เมทแอมเฟตามีน
เมแทมเฟตามีน (Methamphetamine) หรือชื่อในระบบ IUPAC คือ เอ็น-เมทิลแอมฟีตะมีน เป็นสารกระตุ้นหนักระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากถูกใช้เป็นสารเสพติดและถูกใช้บ้างในการรักษาโรคซนสมาธิสั้นและโรคอ้วน เมแทมเฟตามีนถูกค้นพบโดยนักเคมีชาวญี่ปุ่น นาไง นางาโยชิ (長井 長義) ในปี ค.ศ. 1893 และมีอยู่สองอีแนนซิโอเมอร์ ประกอบด้วย: เดกซ์โตรเมแทมเฟตามีน (dextromethamphetamine, (D)-methamphetamine) ซึ่งมีฤทธิ์รุนแรงกว่าและ เลโวเมแทมเฟตามีน (levo-methamphetamine, (L)-methamphetamine) โดย (D)-methamphetamine มีพิษต่อระบบประสาทของมนุษย์และสามารถถูกใช้เป็นสารเสพติดประเภทกระตุ้นความต้องการทางเพศและมัวเมา และจัดเป็นสารเสพติด ในขณะเดียวกัน (L)-methamphetamine มีผลต่อระบบประสาทต่ำกว่า และถูกใช้เป็นยาหดหลอดเลือดชนิดพ่นจมูก (nasal decongestant) ได้
อย่างไรก็ตามก็มียาชนิดอื่นที่ปลอดภัยกว่าและมีประสิทธิผลทัดเทียมกัน จึงไม่มีการใช้ (L)-metamphetamine ในการรักษาอาการคัดจมูกโดยแพทย์แล้วในปัจจุบัน
ปัจจุบัน การค้าและครอบครองทั้งเมแทมเฟตามีนและเดกซ์โตรเมแทมเฟตามีนเพื่อการเสพถือว่าผิดกฎหมาย การใช้เมแทมเฟตามีนอย่างผิดกฎหมายพบได้มากที่สุดในเอเชีย โอเชียเนียและในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในสหรัฐ ทั้งเมแทมเฟตามีน เดกซ์โตรเมแทมเฟตามีน และเลโวเมแทมเฟตามีนถูกจัดอยู่ในบัญชีที่สอง ประเภทสารควบคุม โดยเลโวเมแทมเฟตามีนเป็นยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์สำหรับใช้เป็นยาลดอาการคัดจมูกในสหรัฐ แต่โดยสากลแล้ว การผลิต จำหน่ายและครอบครองเมแทมเฟตามีนนั้นถูกควบคุมหรือต้องห้ามในประเทศส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นสารที่อยู่ในบัญชีที่สองของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสารที่มีผลต่อจิตใจ
การที่ร่างกายได้รับเมแทมเฟตามีนมากเกินไป อาจส่งผลกระทบให้เกิดหลายอาการ[7][10] การได้รับมากเกินในระดับปานกลางอาจทำให้มีอาการชีพจรผิดปกติ สับสนงุนงง ถ่ายปัสสาวะลำบากหรือเจ็บ ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ อุณหภูมิร่างกายสูง ตื่นตัวและตอบสนองมากเกิน ปวดกล้ามเนื้อ กระสับกระส่าย หายใจเร็ว ชะงักหลั่งปัสสาวะ และปัสสาวะปลอดยูรีน[7][11] การได้รับมากเกินในระดับสูง อาจก่อให้เกิดอาการอื่นเพิ่มเติม คือ อาการกำเริบรุนแรง ไตวาย เซอโรโทนินซินโดรม และยังอาจทำลายสมองได้อีกด้วย
อ้างอิง
แก้- ↑ United States Congress Senate Committee on the Judiciary Subcommittee to Investigate Juvenile Delinquincy (1 มกราคม 1972). Amphetamine legislation 1971: Hearings, Ninety-second Congress, first session, pursuant to S. Res. 32, section 12, investigation of juvenile delinquency in the United States (PDF). U.S. Govt. Print. Off. p. 161. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2016.
We made a decision in January of 1969 to cease the manufacture of injectable methamphetamines.
- ↑ "Adderall XR Prescribing Information" (PDF). United States Food and Drug Administration. ธันวาคม 2013. pp. 12–13. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2013.
- ↑ Krueger SK, Williams DE (มิถุนายน 2005). "Mammalian flavin-containing monooxygenases: structure/function, genetic polymorphisms and role in drug metabolism". Pharmacol. Ther. 106 (3): 357–387. doi:10.1016/j.pharmthera.2005.01.001. PMC 1828602. PMID 15922018.
- ↑ 4.0 4.1 Rau T, Ziemniak J, Poulsen D (2015). "The neuroprotective potential of low-dose methamphetamine in preclinical models of stroke and traumatic brain injury". Prog. Neuropsychopharmacol. Biol. Psychiatry. 64: 231–6. doi:10.1016/j.pnpbp.2015.02.013. PMID 25724762.
In humans, the oral bioavailability of methamphetamine is approximately 70% but increases to 100% following intravenous (IV) delivery (Ares-Santos et al., 2013).
- ↑ "Toxicity". Methamphetamine. PubChem Compound. National Center for Biotechnology Information. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2013.
- ↑ 6.0 6.1 Riviello, Ralph J. (2010). Manual of forensic emergency medicine : a guide for clinicians. Sudbury, Mass.: Jones and Bartlett Publishers. p. 41. ISBN 9780763744625.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Schep LJ, Slaughter RJ, Beasley DM (สิงหาคม 2010). "The clinical toxicology of metamfetamine". Clinical Toxicology (Philadelphia, Pa.). 48 (7): 675–694. doi:10.3109/15563650.2010.516752. ISSN 1556-3650. PMID 20849327.
- ↑ "Properties: Predicted – EP|Suite". Methmphetamine. Chemspider. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2013.
- ↑ "Chemical and Physical Properties". Methamphetamine. PubChem Compound. National Center for Biotechnology Information. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2013.
- ↑ "Desoxyn Prescribing Information" (PDF). United States Food and Drug Administration. ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2014.
- ↑ Westfall DP, Westfall TC (2010). "Miscellaneous Sympathomimetic Agonists". ใน Brunton LL, Chabner BA, Knollmann BC (บ.ก.). Goodman & Gilman's Pharmacological Basis of Therapeutics (12th ed.). New York: McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-162442-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Dextromethamphetamine
- Methamphetamine Toxnet entry
- Methamphetamine Poison Information Monograph
- Drug Trafficking Aryan Brotherhood Methamphetamine Operation Dismantled. เอฟบีไอ. เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน