แก๊สปิโตรเลียมเหลว

แก๊สปิโตรเลียมเหลว หรือ แอลพีจี (อังกฤษ: liquefied petroleum gas: LPG) จัดเป็นเชื้อเพลิงอีกชนิดหนึ่งที่มาจากซากดึกดำบรรพ์ (อังกฤษ: fossil fuel) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันหรือการแยกแก๊สธรรมชาติ ในโรงแยกแก๊สธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอน 2 ชนิด คือ โพรเพนและบิวเทนไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ปราศจากพิษ หนักกว่าอากาศ ติดไฟได้ในช่วงของการติดไฟที่ 2–15 % ของปริมาณในอากาศ และอุณหภูมิที่ติดไฟได้เองคือ 400 องศาเซลเซียส

สัญลักษณ์แก๊สปิโตรเลียมเหลว (LPG) ใช้ในยานพาหนะ
ถังทรงกลมบรรจุแก๊สปิโตรเลียมเหลว

ในประเทศไทยแก๊สหุงต้มส่วนใหญ่ได้จากการกลั่นน้ำมัน โดยใช้อัตราส่วนผสมของโพรเพน และบิวเทนประมาณ 70:30 ซึ่งจะให้ค่าความร้อนที่สูง

การใช้ประโยชน์ แก้

แก๊สปิโตรเลียมเหลวสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหารในครัวเรือน จึงเรียกกันว่า แก๊สหุงต้ม สามารถใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและยานพาหนะได้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้