จักรพรรดิมนโตกุ
จักรพรรดิมนโตกุ (ญี่ปุ่น: 文徳天皇; โรมาจิ: Montoku-tennō; สิงหาคม ค.ศ. 826 – 7 ตุลาคม ค.ศ. 858) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 55[1] ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2]
จักรพรรดิมนโตกุ 文徳天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 4 พฤษภาคม ค.ศ. 850 – 7 ตุลาคม ค.ศ. 858 | ||||
ราชาภิเษก | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 850 | ||||
ก่อนหน้า | นิมเมียว | ||||
ถัดไป | เซวะ | ||||
ประสูติ | สิงหาคม ค.ศ. 826 เฮอังเกียว (เกียวโต) | ||||
สวรรคต | 7 ตุลาคม ค.ศ. 858 เฮอังเกียว (เกียวโต) | (32 ปี)||||
ฝังพระศพ | ทามูระ โนะ มิซาซางิ (田邑陵; เกียวโต) | ||||
พระราชบุตร และอื่น ๆ... | จักรพรรดิเซวะ | ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดินิมเมียว | ||||
พระราชมารดา | ฟูจิวาระ โนะ จุนชิ |
รัชสมัยของจักรพรรดิมนโตกุกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 850 ถึง 858[3]
เรื่องเล่าแบบดั้งเดิม
แก้ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ มนโตกุมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[4] ว่า มิจิยาซุ (ญี่ปุ่น: 道康; โรมาจิ: Michiyasu)[5] พระองค์ยังเป็นที่รู้จักในพระนาม ทามูระ-โนะ-มิกาโดะ[6] หรือ ทามูระ-เทอิ[7]
พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์โตในจักรพรรดินิมเมียว พระราชมารดาคือสมเด็จพระจักรพรรดินีพันปีหลวงฟูจิวาระ โนะ จุนชิ (มีอีกพระนามว่า จักรพรรดินีโกโจ 五条后) ธิดาในรัฐมนตรีฝ่ายซ้าย ฟูจิวาระ โนะ ฟูยุตสึงุ[6]
มนโตกุมีพระมเหสีรวม 6 พระองค์ และพระราชโอรสธิดารวม 29 พระองค์[8]
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของมนโตกุ
แก้เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคตในวันที่ 21 เดือน 3 ปี คาโช ที่ 3 ตรงกับวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 850 เจ้าชายมิชิยะซุพระชนมายุ 24 พรรษาจึงได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิมนโตะกุ หลังจากนั้นอีก 25 วันคือวันที่ 17 เดือน 4 ปี คาโช ที่ 3 ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 850 ได้มีการประกอบพิธีราชาภิเษกจักรพรรดิมนโตะกุที่ พระราชวังหลวงเฮอัง
หลังจากครองสิริราชสมบัติได้เพียงเดือนเศษพระอัยยิกา (ย่า) ของจักรพรรดิคือ ทะชิบะนะ โนะ คะชิโกะ หรือ จักรพรรดินีดันริน อดีตจักรพรรดินีใน จักรพรรดิซะงะ จักรพรรดิองค์ที่ 52 และเป็นพระราชมารดาของจักรพรรดินิมเมียวได้สิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 4 เดือน 5 ปี คาโช ที่ 3 ตรงกับวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 850
ต่อจากนั้นในวันที่ 25 เดือน 11 ปี คาโช ที่ 3 ตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 850 จักรพรรดิมนโตะกุได้สถาปนา เจ้าชายโคเรฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 惟仁親王; โรมาจิ: Korehito-shinnō) พระราชโอรสองค์ที่ 4 ที่ประสูติแต่จักรพรรดินีฟุจิวะระ โนะ อะกิระเคโกะธิดาของ ฟุจิวะระ โนะ โยะชิฟุซะ พระชนมายุเพียง 8 เดือนขึ้นเป็นรัชทายาทและผู้สืบราชบัลลังก์
จักรพรรดิมนโตะกุประชวรและเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันในวันที่ 27 เดือน 8 ปี เท็นอัง ที่ 2 ตรงกับวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 858 เจ้าชายโคะเระฮิโตะพระชนมายุเพียง 8 พรรษาจึงได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิเซวะ โดยมีโยะชิฟุซะผู้เป็นพระอัยกา (ตา) ได้เป็น เซ็สโซ (ผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) โดยโยะชิฟุซะนับเป็นเซ็สโซคนแรกที่ไม่ได้มาจากราชวงศ์และหลังจากโยะชิฟุซะแล้วตระกูลฟุจิวะระและตระกูลที่เป็นสาขาย่อยของฟุจิวะระก็แทบจะผูกขาดทั้งตำแหน่งเซ็สโซและ คัมปากุ (ผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่เจริญพระชนมายุแล้ว) จนกระทั่งทั้งสองตำแหน่งนี้ได้ถูกยกเลิกไปในที่สุด
