Primus inter pares

เป็นคำในภาษาละติน หมายถึง อันดับหนึ่งในบรรดาผู้เท่ากัน

Primus inter pares (กรีกโบราณ: Πρῶτος μεταξὺ ἴσων, prōtos metaxỳ ísōn) เป็นวลีในภาษาละติน มีความหมายคือ ผู้เป็นหนึ่งในบรรดาผู้เท่าเทียมกัน หรือ ผู้เป็นเอกในบรรดาผู้เท่าเทียมกันทั้งปวง โดยทั่วไปจะใช้เป็นตำแหน่งทางกิตติมศักดิ์สำหรับบุคคลในฐานะที่เท่ากันกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในกลุ่มหรือคณะ แต่ได้รับความเคารพอย่างไม่เป็นทางการตามธรรมเนียมเนื่องจากระดับ อาวุโส ของพวกเขา ในทางประวัติศาสตร์ สมาชิกเอกแห่งวุฒิสภา ของ วุฒิสภาโรมัน จะเป็นผู้เป็นหนึ่งในบรรดาสมาชิกวุฒิสภา และได้รับอภิสิทธิ์ในการพูดเป็นคนแรกของการอภิปราย อีกทั้งมีอำนาจในการเรียกประชุมวุฒิสภาได้ นอกจากนี้ คอนสแตนตินมหาราช ก็ได้รับบทบาทของ primus inter pares อย่างไรก็ตามคำนี้มักจะใช้เพื่อ ประชดประชัน หรือ การรังเกียจตัวเอง โดยผู้นำที่มีสถานะที่สูงขึ้นมากในรูปแบบของ ความเคารพ ความสนิทสนมกัน หรือ การโฆษณาชวนเชื่อ หลังจากการ ล่มสลายของสาธารณรัฐ จักรพรรดิโรมัน ในสมัยแรกเรียกตัวเองว่าเป็น ผู้เป็นหนึ่ง ผู้มีอภิสิทธิ์ในชีวิตและความตายเหนือ "เหล่าประชาราษฎร์" และปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ในฐานะของ ประธานระบบกองหนุนสหพันธ์สำรองของสหรัฐอเมริกา, นายกรัฐมนตรี ของ ประเทศในระบบรัฐสภา, ประธานสภาแห่งรัฐแห่งสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์, ประธานศาลสูงสุดของประเทศสหรัฐอเมริกา, หัวหน้าผู้พิพากษาของประเทศฟิลิปปินส์, อัครมุขนายกแห่งแคนเทอเบอรี่ แห่ง แองกลิคันคอมมิวเนียน และ อัครบิดรสากลแห่งคริสตจักรออโธด็อกซ์ตะวันออก ของ นิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์

การใช้ในชาติต่าง ๆ แก้

ใน สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างผู้ที่เป็นผู้นำแบบกลุ่มคณะของ คณะกรรมาธิการโปลิตบูโร ซึ่ง เติ้งเสี่ยวผิง เป็นผู้นำมาใช้โดยเกิดขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของ เหมาเจ๋อตง คำว่า "ผู้เป็นหนึ่งที่เท่าเทียมกัน" มักใช้เพื่ออธิบายถึง ผู้นำที่สูงสุด ของจีน สิ่งนี้ได้รับความนิยมเนื่องจากการรวมอำนาจภายใต้ ผู้นำหลัก ปัจจุบันคือ สี จิ้นผิง

การใช้ภายในเครือจักรภพ แก้

นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเอก แก้

ในรัฐสหพันธ์ที่อยู่ภายในเครือรัฐจักรภพ, ทั้ง แคนาดา และ ออสเตรเลีย ซึ่งใน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็น ประมุขแห่งรัฐ ผู้ซึ่งเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมี ผู้สำเร็จราชการ หรือ ผู้ต่างพระเนตรพระกรรณในพระองค์ ได้รับการแต่งตั้งจาก สภาองคมนตรีในสมเด็จฯ เพื่อเป็นตัวแทนของสมเด็จพระราชินี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักจะแต่งตั้งผู้นำพรรคการเมืองซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอย่างน้อยในการเลือกตั้งของสภานิติบัญญัติเป็น นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ รัฐมนตรีในพระองค์ คนอื่น ๆ คือ primus inter pares หรือ "ผู้เป็นหนึ่งในบรรดาผู้เท่าเทียมกัน" และจะมีการกระทำเช่นเดียวในระดับภาคมณฑลหรือระดับรัฐ โดยรองผู้สำเร็จราชการแห่งมณฑลต่างๆในแคนาดาหรือผู้ว่าการในรัฐต่างๆของออสเตรเลีย ในฐานะรองผู้สำเร็จราชการในสภาองคมนตรีฯ มีอำนาจแต่งตั้งผู้นำพรรคในระดับมณฑลหรือรัฐที่มีที่นั่งในสภานิติบัญญัติประจำรัฐหรือมณฑลเป็นขั้นต่ำในขึ้นมาเป็น รัฐมนตรีเอกมณฑลหรือรัฐมนตรีเอกแห่งรัฐ

อุปราช ในแคนาดาและออสเตรเลีย แก้

ในฐานะที่เป็น รัฐราชาธิปไตยแบบสหพันธ์ ใน แคนาดา รองผู้สำเร็จราชการในพระองค์ ผู้เป็นตัวแทนของ พระมหากษัตริย์แคนาดา ในแต่ละมณฑลจะทำหน้าที่เป็น "ประมุขแห่งรัฐ" ในมณฑลต่างๆ และไม่เหมือนใน ประเทศออสเตรเลีย กับ ผู้สำเร็จราชการในพระองค์ประจำรัฐของออสเตรเลีย รองผู้ว่าการในแคนาดาไม่ได้รับการแต่งตั้งจากสภาองคมนตรี แต่โดย ผู้สำเร็จราชการแคนาดาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีแคนาดา เป็นที่รู้จักในฐานะผู้สำเร็จราชการในคำแนะนำของสภาองคมนตรี ในทำนองเดียวกันกับในประเทศออสเตรเลียมีผู้ว่าราชการเป็นตัวแทนของ พระมหากษัตริย์ออสเตรเลีย ในแต่ละรัฐของออสเตรเลีย ที่ประกอบด้วยเครือจักรภพแห่งชาติของออสเตรเลียทำให้พวกเขา เป็น"ประมุขแห่งรัฐ"ในแต่ละรัฐของตัวเอง ในแต่ละกรณีผู้สำเร็จราชการหรือรองผู้สำเร็จราชการหลายท่านไม่ได้มองว่าได้เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของข้าหลวงใหญ่ทั้งใน ข้าหลวงใหญ่แห่งออสเตรเลีย และ ข้าหลวงใหญ่แห่งแคนาดา - แต่ในฐานะอุปราชสหพันธ์ - คือหนึ่งในบรรดาผู้เท่าเทียมกันทั้งปวง

อ้างอิง แก้