สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์

(เปลี่ยนทางจาก City of Manchester Stadium)

สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ (อังกฤษ: City of Manchester Stadium) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ สนามกีฬาอัลติฮัด (อังกฤษ: Etihad Stadium) ด้วยเหตุผลตามชื่อผู้สนับสนุน[1] หรือในบางครั้งอาจเรียกว่า คอมส์ (CoMS) หรือ อีสต์แลนส์ (Eastlands)[10][11] เป็นสนามกีฬาในเมืองแมนเชสเตอร์ เป็นสนามกีฬาเหย้าของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี เป็นสนามกีฬาใหญ่เป็นอันดับ 5 ของทีมพรีเมียร์ลีก และใหญ่เป็นอันดับ 12 ในสหราชอาณาจักร มีจำนวนที่นั่ง 47,805 ที่[4][9]

สนามกีฬาเอติฮัด
สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ เมื่อกุมภาพันธ์ 2016

UEFA 4/4 stars

แผนที่
ชื่อเดิมสนามกีฬาเอติฮัด[1]
ที่ตั้งสปอร์ตซิตี, ถนนโรว์สลีย์
แมนเชสเตอร์, M11 3FF
พิกัด53°28′59″N 2°12′1″W / 53.48306°N 2.20028°W / 53.48306; -2.20028
เจ้าของสภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์
ผู้ดำเนินการสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี
ความจุ47,805 – ฟุตบอลภายในประเทศ (2011–)[4]
47,726 – ฟุตบอลจัดโดยยูฟ่า[5]
60,000 – คอนเสิร์ต[6] และ มวย[7]
38,000 – กีฬาเครือจักรภพ 2002[8]
ขนาดสนาม105 × 68 เมตร (115 × 74 หลา)[9]
พื้นผิวเดสโซกราสมาสเตอร์
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็มธันวาคม ค.ศ. 1999[2]
เปิดใช้สนาม25 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 (ใช้เป็นสนามแข่งกรีฑา)
10 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (ใช้เป็นสนามแข่งฟุตบอล)
ต่อเติมค.ศ. 2002–2003
งบประมาณในการก่อสร้าง112 ล้านปอนด์ (ก่อสร้างเป็นสนามแข่งกรีฑา)[3]
22 ล้านปอนด์ (ดัดแปลงเป็นสนามฟุตบอล)[3]
20 ล้าน (กรอบอาคารสนามฟุตบอล)[3]
สถาปนิกอารัป (ออกแบบสถาปัตยกรรม)
เคเอสเอสอาร์คิเทกส์ (ออกแบบกรอบอาคาร)
ผู้รับเหมาหลักบ. เลียงคอนสตรักชัน (ก่อสร้างเริ่มต้น)
เลียงโอรูร์ก (ดัดแปลงสนาม)
บ.วัตสันสตีล (โครงสร้างเหล็ก)
การใช้งาน
แมนเชสเตอร์ซิตี (ค.ศ. 2003–ปัจจุบัน)

จัดการแข่งขันกีฬาอื่น ๆ
กีฬาเครือจักรภพ 2002
ยูฟ่าแชมเปียนชิปหญิง 2005
ยูฟ่าคัปนัดตัดสิน ค.ศ. 2008
ริกกี แฮตตัน vs. ควน ลัซกาโน (ชิงแชมป์สมาคมมวยโลก 2008)

ดูเพิ่ม: คอนเสิร์ตสำคัญ

เดิมทีสนามกีฬามีวัตถุประสงค์สำหรับเป็นสนามแข่งกีฬาหลักในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่สหราชอาณาจักรพลาดการประมูลไป[12] จนได้ชนะการประมูลในการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ 2002 หลังจบการแข่งขันได้ลดความจุสนามจาก 80,000 คน ไปเป็น 50,000 คน สนามแห่งนี้ก่อสร้างโดยเลียงคอนสตรักชัน ด้วยงบประมาณ 112 ล้านปอนด์[3][13] โดยออกแบบโดยอารัปสปอร์ต[14]

เพื่อแน่ใจว่าจะไม่ใช่โครงการที่เสี่ยง แมนเชสเตอร์ซิตีจึงตัดสินใจรับสนามกีฬาแห่งนี้แทนที่สนามกีฬาเก่า เมนโรด ทันทีที่การแข่งขันจบลง ก็ได้มีการเพิ่มที่นั่งลดหลั่นเจาะลงไปในลู่วิ่งเดิม[15] การปรับปรุงนี้ทางสภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์จ่ายไป 22 ล้านปอนด์[3][13] และแมนเชสเตอร์ซิตีจ่ายเพิ่มอีก 20 ล้านปอนด์[3][13] และเพิ่มที่จำหน่ายเครื่องดื่ม ร้านอาหาร และพื้นที่สันทนาการอื่น สโมสรย้ายเข้ามาใช้สนามแห่งใหม่ระหว่างช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2003

นอกจากแข่งขันกีฬาแล้ว ยังใช้จัดนัดแข่งขันยูฟ่าคัพ 2008 นัดการแข่งขันฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ นัดแข่งขันรักบี้ระหว่างประเทศ แข่งขันมวย และคอนเสิร์ตอีกหลายคอนเสิร์ต[16]

ชื่อสนาม

แก้

ชื่อสนาม ซิตีออฟแมนเชสเตอร์ ตั้งชื่อโดยสภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์ ก่อนที่การก่อสร้างจะเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1999[2] แต่ก็มีการใช้ชื่ออื่นอีกหลายชื่อ อีสต์แลนด์ เป็นชื่อเรียกสถานที่ก่อสร้างและสนามกีฬา ก่อนที่จะตั้งชื่อว่า สปอร์ตซิตี และ คอมส์ ตามลำดับ และเป็นชื่อที่ใช้ประจำ[1] สำหรับสนามกีฬาและโครงการกีฬาทั้งหมด ใช้ชื่อว่า สปอร์ตซิตี[17] ส่วนชื่อ ซิตีออฟแมนเชสเตอร์ (City of Manchester Stadium) จะย่อเขียนย่อว่า CoMS และภาษาพูดเรียกว่า เดอะบลูแคมป์ ล้อมาจากชื่อสนามกัมนอว์ ของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา[18] หลังจากที่อาบูดาบียูไนเต็ดกรุปเข้าดูแลสโมสรในปี ค.ศ. 2008 ผู้สนับสนุนบางคนเรียกชื่อสนามติดตลกว่า มิดเดิลอีสต์แลนด์[19]

ภายใต้การดูแลของเจ้าของใหม่ สโมสรได้เจรจาสัญญาเช่าใหม่กับสภาเทศบาลเมืองในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 โดยเช่าสถานที่เป็นระยะเวลา 250 ปี และขอเพิ่มสิทธิ์ในการใช้ชื่อ[3] ในการแลกเปลี่ยนกับค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นมาก[13][20] โดยขอเปลี่ยนชื่อสนามมาเป็น สนามกีฬาอัลติฮัด ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการสนับสนุนสโมสรเป็นเวลา 10 ปี บนชุดกีฬาที่ปักชื่อ สายการบินเอติฮัด[1] ข้อตกลงนี้รวมถึงชื่อของสนามกีฬาด้วย[21] รวมถึงแผนการย้ายสโมสรเยาวชนและสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกซ้อม ไปยังที่แห่งใหม่ คือ วิทยาลัยเอติฮัด ที่อยู่ใกล้กับสนาม[22]

ประวัติ

แก้

แผนการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ในเมืองแมนเชสเตอร์เริ่มมีขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1989 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เมืองประมูลในการเป็นผู้จัดการโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 สภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์ได้เสนอการประมูลแบบสนามกีฬา 80,000 ที่นั่ง บริเวณพื้นที่สีเขียวทางตะวันตกของแมนเชสเตอร์ แต่การประมูลก็ตกไปเมื่อแอตแลนตาได้เป็นเมืองเจ้าภาพ อีก 4 ปีต่อมา สภาเทศบาลฯ ก็ได้ยื่นประมูลเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 แต่ครั้งนี้มุ่งตำแหน่งสนามกีฬาไปที่รกร้างทางตะวันออกของศูนย์กลางเมือง 1.6 กิโลเมตร (0.99 ไมล์) บริเวณเหมืองร้างแบรดฟอร์ดโคลเลียรี[23] หรือรู้จักในชื่อ อีสต์แลนส์ การเปลี่ยนสถานที่ของสภาเทศบาลฯ เกิดจากการออกกฎหมายผลักดันในการบูรณะเขตเมือง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายโครงการ รัฐบาลมีส่วนในการหาเงินและทำความสะอาดสถานที่ของอีสต์แลนส์ ในปี ค.ศ. 1992[14]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 สภาเทศบาลฯ ได้เปิดประมูลรับแบบของสนามกีฬา 80,000 ที่นั่ง อีกแบบ[12] โดยได้บริษัทอารัป เป็นผู้ดูแลงาน บริษัทได้ช่วยเลือกอีสต์แลนด์เป็นสถานที่ก่อสร้างด้วย ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 กำหนดให้ซิดนีย์เป็นเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในปีต่อมาแมนเชสเตอร์ได้เสนอแบบเดียวให้กับโครงการปรับปรุงเมืองในช่วงสหัสวรรษ มิลเลนเนียมคอมมิสชัน โดยเสนอชื่อเป็น "มิลเลนเนียมสเตเดียม" แต่โครงการนี้ก็ตกไป ต่อมาสภาเทศบาลฯ ยังคงเสนอประมูลเจ้าภาพกีฬาเครือจักรภพ 2002 เป็นอีกครั้งที่ได้เสนอในพื้นที่เดิม และผังแบบจากการประมูลโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 และครั้งนี้ก็ประมูลสำเร็จ ในปี ค.ศ. 1996 แบบสนามกีฬาเดียวกันนี้ที่ใช้ในการแข่งขันกับสนามกีฬาเวมบลีย์ ในการหาทุนในการสร้างสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่[24] แต่งบก็ถูกใช้ในการพัฒนาเวมบลีย์แทน

กีฬาเครือจักรภพ 2002

แก้

สนามกีฬาได้วางศิลาฤกษ์โดยนายกรัฐมนตรี โทนี แบลร์ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1999[2] และเริ่มก่อสร้างในเดือนมกราคม ค.ศ. 2000[25] สนามกีฬาออกแบบโดยอารัป และก่อสร้างโดยเลียงคอนสตรักชัน ด้วยงบประมาณราว 112 ล้านปอนด์[3][13] โดยได้มาจากสปอร์ตอิงแลนด์ 77 ล้านปอนด์ และที่เหลือเป็นการหารายได้จากสภาเทศบาลฯ[26] สำหรับการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ แถวที่นั่งเดี่ยวชั้นล่าง จะวิ่งไปรอบลู่วิ่งทั้ง 3 ด้าน ส่วนแถวที่นั่งชั้นบนจะวิ่งไป 2 ด้าน มีอัฒจันทร์ชั่วคราวไม่มีหลังคาคลุมที่ปลายสุด มีที่นั่งสำหรับการแข่งขันนี้ราว 38,000 ที่นั่ง[8][27]

เปิดใช้ครั้งแรกในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ 2002 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานสุนทรพจน์และเปิดพิธีแข่งขัน[28] โดยในการแข่งขัน 10 วัน สนามกีฬาใช้จัดการแข่งขันกรีฑาและรักบี้ฟุตบอล 7 คน เกิดสถิติในการแข่งขันครั้งนี้อาทิ เขย่งก้าวกระโดดหญิง และวิ่ง 5000 เมตรหญิง[29]

การดัดแปลงสนาม

แก้
สนามกีฬาเมื่อครั้งใช้ในกีฬาเครือจักรภพ มีที่นั่ง 2 ชั้น
หลังการปรับเปลี่ยน ที่นั่งมี 3 ชั้น

หลังจากประสบความสำเร็จในการจัดแข่งขันกีฬาในกีฬาเครือจักรภพ 2002 แนวคิดที่จะเปลี่ยนสนามกีฬามาเป็นสนามฟุตบอลนั้นก็ได้รับเสียงวิจารณ์จากนักกีฬาอย่าง โจนาทาน เอดเวิดส์ และเซบาสเตียน โค[30] เนื่องจากสหราชอาณาจักรขาดแคลนสนามแข่งขันกรีฑา สภาเทศบาลฯ ตั้งใจไว้ว่าจะคงลู่วิ่งไว้และจะติดตั้งที่นั่งที่ถอดได้หลังจากการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ[31] โดยข้อเสนอที่ได้รับอนุญาต มีที่นั่งราว 60,000 ที่นั่ง แต่ต้องใช้งบประมาณราว 50 ล้านปอนด์[32] เมื่อเปรียบเทียบกับงบ 22 ล้านปอนด์[3][13] สำหรับการรื้อลู่วิ่งและมีความจุเพียง 48,000 ที่นั่ง บริษัทสถาปนิก อารัป เชื่อว่าจากในประวัติศาสตร์นั้น แสดงให้เห็นว่า การเก็บลู่วิ่งสำหรับการปรับเปลี่ยนมาเป็นสนามฟุตบอล โดยมากแล้วลู่วิ่งจะไม่ค่อยได้ใช้งาน และไม่เหมาะสมกับสนามฟุตบอล และยกตัวอย่างสนามอย่างเช่น สตาดีโอเดลเลอัลปี และสนามโอลิมปิก สเตเดียม มิวนิก ที่ทั้งสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสและบาเยิร์น มิวนิก ได้ย้ายมายังสนามกีฬาแห่งใหม่ไม่ถึง 40 ปีหลังใช้งานต่อ[33] สภาเทศบาลฯ ไม่อยากให้เกิดโครงการที่ดูแลรักษายาก ดังนั้น เพื่อให้สนามกีฬามีอายุการใช้งานในด้านงบการเงิน จึงดำเนินงานเพิ่มเติมโดยเปลี่ยนสนามและลู่วิ่งมาเป็นสนามกีฬาฟุตบอล

