de Anatomia Patológica General (คู่มือกายวิภาคยพยาธิวิทยาทั่วไป) (ภาษาสเปน).
- ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล (1894). Die Retina der Wirbelthiere: Untersuchungen mit der Golgi-cajal'schen Chromsilbermethode und der ehrlich'schen Methylenblaufärbung (ภาษาเยอรมัน). เบอรก์แมนน์.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล (1894). Les nouvelles idées sur la structure du système nerveux chez l'homme et chez les vertébrés. (English translation, 2004: ″Texture of the nervous system of man and the vertebrates″, Berlin: Springer) (ภาษาฝรั่งเศส). C. Reinwald.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล (1896). Beitrag zum Studium der Medulla Oblongata: Des Kleinhirns und des Ursprungs der Gehirnnerven (ภาษาเยอรมัน). Verlag von Johann Ambrosius Barth.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - รามอน อี กาฆัล, ซานเตียโก (1898). "Estructura del quiasma óptico y teoría general de los entrecruzamientos de las vías nerviosas" [Die Structur des Chiasma opticum nebst einer allgemeine Theorie der Kreuzung der Nervenbahnen (เยอรมัน, 1899, Verlag Joh. A. Barth)]. Rev. Trim. Micrográfica (ภาษาสเปน). 3: 15–65.
- ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล (1899). Comparative study of the sensory areas of the human cortex (การศึกษาแบบเปรียบเทียบของเขตรับความรู้สึกในคอร์เทกซ์ของมนุษย์).
- ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล (1906). Studien über die Hirnrinde des Menschen v.5 (ภาษาเยอรมัน). โยแฮนน์ แอมโบรเซียส บาร์ท.
ภาพวาดโดย รามอน อี กาฆัล
แก้-
รูปวาดของวงจรประสาทในฮิปโปแคมปัสของสัตว์ฟันแทะ จาก Histologie du Systeme Nerveux de l'Homme et des Vertebretes, Vols. 1 and 2. A. Maloine. Paris. 1911.
-
รูปวาดเซลล์ประสาทในซีรีเบลลัมของลูกไก่ จาก "Estructura de los centros nerviosos de las aves", Madrid, 1905.
-
รูปวาดของหน้าตัดจาก optic tectum ของนกกระจอก จาก "Estructura de los centros nerviosos de las aves", Madrid, 1905.
-
โครงสร้างของเรตินาในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จาก "Structure of the Mammalian Retina (โครงสร้างของเรตินาในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)" Madrid, 1900.
-
รูปวาด Purkinje cells (A) และ เซลล์ประสาทเล็ก (B) ในซีรีเบลลัมของนกพิราบ โดย ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล, 1899. Instituto Santiago Ramón y Cajal, Madrid, Spain.
-
รูปวาด Cajal-Retzius cells, 1891.
เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ ForMemRS เป็นชื่อเรียกที่อนุญาตให้ใช้ ตามหลังชื่อของผู้ที่เป็นสมาชิกต่างชาติของราชสมาคมแห่งลอนดอน
- ↑ doi:10.1098/rsbm.1935.0007
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ 3.0 3.1 Nobel lectures, Physiology or Medicine 1901-1921. Amsterdam: Elsevier Publishing Company. 1967. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2013-01-29.
- ↑ The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1906|"http://nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/laureates/1906/index.html"
- ↑ "History of Neuroscience". Society for Neuroscience. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-15. สืบค้นเมื่อ 2008-10-09.
- ↑ http://www.cajal.csic.es/ingles/historia.html เก็บถาวร 2017-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Institue of Cajal's history
ดูเพิ่ม
แก้หนังสืออ้างอิงอื่น
แก้- Everdell, William R. (1998). The First Moderns. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 0-226-22480-5.
- Mazzarello, Paolo (2010). Golgi: A Biography of the Founder of Modern Neuroscience. Translated by Aldo Badiani and Henry A. Buchtel. New York: Oxford University Press. ISBN 9780195337846.
- Ramón y Cajal, Santiago (1999) [1897]. Advice for a Young Investigator. Translated by Neely Swanson and Larry W. Swanson. Cambridge: MIT Press. ISBN 0-262-68150-1.
- Ramón y Cajal, Santiago (1937). Recuerdos de mi Vida. Cambridge: MIT Press. ISBN 84-206-2290-7.
แหล่งอ้างอิงอื่น
แก้- แม่แบบ:Cite PMID (Review of the work of the 1906 Nobel Prize in Physiology or Medicine winners Camillo Golgi and Santiago Ramon y Cajal)
- The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1906 เก็บถาวร 2008-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Life and discoveries of Cajal
- Special Collection: Santiago Ramón y Cajal เก็บถาวร 2010-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (University of Barcelona Library)
- Brief overview of Cajal's career เก็บถาวร 2012-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน