กรานิต จากา

(เปลี่ยนทางจาก กรานิต ชากา)

กรานิต จากา (แอลเบเนีย: Granit Xhaka; เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1992) เป็นนักฟุตบอลอาชีพชาวสวิส ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งกองกลางให้กับสโมสรไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินในบุนเดสลีกา และทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์

กรานิต จากา
จากาขณะเล่นให้กับอาร์เซนอลในปี ค.ศ. 2018
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม กรานิต จากา[1]
วันเกิด (1992-09-27) 27 กันยายน ค.ศ. 1992 (32 ปี)
สถานที่เกิด บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์
ส่วนสูง 1.85 m (6 ft 1 in)[2]
ตำแหน่ง กองกลาง
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน
หมายเลข 34
สโมสรเยาวชน
2000–2002 คอนคอร์เดียบาเซิล
2002–2010 บาเซิล
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2010–2012 บาเซิล 44 (2)
2012–2016 โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค 102 (6)
2016–2023 อาร์เซนอล 225 (17)
2023– ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน 29 (2)
ทีมชาติ
2008–2009 สวิตเซอร์แลนด์ อายุไม่เกิน 17 ปี 14 (1)
2009–2010 สวิตเซอร์แลนด์ อายุไม่เกิน 18 ปี 14 (3)
2010–2011 สวิตเซอร์แลนด์ อายุไม่เกิน 19 ปี 10 (3)
2010–2011 สวิตเซอร์แลนด์ อายุไม่เกิน 21 ปี 5 (0)
2011– สวิตเซอร์แลนด์ 123 (14)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 3 มีนาคม 2024
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2023

จากาได้รับฉายาว่าเป็น "ชไวน์ชไตเกอร์หนุ่ม" (Young Schweinsteiger) จากอ็อทท์มาร์ ฮิทซ์เฟ็ลท์ ผู้จัดการทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์[3][4] และได้รับฉายาว่า "ไอน์สไตน์น้อย" (Little Einstein) จากวาลอน เบห์รามี เพื่อนร่วมทีมชาติ เนื่องจากเป็นผู้ที่ชื่นชอบเรื่องวิทยาศาสตร์มาก[5]

จากาเกิดที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีพ่อแม่เป็นชาวคอซอวอเชื้อสายแอลเบเนีย อพยพจากคอซอวอมาสู่สวิตเซอร์แลนด์ตั้งแต่ทั้งคู่ยังไม่มีลูก[6][7][8][9][10] พี่ชายของจากา คือ เทาลันต์ จากา นั้นก็เป็นนักฟุตบอลเล่นใหักับทีมชาติแอลเบเนีย[11] โดยแต่เดิมนั้นจากามีความต้องการที่จะเล่นให้กับแอลเบเนีย แต่ทว่าทางแอลเบเนียไม่ได้ให้ความสนใจ ประกอบกับมีการปรับปรุงทีม จากาเลยตัดสินใจเลือกที่จะเล่นให้กับสวิตเซอร์แลนด์ [12]

จากามีชื่อเสียงโด่งดังจากการเล่นให้กับโบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัคในบุนเดิสลีกา เยอรมนี ในฐานะกัปตันทีมด้วยอายุเพียง 23 ปี ได้ชื่อว่าเก่งในเรื่องการวางลูกบอลยาวและการสกัดคู่แข่งขันอย่างเด็ดขาดหนักหน่วง ซึ่งก่อนหน้านั้นจากาเล่นให้กับบาเซิลในฤดูกาล 2011–12 ที่เอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในรอบ 16 ทีมสุดท้ายของรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกฤดูกาลเดียวกันมาแล้ว ก่อนจะย้ายไปโบรุสเซียเมินเชนกลัดบัดด้วยค่าตัว 8.5 ล้านยูโร และในระดับทีมชาติ ก็เคยติดทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ชุดอายุไม่เกิน 17 ปี (ร่วมรุ่นเดียวกับชาริล ชัปปุยส์) และได้ลงเล่นในฟุตบอลโลกเยาวชน 2009 ที่ไนจีเรีย และได้แชมป์มาแล้ว โดยในนัดชิงชนะเลิศเป็นผู้จ่ายลูกบอลให้เพื่อนร่วมทีมทำประตูได้ด้วย และกับทีมชาติชุดใหญ่ ได้เคยลงเล่นในฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล 4 นัด โดยทำประตูได้ในนัดที่แพ้ให้กับฝรั่งเศสไป 5–2[11]

