ต่อศักดิ์ สุขวิมล

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล (เกิด 27 มกราคม พ.ศ. 2507) เป็นนายตำรวจชาวไทย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1][2] อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และอดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

ต่อศักดิ์ สุขวิมล
ต่อศักดิ์ ใน พ.ศ. 2566
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกโดยตำแหน่ง
17 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 125 วัน)
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี[a]
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 202 วัน)
รักษาการแทนพลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 364 วัน)
ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564
(0 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าพลตำรวจโท สุทิน ทรัพย์พ่วง
ถัดไปพลตำรวจโท จิรภพ ภูริเดช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 มกราคม พ.ศ. 2507 (60 ปี)
อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
คู่สมรสนิภาพรรณ สุขวิมล
บุตร2
บุพการี
  • นิพนธ์ สุขวิมล (บิดา)
  • สมนึก สุขวิมล (มารดา)
ศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบูรณะ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ยศ พลตำรวจเอก

ประวัติ แก้

พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2507 ที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องในบรรดาพี่น้อง 5 คนของนายนิพนธ์และนางสมถวิล สุขวิมล และเป็นน้องชายของพลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์และเลขาธิการพระราชวัง ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางนิภาพรรณ สุขวิมล มีบุตรสาวทั้งสิ้น 2 คน[3]

วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2565 พลตำรวจเอกต่อศักดิ์ ได้เข้าร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพบุคคลที่เสียชีวิตจากเหตุกราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2565 พร้อมมอบเงินบริจาคจำนวนหนึ่งให้ผู้สูญเสีย[4]

ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ซึ่งมีเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเลือกพลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สืบต่อจากพลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์[5] โดยมีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 กันยายน และมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีเศรษฐาเป็นประธานกรรมการ และพลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ เป็นหนึ่งในกรรมการ[6] ในวันเดียวกันเกิดเหตุกราดยิงที่สยามพารากอน ซึ่งเศรษฐาสั่งการให้เขาพร้อมด้วยคณะทำงาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ และรายงานความคืบหน้าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ทราบเป็นระยะ[7] หลังจากนั้นในอีกสองสัปดาห์ต่อมาที่พิธีสวนสนามเนื่องในวันตำรวจ เขาได้มอบแหวนอัศวินให้กับร้อยตำรวจเอก ธัญอมร หนูนารถ รองสารวัตรสืบสวนปฏิบัติหน้าที่รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ที่เข้าไประงับเหตุดังกล่าวเป็นคนแรก[8]

20 มีนาคม 2567 ได้รับหนังสือคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 106/2567 จากนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน​ ให้ไปประจำสำนักนายกฯ เป็นคำสั่งเร่งด่วน

การศึกษา แก้

ต่อศักดิ์สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนพันธะศึกษา ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนโยธินบูรณะ ระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 38 และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณทิต จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม[ต้องการอ้างอิง]

ตำแหน่ง แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. ช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567 และมอบหมายให้ พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ทำหน้าที่รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

อ้างอิง แก้

  1. "พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล" ผงาด ผบ.ตร.คนที่ 14
  2. "แต่งตั้ง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็น ผบ.ตร. คนที่ 14". บีบีซี. 2023-09-27.
  3. พล.ต.ต.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบช.ก. คนใหม่ น้องชายเลขาธิการพระราชวัง
  4. ผบ.ตร.มอบเงินบริจาคเยียวยาครอบครัวผู้สูญเสีย จ.หนองบัวลำภู 11.6 ล้าน
  5. "16 ก.ตร.ใครบ้างเลือก "บิ๊กต่อ"นั่งผบ.ตร.คนใหม่". Thai PBS.
  6. "เปิดหน้า บอร์ดคุมแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท 28 คน มีบิ๊กต่อ ผบ.ตร.ด้วย". ประชาชาติธุรกิจ. 3 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "นายกฯ เผย ผบ.ตร. รุดไปพารากอน "ชฎาทิพ" ผู้บริหารรีบออกจากห้องประชุมติดตามสถานการณ์". ไทยรัฐ. 3 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. ผบ.ตร. มอบ แหวนอัศวิน ให้ รอง สวป.ปทุมวัน เข้าระงับเหตุกราดยิงพารากอน
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๒๔๒ ง หน้า ๑ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๗๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๒, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๔, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
ก่อนหน้า ต่อศักดิ์ สุขวิมล ถัดไป
พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์    
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
  อยู่ในวาระ