ได้มีการรื้อลู่วิ่งออกและนำไปใช้ในสนามกีฬาแห่งอื่น[34] ได้มีการทำชั้นระดับดินให้ต่ำลงมาเพื่อให้สามารถเพิ่มที่นั่งได้ และรื้ออัฒจันทร์ชั่วคราวออก แทนที่ด้วยโครงสร้างถาวร ในรูปแบบการออกแบบคล้ายกันบริเวณปลายของทิศใต้ งานนี้ใช้เวลาในการทำงานเกือบปี และเพิ่มที่นั่งอีก 10,000 ที่นั่ง[8] สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีได้ใช้สนามกีฬาแห่งนี้เป็นสนามกีฬาเหย้าเมื่อเริ่มฤดูกาล 2003–04 ใช้งบประมาณในการปรับปรุงสนามเกินงบไป 40 ล้านปอนด์ โดยปรับเปลี่ยนในส่วนทางเดิน สนามแข่ง และที่นั่ง ที่ได้งบประมาณมาจากสภาเทศบาล 22 ล้านปอนด์[3][13] และเพิ่มที่จำหน่ายเครื่องดื่ม ร้านอาหาร และพื้นที่สันทนาการอื่น งบประมาณส่วนนี้มาจากสโมสร ใช้งบ 20 ล้านปอนด์[3][13]

ครั้งแรกของสนาม

แก้

นัดแข่งขันฟุตบอลครั้งแรกของสนาม เป็นนัดกระชับมิตรระหว่างแมนเชสเตอร์ซิตีกับบาร์เซโลนา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2003 โดยแมนเชสเตอร์ซิตีชนะ 2–1 โดยนีกอลา อาแนลกาเป็นคนยิงประตูแรกในการเปิดสนามแห่งนี้[35][36]

ส่วนการแข่งขันแรกในระบบการแข่งขัน เกิดขึ้นถัดจากนั้น 4 วัน ในถ้วยยูฟ่าคัพ ระหว่างแมนเชสเตอร์ซิตีกับทีมจากเวลส์พรีเมียร์ลีก สโมสรฟุตบอลเดอะนิวเซนส์ โดยแมนเชสเตอร์ซิตีชนะ 5–0 โดยเทรเวอร์ ซินแคลร์เป็นผู้ยิงประตูแรกในนัดการแข่งขันแรกในระบบการแข่งขันของสนามแห่งนี้[37] เมื่อเริ่มฤดูกาลในพรีเมียร์ลีก แมนเชสเตอร์ซิตีเป็นทีมเยือน ดังนั้นนัดการแข่งขันที่บ้านนัดแรกของสนามแห่งนี้มีขึ้นวันที่ 23 สิงหาคม[38] ผลการแข่งขันเสมอกับสโมสรฟุตบอลพอร์ตสมัท 1–1 โดยยาคูบู ยิงประตูแรกของสนามกีฬาแห่งนี้ในการแข่งขันลีก[39]

จนถึงวันนี้ สถิติผู้เข้าชมมากสุด อยู่ที่ 47,408 คน[40] ในนัดการแข่งขันในพรีเมียร์ลีก เจ้าบ้านแข่งกับสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011[41] การแข่งขันครั้งนี้ยังสร้างสถิติใหม่ให้กับสโมสรและพรีเมียร์ลีก คือ แมนเชสเตอร์ซิตีเป็นทีมแรกที่ชนะ 11 เกม จาก 12 เกมแรกของฤดูกาลในพรีเมียร์ลีก[42]

สถาปัตยกรรม

แก้
 
สายเคเบิลเหล็กจากเสากระโดงรับโครงสร้างหลังคา

เมื่ออยู่ในขั้นตอนการพัฒนา สภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์ต้องการโครงสร้างที่เป็นจุดสังเกตที่ยั่งยืน ที่สามารถเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิรูป ที่ครั้งหนึ่งในสถานที่ก่อสร้าง แบรดฟอร์ดโคลเลียรี เคยเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหนัก เช่นเดียวกับให้ผู้ชมเห็นแนวสายตาที่สวยงามในบรรยากาศของสนามกีฬา[43] บริษัทอารัปได้ "ออกแบบสนามกีฬาให้ดูคุ้นเคย ไม่ข่ม เป็นสนามกีฬาต่อสู้ที่รวมบรรยากาศของสโมสรฟุตบอลไว้" โดยพื้นสนามแข่งอยู่ลึกลงไป 6 เมตรจากระดับพื้นดิน และมีรูปแบบบรรยากาศสนามกีฬาโรมันและมีแอมฟิเทียร์เตอร์[43]

ภายนอกสนาม สร้างความโดดเด่นโดยเสากระโดง 12 ต้นที่พยุงหลังขาของสนามที่มีรูปทรงเหมือนห่วงยาง โดยใช้ระบบสายเคเบิล ซึ่งแตกต่างจากสนามกีฬาอื่นที่มักใช้ระบบเสา-คาน รับน้ำหนัก โดยสายเคเบิลได้ยึดติดเข้ากับเสากระโดง 12 ต้น รอบทั้งสนาม และมีคานค้ำหลังคาและแป รับหลังคาอื่น นอกจากนั้นยังมีเสากระโดงยังเพิ่มความสวยงาม ซึ่งมีความสูงสูงสุดที่ 75 เมตร (246 ฟุต) เข้าถึงที่นั่งชั้นบนโดยมีทางลาดรูปร่างกลม ที่มีส่วนบนสุดเป็นรูปทรงกรวย มีรูปร่างคล้ายหอคอย โดยมีเสากระโดง 8 ต้น (จาก 12 ต้น) ที่รับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคา[44]

หลังคาทางทิศใต้ ทิศตะวันออก และอัฒจันทร์ทางทิศตะวันตก ที่มีโครงสร้างภายนอกสร้างแบบสนามกีฬากรีฑา ใช้ระบบสายเคเบิลรับน้ำหนัก ส่วนอัฒจันทร์ชั่วคราวแบบเปิดโล่งทางปลายสุดของทิศเหนือ สร้างล้อมรอบเสากระโดงและยึดติดกับสายเคเบิล ที่รับน้ำหนักของหลังคาอัฒจันทร์ทิศเหนือ[43] หลังจากจบการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ ก็ได้ขุดดินบริเวณลู่วงและสนามลงไป และได้นำอัฒจันทร์กลางแจ้งชั่วคราวทางทิศเหนือออกไป และอัฒจันทร์ทิศเหนือและที่นั่งชั้นล่างก็ได้มีการก่อสร้างปรับปรุงเพื่อเตรียมการสำหรับขุดดิน หลังคาอัฒจันทร์ทิศเหนือเพิ่มคานค้ำหลังคา แป และเพิ่มวัสดุหุ้มตกแต่งอาคาร[43] โดยใช้เวลาการปรับปรุงราว 1 ปี[43] และเพิ่มจำนวนที่นั่งได้อีกราว 10,000 ที่นั่ง[8]

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักฟุตบอลและเจ้าหน้าที่ อยู่บริเวณชั้นใต้ดิน ใต้อัฒจันทร์ทิศตะวันตก มีครัวที่สามารถรองรับการเสิร์ฟอาหารให้คน 6,000 คน ในวันแข่งขัน มีห้องสื่อมวลชน ห้องเก็บของเจ้าหน้าที่สนาม และห้องกักขังผู้กระทำความผิด[43] ส่วนอุปกรณ์บริการ ครัว สำนักงาน และทางเดิน ออกแบบโดย เคเอสเอสอาร์คิเทกส์ รวมถึงการติดตั้งเคเบิลสื่อสายและระบบการควบคุมการเข้าออกของรถ[43] สนามกีฬายังมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการประชุมและมีใบอนุญาตให้การประกอบพิธีแต่งงานอีกด้วย[45]

เพื่อให้ได้หญ้าที่ดีที่สุดในสนาม จึงมีการออกแบบหลังคาให้หญ้าได้รับแสงอาทิตย์มากที่สุด โดยหลังคาใช้โพลีคาร์บอเนตโปร่งแสง 10 เมตร ที่ส่วนปลายและมุมของหลังคาของสนามกีฬา และมีผนังเจาะรูระบายอากาศ ให้ลมไหลผ่านลงสู่สนามได้[43] มีการติดตั้งระบายน้ำและระบบทำความร้อนใต้พื้นสนามแข่ง เพื่อให้หญ้าเจริญเติบโตได้ดีที่สุด[43]

