จักรพรรดิเซวะ (ญี่ปุ่น: 清和天皇โรมาจิSeiwa-tennō; 10 พฤษภาคม ค.ศ. 850 – 7 มกราคม ค.ศ. 881) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 56[1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2]

จักรพรรดิเซวะ
清和天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์7 ตุลาคม ค.ศ. 858 — 18 ธันวาคม ค.ศ. 876
ราชาภิเษก15 ธันวาคม ค.ศ. 858
ก่อนหน้ามนโตกุ
ถัดไปโยเซ
ประสูติ10 พฤษภาคม ค.ศ. 850
เฮอังเกียว (เกียวโต)
สวรรคต7 มกราคม ค.ศ. 881(881-01-07) (30 ปี)
เฮอังเกียว (เกียวโต)
ฝังพระศพมิโนโอยามะ โนะ มิซาซางิ (水尾山陵; เกียวโต)
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
จักรพรรดิโยเซ
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิเซวะ (清和天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิมนโตกุ
พระราชมารดาฟูจิวาระ โนะ อากิราเกโกะ

รัชสมัยของเซวะอยู่ในช่วง ค.ศ. 858 ถึง 876[3]

เรื่องเล่าแบบดั้งเดิม

แก้

เซวะเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในจักรพรรดิมนโตกุ พระราชมารดาของพระองค์มีพระนามว่าสมเด็จพระจักรพรรดินีพันปีหลวง ฟูจิวาระ โนะ อากิราเกโกะ (明子) ซึ่งมีอีกพระนามว่า จักพรรรดินีโซเมโดโนะ (染殿后) พระราชมารดาของเซวะเป็นธิดาในฟูจิวาระ โนะ โยชิฟูซะ (藤原良房) ผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเป็นเสนาบดีคนสำคัญของสภาแห่งรัฐ[4] พระองค์เป็นพระอนุชาต่อพระราชมารดาของเจ้าชายโคเรตากะ (惟喬親王; 844–897)

อิมินะ

แก้

ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ เซวะมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[5] ว่า โคเรฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 惟仁โรมาจิKorehito)[6] ถือเป็นสมาชิกคนแรกในราชวงศ์ญี่ปุ่นที่มีพระนามลงท้าย "-ฮิโตะ" () ภายหลังจึงเป็นธรรมเนียมให้สมาชิกเชื้อพระวงศ์ชายมีพระนามส่วนพระองค์เป็นไปตามนี้[ต้องการอ้างอิง]

ตอนเป็นจักรพรรดิ พระองค์ยังเป็นที่รู้จักในพระนาม มิซูโนโอะ-โนะ-มิกาโดะ[4] หรือ มิโนโอะ-เทอิ[7]

เหตุการณ์ในพระชนมชีพของเซวะ

แก้

ในวันที่ 27 เดือน 8 ปี เท็นอัง ที่ 2 ตรงกับวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 858 จักรพรรดิมนโตะกุประชวรและเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันขณะมีพระชนมายุเพียง 32 พรรษาทำให้เจ้าชายโคะเระฮิโตะพระชนมายุเพียง 8 พรรษาได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิเซวะ และได้มีพิธีราชาภิเษกที่ พระราชวังหลวงเฮอัง เมื่อวันที่ 7 เดือน 11 ปี เท็นอัง ที่ 2 ตรงกับวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 858 โดยได้มีการแต่งตั้ง ฟุจิวะระ โนะ โยะชิฟุซะ ขุนนางผู้ใหญ่และเป็นพระอัยกา (ตา) ของจักรพรรดิเซวะให้ดำรงตำแหน่ง เซ็สโซ หรือผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

จากนั้นในวันที่ 16 เดือน 12 ปี โจกัง ที่ 10 ตรงกับวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 869 พระชายาองค์หนึ่งของจักรพรรดิเซวะคือ ฟุจิวะระ โนะ ทะกะอิโกะ ได้มีพระประสูติกาลพระราชโอรสองค์ใหญ่คือ เจ้าชายซะดะอะกิระ (貞明親王) หลังจากนั้นในวันที่ 1 เดือน 2 ปี โจกัง ที่ 11 ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 869 จักรพรรดิเซวะได้สถาปนาเจ้าชายซาดะอะกิระขึ้นเป็นรัชทายาทและผู้สืบราชบัลลังก์นอกจากนี้จักรพรรดิเซวะยังมีพระราชโอรสที่สำคัญอีกพระองค์หนึ่งคือ เจ้าชายซาดะซูมิ (貞純親王) ซึ่งเป็นต้นสายเซวะเก็นจิที่เป็นบรรพบุรุษของตระกูลมินาโมโตะ,ตระกูลอาชิกางะและตระกูลโทกูงาวะ ที่ได้เป็นโชกุนปกครองญี่ปุ่น

จักรพรรดิเซวะได้สละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายซาดะอากิระขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิโยเซ เมื่อวันที่ 29 เดือน 11 ปี โจกัง ที่ 11 ตรงกับวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 876 หลังจากครองสิริราชสมบัติได้ 18 ปี จากนั้นไม่นานได้มีการประกอบพิธีราชาภิเษกจักรพรรดิโยเซที่พระราชวังหลวงเฮอังโดยอดีตจักรพรรดิเซวะได้เป็นไดโจเท็นโน (มหาจักรพรรดิ) กุมพระราชอำนาจไว้ในพระนามของพระราชโอรส

หลังจากกุมพระราชอำนาจไว้นาน 2 ปีอดีตจักรพรรดิเซวะก็ประชวรหนักและพระองค์คิดว่าคงไม่รอดแน่จึงตัดสินพระทัยออกผนวชโดยได้รับฉายาทางธรรมว่า โซชิน เมื่อปี กันเกียว ที่ 2 ตรงกับ ค.ศ. 878 หลังจากนั้นไม่นานอดีตจักรพรรดิเซวะหรือท่านโซชินก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 4 เดือน 12 ปี กันเกียว ที่ 2 ตรงกับวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 881 ขณะมีพระชนมายุเพียง 30 พรรษา

รัชสมัยของเซวะ

แก้

ปีปีในรัชสมัยเซวะมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราชหรือ เน็งโง[6]

พระราชวงศ์

แก้

พระราชพงศาวลี

แก้

[8]

อ้างอิง

แก้
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 清和天皇 (56)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 66.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 115–121., p. 115, ที่กูเกิล หนังสือ; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 286–288; Varley, H. Paul. Jinnō Shōtōki, pp. 166–17.
  4. 4.0 4.1 Varley, p. 166.
  5. Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors (their imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
  6. 6.0 6.1 Titsingh, p. 115., p. 115, ที่กูเกิล หนังสือ
  7. Ponsonby-Fane, p. 8.
  8. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 3 February 2018.

ข้อมูล

แก้