ภาวะสมาธิสั้น
ภาวะสมาธิสั้น[4], โรคซนสมาธิสั้น[5] หรือ เอดีเอชดี[4] (อังกฤษ: attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) เป็นโรคของระบบประสาท[6][7] ประเภทความผิดปกติในการเจริญเติบโตของระบบประสาท ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องความสนใจ การแสดงออกอย่างหุนหันพันแล่น ซึ่งไม่เหมาะสมตามวัย[8] ลักษณะอาการจะเริ่มที่อายุ 6 ขวบถึง 12 ขวบและมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน[9][10] พบเห็นมากในวัยที่เข้าเรียนแล้ว และมักจะส่งผลให้มีผลการเรียนที่ย่ำแย่
ภาวะสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Formerly: Attention deficit disorder (ADD), hyperkinetic disorder (HD)[1] |
สาขาวิชา | |
อาการ | |
การตั้งต้น | ก่อนอายุ 12 ปี |
สาเหตุ | ปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม |
วิธีวินิจฉัย | พิจารณาจากอาการผิดปกติหลังจากตัดสาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ ออกไปแล้ว |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | |
การรักษา |
|
ยา | |
ความชุก | 0.8–1.5% (2019 จาก DSM-IV-TR และ ICD-10)[3] |
แม้ว่ามีการศึกษาอย่างแพร่หลายกับกลุ่มเด็กและวัยรุ่น แต่ก็ยังไม่พบสาเหตุของโรคที่เกิดกับคนส่วนใหญ่ ในจำนวนเด็กทั้งหมด พบว่ามีเด็กประมาณ 6-7% ที่เป็นโรคภาวะสมาธิสั้นเมื่อคัดตามเกณฑ์ DSM-IV[11] และ 1-2% เมื่อคัดตามเกณฑ์ ICD-10[12] อัตราการเป็นโรคใกล้เคียงกันในแต่ละประเทศ และส่วนใหญ่แล้วแตกต่างกันตามวิธีการตรวจ[13] อาการนี้มีการพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 3 เท่า[14][15] ประมาณ 30-50% ของผู้ที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วัยเด็กมีอาการต่อจนโตเป็นผู้ใหญ่[16] และมีผู้ใหญ่ 2-5% ที่มีอาการภาวะสมาธิสั้น[6] อาการภาวะสมาธิสั้นนั้นอาจจะยากที่จะแยกออกจากความผิดปกติอื่น ๆ และอาการของคนทั่วไปที่กระตือรือร้นมากกว่าปกติ
การจัดการกับโรคสมาธิสั้นมักจะเป็นการให้คำปรึกษา การเปลียนแปลงวิถีการใช้ชีวิต และการให้ยา รวมกัน แต่การให้ยานั้นแนะนำให้ใช้ในกรณีของเด็กที่มีอาการรุนแรงและอาจจะพิจารณาให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางที่ล้มเหลวจากวิธีให้คำปรึกษา[17]: p.317 ผลกระทบระยะยาวนั้นยังไม่ชัดเจน และไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กก่อนวันเรียน วัยรุ่นและผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาทักษะในการเผชิญปัญหาได้ด้วยเช่นกัน[18]
โรคภาวะสมาธิสั้นและการรักษาเป็นที่ถกเถียงตั้งแต่ช่วงปี 1970[19] มีการโต้เถียงระหว่างแพทย์กับครู ผู้กำหนดนโยบาย พ่อแม่ และสื่อ โดยหัวข้อนั้นเกี่ยวกับสาเหตุของภาวะสมาธิสั้น และการใช้ยากระตุ้นเพื่อเป็นการรักษา[20][21] ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ให้การดูแลสุขภาพได้ยอมรับว่าภาวะสมาธิสั้นเป็นโรค ข้อโต้เถียงในวงการวิทยาศาสตร์จะเกี่ยวกับเกณฑ์ของอาการและวิธีการรักษา
สัญญาณและอาการ
แก้ภาวะสมาธิสั้นแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม: กลุ่มเฉื่อยชา กลุ่มอยู่นิ่งไม่ได้ และกลุ่มที่มีการอาการทั้งสองอย่าง[22]: p.4
กลุ่มเฉื่อยชามีอาการบางส่วนดังนี้[23]
- ฟุ้งซ่านได้อย่างได้ง่าย ขาดรายละเอียด ลืมของ และเปลี่ยนกิจกรรมหนึ่งไปยังอีกกิจกรรมหนึ่งบ่อยครั้ง
- มีปัญหาในการมุ่งที่จะทำงานหนึ่งอย่าง
- กลายเป็นคนเบื่องานในเวลาอันสั้น หากไม่ได้ทำงานที่สนุก
- มีปัญหาในการมุ่งที่จะจัดระเบียบในการดำเนินงาน หรือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
- มีปัญหาในการส่งการบ้าน และมักจะทำของหาย (เช่น ดินสอ ของเล่น งานที่ได้รับมอบหมาย) ที่จำเป็นต้องใช้ให้งานเสร็จ
- ไม่ฟังเวลาที่ผู้อื่นพูด
- ฝันกลางวัน สับสนได้ง่าย และเคลื่อนไหวช้า
- ลำบากในการคิด การประมวลผล และไม่ถูกต้องเหมือนคนอื่น ๆ
- ไม่ฟังตามคำแนะนำ
กลุ่มอยู่นิ่งไม่ได้จะมีอาการดังต่อไปนี้[23]
- อยู่ไม่เป็นที่ กระสับกระส่าย
- พูดไม่หยุด
- ชน แตะ เล่น กับทุกอย่างที่อยู่ในสายตา
- มีปัญหากับการนั่งในที่ทานอาหาร นั่งในโรงเรียน ทำการบ้าน
- มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
- มีปัญหาในการทำงานหรือกิจกรรมที่ใช้ความเงียบ
อาการอยู่นิ่งไม่ได้นี้มีแนวโน้มจะหายไปเมื่อมีอายุมากขึ้น และจะกลับกลายเป็นอาการ "ความระส่ำระส่ายภายใน" ในกลุ่มวัยรุ่นและกลายมาเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นภาวะสมาธิสั้น[6]
ผู้ทีมีอาการขาดความยับยั้งชั่งใจ จะมีอาการดังต่อไปนี้[23]
- ไม่มีความอดทน
- ระเบิดความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม แสดงอารมณ์โดยขาดการควบคุม และ แสดงโดยไม่ได้คำนึงถึงผลที่ตามมา
- มีปัญหาในการรอคอยสิ่งที่ต้องการ หรือขัดการสนทนาของบุคคลอื่น
คนที่มีภาวะสมาธิสั้นนั้นมักจะมีความยากลำบากในการเข้าสังคม เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม การรักษามิตรภาพ ซึ่งเป็นอาการที่พบกับผู้ป่วยภาวะสมาธิสั้นทุกกลุ่ม เด็กและวัยรุ่นประมาณครึ่งหนึ่งที่เป็นภาวะสมาธิสั้นถูกปฏิเสธจากสังคมและเพื่อนร่วมงาน ในขณะที่มีเพียง 10-15% ของกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นคนภาวะสมาธิสั้นที่ถูกปฏิเสธจากสังคม ผู้ที่เป็นภาวะสมาธิสั้นมีสมาธิที่ไม่ปกติ ส่งผลให้มีความยากลำบากในการประมวลผลทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ซึ่งอาจจะส่งผลลบต่อการการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม พวกเขาอาจจะเหม่อลอยในวงสนทนา ทำให้ตามวงสนทนาไม่ทัน[24]
เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นจะมีความยากลำบากในการจัดการความโกรธ [25] เช่นเดียวกับการเขียน[26] มีพัฒนาการทางการพูด เขียนหนังสือและเคลื่อนไหวที่ช้า[27][28] ถึงแม้ว่าโรคภาวะสมาธิสั้นจะทำให้เกิดความบกพร่องเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสังคมสมัยใหม่ เด็กหลายคนที่มีภาวะสมาธิสั้นสามารถรวมสมาธิเพื่อทำงานที่พวกเขาสนใจได้[29]
อ้างอิง
แก้- ↑ Faraone, Stephen V.; Bellgrove, Mark A.; Brikell, Isabell; Cortese, Samuele; Hartman, Catharina A.; Hollis, Chris; Newcorn, Jeffrey H.; Philipsen, Alexandra; Polanczyk, Guilherme V.; Rubia, Katya; Sibley, Margaret H.; Buitelaar, Jan K. (2024-02-22). "Attention-deficit/hyperactivity disorder". Nature Reviews Disease Primers (ภาษาอังกฤษ). 10 (1): 11. doi:10.1038/s41572-024-00495-0. ISSN 2056-676X. PMID 38388701.
- ↑ Young K (9 February 2017). "Anxiety or ADHD? Why They Sometimes Look the Same and How to Tell the Difference". Hey Sigmund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2023. สืบค้นเมื่อ 27 January 2023.
- ↑ Institute for Health Metrics and Evaluation (17 October 2020). "Global Burden of Disease Study 2019: Attention-deficit/hyperactivity disorder—Level 3 cause" (PDF). The Lancet. 396 (10258). Table 1. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2021. สืบค้นเมื่อ 7 January 2021.. Both DSM-IV-TR and ICD-10 criteria were used.
- ↑ 4.0 4.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. "ศัพท์บัญญัติ ๔๐ สาขาวิชา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (สืบค้นคำว่า attention deficit hyperactivity disorder)". สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2025.
- ↑ กิตติพงศ์ มาศเกษม (2020). "โรคซนสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ่น". วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 16 (2): 75–102. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2025.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Kooij, SJ.; Bejerot, S.; Blackwell, A.; Caci, H.; Casas-Brugué, M.; Carpentier, PJ.; Edvinsson, D.; Fayyad, J.; Foeken, K.; และคณะ (2010). "European consensus statement on diagnosis and treatment of adult ADHD: The European Network Adult ADHD". BMC Psychiatry. 10: 67. doi:10.1186/1471-244X-10-67. PMC 2942810. PMID 20815868.
