อันดับบ่าง

(เปลี่ยนทางจาก Cynocephalidae)
อันดับบ่าง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยอีโอซีน-ปัจจุบัน, 37–0Ma
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
ชั้นฐาน: Placentalia
อันดับใหญ่: Euarchontoglires
อันดับ: Dermoptera
Illiger, 1811
วงศ์: Cynocephalidae
Simpson, 1945
สกุลต้นแบบ
Cynocephalus
Boddaert, 1768
สกุล
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของบ่าง

สีแดง - Galeopterus variegatus,
สีเขียวอ่อน - Cynocephalus volans

อันดับบ่าง เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้นย่อยยูเทอเรีย (Eutheria) อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dermoptera (/เดอ-มอป-เทอ-รา/ แปลว่า "ปีกหนัง"[1]) และถือเป็นอันดับที่อยู่ถัดมาจากอันดับโพรซีเมียน (Prosimian) ถือว่า บ่างเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้เคียงกับสัตว์ในอันดับไพรเมต อันได้แก่ ทาร์เซีย, ลิงและเอป ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ด้วย [2]และเชื่อกันว่า บ่างเป็นต้นบรรพบุรุษของค้างคาว ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงจำพวกเดียวที่บินได้ ซึ่งอยู่ในอันดับ Chiroptera ด้วย[3]

ลักษณะของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีรูปร่างคล้ายกับกระรอกบินหรือค้างคาวหรือลีเมอร์ แต่มีจุดเด่น คือ มีแผ่นหนังบาง ๆ ที่เชื่อมติดกันระหว่างคอ, ขาหน้า, ขาหลัง และหาง รวมถึงนิ้วทุกนิ้วอีกด้วย โดยที่ไม่มีหัวแม่มือ ซึ่งเมื่อกางออกจะเป็นแผ่นคล้ายว่าว ทำให้สามารถร่อนถลาได้เหมือนกระรอกบินหรือชูการ์ไกลเดอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ต่างอันดับกัน

บ่าง เป็นสัตว์ที่มีดวงตากลมโตสีแดง ส่วนจมูกและใบหน้าแหลม รวมทั้งมีสีขนที่เลอะ เพื่อแฝงตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ทำให้แลดูน่าเกลียดน่ากลัว แต่เป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร ได้แก่ ยอดไม้, ดอกไม้ รวมถึงแมลง และลูกไม้เนื้ออ่อน เป็นอาหาร มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า [4]

มีส่วนหางที่สั้น มีเล็บที่นิ้วที่แหลมคมใช้สำหรับในการปีนต้นไม้และเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้ รวมถึงสามารถห้อยหัวลงมาได้เหมือนค้างคาว บ่างจะหากินในเวลากลางคืนหรือโพล้เพล้ ส่วนในเวลากลางวันจะนอนหลับอยู่ตามโพรงไม้หรือคอมะพร้าว[5]

บ่าง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว เนื่องจากแม่บ่างสามารถรับน้ำหนักได้เพียงแค่นี้ ลูกบ่างจะเกาะติดกับหน้าอกแม่ดูดนมจากเต้านมแม่ซึ่งมี 2 คู่ แม้แต่เมื่อหากินหรือระหว่างร่อน ใช้เวลาโตเต็มที่ประมาณ 2-3 ปี บ่างแรกเกิดมักมีการพัฒนาไม่มากนักคล้ายสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง (Marsupialia) แม่บ่างจะเลี้ยงลูกไว้โดยให้เกาะที่ท้อง เวลาเกาะอยู่กับต้นไม้ โดยใช้ผังผืดระหว่างขาช่วงล่างสุดห่อคล้ายร่มหรือถุงเหมือนสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ในช่วงที่แม่บ่างเลี้ยงลูกจะยังไม่มีลูกใหม่ จนกว่าลูกตัวเดิมจะแยกตัวออกไปหากินเอง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี แม่บ่างจะเลียฉี่และมูลของลูก ขณะที่ลูกบ่างจะกินมูลของแม่ด้วย ซึ่งภายในมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยอาหารซึ่งได้แก่ พืช ส่วนต่าง ๆ แต่พฤติกรรมการผสมพันธุ์ยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัด[6]

บ่างอาศัยอยู่ในป่าดิบที่มีความอุดมสมบูรณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ใน 2 สกุล และมีอีก 1 สกุล ซึ่งมี 2 ชนิด ที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว

การจำแนกและวิวัฒนาการ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. บ่าง
  2. "Flying Lemurs are the Closest Relatives of Primates". science.psu.edu/. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-18. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  3. "The Colugo: Gliding (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-24. สืบค้นเมื่อ 2013-12-18.
  4. MacKinnon, Kathy (1984). Macdonald, D. (บ.ก.). The Encyclopedia of Mammals. New York: Facts on File. pp. 446–447. ISBN 0-87196-871-1.
  5. หน้า 164, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)
  6. บ่าง, "สีสันสัตว์โลก สเปเชี่ยล", สารคดีทางช่อง 9: 17 ธันวาคม 2556
  7. Marivaux, L., L. Bocat, Y. Chaimanee, J.-J. Jaeger, B. Marandat, P. Srisuk, P. Tafforeau, C. Yamee, and J.-L. Welcomme (2006). "Cynocephalid dermopterans from the Palaeogene of South Asia (Thailand, Myanmar and Pakistan): systematic, evolutionary and palaeobiogeographic implications". Zoologica Scripta 35 (4): 395–420. doi:10.1111/j.1463-6409.2006.00235.x.