ค่างเทา
ค่างเทา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
วงศ์: | Cercopithecidae |
สกุล: | Trachypithecus |
สปีชีส์: | T. cristatus |
ชื่อทวินาม | |
Trachypithecus cristatus Raffles, 1821 | |
ชนิดย่อย | |
| |
ชื่อพ้อง | |
|
ค่างเทา หรือ ค่างหงอก[2] (อังกฤษ: Silvered langur, Silvery lutung, Silvered leaf monkey) ค่างชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trachypithecus cristatus จัดเป็นลิงโลกเก่าชนิดหนึ่ง
ค่างเทามีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับค่างดำมลายู (Presbytis femoralis) ขนตามลำตัวเป็นสีเทาเข้ม ปลายขนเป็นสีขาวหรือสีเงิน ทำให้แลดูคล้ายผมหงอกของมนุษย์ อันเป็นที่มาของชื่อ บนหัวจะมีขนยาวเป็นหงอนแหลม ใบหน้ามีสีดำไม่มีวงแหวนสีขาวรอบดวงตา มือและเท้าเป็นสีดำ ลูกค่างที่เกิดใหม่ขนตามลำตัวจะเป็นสีเหลืองทอง มีความยาวลำตัวถึงหัว 49-57 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 72-84 เซนติเมตร น้ำหนัก 6-8 กิโลกรัม มีชนิดย่อยด้วยกัน 2 ชนิด
มีพฤติกรรมอาศัยอยู่บนต้นไม้สูง ในบางครั้งอาจพบในป่าพรุด้วย อาหารของค่างชนิดนี้ได้แก่ ใบอ่อนของต้นไม้, ผลไม้ และแมลงตัวเล็ก ๆ จะออกหากินในเวลากลางวัน มักอยู่รวมเป็นฝูงประมาณ 10-15 ตัว
มีการกระจายพันธุ์ในแถบภาคตะวันตก, ภาคเหนือของไทย, ภาคใต้ของลาว, พม่า, เวียดนาม, ตอนใต้ของจีน, กัมพูชา, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวาและเกาะบอร์เนียว[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ Nijman, V. & Meijaard, E. (2008). Trachypithecus cristatus. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 4 January 2009.
- ↑ 2.0 2.1 ชุติอร กาญวัฒนกิจ. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : กองทุนสัตว์ป่าโลก. สำนักงานประเทศไทย, 2543. 256 หน้า. หน้า 44-45. ISBN 974-87081-5-2
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Trachypithecus cristatus ที่วิกิสปีชีส์