สมเด็จพระเชษฐาธิราช
สมเด็จพระเชษฐาธิราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 (พ.ศ. 2171 – พ.ศ. 2172) เป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และเป็นพระเชษฐาในพระพันปีศรีสินและสมเด็จพระอาทิตยวงศ์[2]
สมเด็จพระเชษฐาธิราช | |
---|---|
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2171 — 2172 (1 ปี 7 เดือน) |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม |
ถัดไป | สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ |
พระราชสมภพ | พ.ศ. 2155 |
สวรรคต | พ.ศ. 2172 (18 พรรษา) |
ราชวงศ์ | สุโขทัย |
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม |
พระราชมารดา | พระองค์อัมฤทธิ์[1] |
พระราชประวัติ
แก้สมเด็จพระเชษฐาธิราช มีพระนามเดิมว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเชษฐาธิราช พระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 2155 เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในปลายปี พ.ศ. 2171 เหล่าขุนนางมีเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เป็นประธานได้อัญเชิญพระองค์ขึ้นสืบราชสมบัติ ขณะนั้นพระชนมายุได้ 15 พรรษา[3] แต่ 7 วันต่อมาพระพันปีศรีสินซึ่งกริ้วที่ขุนนางไม่ยกราชสมบัติให้ ได้ซ่องสุมพลที่เมืองเพชรบุรี สมเด็จพระเชษฐาธิราชทรงทราบจึงส่งทัพไปปราบ ได้ตัวพระพันปีศรีสินมา โปรดให้นำไปสำเร็จโทษ ณ วัดโคกพระยา ส่วนพรรคพวกให้ไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง[4]
4 เดือนต่อมา มารดาเจ้าพระยากลาโหมถึงแก่กรรม (ในจดหมายเหตุวันวลิตระบุว่าเป็นน้องชายเจ้าพระยากลาโหมที่ถึงแก่กรรม) มีพิธีปลงศพ ณ วัดกุฎธาราม ข้าราชการใหญ่น้อยไปช่วยงานจำนวนมาก จนเมื่อสมเด็จพระเชษฐาฯ เสด็จขึ้นว่าราชการ กลับไม่มีขุนนางมาเข้าเฝ้าฯ อีกทั้งข้าหลวงเดิมและพระราชมารดาในสมเด็จพระเชษฐาธิราชเพ็ดทูลยุยงว่าเจ้าพระยากลาโหมอาจคิดก่อกบฏ ก็ทรงเชื่อ โปรดให้ทหารตามป้อมขึ้นประจำที่ เตรียมทหารไว้เป็นกอง ๆ แล้วให้ขุนมหามนตรีไปเรียกเจ้าพระยากลาโหมมาดูมวย แต่เจ้าหมื่นสรรเพธภักดีส่งข่าวไปแจ้งแผนการก่อน เจ้าพระยากลาโหมจึงบอกขุนนางว่า "เจ้าแผ่นดินว่าเราเป็นกบฏแล้วเราจะทำตามรับสั่ง" แล้วยกกองกำลังเข้ายึดพระราชวังได้
สมเด็จพระเชษฐาธิราชกับข้าหลวงเดิมลงเรือหนีไป[5]ที่วัดบางพลีมะขามหย่อง[6] เจ้าพระยากลาโหมให้พระยาเดโชและพระยาท้ายน้ำออกติดตามในคืนนั้นจนตามจับได้ที่ป่าโมกน้อย แล้วให้นำไปสำเร็จโทษ[7] พร้อมกับพระราชมารดา[8] ในปี พ.ศ. 2173 อยู่ในราชสมบัติได้ราว 1 ปี 7 เดือน
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระเชษฐาธิราช | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (พ.ศ. 2507). จดหมายเหตุวันวลิต.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 264
- ↑ นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 137
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 265
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 267
- ↑ จดหมายเหตุวัน วลิต
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 268
- ↑ จดหมายเหตุวัน วลิต
- บรรณานุกรม
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
- มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
ดูเพิ่ม
แก้ก่อนหน้า | สมเด็จพระเชษฐาธิราช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ. 2153 - 2171 |
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา (ราชวงศ์สุโขทัย) (พ.ศ. 2171 - 2172) |
สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ พ.ศ. 2172 |