กลุ่มนิวเคลียส pulvinar
กลุ่มนิวเคลียส pulvinar (อังกฤษ: pulvinar nuclei, pulvinar thalami, nuclei pulvinaris) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า pulvinar เป็นกลุ่มนิวเคลียสที่อยู่ในทาลามัส
กลุ่มนิวเคลียส pulvinar (Pulvinar nuclei) | |
---|---|
สมองส่วนหลัง (hindbrain) และสมองส่วนกลาง (midbrain) มองจากด้านข้างด้านหลัง (postero-lateral) โดยที่กลุ่มนิวเคลียส Pulvinar เห็นได้ที่ด้านบน | |
กลุ่มนิวเคลียสในทาลามัส: MNG = Midline nuclear group AN = Anterior nuclear group MD = Medial dorsal nucleus VNG = Ventral nuclear group VA = Ventral anterior nucleus VL = Ventral lateral nucleus VPL = Ventral posterolateral nucleus VPM = Ventral posteromedial nucleus LNG = Lateral nuclear group PUL = Pulvinar MTh = Metathalamus LG = Lateral geniculate nucleus MG = Medial geniculate nucleus | |
รายละเอียด | |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | pulvinar thalami, nuclei pulvinaris |
MeSH | D020649 |
นิวโรเนมส์ | 328 |
นิวโรเล็กซ์ ID | birnlex_824 |
TA98 | A14.1.08.104 A14.1.08.610 |
TA2 | 5665, 5698 |
FMA | 62178 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์ |
pulvinar ปกติจัดอยู่ในกลุ่มนิวเคลียส lateral thalamic nuclei ในสัตว์ฟันแทะและสัตว์กินเนื้อ แต่เป็นคอมเพล็กซ์ต่างหากในไพรเมต เป็นคำที่ย่อมาจากคำในภาษาละตินว่า "pulvinus" ซึ่งแปลว่า เบาะ ในศาสนาของโรมโบราณ เป็นคำที่หมายถึงเก้าอี้ยาวมีเบาะสำหรับให้เทพใช้
องค์ประกอบ
แก้โดยทั่ว ๆ ไป pulvinar แบ่งออกเป็น ส่วนหน้า (anterior) ส่วนล่าง (inferior) ส่วนข้าง (lateral) และส่วนใน (medial) แต่ละส่วนมีนิวเคลียสหลายกลุ่ม
- pulvinar ส่วนข้างและส่วนล่างมีการเชื่อมต่ออย่างหนาแน่นกับเขตประมวลผลต้น ๆ ของคอร์เทกซ์สายตา
- pulvinar ส่วนข้างด้านหลัง (dorsal) มีการเชื่อมต่อหลัก ๆ กับสมองกลีบข้างด้านหลัง และทางสัญญาณด้านหลัง (dorsal stream) ซึ่งเป็นวิถีประสาทเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งวัตถุที่เห็นทางตา
- pulvinar ส่วนในมีการเชื่อมต่อกันอย่างกว้างขวางกับ cingulate cortex[1], สมองกลีบข้างด้านหลัง, premotor cortex และคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex)
ความแตกต่างกันระหว่างสปีชีส์
แก้pulvinar มีความสำคัญแตกต่างกันในสัตว์ต่าง ๆ กัน เช่น หนูแทบจะไม่มีเขตนี้เลย และแมวมีเขตนี้แต่เล็ก จึงมีการพิจารณาว่าอยู่ในกลุ่มของ lateral posterior-pulvinar complex ซึ่งเป็นกลุ่มนิวเคลียสของทาลามัสด้านข้างส่วนหลัง (lateral posterior thalamic nucleus) ส่วนในมนุษย์ pulvinar เป็นส่วนที่มีขนาด 40% ของทาลามัสทั้งหมด จึงเป็นกลุ่มนิวเคลียสที่ใหญ่ที่สุดในทาลามัส[8]
พยาธิ
แก้รอยโรคใน pulvinar สามารถมีผลเป็นภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ (neglect syndromes) และโรคสมาธิสั้น[9]
เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ cingulate cortex เป็นเขตสมองที่ด้านใน (medial) ของเปลือกสมองรวมบริเวณทั้งที่ cingulate gyrus และ cingulate sulcus เป็นส่วนของระบบลิมบิกที่รับสัญญาณเข้าจากทาลามัสและคอร์เทกซ์ใหม่ มีส่วนในการเกิดและการแปลผลเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก การเรียนรู้ และความทรงจำ
- ↑ superior colliculus (SC) เป็นโครงสร้างในเทคตัมของสมองส่วนกลาง มีลักษณะเป็นชั้น ๆ โดยที่ชั้นต่าง ๆ รวมกันทำหน้าที่เป็นแผนที่ภูมิลักษณ์ของเรตินา SC มีบทบาททั้งในการเคลื่อนไหวตาอย่างเร็ว ๆ ที่เรียกว่า saccades
- ↑ Saccade หมายถึงการเคลื่อนไหวอย่างเร็ว ๆ ของตา ของศีรษะ หรือของส่วนอื่นในร่างกาย หรือของอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง และยังหมายถึงการเปลี่ยนความถี่อย่างรวดเร็วของสัญญาณส่ง หรือความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างอื่น ๆ ได้อีกด้วย Saccades (พหูพจน์) เป็นการเคลื่อนไหวตาทั้งสองข้างไปยังทิศทางเดียวกันอย่างรวดเร็ว
- ↑ Berman, R., & Wurtz, R. (2011) . Signals conveyed in the pulvinar pathway from superiorcolliculus to cortical area mt. The Journal of Neuroscience, 31 (2), 373-384.
- ↑ Robinson, D., & Petersen, S. (1985) . Responses of pulvinar neurons to real and self-induced stimulus movement. Brain research, 338 (2), 392-394.
- ↑ Petersen, S., Robinson, D., & Morris, J. (1987) . Contributions of the pulvinar to visual spatial attention. Neuropsychologia, 25 (1), 97-105.
- ↑ Chalupa, L. (1991) . Visual function of the pulvinar. The Neural Basis of Visual Function. CRC Press, Boca Raton, Florida, pp. 140-159.
- ↑ LaBerge, D. (1999) . Attention pp. 44-98. In Cognitive science (Handbook of Perception and Cognition, Second Edition), Bly BM, Rumelhart DE. (edits) . Academic Press ISBN 978-0-12-601730-4 p. 73
- ↑ Arend, I., Rafal, R., & Ward, R. (2008) . Spatial and temporal deficits are regionally dissociable in patients with pulvinar lesions. Brain, 131 (8), 2140-2152.
ภาพต่าง ๆ
แก้-
ก้านสมอง มองจากด้านข้าง
-
ก้านสมอง มองจากด้านหลัง (dorsal)
-
แผนผังแสดงการเชื่อมต่อหลักของเส้นประสาทตา (optic nerve) และลำเส้นใยประสาทตา (optic tract)
-
สมองซีกซ้ายของมนุษย์ มองจากด้านใน (midsagittal)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ภาพสมองตัดแต่งสีซึ่งรวมส่วน "pulvinar" at the BrainMaps project
- แม่แบบ:UMichAtlas - "The Visual Pathway from Below"