ฝันอเมริกัน

(เปลี่ยนทางจาก ความฝันอเมริกัน)

ความหมายโดยทั่วๆ ไปแต่เดิมของ “ความฝันอเมริกัน” อาจนิยามได้ว่าเป็น “ความเท่าเทียมทางโอกาสและเสรีภาพที่เอื้อให้พลเมืองบรรลุถึงเป้าหมายในชีวิตด้วยการทำงานหนักและด้วยความมุ่งมั่น ปัจจุบัน ความหมายโดยทั่วไปได้ปรับเปลี่ยนเป็นว่า ความมั่งคั่งของบุคคลขึ้นอยู่กับขีดความสามารถและการทำงานหนัก ไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างระดับชั้นที่ตายตัวของสังคม ซึ่งความหมายนี้ไปเปลี่ยนไปตามเวลาของประวัติศาสตร์ สำหรับบางคน อาจหมายถึงโอกาสที่จะบรรลุความมั่งคั่งได้มากกว่าที่เคยได้ในประเทศเดิมที่ตนย้ายถิ่นมา บางคนอาจหมายถึงโอกาสที่บุตรหลานที่จะเจริญเติบโตในสิ่งแวดล้อมที่ดีและได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ รวมทั้งโอกาสการได้งานที่ดี สำหรับบางคนอาจเป็นการได้โอกาสที่จะเป็นปัจจเกชนที่ปราศจากการกีดกันด้วยชนชั้นทางสังคม จากวรรณะ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ หรือชาติพันธุ์

ธงชาติของสหรัฐฯ ในวอชิงตัน ดี.ซี. ธงแบบเบสซี รอสที่แขวนลงเป็นธงคลาสสิก “โอลด์กลอรี” รุ่น 50 รัฐ

นิยามของความฝันอเมริกันดังกล่าว ณ ปัจจุบันยังคงเป็นหัวข้อที่ยังถกเถียงอภิปรายกันมากอยู่ [1] และเช่นกันที่ “ชุดของความเชื่อ การตั้งข้อสมมุติฐานและรูปแบบของการประพฤติปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความฝันอเมริกันที่เกาะตัวกันอย่างหลวมๆ ในขณะนี้ ซึ่งประกอบด้วย (1) เสรีภาพของบุคคลในการเลือกวิถีการดำเนินชีวิต (2) โอกาสที่จะเข้าถึงความมั่งคั่งได้โดยเสรี และ (3) การเสาะแสวงหาและการแลกเปลี่ยนเป้าประสงค์ร่วมระหว่างบุคคลกับสังคมของตน” [2]

ในขณะที่คำว่า “ความฝันอเมริกัน” ในปัจจุบันมักเชื่อมโยงกับการอพยพมาตั้งถิ่นฐานในอเมริกาเป็นอย่างมากอยู่ แต่บุคคลที่เกิดในอเมริกาก็ยังถือว่า “การแสวงหาความฝันอเมริกัน” ของพวกเขาคือ “การที่จะได้ดำรงชีวิตตามแบบความฝันอเมริกัน” อยู่

ประวัติ

แก้
 
อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ ที่สำหรับผู้อพยพสู่อเมริกาเป็นครั้งแรกเห็นแล้วเกิดความประทับใจ ตัวเทพีแสดงออกถึงเสรีภาพทางการเมือง เสรีภาพส่วนบุคคลและเป็นสัญรูปอย่างสำคัญของความฝันอเมริกัน

นิยามโดยรวมของ “ความฝันอเมริกัน” ปรากฏครั้งแรกในหนังสือประวัติศาสตร์ที่เขียนโดยเจมส์ ทรัสโลว์ อดัมส์ ชื่อ “มหากาพย์แห่งอเมริกา” (The Epic of America - พ.ศ. 2474

"ถ้าเป็นดังที่ข้าพเจ้าพูดที่ว่า ถ้าทุกสิ่งทุกย่างที่เราได้บันทึกไว้แล้วทั้งหมดคือสิ่งที่เราจะต้องให้ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง อเมริกาก็คงไม่ใช่ของขวัญที่ดีที่มีความเด่นเฉพาะสำหรับมนุษยชาติ แต่ก็มีความฝันอเมริกันที่เป็นความฝันถึงแผ่นดินที่ซึ่งจะให้ชีวิตที่ดีกว่า ให้ความร่ำรวยได้มากกว่าและให้โอกาสแก่ทุกคนที่มีความสามารถ" [น. 404]

แต่อย่างไรก็ดี แนวคิดความฝันอเมริกันมีประวัติย้อนหลังไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 (ประมาณ พ.ศ. 2044พ.ศ. 2143 หรือระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเชษฐาธิราชกับรัชสมัยของพระนเรศวรมหาราช) โดยระหว่างคริสต์วรรษที่ 16-17 ได้มีการส่งเสริมให้ชาวอังกฤษย้ายไปตั้งถิ่นฐานในอาณานิคมของอังกฤษในอเมริกา ภาษาที่จะใช้และสัญญาที่จะให้สิ่งต่างๆ แก่ผู้อพยพกลายเป็นพื้นฐาน 3 แนวทางของเรื่องปรัมปราอเมริกันที่เกี่ยวพันกันคือ: อเมริกามีทุกอย่างที่เหลือเฟือ, อเมริกาคือดินแดนแห่งโอกาส และอเมริกาเป็นดินแดนแห่งพรหมลิขิต [3] อเมริกาในฐานะเป็นดินแดนแห่งความเหลือเฟือปรากฏชัดเจนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2144 - พ.ศ. 2243) มากกว่าความฝันอเมริกันดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จุดกลางของความฝันอยู่ที่แผ่นดินที่ยังเป็นธรรมชาติของอเมริกา รวมทั้งคำถามที่ว่าจะต้องทำอย่างไรกับแผ่นดินนี้ และจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นบนผืนแผ่นดินอเมริกาได้อย่างไร [4]


คตินิยมของความฝันอเมริกัน

แก้

ไม่ว่าเนื้อหาของความฝันอเมริกันของแต่ละแนวจะเป็นอย่างไร ทั้งหมดจะรวมความเชื่อในโอกาสที่จะมีความสำเร็จในรูปใดรูปหนึ่งซึ่งอาจเป็นความสำเร็จเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพก็ได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นถึงความฝันอเมริกันแนวต่างๆ ดังกล่าว จึงอาจเป็นการดีที่จะต้องนิยามวิธีการวัดความสำเร็จในแนวต่างๆ เหล่านั้นด้วย ในหนังสือเรื่อง “การเผชิญกับความฝันอเมริกัน: เชื้อชาติ, ชนชั้น, และจิตวิญาณของชาติเจนิเฟอร์ ฮอชส์ไชลด์ (Jennifer Hochschild) [5]ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเธอว่า นิยามของความสำเร็จเกี่ยวข้องกับทั้งการวัดและเนื้อหาของมัน เจนิเฟอร์ได้จำแนกความสำเร็จที่นับได้ว่ามีบรรทัดฐานสำคัญและมีการประพฤติปฏิบัติที่ตามมาออกเป็น 3 ประเภท

ความสำเร็จขั้นสัมบูรณ์ (Absolute success) - “ในกรณีนี้ การบรรลุความฝันอเมริกันส่อความหมายไปถึงการเข้าถึงขั้นเริ่มเปลี่ยนสู่ความอยู่ดีกินดีที่สูงกว่าที่เริ่มต้นแต่ก็ไม่ระดับโอ่อ่าหรูหรา "[6]

ความสำเร็จเชิงการแข่งขัน (Competitive success) – ความต้องการบรรลุถึงชัยชนะที่มีต่อผู้อื่น ความสำเร็จของฉันหมายถึงความล้มเหลวของเธอ ผู้แข่งขันส่วนใหญ๋คือตัวบุคคลซึ่งมีทั้งบุคคลที่เป็นที่รู้จักและมีตัวตน (เช่นคู่แข่งในวงการเทนนิส) หรือเป็นบุคคลที่ไม่เป็นที่รู้จักและเป็นนามธรรม (เช่นการแข่งขันในการสมัครงาน) [7]

ความสำเร็จเชิงสัมพัทธ์ (Relative success) “ในกรณีนี้ การบรรลุถึงความฝันอเมริกันประกอบด้วยการดีกว่าผู้อื่นโดยการเปรียบเทียบกับผู้อื่นในบางแง่มุม หรืออาจเปรียบเทียบกับบุคคลหนึ่งตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็ก หรือกับบุคคลในประเทศบ้านเกิด กับตัวละครในหนังสือ กับคนเชื้อชาติอื่นหรือเพศอื่นหรือกับใครก็ได้ที่พอจะนำมาเปรียบเทียบด้วย ความสำเร็จเชิงสัมพัทธ์ไม่ส่อความไปถึงเส้นขีดเริ่มเปลี่ยนไปสู่ความกินดีอยู่ดี และอาจจะมีหรืออาจจะไม่มีการวางเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงในการเปรียบเทียบระดับแห่งความสำเร็จที่มีความต่อเนื่องก็ได้ [6]

แม้บางคนอาจเชื่อว่าความฝันอเมริกันยังมีความไม่เท่าเทียมอยู่ในสังคม และเชื้อชาติ เพศ ระดับชั้นของสังคมและพื้นฐานของสังคมยังคงมีผลอย่างสำคัญต่อโอกาสในชีวิตอยู่บ้างก็ตาม ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ยังคงมีความเชื่อมั่นในความฝันอเมริกันอยู่มาก ถ้าเราถูกขอให้อธิบายความขัดแย้งระหว่างความเชื่อที่เรามีอยู่และความจริงที่เป็นอยู่ พวกเราหลายคนก็คงพยามยามตอบไปโดยไม่ได้สืบย้อนกลับไปถึงที่ว่าเราเองได้เข้าใจในความฝันอเมริกันมาตั้งแต่ต้นอย่างไร วิธีหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเข้าใจความฝันอเมริกันได้ดียิ่งขึ้น อาจได้แก่การศึกษากรอบงานที่ทำโดยฮอชส์ไชลด์ที่ได้กำหนดคตินิยมของความฝันอเมริกันไว้เป็นหลักของความสำเร็จ 4 ข้อ ตามมุมมองของโฮชไชลด์ หลักดังกล่าวเหล่านี้ได้บ่งชี้ถึงความฝันอเมริกัน รวมทั้งข้อบกพร่องที่มีอยู่ในตัวโดยการตอบคำถามเกี่ยวกับการไขว่คว้าหาความสำเร็จที่ยกมาดังนี้:

คำถาม ใครบ้างที่พอจะไขว่คว้าหาความสำเร็จในความฝันอเมริกันได้

คำตอบ- “ทุกคน ไม่ว่าจะมีกำเนิด มีพื้นฐานทางครอบครัวหรือมีประวัติส่วนตัวมาอย่างไร” (18) จุดบกพร่อง มีความล้มเหลว ไม่น่าเชื่อถือในแง่ของความเท่าเทียม เช่น ความลำเอียงด้านเชื้อชาติและเพศ (26)

คำถาม ไขว่คว้าหาอะไร? คำตอบ- “เป็นที่คาดหวังได้อย่างพอมีเหตุผล แม้จะไม่ประกันได้ว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน” (18). จุดบกพร่อง ล้มเหลวในการที่จะบอกได้แน่นอนถึงการขาดแคลนทรัพยากรและโอกาสที่จะเป็นขวากหนามให้ทุกคนมีโอกาสที่บรรลุความสำเร็จได้ตามที่คาดหวังไว้" (27)

คำถาม ไฝ่หาความสำเร็จกันอย่างไร? คำตอบ- “โดยการประพฤติปฏิบัติและการสืบสันดานโดยการควบคุมตนเอง” (18) จุดบกพร่อง มีการละเว้นความจริงที่ว่า ถ้ามีบุคคลผู้ที่จะอ้างว่าประสบความสำเร็จได้ บุคคลผู้นั้นจะต้องยอมรับความรับผิดชอบในความล้มเหลว ดังนั้น ผู้ล้มเหลวจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนไม่เก่งและขาดกำลังใจ (30).

