ลิงจมูกยาว
ลิงจมูกยาว หรือ ลิงจมูกงวง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Nasalis larvatus) เป็นลิงโลกเก่าที่มีจมูกขนาดใหญ่กว่าปรกติ ผิวสีน้ำตาลแดง และหางยาว เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นในเกาะบอร์เนียวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่วนใหญ่พบในป่าชายเลนและพื้นที่ชายฝั่งของเกาะ[3]
ลิงจมูกยาว | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | อันดับวานร Primates |
อันดับย่อย: | Haplorhini Haplorhini |
อันดับฐาน: | Simiiformes Simiiformes |
วงศ์: | Cercopithecidae Cercopithecidae |
วงศ์ย่อย: | ค่าง Colobinae |
เผ่า: | Presbytini Presbytini É. Geoffroy, 1812 |
สกุล: | Nasalis Nasalis Wurmb, 1787 |
สปีชีส์: | Nasalis larvatus[1] |
ชื่อทวินาม | |
Nasalis larvatus[1] Wurmb, 1787 | |
ลิงชนิดนี้อาศัยอยู่ร่วมกับอุรังอุตังบอร์เนียวกับลิงอย่างค่างเทา[4] จัดเป็นเพียงชนิดเดียวในสกุล Nasalis[5][6]
อนุกรมวิธานและชื่อ
แก้ลิงจมูกยาวอยู่ในวงศ์ย่อย Colobinae ของวงศ์ลิงโลกเก่า โดยมีชนิดย่อย 2 ชนิด คือ:[2]
- N. l. larvatus (Wurmb, 1787), พบได้ทั่วไป
- N. l. orientalis (Chasen, 1940), จำกัดเฉพาะกาลีมันตันตะวันออกเฉียงเหนือ
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระกว่างชนิดย่อยมีน้อย และใช่ว่าทั้งหมดจะยอมรับ N. l. orientalis.[2]
ในประเทศมาเลเซียมีชื่อเรียกว่า monyet belanda[7][8]
ถิ่นที่อยู่อาศัย
แก้เป็นลิงที่พบเฉพาะเกาะบอร์เนียว อาศัยอยู่ในป่าชายเลนหรือป่าติดริมแม่น้ำ เช่น อุทยานแห่งชาติทันจุงปูติง[9], อุทยานแห่งชาติบาโก และคินาบาตางัน ในรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย ตลอดจนประเทศใกล้เคียง เช่น บรูไน และรัฐกาลีมันตัน ในอินโดนีเซีย ปัจจุบัน เหลือประมาณ 8,000 ตัว[10]
ลักษณะ
แก้ลิงจมูกยาว เป็นลิงจำพวกค่าง มีรูปร่างอ้วนลงพุง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง มีลักษณะเด่นคือ มีจมูกที่ยาวเหมือนงวงช้างห้อยเลยมาจนปิดปากตัวเอง ซึ่งมีเฉพาะในตัวผู้ในวัยที่โตเต็มที่แล้ว ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามีไว้เพื่ออะไร นอกเหนือจากการหายใจ ในขณะที่ตัวเมียและลิงตัวผู้วัยอ่อน จะไม่มีจมูกลักษณะดังกล่าวนี้ โดยจมูกของตัวผู้จะโตตามขนาดของร่างกาย
เคยมีการสันนิษฐานว่าจมูกที่ยาวของมีไว้เพื่อใช้ในการว่ายน้ำ แต่เหตุผลข้อนี้ก็ต้องตกไป เพราะตัวเมียก็ว่ายน้ำเหมือนกัน แต่ตัวเมียกลับมีจมูกที่เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของตัวผู้ นักชีววิทยาบางกลุ่มก็สันนิษฐานว่า จมูกมีหน้าที่ในการระบายอากาศจากภายในร่างกาย เนื่องจากตัวผู้มีขนาดตัวและมีกระเพาะที่ใหญ่มาก ภายในร่างกายจึงมีความร้อนมาก บ้างก็อธิบายโดยใช้หลักการของชาร์ล ดาร์วิน ว่า ตัวเมียจะชอบตัวผู้ที่มีจมูกใหญ่ เมื่อนานเข้าตัวผู้ที่มีจมูกเล็กจึงลดจำนวนลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเหลือแต่ตัวที่จมูกใหญ่ คล้ายกับว่ายิ่งตัวผู้มีจมูกยาวใหญ่เท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นที่สนใจของตัวเมียมากขึ้นเท่านั้น [11]
