เทเทรอพอด

(เปลี่ยนทางจาก Tetrapoda)

เทเทรอพอด หรือ สัตว์สี่เท้า (อังกฤษ: Tetrapod[a]) เป็นสัตว์ที่มีสี่ขา (ยกเว้นสัตว์บางชนิด เช่น งู) ที่ประกอบขึ้นเป็นชั้นใหญ่เทเทรอโพดา (Tetrapoda) เทเทรอพอดประกอบไปด้วยสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก, สัตว์เลื้อยคลาน (รวมถึงไดโนเสาร์และสัตว์ปีก) และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และสูญพันธุ์ไปแล้ว เทเทรอพอดพัฒนามาจากกลุ่มของสัตว์ที่รู้จักกันในชื่อว่า เทเทรอโพโดมอร์ฟา ซึ่งก็พัฒนาเป็นลำดับมาจากปลาที่มีครีบเป็นพู่โบราณในช่วงประมาณ 390 ล้านปีก่อน กลางยุคดีโวเนียน[3] รูปร่างของสัตว์ดังกล่าวอยู่ระหว่างปลาที่มีครีบเป็นพู่กับเทเทรอพอดสี่ขา เทเทรอพอดตัวแรก (จากมุมมองดั้งเดิม บนพื้นฐานของอะโพมอร์ฟี) ปรากฏขึ้นในช่วงปลายยุคดีโวเนียน 367.5 ล้านปีก่อน[1] บรรพบุรุษที่ชัดเจนของเทเทรอพอด รวมถึงกระบวนการที่เทเทรอพอดอพยพมาอยู่บนแผ่นดินของโลกหลังจากที่ขึ้นมาจากน้ำนั้นยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด การเปลี่ยนแปลงจากแผนกายสำหรับหายใจและนำทางใต้น้ำเป็นแผนกายสำหรับให้สัตว์กลุ่มนี้เดินบนบกเป็นหนึ่งในวิวัฒนาการที่ลึกซึ้งที่สุดเท่าที่ทราบ[4][5] เทเทรอพอดตัวแรก ๆ นั้นอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาจากกลุ่มก่อนหน้า เป็นสัตว์ครึ่งน้ำ โดยในช่วงชีวิตแรกของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกนั้นเป็นลูกอ๊อดคล้ายปลา และช่วงชีวิตต่อ ๆ มาก็เปลี่ยนมาเป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก อย่างไรก็ตาม ชนิดของเทเทรอพอดที่มากที่สุดในปัจจุบันนั้นคือแอมนิโอต โดยแอมนิโอตส่วนมากเป็นเทเทรอพอดบกที่พัฒนามาจากเทเทรอพอดก่อนหน้าประมาณ 340 ล้านปีก่อน (กลุ่มแอมนิโอตหลักพัฒนาขึ้นเมื่อ 318 ล้านปีก่อน) กลไกใหม่ในแอมนิโอตที่ไม่พบในสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก คือ การวางไข่บนบก หรือพัฒนาต่อไปอีกเป็นการรักษาไข่ที่ผสมพันธุ์แล้วไว้ในตัวเมีย

เทเทรอพอด
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่:
ปลายยุคดีโวเนียน - ปัจจุบัน [1]
ตัวแทนของกลุ่มเทเทรอพอดที่ยังมีชีวิตอยู่ (ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย): กบ (ลิสแซมฟิเบีย), โฮตซินและจิ้งเหลน (ทั้งสองเป็นซอรอปซิด) และหนู (ซีแนปซิด)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ไฟลัมฐาน: เนโธสโทมาเทอ
เคลด: ยูเนโธสโทมาเทอ
เคลด: เทโลสโทไม
ชั้นใหญ่: สัตว์สี่เท้า
Jaekel, 1909[2]
กลุ่มย่อย

