ไททศมิตร

วงดนตรีเพื่อชีวิตสัญชาติไทย
(เปลี่ยนทางจาก TaitosmitH)

ไททศมิตร (อังกฤษ: Taitosmith; เขียนในรูป TaitosmitH) เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติไทยที่นิยามตัวเองว่าเป็น "วงดนตรีเพื่อชีวิตยุคใหม่"[1]

ไททศมิตร
ที่เกิดกรุงเทพมหานคร  ไทย
แนวเพลง
ช่วงปีพ.ศ. 2561–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงHereTos. Records (พ.ศ. 2561)
ยีนแล็บ (พ.ศ. 2562–ปัจจุบัน)
สมาชิก
  • อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี (จ๋าย)
  • ตฤณสิษฐ์ สิริพิชญาศานต์ (โมส)
  • ปัณณสิทธิ์ สุขโหตุ (มีน)
  • ธนกฤต สองเมือง (เจ)
  • เจษฎา ปัญญา (เจต)
  • พัฒนภูมิ ชอุ่มผล (ตุ๊ก)

ประวัติ

แก้

วงนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2561 โดยนักดนตรีอินดี้ คือ จ๋าย - อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี เริ่มตั้งคำถามต่อความเป็นไปในระบบสังคมทุนนิยมในยุคปัจุบัน ที่ทุกคนทำทุกอย่างเพื่อที่จะได้มาซึ่งทรัพย์สิน เงิน ทอง และความมั่งคั่งเป็นหลัก จนหลงลืมสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น สัตว์, ธรรมชาติ และที่สำคัญคือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง จนกระทั่งจ๋ายมีโอกาสทำงานในเทศกาลดนตรี บิกเมาน์เทนมิวสิกเฟสติวัล จึงค้นพบว่าดนตรีเป็นสื่อที่มีอิทธิพลที่จะสื่อกับคนฟังหรือสังคมได้อย่างตรงไปตรงมา และได้ผลอย่างรวดเร็ว จึงเริ่มจากการชักชวนเพื่อนที่เคยแบ่งปันผลงานเพลงกันฟังในสมัยศึกษาในมหาวิทยาลัย คือ โมส - ตฤณสิษฐ์ สิริพิชญาศานต์ จนมีการปรึกษากันและเห็นตรงกันว่าแนวเพลงที่เหมาะกับการสื่อสารอุดมการณ์ที่มีอยู่ที่สุดคือ "เพลงเพื่อชีวิต" และได้สมาชิกคนอื่น ๆ มารวมกันจนครบจำนวน 6 คน

พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วจากการทำเพลงจำนวน 2 เพลง ในสังกัด HereTos. Records คือ Pattaya Lover ซึ่งเป็นเพลงแนวไทยป็อป และ เป็นตะลิโตน ที่ผสมแนวเพลงนีโอโซล พร้อมกับได้รับเชิญให้เข้าร่วมรายการ "นักผจญเพลง" ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งเพลง เป็นตะลิโตน ที่แสดงในรายการนั้นมีผู้รับชมในยูทูบจำนวนถึง 12,000,000 วิว ตามมาด้วยซิงเกิ้ลที่ 3 Hello Mama ซึ่งเป็นแนวเดียวกันที่ปล่อยออกมาในช่วงปลายปี ซึ่งมีเนื้อร้องภาษาอังกฤษผสมภาษาอีสาน

ทางวงได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงยีนแล็บ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เนื่องจาก โอม - ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวงค็อกเทล ซึ่งเป็นผู้บริหารของค่ายเพลงยีนแล็บ ได้ดูคลิปเพลง แดงกับเขียว จึงชักชวนให้มาร่วมงานด้วย และออกอัลบั้มแรกในชื่อเดียวกับวงในปี พ.ศ. 2562

ต้นปี พ.ศ. 2565 ไททศมิตรออกอัลบั้มชุดที่ 2 ชื่อ เพื่อชีวิตกู โดยมีเพลงที่กลายเป็นปรากฏการณ์ไวรัลในติ๊กต็อก คือเพลง นักเลงเก่า ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดนิยมแนวอาชญากรรม 4 KINGS อาชีวะ ยุค 90 ที่จ๋ายร่วมแสดงด้วย พร้อมด้วยอีก 1 เพลง คือ ไทเท่ ที่ได้ศิลปินเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับและศิลปินแห่งชาติอย่าง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ มาร่วมร้อง และถือเป็นผลงานสุดท้ายในชีวิตของไวพจน์[2]

เพลงของไททศมิตรมุ่งเน้นไปที่แง่มุมต่าง ๆ ของสังคม ชีวิตมนุษย์ ปัญหาเศรษฐกิจ ตลอดจนการเสียดสีทางการเมือง[1]

ชื่อวงดนตรี "ไททศมิตร" ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 สิ่งคือ ไท แปลว่า "อิสระ" ทศ แปลว่า "สิบ" และ มิตร แปลว่า "มิตรภาพ" ความหมายโดยรวมคือ "กลุ่มคนที่รักอิสระ 10 คนที่เริ่มต้นและทำทุกอย่างด้วยมิตรภาพ"[3] แม้จะมีสมาชิกหลักเพียง 6 คน แต่พวกเขายังระลึกถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังความสำเร็จของพวกเขา ดังนั้นจึงใช้ชื่อที่สื่อความหมายว่าสิบ[4]

สัญลักษณ์ของวงมีลักษณะคล้ายเสาชิงช้าหรือไผฟาง (ซุ้มประตูจีนโบราณ) เนื่องจากชื่อวงเป็นการการเล่นคำของตัวอักษรภาษาอังกฤษสองตัว คือ T และ H[4]

