แก๊สธรรมชาติเหลว
- ระวังสับสนกับ แก๊สปิโตรเลียมเหลว (LPG)
แก๊สธรรมชาติเหลว (อังกฤษ: liquefied natural gas หรือ LNG) เป็นก๊าซธรรมชาติที่ถูกนำไปทำให้สถานะของก๊าซกลายเป็นของเหลวโดยทำให้อุณหภูมิลดลงส่งผลให้ปริมาตรลดลงเหลือประมาณ 1/600 เท่าของปริมาตรเดิม โดยการใช้ความเย็นที่ ลบ 162องศาเซลเชียส หรือที่ลบ260องศาฟาเรนท์ไฮต์ [1] เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการขนส่ง เมื่อต้องการนำไปประโยชน์จะนำเข้าสู่กระบวนการเพิ่มอุณหภูมิซึ่งกลายเป็นเชื้อเพลิงในรูปของแก๊สธรรมชาติอัด[2][3][4]
คุณสมบัติ
แก้แก๊สธรรมชาติเป็นวัตถุดิบของการผลิตแก๊สธรรมชาติเหลว ดังนั้นจึงประกอบไปด้วยสารเจือปนหลายชนิด เช่น กำมะถัน คาร์บอนมอนอกไซด์ วัตถุดิบที่ได้จึงต้องนำมาแยกสารประกอบอื่นๆออก เมื่อผ่านกระบวนการคัดแยกสารประกอบออกแล้วจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการลดอุณหภูมิให้เหลือประมาณ -160.5 ถึง -160 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเรียกว่าก๊าซธรรมชาติเหลว ที่มีคุณสมบัติ ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารประกอบที่เป็นพิษ ไม่มีคุณสมบัติการกัดกร่อน กรณีเกิดการรั่วไหลไม่ต้องกำจัดเนื่องจากก๊าซจะระเหยไปในอากาศได้อย่างรวดเร็ว ไม่ทิ้งสารตกค้าง การติดไฟเกิดขึ้นได้ต้องอยู่ในสถานะก๊าซ สภาพแวดล้อมปิดและมีค่าปริมาณก๊าซในอากาศระหว่าง 5-15% แล้วมีการก่อให้เกิดประกายไฟในบริเวณที่มีก๊าซอยู่[2]ความไวต่อการติดไฟของแก๊สธรรมชาติสูงกว่าแก๊สปิโตรเลียมเหลว[3]
การผลิต
แก้ประเทศที่มีปริมาณสำรองแก๊สธรรมชาติมากที่สุดคือ ประเทศรัสเซีย มีปริมาณสำรองประมาณ 27% รองลงมาได้แก่ประเทศอิหร่าน ประมาณ 15% ประเทศกาตาร์ 14% ส่วนประเทศที่มีการผลิดมากที่สุดคือ การ์ตา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ แอลจีเรีย[2]
การจัดเก็บและขนส่ง
แก้วัตถุประสงค์ของผลิตแก๊สธรรมชาติเหลวคือ ลดปริมาตร เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและขนส่งเป็นหลักและเป็นไปแบบสอดคล้องกัน แก๊สถูกบรรจุในถังเก็บโดยไม่จำเป็นต้องทนต่อแรงดันสูง เพราะแก๊สธรรมชาติเหลวไม่มีแรงดัน จึงไม่ก่อเกิดการระเบิดหากเกิดรอยแตกร้าวในภาชนะจัดเก็บ แต่ต้องเก็บในถังเก็บซึ่งสามารถรักษาอุณหภูมิให้ต่ำเพื่อคงสถานะของเหลว โดยถังบรรจุชั่วคราวระหว่างรอขนถ่ายนั้นสามารถเก็บได้นาน 8 วัน ทั่วโลกมีการก่อสร้างแหล่งรับการถ่ายแก๊สธรรมชาติเหลวขึ้นหลายแห่ง ส่วนประเทศไทยอยู่ในการดูแลของ ปตท. [2]
การค้า
แก้ประเทศที่มีการซื้อแก๊สธรรมชาติเหลวมากที่สุดในโลก คือ ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ ไต้หวัน ตามลำดับ ความต้องการในตลาดโลกโดยรวมประมาณ 160 ล้านตันในปี พ.ศ. 2550 และมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554[2]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2012-11-19.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และการนำเข้าในประเทศไทย
- ↑ 3.0 3.1 "การสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวลอยน้ำ Floating an LNG Innovation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-22. สืบค้นเมื่อ 2012-04-21.
- ↑ NGV LPG LNG CNG เก็บถาวร 2013-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสาระคดี เรียกข้อมูลล่าสุด 21 เมษายน 2555