โดยจักรพรรดิเซวะได้ประกอบพิธีราชาภิเษกที่ พระราชวังหลวงเฮอัง เมื่อวันที่ 7 เดือน 11 ปี เท็นอัง ที่ 2 ตรงกับวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 858
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
แก้- พระมเหสี (เนียวโงะ) (ไท-โคไตโง): ฟูจิวาระ โนะ อากิราเกโกะ (藤原明子; 829–899) มีอีกนามส่า โซเมโดโนะ-โนะ-คิซากิ ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โยชิฟูซะ[9]
- พระราชโอรสองค์ที่ 4: เจ้าชายโคเรฮิโตะ (惟仁親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิเซวะ
- พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าหญิงกิชิ (儀子内親王; สวรรคต ค.ศ. 879) ไซอิงคนที่ 6 แห่งศาลเจ้าคาโมะ (859–876)
- พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ โคชิ/ฟูรูโกะ (藤原古子) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ฟูยุตสึงุ
- พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ ทากากิโกะ (藤原多賀幾子; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 858) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โยชิมิ
- พระมเหสี (เนียวโงะ): เจ้าหญิงอาซูมาโกะ (東子女王; สวรรคต ค.ศ. 865)
- พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ เน็นชิ/โทชิโกะ (藤原年子)
- พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ โคเรโกะ (藤原是子)
- พระมเหสี (เนียวโงะ): ทาจิบานะ โนะ ฟูซาโกะ (橘房子) ธิดาในทาจิบานะ โนะ อูจิกิมิ
- พระมเหสี (เนียวโงะ): ทาจิบานะ โนะ ชูชิ (橘忠子) ธิดาในทาจิบานะ โนะ อูจิกิมิ
- พระมเหสี (โคอูอิ): คิ โนะ ชิซูโกะ (紀静子; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 866) ธิดาในคิ โนะ นาโตระ
- พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายโคเรตากะ (惟喬親王; 844–897)
- พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายโคเรเอดะ (惟条親王; 848–868)
- เจ้าหญิงเท็นชิ (恬子内親王; สวรรคต ค.ศ. 913) ไซโอองค์ที่ 20 แห่งศาลเจ้าอิเซะ (859–876)
- พระราชธิดาองค์ที่ 5: เจ้าหญิงจุตสึชิ (述子内親王; สวรรคต ค.ศ. 897) ไซอิงองค์ที่ 5 แห่งศาลเจ้าคาโมะ (857–858)
- เจ้าหญิงชินชิ (珍子内親王; สวรรคต ค.ศ. 877)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- (จากสตรีไม่ทราบนาม)
- มินาโมโตะ โนะ โทมิอาริ (源富有, สวรรคต ค.ศ. 887)
- มินาโมโตะ โนะ เฮียวชิ (源憑子)
- มินาโมโตะ โนะ เค็นชิ (源謙子)
- มินาโมโตะ โนะ โอกูโนะ (源奥子)
- มินาโมโตะ โนะ เร็ตสึชิ (源列子)
- มินาโมโตะ โนะ เซชิ (源済子) อภิเษกสมรสกับจักรพรรดิเซวะ
- มินาโมโตะ โนะ ชูโกะ (源修子)
พระราชพงศาวลี
แก้พงศาวลีของจักรพรรดิมนโตกุ[10] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 文徳天皇 (55)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 64–65.
- ↑ Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 264–265; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, p. 165; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, p. 112., p. 112, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors were very long and people did not generally use them; however, the number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
- ↑ Titsingh, p. 112; Brown p. 285.
- ↑ 6.0 6.1 Varley, p. 165.
- ↑ Ponsonby-Fane, p. 8.
- ↑ Brown, p. 285.
- ↑ Ponsonby-Fane, pp. 319–320.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 30 January 2018.
ข้อมูล
แก้- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842