กรานิต จากา ย้ายมาร่วมกับอาร์เซนอลในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 หลังจบพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2015–16 ไม่กี่วัน และก่อนการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ฝรั่งเศส จะเริ่มต้นขึ้นไม่นาน โดยเชื่อว่ามีค่าตัวจ ล้านปอนด์ (ประมาณ 1บาท) ด้วยสัญญา 4 ปี และได้รับค่าจ้างสัปดาห์ละ 110,000 ปอนด์ (ประมาณ 5.7 ล้านบาท) และมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ 2 วันหลังจากนั้น[13] โดยก่อนหน้านั้นได้รับความสนใจจากหลายสโมสรชั้นนำ เช่น ลิเวอร์พูล, บาเยิร์นมิวนิก[14]

ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 หรือ ยูโร 2016 จากาได้ลงเล่นให้กับสวิตเซอร์แลนด์ในรอบแรก โดยพบกับแอลเบเนีย ที่มีพี่ชาย คือ เทาลันต์ จากา อยู่ด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกด้วยในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปที่พี่น้องแท้ ๆ แต่อยู่กันคนละทีม และต้องมาแข่งขันกัน[15] ผลปรากฏว่าสวิตเซอร์แลนด์ชนะไปได้ 0–1 ในนาทีที่ 5 โดยที่จากาได้รับเลือกให้เป็นแมนออฟเดอะแมตช์[16] และในนัดที่สอง ที่พบกับโรมาเนีย ก็ได้รับเลือกให้เป็นแมนออฟเดอะแมตช์อีกครั้ง[17] แต่ในรอบ 16 ทีม หรือรอบแพ้คัดออก สวิตเซอร์แลนด์ที่ผ่านเข้าสู่รอบนี้ด้วยการเป็นทีมอันดับสองของกลุ่มเอ พบกับโปรตุเกส ซึ่งเป็นทีมที่ได้อันดับสามดีที่สุดทีมหนึ่งจากจำนวนหกทีม ผลปรากฏว่าเสมอกันไปในเวลา 120 นาที 1–1 จึงต้องตัดสินกันด้วยการดวลจุดโทษ จากาเป็นผู้ยิงคนที่สองของสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นคนเดียวที่ยิงไม่เข้า จึงทำให้สวิตเซอร์แลนด์แพ้ไปในการดวลจุดโทษ 4–5 ประตู[18]

ต่อมา ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนยุโรป สวิสเซอร์แลนด์พบโปรตุเกส ปรากฏว่าสวิสเซอร์แลนด์เอาชนะไปได้ 2–0 แต่ในนาทีที่ 90 จากาถูกใบเหลืองเป็นใบที่ 2 กลายเป็นใบแดง ถูกไล่ออก[19]

จากา ยิงให้กับอาร์เซนอลได้เป็นลูกแรก ในช่วงทดเวลาท้ายครึ่งหลัง ของนัดที่ 5 พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2016–17 จากการถูกเปลี่ยนตัวลงมาในฐานะตัวสำรองแทนที่ซานตี กาซอร์ลา ที่พบกับฮัลล์ซิตี ที่สนามเคซีสเตเดียม ด้วยลูกยิงไกลระยะ 30 หลา นับเป็นประตูที่ 4 ของการแข่งขัน ทำให้อาร์เซนอลเอาชนะไปได้ 1–4[20]

เกียรติประวัติ

แก้

บาเซิล

อาร์เซนอล

ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน

อ้างอิง

แก้
  1. "Updated squads for 2017/18 Premier League confirmed". Premier League. 2 February 2018. สืบค้นเมื่อ 10 February 2018.
  2. "Granit Xhaka Profile". Premier League. สืบค้นเมื่อ 25 April 2018.
  3. "Better than Shaqiri – the teenage Basel star who Bayern Munich must stop tonight". Goal.com. 22 February 2012. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  4. "Penpix of likely Switzerland squad for World Cup finals". Reuters. 20 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-28. สืบค้นเมื่อ 2016-05-21.
  5. "Granit Xhaka: Profile of Arsenal's first summer signing". skysports.com. 26 May 2016. สืบค้นเมื่อ 28 May 2016.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-20. สืบค้นเมื่อ 2016-05-21.
  7. "Granit Dhaka: Zuhause bin ich sowohl in der Schweiz wie in Kosova". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-15. สืบค้นเมื่อ 2016-05-21. Ich bin der Schweiz dankbar für alles. Ich kam in diesem Land auf die Welt"..."Natürlich fühle ich mich zuhause am wohlsten, und das ist in der Schweiz, da ich da geboren und aufgewachsen bin"..."Im Internet in der Wikipedia steht, dass ich in Gjilan geboren sei, doch das ist ein Fehler, von dem ich nicht weiss, wie er entstand.
  8. "Shaqiri und Xhaka - heiß auf die WM". Den Ruf des frühreifen Fußballers brachte der gebürtige Basler vor knapp eineinhalb Jahren aus der Alpenrepublik mit ins niederrheinische Flachland.
  9. "Granit Xhaka: "Es ist ein guter Moment für diesen tollen Schritt"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-15. สืบค้นเมื่อ 2016-05-21. Ich bin in Basel geboren und aufgewachsen
  10. Stephan Uersfeld (30 June 2014). "World Cup players to forego Ramadan". ESPN. สืบค้นเมื่อ 30 June 2014.
  11. 11.0 11.1 "กรานิต ชาก้า : เป้าหมายหงส์,ปืนผู้คว้าแชมป์โลกร่วมกับชัปปุยส์". fourfourtwo.com. 17 January 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.[ลิงก์เสีย]
  12. "ยูโร 2016 ใครชนะ ใครแชมป์ 11 06 59 เบรก 1". ฟ้าวันใหม่. 11 June 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  13. หน้า 19, ปืนเปิดตัวแข้งใหม่ 'ชากา' สเวนหนุนแรชฟอร์ดไปยูโร. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21310: วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 แรม 6 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก
  14. "ปืนปิดดีล 35 ล้านป. "ชากา" ชูเสื้อเรียบร้อย". ผู้จัดการออนไลน์. 21 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-25. สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
  15. "Euro 2016: Xhaka brothers first siblings in championship's history to face off when Switzerland play Albania". straitstimes.com. 7 June 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  16. "Switzerland hold on against ten-man Albania". uefa.com. 11 June 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  17. "Arsenal's Granit Xhaka wins man of the match for Romania vs Switzerland". offthepost.info/blog. 15 June 2016. สืบค้นเมื่อ 16 June 2016.[ลิงก์เสีย]
  18. หน้า 1, ลิ่ว8ทีม. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,363: วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559 แรม 7 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก
  19. "กุนซือสวิสผิดหวัง'ชาก้า'ไม่น่าโดนสองเหลือง-กระหึ่มยุโรปชนะฝอยทองได้". baaball. September 7, 2016. สืบค้นเมื่อ September 8, 2016.
  20. "คลิปไฮไลท์พรีเมียร์ลีก ฮัลล์ ซิตี้ 1-4 อาร์เซนอล Hull City 1-4 Arsenal". football-fun. September 17, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-21. สืบค้นเมื่อ September 18, 2016.
  21. McNulty, Phil (27 May 2017). "Arsenal 2–1 Chelsea". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 24 April 2019.
  22. McNulty, Phil (1 August 2020). "Arsenal 2–1 Chelsea". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 1 August 2020.
  23. Rostance, Tom (6 August 2017). "Arsenal 1–1 Chelsea". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 24 April 2019.
  24. Sanders, Emma (29 August 2020). "Arsenal 1–1 Liverpool". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 30 August 2020.
  25. Whelan, Padraig (2024-04-14). "🚨 Bayer Leverkusen crowned German champions for first time 🏆". OneFootball (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-14.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้