เทเทรอพอดที่เป็นแอมนิโอตเริ่มครองพื้นที่และทำให้สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนมากสูญพันธุ์ กลุ่มหนึ่งของแอมนิโอตพัฒนาไปเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งประกอบไปด้วยลีพิโดซอเรีย, ไดโนเสาร์ (ซึ่งรวมสัตว์ปีกด้วย), จระเข้, เต่า และสัตว์ใกล้เคียงสัตว์เลื้อยคลานอื่นหลายชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งของแอมนิโอตพัฒนาไปเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและสัตว์ใกล้เคียงอื่นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว แอมนิโอตยังมีเทเทรอพอดที่พัฒนาให้บินได้ อย่างเช่นสัตว์ปีกจากไดโนเสาร์ และค้างคาวจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

เทเทรอพอดบางชนิด เช่น งู ได้สูญเสียขาไปบางส่วนหรือทั้งหมดผ่านการเกิดสปีชีส์และวิวัฒนาการ บางชนิดมีแค่กระดูกเหลือค้างที่ซ่อนอยู่เป็นร่องรอยของขาของบรรพบุรุษในอดีตอันไกล หลายชนิดกลับไปเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ใช้ชีวิตเป็นสัตว์ครึ่งน้ำ หรือใช้ชีวิตในน้ำอย่างเต็มตัว วิวัฒนาการเช่นนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงยุคคาร์บอนิเฟอรัส[6] และล่าสุดในมหายุคซีโนโซอิก[7][8]

เทเทรอพอดมีลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาหลายอย่างที่แตกต่างจากบรรพบุรุษในน้ำของพวกมันเอง ได้แก่ โครงสร้างของขากรรไกรสำหรับหาอาหารบนบก กระดูกโอบขาสำหรับการเคลื่อนที่บนบก ปอดสำหรับหายใจในอากาศ หัวใจสำหรับการไหลเวียนเลือด และดวงตากับหูสำหรับมองเห็นและได้ยินในอากาศ

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. /ˈtɛtrəpɒd/; จากกรีก: τετρα- "สี่" และ πούς "เท้า"

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Alexander, Pyron R. (July 2011). "Divergence Time Estimation Using Fossils as Tematic Biology". Systematic Biology. 60 (4): 466–481. doi:10.1093/sysbio/syr047. PMID 21540408.
  2. Sues, Hans-Dieter (2019). "Authorship and date of publication of the name Tetrapoda". Journal of Vertebrate Paleontology. 39: e1564758. doi:10.1080/02724634.2019.1564758.
  3. Narkiewicz, Katarzyna; Narkiewicz, Marek (January 2015). "The age of the oldest tetrapod tracks from Zachełmie, Poland". Lethaia. 48 (1): 10–12. doi:10.1111/let.12083. ISSN 0024-1164.
  4. Long JA, Gordon MS (Sep–Oct 2004). "The greatest step in vertebrate history: a paleobiological review of the fish-tetrapod transition". Physiol. Biochem. Zool. 77 (5): 700–19. doi:10.1086/425183. PMID 15547790. S2CID 1260442. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09. as PDF เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Shubin, N. (2008). Your Inner Fish: A Journey Into the 3.5-Billion-Year History of the Human Body. New York: Pantheon Books. ISBN 978-0-375-42447-2.
  6. Laurin 2010, pp. 163
  7. Canoville, Aurore; Laurin, Michel (June 2010). "Evolution of humeral microanatomy and lifestyle in amniotes, and some comments on paleobiological inferences". Biological Journal of the Linnean Society. 100 (2): 384–406. doi:10.1111/j.1095-8312.2010.01431.x.
  8. Laurin, Michel; Canoville, Aurore; Quilhac, Alexandra (August 2009). "Use of paleontological and molecular data in supertrees for comparative studies: the example of lissamphibian femoral microanatomy". Journal of Anatomy. 215 (2): 110–123. doi:10.1111/j.1469-7580.2009.01104.x. PMC 2740958. PMID 19508493.

อ่านเพิ่มเติม แก้