แก๊สธรรมชาติอัด

(เปลี่ยนทางจาก Natural gas for vehicle)

แก๊สธรรมชาติอัด[1] (อังกฤษ: Compressed Natural Gas, CNG) เป็นเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์อีกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และ แก๊สปิโตรเลียมเหลวสำหรับใช้เป็นพลังงานสะอาดทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปกติ มีใช้กับพาหนะได้ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถตู้ รถประจำทาง เป็นต้น ราคาถูกกว่าน้ำมัน และ ช่วงที่น้ำมันมีราคาสูงมาก จึงมีผู้นิยมใช้เพิ่มขึ้นอย่างสูง

การผลิต แก้

ใช้แก๊สธรรมชาติ (ส่วนใหญ่เป็นมีเทน) มาอัดจนมี ความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว (เป็นแรงดันที่ค่อนข้างสูงมากเท่ากับ 200 เท่าของ ความดันบรรยากาศ) แล้วนำไปเก็บไว้ในถัง ที่มีความแข็งแรง ทนทานสูงเป็นพิเศษ

ระบบที่ติดตั้ง แก้

เครื่องยนต์เบนซินแบ่งการทำงานเป็น 2 ระบบ คือระบบหัวฉีด และระบบดูดแก๊ส ระบบดูดแก๊สเหมาะกับรถยนต์รุ่นเก่าที่ใชัระบบจ่ายน้ำมันแบบคาบูเรเตอร์ ระบบนี้บำรุงรักษาง่าย คุ้มทุนเร็ว ส่วนระบบฉีดแก๊สเหมาะกับรถยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้ระบบการจ่ายน้ำมันด้วยหัวฉีด ซึ่งเป็นระบบทันสมัยกว่า ให้อัตราการเร่งเครื่องยนต์ใกล้เคียงกับการใช้น้ำมันเบนซินมากกว่าระบบดูดแก๊ส อัตราการประหยัดเชื้อเพลิงต่อวันคุ้มกว่าระบบดูดแก๊ส สำหรับการติดตั้ง เอ็นจีวี ในเครื่องยนต์เบนซินสามารถเลือกใช้ เอ็นจีวี หรือเบนซินก็ได้ เพียงกดปุ่ม หรือเปลี่ยนเองตามโปรแกรมที่ตั้งไว้

ในเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ เช่น เครื่องยนต์รถสิบล้อ หรือ เครื่องยนต์ในเรือ หากต้องการจะติดตั้งแก๊สธรรมชาติอัด สามารถทำได้เช่นกัน โดยสามารถทำได้ 2 แบบ

  1. ใช้วิธีผสมระหว่าง แก๊สธรรมชาติอัด กับ ดีเซล อัตราส่วนผสม ขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องยนต์แต่ละตัว
  2. ใช้วิธีดัดแปลงเครื่องมาใช้แก๊สธรรมชาติอัด 100% หรือช่างเรียกว่า การแปลงเพศเครื่อง ติดตั้งการจุดระเบิดด้วยหัวเทียน แต่ไม่สามารถกลับไปใช้น้ำมันดีเซลได้

ถังแก๊ส แก้

ปัจจุบันมีการผลิตถังแก๊สอยู่ 4 ประเภท ได้แก่

  1. ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อะลูมิเนียม
  2. ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อะลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือ เส้นใยคาร์บอน
  3. ถังที่ทำด้วยแผ่นอะลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนตลอดตัวถัง
  4. ถังที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกันวัสดุใยแก้ว (Fiberglass)

ส่วนการระเบิดนั้น หากระบบแก๊สยังอยู่ในสภาพดี ทำงานได้เป็นปกติ จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากเมื่อแก๊สรั่วจะพุ่งออกมาแล้วฟุ้งกระจายขึ้นไปในอากาศอย่างรวดเร็วทำให้ไม่ลุกไหม้ ระเบิด และเรื่องของการทนความดัน ถังทุกใบทนความดันได้ถึง 2.5 เท่าของความดันปกติ ต่อให้มีไฟมาเผาถังแก๊สก็จะไม่มีอันตราย เพราะวาล์วหัวถังก็ระบายแก๊สออกมาจากถัง โดยอัตโนมัติ

การใช้แก๊สธรรมชาติทั่วโลก แก้

 
รถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพที่ใช้แก๊สธรรมชาติอัด

จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2553 พบว่า ประเทศปากีสถานมีการใช้สูงสุด ตามมาด้วย อิหร่าน อาร์เจนติน่า บราซิล และอินเดีย มียานพาหนะที่ใช้แก๊สธรรมชาติอัดมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ปากีสถานยังมีสถานนีบริการฯมากที่สุดในโลกกว่า 3,600 แห่ง กลุ่มผู้ใช้หลักเป็นรถส่วนบุคคลซึ่งได้เปลี่ยนมาใช้แก๊สธรรมชาติอัดมากขึ้นเพราะราคาถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซิน เฉพาะรถหรูหราและรถของหน่วยงานของรัฐเท่านั้นที่ยังใช้น้ำมันเบนซิน

10 อันดับประเทศที่ใช้รถเชื้อเพลิงแก๊สธรรมชาติอัดในปี พ.ศ. 2553
(ล้านคัน)
  ปากีสถาน 2.74
  อิหร่าน 2.60
  อาร์เจนตินา 1.90
  บราซิล 1.66
  อินเดีย 1.08
  อิตาลี 0.73
  สาธารณรัฐประชาชนจีน 0.45
  โคลอมเบีย 0.34
  ไทย 0.21
  ยูเครน 0.20
รวม 12.67
ที่มา:[2]

การใช้ในประเทศไทย แก้

ในประเทศไทย มีการให้บริการโดยบริษัท ปตท. บางจากปิโตรเลียม ทีพีไอ โพลีน และซัสโก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกำหนดให้คำว่า natural gas เป็น "แก๊สธรรมชาติ" ดังนั้นจึงควรใช้ว่า "แก๊สธรรมชาติอัด" ด้วย
  2. Natural Gas Vehicle Statistics เก็บถาวร 2010-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน(อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้