พฤติกรรม
แก้ลิงจมูกยาว ก็เหมือนกับค่างชนิดอื่น ๆ ที่กระเพาะจะสามารถย่อยได้ดีแต่เฉพาะพืช ดังนั้น จึงกินอาหารจำพวก ใบไม้และผลไม้รสจืด รวมถึงเมล็ดพืชต่าง ๆ เป็นหลัก จะหากินในเวลาเช้าตรู่ โดยอาจหากินได้ไกลถึง 2 กิโลเมตร มากกว่าลิงชนิดอื่น ๆ มาก ก่อนจะเข้าสู่ป่าลึก จากนั้นในเวลาบ่ายจะออกมาอีกครั้งเพื่อนอนหลับ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยมีตัวเมียที่อายุมากที่สุดเป็นผู้นำในการออกหากิน และตัวผู้ที่มีอายุมากที่สุดเป็นผู้ปิดท้ายขบวน อาศัยอยู่เป็นฝูงประมาณ 9 ตัว โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง จะปกครองแบบฮาเร็ม ที่อาจครอบครองตัวเมียมากถึง 5-6 ตัว ลูกลิงจมูกยาวตัวผู้หากโตเต็มที่เมื่ออายุได้ 2 ปีแล้วจะถูกขับออกจากฝูง และลิงจมูกยาวตัวใดเมื่อเข้าสู่วัยชรา ก็จะถูกลิงที่หนุ่มกว่าเข้าครอบครองฮาเร็มและตัวเมียแทน ตัวผู้ที่ชราแล้ว มักจะถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังไปจนกระทั่งตาย ลิงจมูกยาวข่มขู่กันด้วยเสียงคำรามที่ดังและเป็นเอกลักษณะเฉพาะ หรือเกาะหรือขย่มกิ่งไม้ แต่จะไม่ถูกตัวกัน จะถูกตัวกันก็เฉพาะคู่ที่เป็นแม่ลูกกันเท่านั้น[11]
ลิงจมูกยาว มีพฤติกรรมเคลื่อนไหวไปมาตามต้นไม้ด้วยวิธีการกระโดดที่ไม่เหมือนกับลิงชนิดอื่น คือ จะกระโดดไปมาตามต้นไม้ต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ อย่างว่องไวและไม่มีหยุด[9]
การรับรู้ของมนุษย์และลักษณะพิเศษ
แก้ลิงจมูกยาว มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นของชนพื้นเมืองว่า "ออรัง เบลันดา" (Orang Belanda) หมายถึง "ชาวดัตช์" (Orang-คน, มนุษย์; Belanda-ชาวดัตช์) อันเนื่องจากจมูกที่ใหญ่โตเหมือนกับดั้งจมูกของชาวดัตช์ ที่เป็นชาวตะวันตกที่เข้ามาปกครองดินแดนแถบนี้ในยุคอาณานิคม ส่วน Proboscis หมายถึง "ท่อ" หรือ "งวง" [11]
ในระยะแรกที่ชาวตะวันตกได้รู้จักลิงชนิดนี้ ไม่สามารถเลี้ยงไว้ในที่เลี้ยงได้จนรอดไปตลอด มักจะตายอยู่บ่อย ๆ ซึ่งแตกต่างไปจากลิงส่วนใหญ่ที่มักจะปรับตัวและสามารถมีชีวิตอยู่ได้ สาเหตุใหญ่ที่ลิงจมูกยาวตาย ก็คือ เรื่องของอาหาร เนื่องจากมีกระเพาะอาหารแบบพิเศษ ที่มีระบบการย่อยซับซ้อน แตกต่างไปจากกระเพาะของลิงแสมหรืออุรังอุตัง เพราะมีลักษณะกระเพาะคล้ายกับกระเพาะของวัว ซึ่งภายในจะมีบัคเตรีหลายชนิดปะปนอยู่กับของเหลว โดยบัคเตรีจะทำหน้าที่ช่วยย่อยใบไม้ที่ลิงจมูกยาวกินเข้าไป และยังช่วยแยกสารพิษที่ติดมากับใบไม้อีกด้วย ทำให้ลิงจมูกยาวสามารถกินใบไม้บางชนิดที่เป็นพิษได้ ข้อสำคัญที่ทำให้ลิงจมูกยาวต้องตายในที่เลี้ยง ก็คือเนื่องจากไม่สามารถย่อยใบไม้หรือผลไม้ที่มีรสหวานเหมือนอย่างลิงชนิดอื่น เพราะจะทำให้ระบบการย่อยผิดปกติ ก่อให้เกิดแก๊สในช่องท้องเป็นจำนวนมาก จนทำให้ท้องอืดตาย[11]
นอกจากนี้แล้วการให้ยาปฏิชีวนะมากหรือน้อยเกินไปก็ส่งผลต่อระบบการย่อยของลิงเช่นเดียวกัน เพราะยาจะเข้าไปทำลายบัคเตรีในกระเพาะทำให้ไม่สามารถย่อยอาหารได้ แต่ปัจจุบันมีสวนสัตว์บางแห่งสามารถเลี้ยงได้แล้ว โดยสร้างพื้นที่เลียนแบบถิ่นอาศัยดั้งเดิมตามธรรมชาติ และมีการควบคุมเรื่องอาหาร[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ แม่แบบ:MSW3 Primates
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Boonratana, R.; Cheyne, S.M.; Traeholt, C.; Nijman, V. & Supriatna, J. (2021). "Nasalis larvatus". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T14352A195372486. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-1.RLTS.T14352A195372486.en. สืบค้นเมื่อ 17 January 2022.
- ↑ "Proboscis monkey". December 2019. สืบค้นเมื่อ 11 December 2019.
- ↑ "Economics, Ecology and the Environment: "Conservation of the Proboscis Monkey and the Orangutan in Borneo: Comparative Issues and Economic Considerations"" (PDF). March 2007.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Bradon-Jones D., Eudey A. A., Geissmann T., Groves C. P., Melnick D. J., Morales J. C., Shekelle M., Stewart C. B. (2004). "Asian primate classification". International Journal of Primatology. 25: 97–164. doi:10.1023/B:IJOP.0000014647.18720.32. S2CID 29045930.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Lhota, S.; Yap, J.L.; Benedict, M.L.; และคณะ (26 April 2022). "Is Malaysia's "mystery monkey" a hybrid between Nasalis larvatus and Trachypithecus cristatus? An assessment of photographs". International Journal of Primatology. 43 (3): 513–532. doi:10.1007/s10764-022-00293-z. PMC 9039274. PMID 35498121.
- ↑ Rosmah Dain (14 September 2011). "Sabah 'benteng' terakhir Proboscis". Utusan Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-28. สืบค้นเมื่อ 2022-12-27.
- ↑ "Bertemu monyet belanda dan Orang Utan di Kinabatangan". Sinar Harian. 29 January 2013.
- ↑ 9.0 9.1 "สุดหล้าฟ้าเขียว: Indonesia". ช่อง 3. 4 October 2014. สืบค้นเมื่อ 4 October 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ National Geographic ฉบับภาษาไทย กุมภาพันธ์ 2550 หน้า 114
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 ลิงจมูกยาวแห่งลุ่มน้ำคินาบาตางัน โดย เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์, สารคดี: ฉบับที่ 220: มิถุนายน 2546
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ARKive – images and movies of the Proboscis monkey (Nasalis larvatus)
- Primate Info Net Nasalis Factsheets
- Save the Proboscis Monkeys Petition and weblog with info on the rare, endangered species.
- A Video about proboscis monkeys เก็บถาวร 2020-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by National Geographic
- John C. M. Sha, Ikki Matsuda & Henry Bernard (2011) The Natural History of the Proboscis Monkey
- John C. M. Sha, Henry Bernard, and Senthival Nathan (2008) Status and Conservation of Proboscis Monkeys in Sabah, East Malaysia