จง ยฺวี่
จง ยฺวี่ (จีน: 鍾毓; พินอิน: Zhōng Yù; คริสต์ทศวรรษ 210 หรือ ค.ศ. 224[a] – 263) ชื่อรอง จื้อชู (จีน: 稚叔; พินอิน: Zhìshū) เป็นขุนพลและขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน จง ยฺวี่เป็นบุตรชายของจงฮิวผู้ดำรงตำแหน่งเป็นราชครู (太傅 ไท่ฟู่) ในราชสำนักวุยก๊ก และเป็นพี่ชายของจงโฮยขุนพลของรัฐวุยก๊ก
จง ยฺวี่ | |
---|---|
鍾毓 | |
แม่ทัพมณฑลเกงจิ๋ว (都督荊州 ตูตูจิงโจว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 263 | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
แม่ทัพมณฑลชีจิ๋ว (都督徐州 ตูตูสฺวีโจว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
ขุนพลหลัง (後將軍 โฮ่วเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 258 – ค.ศ. ? | |
ข้าหลวงมณฑลเฉงจิ๋ว (青州刺史 ชิงโจวชื่อฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 258 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 255 – ค.ศ. 258 | |
กษัตริย์ | โจมอ |
เสนาบดีตุลาการ (廷尉 ถิงเว่ย์) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 255 | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ผู้ช่วยขุนนางตรวจสอบ (御史中丞 ยฺหวี่ฉื่อจงเฉิง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 249 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
เจ้าเมืองเว่ย์จฺวิ้น (魏郡太守 เว่ย์จฺวิ้นไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 244 – ค.ศ. 249 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 244 – ค.ศ. 249 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
นายทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซ่านฉีฉางชื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 244 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | คริสต์ทศวรรษ 210 หรือ ค.ศ. 224[a] |
เสียชีวิต | ค.ศ. 263 |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ญาติ |
|
อาชีพ | ขุนพล, ขุนนาง |
ชื่อรอง | จื้อชู (稚叔) |
สมัญญานาม | ฮุ่ยโหว (惠侯) |
บรรดาศักดิ์ | ติ้งหลิงโหว (定陵侯) |
ประวัติ
แก้บ้านเกิดบรรพบุรุษของจง ยฺวี่คือในอำเภอฉางเช่อ (長社縣 ฉางเช่อเซี่ยน) เมืองเองฉวน (潁川郡 อิ่งชฺวานจฺวิ้น) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของนครฉางเก่อ มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน[2] จงโฮยเป็นบุตรชายคนโตของจงฮิว (鍾繇 จง เหยา) ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นราชครู (太傅 ไท่ผู่) ในราชสำนักวุยก๊ก
เมื่อจง ยฺวี่อายุ 14 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานทหารม้ามหาดเล็ก (散騎侍郎 ซ่านฉีชื่อหลาง) จง ยฺวี่เป็นคนฉลาดมีไหวพริบ ชอบพูดคุยและหัวเราะ และมีลักษณะนิสัยเหมือนจงฮิวผู้บิดา[3]
ในปี ค.ศ. 228 จง ยฺวี่เขียนฎีกาถวายโจยอยจักรพรรดิแห่งวุยก๊กเพื่อทูลทัดทานไม่ให้พระองค์นำทัพด้วยพระองค์เองไปรบกับจูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊กรัฐอริของวุยก๊กที่กิสาน (祁山 ฉีชาน; พื้นที่ภูเขาบริเวณอำเภอหลี่ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน)[4] หลังจากนั้น จง ยฺวี่ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานสำนักประตูเหลือง (黃門侍郎 หฺวางเหมินชื่อหลาง)[5]
ในปี ค.ศ. 230 จงฮิวบิดาของจง ยฺวี่เสียชีวิต จง ยฺวี่ได้สืบทอดบรรดาศักดิ์ติ้งหลิงโหว (定陵侯) ของบิดา[6]
ในช่วงศักราชเจิ้งฉื่อ (正始; ค.ศ. 240-249) ในรัชสมัยของจักรพรรดิโจฮอง จง ยฺวี่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นนายทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซ่านฉีฉางชื่อ)[7]