สมาชิก

แก้

จุดยืนทางการเมือง

แก้

วงไททศมิตรสนับสนุนการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 โดยประกาศว่าวงของเขาจะแสดงฟรีทุกการชุมนุม [5] และมีการปล่อยเพลงเพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพด้วย [6]โดยเฉพาะอิชณน์กร นักร้องนำ ได้แสดงความคิดเห็นทางการเมือง [7] [8] และเรียกร้องการแก้ไขความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย [9]

ผลงานเพลง

แก้

สตูดิโออัลบั้ม

แก้
  • ไททศมิตร (พ.ศ. 2562)
  • เพื่อชีวิตกู (พ.ศ. 2565)
  • ภาคพิสดาร (พ.ศ. 2567)

อัลบั้มพิเศษ

แก้
  • Mini EP (พ.ศ. 2562)
  • TaitosmitH Special Boxset (รุ่นจำกัด; พ.ศ. 2564)

เพลงพิเศษ (ไม่มีในสตูดิโออัลบั้ม)

แก้
  • Pattaya Lover (พ.ศ. 2561)
  • เป็นตะลิโตน (พ.ศ. 2561)
  • Bonus Track (พ.ศ. 2561)
  • อนัตตา (พ.ศ. 2562)
  • โคราชา (พ.ศ. 2563)
  • หัวหน้าสืบ (พ.ศ. 2563)
  • เจตจำนงเสรี (พ.ศ. 2563)
  • เบื่อ (พ.ศ. 2564)
  • น้าค่อม (พ.ศ. 2564)
  • ใจแผ่นดิน (พ.ศ. 2564)
  • หัวใจเสรี (พ.ศ. 2564)
  • ใต้หล้า Ost. ใต้หล้า (พ.ศ. 2565)
  • มึงกับกู (เฉพาะจ๋าย - อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี ในนาม บิลลี่ อินทร) เพลงประกอบภาพยนตร์ 4KINGS (พ.ศ. 2565)
  • วัยหนุ่ม Feat. Rasmee Isan Soul เพลงประกอบภาพยนตร์ วัยหนุ่ม 2544 (พ.ศ. 2567)

เพลงประกอบภาพยนตร์และละคร

แก้
ปี ชื่อเพลง ภาพยนตร์หรือละคร หมายเหตุ
พ.ศ. 2563 ยุติ-ธรรม คืนยุติ-ธรรม
พ.ศ. 2564 นักเลงเก่า 4KINGS ขับร้องร่วมกับ D Gerrard
มึงกับกู เฉพาะจ๋าย - อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี ในนาม บิลลี่ อินทร
พ.ศ. 2565 ใต้หล้า ใต้หล้า
พ.ศ. 2567 วัยหนุ่ม วัยหนุ่ม 2544 ขับร้องร่วมกับ Rasmee Isan Soul

คอนเสิร์ต

แก้

รางวัล

แก้
ปี รางวัล สาขาที่เข้าชิง เสนอชื่อเข้าชิง จากผลงาน ผลการตัดสิน
2566 โทตี้มิวสิกอวอร์ดส์ 2022[10] อัลบั้มแห่งปี ไททศมิตร "ชีวิตเพื่อกู" เสนอชื่อเข้าชิง
บันทึกเสียงแห่งปี "โคโยตี้" ร่วมกับ มิลลิ เสนอชื่อเข้าชิง
ศิลปินแห่งปี – กลุ่ม ชนะ
อัลบั้มแพ็กเกจแห่งปี "เพื่อชีวิตกู" ออกแบบโดย GHOSTFAC เสนอชื่อเข้าชิง
The Guitar Mag Awards 2023[11] The Guitar Man Of The Year มีน - ปัณณสิทธิ์ สุขโหตุ "ผีพนัน" ชนะ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "เปิดประวัติวง Taitosmith (ไททศมิตร) วงดนตรีเพื่อชีวิตยุคใหม่". Kapook. 2021-12-24. สืบค้นเมื่อ 2022-07-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ฉัตรเลิศมงคล, หทัยธาร (2022-08-05). "ไทเท่ ภูมิใจในความเป็นไทกับ TaitosmitH และเพลงแหล่สุดท้ายของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 2023-01-18.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ไททศมิตร จากวงอินดี้สู่ศิลปินค่ายดัง ยอมทุบหม้อข้าวตัวเองเพื่อทำตามฝัน". ไทยรัฐ. 2022-02-04. สืบค้นเมื่อ 2022-07-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "10 เรื่องจริง TaitosmitH วงอินดี้เพื่อชีวิต(คนอื่น) ผู้เป็นกระบอกเสียงให้สังคมไทย". The Concert. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-18. สืบค้นเมื่อ 2023-01-18.
  5. วงดนตรีดัง "Taitosmith" ประกาศกลางโซเชียล แสดงฟรีทุกเวทีชุมนุม
  6. Taitosmith ปล่อยเพลงใหม่ "เจตจำนงเสรี" แสดงมุมมองต่อเสรีภาพในวันที่ 14 ตุลาคม
  7. “หมดเวลายื้อแล้ว ยิ่งยื้อยิ่งแย่” คุยกับ “จ๋าย” นักร้องนำไททศมิตร
  8. ‘จ๋าย ไททศมิตร’ โพสต์รัวๆ ลั่น ไม่ทนหาก ส.ว.โหวตสวนมติประชาชน
  9. โพสต์ในเฟซบุ๊กของอิชณน์กร
  10. สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์ (2023-03-14). "สรุปผลรางวัล TOTY Music Awards 2022". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  11. "ปรากฏการณ์ งานคนดนตรียิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทย "The Guitar Mag Awards 2023"". เนชั่น ทีวี. 2023-05-12. สืบค้นเมื่อ 2023-05-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้