คำถาม ทำไมความสำเร็จจึงคุ้มกับการไขว่คว้า? คำตอบ- “ความสำเร็จที่แท้จริงมีความสัมพันธ์กับคุณธรรม” (18) จุดบกพร่องความล้มเหลวหมายถึงบาป นอกจากนี้ การลดค่าของผู้แพ้ลงทำให้คนทั่วไปเชื่อว่าโลกมีแต่ความเสมอตัวทั้งๆ ที่ไม่ใช่ (30)

นอกเหนือไปจากจุดบกพร่องของบุคคลในแต่ละกลุ่มที่ฮอชส์ไชลด์ยืนยันที่ว่าจุดบกพร่องรวมใน คตินิยมความฝันอเมริกัน ก็คือการเน้นที่ “พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลมากกว่าความสำเร็จทางกระบวนการทางเศรษฐกิจ อุปสรรคด้านสิ่งแวดล้อม หรือโดยโครงสร้างทางการเมืองที่ใช้อธิบายระเบียบสังคม” (36) ฮอชส์ไชลด์ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า ระเบียบสังคมเกิดขึ้นได้ก็เนื่องจากสถาบันต่างๆ ของเรามีขึ้นเพื่อประกันความล้มเหลวบางส่วน และคตินิยมความฝันอเมริกันไม่ “ช่วยชาวอเมริกันให้รับได้หรือแม้แต่จะได้รู้ถึงความจริงอันนั้น” (37).

การอพยพครั้งแรกๆ

แก้

การอพยพมาตั้งถิ่นฐานในสหรัฐฯ ในครั้งแรกๆ จะอยู่ในบริเวณแผ่นดินที่มีผู้คนเบาบางและยังไม่พัฒนา จนกระทั่งถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2400) ปริมาณของที่ดินที่จะมีให้แก่ผู้อพยพ การหมดไปของการครองที่ดินแบบชนาธิปไตยหรือโดยชนชั้นสูง และนโยบายของรัฐบาลกลางที่สนับสนุนสนับสนุนการตั้งถิ่นฐาน (โดยการกำจัด หรือ ย้ายชาวอินเดียนแดงที่เป็นชนพื้นเมือง และในบางกรณีมีการให้ที่ดินฟรีแก่ผู้อพยพ) เหล่านี้ หมายถึงการมีที่ดินได้โดยง่ายของผู้อพยพเกือบทุกคน มีการเก็งกำไรที่ดิน ดังที่มาร์ก ทเวนได้พรรณนาไว้ในหนังสือเรื่อง “ยุคทอง: เรื่องราวในวันนี้" ( The Gilded Age: A Tale of Today) รวมทั้งการยกที่ดินของรัฐเพื่อสาธารณประโยชน์ (Land grants) เพื่อให้นายทุนเจ้าของรถไฟได้สร้างความร่ำรวยมากขึ้น ในช่วงระหว่าคริสต์ศตวรรษที่ 19 รถไฟสายข้ามทวีปได้เปิดประตูสู่ตะวันตกเพื่อการค้าและการตั้งถิ่นฐาน มีการพัฒนาการผลิตจำนวนมากทางอุตสาหกรรมและการค้นพบน้ำมันที่มีมากมายมหาศาลที่สามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานพื้นฐานเพื่อการผลิตเหล่านี้ ได้เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากแก่คนงานและนักธุรกิจ รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนอเมริกันให้สูงขึ้น ในศตวรรษที่ 19 เรื่องราวเกี่ยวกับ “จากกระยาจกสู่มหาเศรษฐี” ( rags to riches) เช่นเรื่องราวของแอนดรูว์ คาร์เนกี และจอห์น ดี. รอกกีเฟลเลอร์ รวมทั้งนักเขียนนวนิยายที่มีชื่อเสียงเช่น ฮอเรโช อัลเจอร์ ได้สร้างความเชื่อที่ว่า ความสามารถและการทำงานหนักสามารถนำไปสู่ความมั่งคั่งได้

การเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงและความอดหยากจากโรคระบาดมันฝรั่งในไอร์แลนด์ และการทำลายป่าในที่ราบสูงของสกอตแลนด์และผลกระทบจากสงครามนโปเลียนได้ส่งผลอย่างรุนแรงในยุโรปตะวันตกทำให้เกิดการอพยพระลอกมหาศาลสู่อเมริกา ชาวสแกนดิเนเวียและชาวเยอรมันที่อพยพเข้ามาในช่วง พ.ศ. 2350พ.ศ. 2440 ส่วนใหญ่มักตั้งถิ่นฐานทำฟาร์มในแถบกลางของภาคตะวันตก (Midwest) และประมาณช่วง พ.ศ. 2395พ.ศ. 2440 มีการระดมคนจากภาคใต้และภาคตะวันออกของยุโรปมาเป็นคนงานในอุตสาหกรรมใหม่ของสหรัฐฯ ชาวยิวที่หนีจากการกดขี่ทางศาสนา และการถูกระดมไปเป็นทหารในจักรวรรดิรัสเซียต่างอพยพเข้ามามากประมาณช่วง พ.ศ. 2415พ.ศ. 2470 ชาวอเมริกัน-เอเชียเริ่มข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2344พ.ศ. 2443) เพื่อหางานทำในอเมริกาตะวันตก ปัจจุบันมีผู้อพยพจากเอเชียใต้ ลาตินอเมริกาและสหภาพโซเวียตเดิมหลั่งไหลมาไขว่คว้าหาความฝันอเมริกัน

อ้างอิง

แก้
  1. "As a force behind government New Political Dictionary by William Safire (New York: Random House, 1993).
  2. Zangrando, Joanna Schneider and Zangrando, Robert L. "Black Protest: A Rejection of the American Dream". Journal of Black Studies, 1(2) (Dec., 1970), pp. 141-159.
  3. Scouten, George Samuel. "Planting the American dream: English colonialism and the origins of American myth." PhD dissertation 2002, University of South Carolina; ISBN 0-493-97159-9, Accession No: AAI3076792
  4. L.L. Lee, "Walter Van Tilburg Clark's Ambiguous American Dream", College English, Vol. 26, No. 5. (Feb., 1965), pp. 382-387.
  5. Hochschild, Jennifer (1995-08-21). Facing Up to the American Dream: Race, Class, and the Soul of the Nation. Princeton University Press. ISBN 978-0691029573.
  6. 6.0 6.1 Hochschild 1995:16
  7. Hochschild 1995:17
  • "As a force behind government philosophy, it seems to be interpreted by most users as a combination of freedom and opportunity with growing overtones of social justice" - From Safire’s New Political Dictionary by William Safire (New York: Random House, 1993).
  • Hochschild, Jennifer. 2001. "Public Schools and The American Dream." Dissent: 35-42.
  • Hornstein, Jeffrey M. A Nation Of Realtors: A Cultural History Of The Twentieth-century American Middle Class. (Durham, NC: Duke University Press, 2005)
  • Johnson, Heather Beth. 2006. The American Dream and the Power of Wealth: Choosing Schools and Inheriting Inequality in the Land of Opportunity. New York: Routledge.
  • L.L. Lee, "Walter Van Tilburg Clark's Ambiguous American Dream", College English, Vol. 26, No. 5. (Feb., 1965), pp. 382-387.
  • Miller, Kerby A. 1988. Emigrants and Exiles: Ireland and the Irish Exodus to North America. New York, NY: Oxford University Press.
  • Pearson, Roger L. "Gatsby: False Prophet of the American Dream". The English Journal, 59(5) (May, 1970), pp. 638-642+645.
  • Scouten, George Samuel. "Planting the American dream: English colonialism and the origins of American myth." PhD dissertation 2002, University of South Carolina; ISBN 0-493-97159-9, Accession No: AAI3076792
  • Sermons of Reverend Martin Luther King, Jr.New York, NY: Grand Central Publishing. retrieved Oct. 2007. http://www.stanford.edu/group/King/publications/sermons/650704_The_American_Dream.html เก็บถาวร 2008-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Smith, Wendy. "Unintended benefits" (Review of Over Here: How the G.I. Bill Transformed the American Dream, by Edward Humes (San Diego: Harcourt Books, 2006)). Los Angeles Times, Oct 1, 2006. p. R.4
  • Zangrando, Joanna Schneider and Zangrando, Robert L. "Black Protest: A Rejection of the American Dream". Journal of Black Studies, 1(2) (Dec., 1970), pp. 141-159.

ดูเพิ่ม

แก้