ในปี ค.ศ. 244 โจซองมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน) แห่งวุยก๊กยกทัพโจมตีจ๊กก๊ก แต่ทัพจ๊กก๊กป้องกันได้อย่างมั่นคง ทัพวุยก๊กไม่สามารถรุกคืบได้ อีกทั้งยังประสบปัญหาด้านการขนส่งเสบียง ในช่วงเวลาเดียวกัน กำลังเสริมของจ๊กก๊กที่นำโดยบิฮุยและคนอื่น ๆ ก็ยกมาหนุนช่วย โจซองจึงขอกำลังเสริมเพิ่ม จง ยฺวี่มีความเห็นว่าไม่ควรโจมตีด้วยกำลัง หากโจมตีได้ก็ควรโจมตี แต่หากเอาชนะไม่ได้ก็ควรล่าถอยเพื่อเลี่ยงภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก จง ยฺวี่จึงทัดทานเรื่องการส่งกำลังเสริม ในที่สุดโจซองก็ล่าถอยไป[8] เนื่องจากจง ยฺวี่คัดค้านคำขอของโจซองที่ต้องการกำลังเสริม จง ยฺวี่จึงถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) และถูกส่งไปเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองเว่ย์จฺวิ้น (魏郡)[9]
ในปี ค.ศ. 249 สุมาอี้ก่อรัฐประหารในอุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลงและจับโจซองพร้อมครอบครัวประหารชีวิต จง ยฺวี่ได้รับการเรียกตัวกลับมารับราชการในราชสำนักในตำแหน่งผู้ช่วยขุนนางตรวจสอบ (御史中丞 ยฺหวี่ฉื่อจงเฉิง) และเสนาบดีตุลาการ (廷尉 ถิงเว่ย์)[10]
ในปี ค.ศ. 254 ลิฮอง (李豐 หลี่ เฟิง) ขุนนางตำแหน่งหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการราชวัง (中書令 จงชูลิ่ง) วางแผนจะสังหารสุมาสูผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก แต่ลิฮองกลับถูกสุมาสูสังหารเสียก่อน ภายหลังซู ชั่ว (蘇鑠), เยฺว่ ตุน (樂敦) หลิว เสียน (劉賢) รวมถึงแฮเฮาเหียนถูกส่งไปยังกรมตุลาการ จง ยฺวี่ผู้เป็นเสนาบดีตุลาการถวายฎีกาว่า "ลิฮองและคนอื่น ๆ วางแผนจะบีบบังคับเบื้องสูง หวังจะสังหารอัครมหาเสนาบดี ก่อกบฏใหญ่หลวงโดยไร้ความชอบธรรม ขอให้ตัดสินโทษตามกฎหมาย" ท้ายที่สุดทั้ง 5 คนต่างถูกลงโทษโดยการประหารชีวิตสามชั่วโคตร[11]
ในปี ค.ศ. 255 บู๊ขิวเขียมและบุนขิมขุนพลของวุยก๊กก่อกบฏที่ฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว นครลู่อาน มณฑลอานฮุย) จง ยฺวี่ได้รับมอบอาญาสิทธิ์ให้เดินทางไปยังมณฑลยังจิ๋วและอิจิ๋วเพื่อประกาศพระราชโองการนิรโทษกรรมให้กับเหล่าทหารที่เข้าร่วมในการก่อกบฏ หลังจากจง ยฺวี่กลับมาราชสำนักก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)[12]
ในปี ค.ศ. 257 จูกัดเอี๋ยนขุนพลของวุยก๊กก่อกบฏที่ฉิวฉุน สุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊กคิดจะยกพลไปปราบกบฏด้วยตนเอง ในช่วงเวลานั้น ซุน อี (孫壹) ขุนพลของรัฐง่อก๊กนำทหารมาขอสวามิภักดิ์ต่อวุยก๊ก บางคนมีความเห็นว่าง่อก๊กคงมีความขัดแย้งภายในอีก จึงน่าจะไม่สามารถส่งกำลังพลไปสนับสนุนการก่อกบฏที่ฉิวฉุนได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องรีบกำจัดจูกัดเอี๋ยน แต่จง ยฺวี่มีความเห็นว่าการตีจากของซุน อีเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยสำหรับง่อก๊ก และหากปัญหาที่ฉิวฉุนไม่ได้รับการแก้ไขเป็นเวลานานประกอบกับสถานการณ์ภายในง่อก๊กมั่นคงแล้ว ง่อก๊กก็จะส่งกำลังทหารไปหนุนช่วยเป็นแน่ สุมาเจียวเห็นด้วยกับจง ยฺวี่แล้วจึงเริ่มยกทัพไปปราบกบฏ[13]
หลังการปราบกบฏจูกัดเอี๋ยนสำเร็จในปี ค.ศ. 258 จง ยฺวี่ได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าหลวงมณฑล (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลเฉงจิ๋ว และได้รับยศเป็นขุนพลหลัง (後將軍 โฮ่วเจียงจฺวิน) ต่อมาย้ายไปเป็นแม่ทัพของมณฑลชีจิ๋ว ได้รับมอบอาญาสิทธิ์ ภายหลังย้ายไปเป็นแม่ทัพของมณฑลเกงจิ๋ว[14]
ในปี ค.ศ. 263 ฤดูหนาว จง ยฺวี่เสียชีวิต ได้รับสมัญญานามว่า "ฮุ่ยโหว" (惠侯) จง จฺวิ้น (鍾峻) บุตรชายของจง ยฺวี่ได้สืบทอดบรรดาศักดิ์ติ้งหลิงโหว[15]
ต้นปี ค.ศ. 264 จงโฮยน้องชายของจง ยฺวี่ถูกสังหารระหว่างพยายามก่อกบฏต่อวุยก๊กในอาณาเขตของอดีตจ๊กก๊กที่เพิ่งล่มสลาย เหล่าบุตรชายของจง ยฺวี่ต่างถูกจับกุมขังคุกและควรได้รับโทษประหารชีวิต แต่สุมาเจียวถวายฎีกาทูลจักรพรรดิโจฮวนให้ออกพระราชโองการนิรโทษกรรมให้กับเหล่าบุตรชายของจง ยฺวี่ รวมถึงคืนตำแหน่งและบรรดาศักดิ์เดิมให้ มีเพียงจง อี้ (鍾毅) บุตรชายของจง ยฺวี่ที่ไปเป็นบุตรบุญธรรมของจงโฮย และจง ยง (鍾邕) ที่ติดตามจงโฮยไปจ๊กก๊กเท่านั้นที่ถูกสังหาร[16] เชื่อกันว่าที่สุมาเจียวไว้ชีวิตเหล่าบุตรชายของจง ยฺวี่เพราะจง ยฺวี่เคยเตือนสุมาเจียวว่าจงโฮยเป็นคนเจ้าเล่ห์และไม่ควรตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจมาก[17] สุมาเจียวหัวเราะและชมจง ยฺวี่ที่แนะนำอย่างซื่อตรง และให้คำมั่นว่าตนจะไว้ชีวิตครอบครัวของจง ยฺวี่หากจงโฮยก่อกบฏขึ้นจริง ๆ[18]
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ (年十四爲散騎侍郎) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (鍾繇字元常,頴川長社人也。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (毓字稚叔。年十四爲散騎侍郎,機捷談笑,有父風。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (太和初,蜀相諸葛亮圍祁山,明帝欲西征,毓上疏曰:「夫策貴廟勝,功尚帷幄,不下殿堂之上,而決勝千里之外。車駕宜鎮守中土,以爲四方威勢之援。今大軍西征,雖有百倍之威,於關中之費,所損非一。且盛暑行師,詩人所重,實非至尊動軔之時也。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (遷黃門侍郎。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (太和四年,繇薨。帝素服臨弔,謚曰成侯。子毓嗣。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (正始中,爲散騎常侍。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (大將軍曹爽盛夏興軍伐蜀,蜀拒守,軍不得進。爽方欲增兵,毓與書曰:「竊以爲廟勝之策,不臨矢石;王者之兵,有征無戰。誠以干戚可以服有苗,退舍足以納原寇,不必縱吳漢於江關,騁韓信於井陘也。見可而進,知難而退,蓋自古之政。惟公侯詳之!」爽無功而還。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (後以失爽意,徙侍中,出爲魏郡太守。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (爽旣誅,入爲御史中丞、侍中廷尉。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (廷尉鍾毓奏:「豐等謀迫脅至尊,擅誅冢宰,大逆無道,請論如法。」於是會公卿朝臣廷尉議,咸以爲「豐等各受殊寵,典綜機密,緝承外戚椒房之尊,玄備世臣,並居列位,而苞藏禍心,構圖凶逆,交關閹豎,授以姦計,畏憚天威,不敢顯謀,乃欲要君脅上,肆其詐虐,謀誅良輔,擅相建立,將以傾覆京室,顛危社稷。毓所正皆如科律,報毓施行」。詔書:「齊長公主,先帝遺愛,匄其三子死命。」於是豐、玄、緝、敦、賢等皆夷三族,其餘親屬徙樂浪郡。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 9.
- ↑ (正元中,毌丘儉、文欽反,毓持節至揚、豫州班行赦令,告諭士民,還爲尚書。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (諸葛誕反,大將軍司馬文王議自詣壽春討誕。會吳大將孫壹率衆降,或以爲「吳新有釁,必不能復出軍。東兵已多,可須後問」。毓以爲「夫論事料敵,當以己度人。今誕舉淮南之地以與吳國,孫壹所率,口不至千,兵不過三百。吳之所失,蓋爲無幾。若壽春之圍未解,而吳國之內轉安,未可必其不出也。」大將軍曰:「善。」遂將毓行。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (淮南旣平,爲青州刺史,加後將軍,遷都督徐州諸軍事,假節,又轉都督荊州。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (景元四年薨,追贈車騎將軍,謚曰惠侯。子駿嗣。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 13.
- ↑ (會兄毓,以四年冬薨,會竟未知問。會兄子邕,隨會與俱死,會所養兄子毅及峻、辿。等下獄,當伏誅。司馬文王表天子下詔曰:「峻等祖父繇,三祖之世,極位台司,佐命立勳,饗食廟庭。父毓,歷職內外,幹事有績。昔楚思子文之治,不滅鬪氏之祀。晉錄成宣之忠,用存趙氏之後。以會、邕之罪,而絕繇、毓之類,吾有愍然!峻、辿兄弟特原,有官爵者如故。惟毅及邕息伏法。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (或曰,毓曾密啟司馬文王,言會挾術難保,不可專任,故宥峻等云。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (漢晉春秋曰:文王嘉其忠亮,笑荅毓曰:「若如卿言,必不以及宗矣。」) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
บรรณานุกรม
แก้- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).