ชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ประเทศไทย

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ (อังกฤษ: Thailand Biology Olympiad: TBO) เป็นหนึ่งในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติของประเทศไทย จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

ประวัติ แก้

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 ณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กติกาและรูปแบบการแข่งขัน แก้

ศูนย์ สอวน. ที่เข้าร่วมการแข่งขันส่งได้หนึ่งทีมประกอบด้วยนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกของแต่ละศูนย์ จำนวน 6 คน เฉพาะศูนย์ สอวน. โรงเรียนเทพศิรินทร์ ส่งนักเรียนเข้าแข่งขันได้ 3 ทีม (18 คน) แต่ละศูนย์มีอาจารย์ของศูนย์ 2 คน ที่จะต้องรับผิดชอบด้านวิชาการ (ยกเว้นศูนย์ สอวน. โรงเรียนเทพศิรินทร์ มีได้ไม่เกิน 6 คน) อาจารย์ทั้งสองมีสถานภาพเป็นสมาชิกของคณะกรรมการชีววิทยาโอลิมปิก สอวน. สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และจะถือว่าเป็นผู้ประสานงานของศูนย์นั้นในเรื่องการแข่งขันเกี่ยวกับกิจกรรมการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ จนกระทั่งมีการแข่งขันครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังให้มีผู้สังเกตการณ์อีกหนึ่งคนจากแต่ละศูนย์ ทำหน้าที่ดูแลการนำนักเรียนเดินทางจากศูนย์ไปยังศูนย์เจ้าภาพและการนำนักเรียนเดินทางกลับยังภูมิลำเนา

กำหนดให้มีการสอบ 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 เป็นภาคทฤษฏี และส่วนที่ 2 เป็นภาคปฏิบัติ ซึ่งใช้เวลาในการทำข้อสอบภาคละ 3 ชั่วโมง ภาคทฤษฎี มีเนื้อหาครอบคลุม 6 หัวข้อ (ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมง) ข้อสอบภาคทฤษฎี มี 2 ชุด

  • ชุดที่ 1 ข้อสอบปรนัย แบบ 4 ตัวเลือก 100 ข้อๆ ละ 1 คะแนน รวม 100 คะแนน
  • ชุดที่ 2 ข้อสอบอัตนัยแบบเขียนตอบสั้นๆ หรือมีหลายตัวเลือกให้เขียนตอบ รวม 100 คะแน

แจกแจงตามสัดส่วนหัวข้อต่าง ๆ ดังตารางข้างล่างนี้[1]

หัวข้อ ข้อสอบปรนัย (คะแนน) ข้อสอบอัตนัย (คะแนน)
Cell Structure and Function 20 20
Plant Anatomy and Physiology 15 15
Animal Anatomy and Physiology 15 15
Ethology and Ecology 15 15
Genetics and Evolution 20 20
Biosystematics 15 15
รวม 100 100

ภาคปฏิบัติ ครอบคลุมเนื้อหาใน 4 หัวข้อ (ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมง) แจกแจงตามสัดส่วนหัวข้อต่าง ๆ ดังตารางข้างล่างนี้

หัวข้อ สัดส่วนข้อสอบ (คะแนน)
Cell 25
Plant Anatomy and Physiology 25
Animal Anatomy and Physiology 25
Biosystematics and Ecology 25

สัดส่วนการคิดคะแนนรวมร้อยละ 100 เป็นคะแนนสอบภาคทฤษฎีร้อยละ 60 และ คะแนนสอบภาคปฏิบัติอีกร้อยละ 40 ผู้แข่งขันจะได้รับเกียรติบัตรรางวัลเหรียญทอง (Gold) เหรียญเงิน (Silver) เหรียญทองแดง ตามลำดับคะแนนที่ทำได้ตามข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการกลางวิชาชีววิทยาของสอวน. และผู้แทนศูนย์ สอวน. ทุกศูนย์ที่เข้าร่วมการแข่งขัน

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติในอนาคต[2] แก้

TBO เมืองที่จัดการแข่งขัน ศูนย์เจ้าภาพ
21 ขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติที่ผ่านมา แก้

TBO เมืองที่จัดการแข่งขัน ศูนย์เจ้าภาพ วันที่จัดการแข่งขัน
20 นครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 3 - 7 เมษายน พ.ศ. 2566
19 กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 10 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
18 กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 8 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2564
17 เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563
16 นครปฐม โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 6 - 10 เมษายน พ.ศ. 2562
15 สงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 6 - 10 เมษายน พ.ศ. 2561
14 กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 12 - 16 เมษายน พ.ศ. 2560
13 กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยศิลปากร 5 - 9 เมษายน พ.ศ. 2559
12 ชลบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา 3 - 7 เมษายน พ.ศ. 2558
11 สงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ 4 - 8 เมษายน พ.ศ. 2557
10 พิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร 5 - 9 เมษายน พ.ศ. 2556
9 อุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 5 - 9 เมษายน พ.ศ. 2555
8 นครปฐม มหาวิทยาลัยมหิดล 27 เมษายน – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
7 นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 25 - 30 เมษายน พ.ศ. 2553
6 ขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
5 นครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 3-7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
4 กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 เมษายน – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
3 ขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น 30 เมษายน - 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
2 เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 20 - 24 เมษายน พ.ศ. 2548
1 กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2547

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ธรรมนูญการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ
  2. พิธีปิดการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 20