- ↑ Lange, Klaus W.; Reichl, Susanne; Lange, Katharina M.; Tucha, Lara; Tucha, Oliver (December 2010). "The history of attention deficit hyperactivity disorder". ADHD Attention Deficit and Hyperactivity Disorders. 2 (4): 241–255. doi:10.1007/s12402-010-0045-8. PMC 3000907. PMID 21258430.
- ↑ Childress, AC; Berry, SA (12 February 2012). "Pharmacotherapy of attention-deficit hyperactivity disorder in adolescents". Drugs. 72 (3): 309–25. doi:10.2165/11599580-000000000-00000. PMID 22316347.
- ↑ "Attention-Deficit / Hyperactivity Disorder (ADHD) : Symptoms and Diagnosis". Centers for Disease Control and Prevention. National Center on Birth Defects and Developmental Disabilities. 12 December 2010. สืบค้นเมื่อ 3 July 2013.
- ↑ Dulcan, Mina K.; Lake, MaryBeth (2011). Concise guide to child and adolescent psychiatry (4th ed.). Washington, DC: American Psychiatric Pub. p. 34. ISBN 9781585624164. OCLC 754798360. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
- ↑ Willcutt EG (July 2012). "The prevalence of DSM-IV attention-deficit/hyperactivity disorder: a meta-analytic review". Neurotherapeutics. 9 (3): 490–9. doi:10.1007/s13311-012-0135-8. PMC 3441936. PMID 22976615.
- ↑ Cowen, Philip (2012). Shorter Oxford Textbook of Psychiatry (6th ed.). Oxford University Press. p. 546. ISBN 9780199605613. OCLC 818564703. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014. Cited source of Cowen (2012) : Taylor, Eric. "Attention deficit and hyperkinetic disorders in childhood and adolescence". New Oxford Textbook of Psychiatry (2 ed.). doi:10.1093/med/9780199696758.003.0215.
- ↑ Textbook of psychiatric epidemiology (3rd ed.). Chichester, West Sussex: Wiley-Blackwell. 25 March 2011. p. 450. ISBN 9780470977408. OCLC 678397561.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) (help) - ↑ Emond V, Joyal C, Poissant H (April 2009). "Structural and functional neuroanatomy of attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD)". Encephale (ภาษาฝรั่งเศส). 35 (2): 107–14. doi:10.1016/j.encep.2008.01.005. PMID 19393378.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Singh I (December 2008). "Beyond polemics: science and ethics of ADHD". Nature Reviews Neuroscience. 9 (12): 957–64. doi:10.1038/nrn2514. PMID 19020513.
- ↑ Bálint S, Czobor P, Mészáros A, Simon V, Bitter I (2008). "[Neuropsychological impairments in adult attention deficit hyperactivity disorder: a literature review]". Psychiatr Hung (ภาษาฮังการี). 23 (5): 324–35. PMID 19129549.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ National Collaborating Centre for Mental Health (London) (2009). Attention deficit hyperactivity disorder : diagnosis and management of ADHD in children, young people and adults Attention deficit hyperactivity disorder (PDF). National Clinical Practice Guideline Number 72. Leicester : British Psychological Society. ISBN 9781854334718. OCLC 731439170. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
- ↑ Gentile, Julie; Atiq, R; Gillig, PM (2004). "Adult ADHD: diagnosis, differential diagnosis and medication management". Psychiatry. 3 (8): 24–30. PMC 2957278. PMID 20963192.
- ↑ Parrillo, Vincent (2008). Encyclopedia of Social Problems. SAGE. p. 63. ISBN 978-1-4129-4165-5. สืบค้นเมื่อ 2 May 2009.
- ↑ Mayes R, Bagwell C, Erkulwater J (2008). "ADHD and the rise in stimulant use among children". Harv Rev Psychiatry. 16 (3): 151–66. doi:10.1080/10673220802167782. PMID 18569037.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Cohen, Donald J.; Cicchetti, Dante (2006). Developmental psychopathology. Chichester: John Wiley & Sons. ISBN 0-471-23737-X.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อRamsay25
- ↑ 23.0 23.1 23.2 National Institute of Mental Health (2008). "Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD)". United States: National Institutes of Health.
- ↑ Coleman WL (August 2008). "Social competence and friendship formation in adolescents with attention-deficit/hyperactivity disorder". Adolesc Med State Art Rev. 19 (2): 278–99, x. PMID 18822833.
- ↑ "ADHD Anger Management Directory". Webmd.com. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
- ↑ Racine, MB.; Majnemer, A.; Shevell, M.; Snider, L. (Apr 2008). "Handwriting performance in children with attention deficit hyperactivity disorder (ADHD)". J Child Neurol. 23 (4): 399–406. doi:10.1177/0883073807309244. PMID 18401033.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อICD10
- ↑ Bellani, M.; Moretti, A.; Perlini, C.; Brambilla, P. (Dec 2011). "Language disturbances in ADHD". Epidemiol Psychiatr Sci. 20 (4): 311–5. doi:10.1017/S2045796011000527. PMID 22201208.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อpmid22851461