สนามกีฬา

แก้

การเข้าถึง

แก้
 
ทางเดินโจ เมอร์เซอร์

เมื่อใช้สมาร์ตการ์ดแบบไร้สัมผัส ผู้ชมสามารถเข้าสนามได้เร็วขึ้นกว่าระบบทางเข้าแบบเหล็กหมุนแบบเดิม โดยระบบสามารถรองรับคนได้ถึง 1,200 คนต่อนาทีจากทุกทางเข้าออก[46] มีอุโมงค์บริการใต้สนามกีฬาสำหรับยานพาหนะฉุกเฉินและรถโคชของทีมเยือนให้เข้าสนามได้โดยตรง ส่วนสนับสนุนสนามกีฬาภายในสามารถเข้าถึงร้านอาหาร 6 แบบ โดย มี 2 ร้านที่มีมุมมองเห็นสนามแข่ง และมีที่นั่งชมเกมบนที่นั่งพิเศษ 70 ชุด[9] เหนือที่นั่งชั้นสองทางอัฒจันทร์ทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศตะวันออก

อัฒจันทร์

แก้
 
ทางเข้าหลัก

ภายในสนามกีฬามีรูปร่างชามรูปไข่ ด้านยาวมีที่นั่ง 3 ชั้น และมีที่นั่ง 2 ชั้นที่ด้านกว้าง เป็นที่นั่งยาวต่อเนื่อง แต่ละด้านของอัฒจันทร์มีการตั้งชื่อตามรูปแบบทั่วไปของสนามฟุตบอล เริ่มแรกแต่ละด้านของอัฒจันทร์มีชื่อตามทิศ (อัฒจันทร์ทิศเหนือ และ อัฒจันทร์ทิศใต้ ที่ด้านกว้าง และอัฒจันทร์ทิศตะวันออก และอัฒจันทร์ทิศตะวันตก ทีด้านยาว) [47] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 หลังจากได้รับการลงคะแนนเสียงจากแฟนฟุตบอล อัฒจันทร์ทิศตะวันตก เปลี่ยนชื่อมาเป็น อัฒจันทร์โคลิน เบลล์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับอดีตนักฟุตบอล[48] อัฒจันทร์ทิศใต้ เปลี่ยนชื่อมาเป็น คีย์ 103 ตามชื่อผู้สนับสนุนตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003-2006[49] ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากแฟนฟุตบอลสำหรับชื่อนี้

บางส่วนของอัฒจันทร์ทิศเหนือออกแบบมาสำหรับเป็นอัฒจันทร์ครอบครัว ที่มากับเด็ก ๆ โดยตั้งชื่อว่า อัฒจันทร์แฟมิลีสแตนด์ แต่ตั้งแต่ฤดูกาล 2010–11 ทั้งหมดของอัฒจันทร์ทิศเหนือก็จัดสรรให้สำหรับเป็นอัฒจันทร์สำหรับครอบครัว ส่วนอัฒจันทร์ทิศตะวันออกเป็นที่รู้จักอย่างไม่เป็นทางการว่า คิปแปกซ์ สอดคล้องกับอัฒจันทร์ที่สนามเมนโรด[50] ส่วนผู้ชมของทีมเยือน จะนั่งที่อัฒจันทร์ทิศใต้

สนามแข่ง

แก้

สนามแข่งเป็นไปตามมาตรฐานของยูฟ่า คือ 105 × 68 เมตร (115 × 74 หลา) [9] พื้นสนามเป็นสนามหญ้าจริง ทำให้แข็งแรงยิ่งขึ้นโดยเส้นใยประดิษฐ์ ด้วยการใช้หญ้าเดสโซ[51] ระบบแสงสว่างใช้ไฟ 2000-วัตต์ 218 ดวง[52] บริเวณที่ไม่มีที่นั่งที่แต่ละมุมของสนาม มีช่องระบายอากาศที่ถอดย้ายได้ ให้ลมไหลผ่านลงสนาม[14] สนามกีฬานี้ถือว่าเป็นหนึ่งในสนามกีฬาฟุตบอลอังกฤษที่ดีที่สุด ได้รับการเสนอชื่อ 5 ครั้ง ใน 9 ฤดูกาลล่าสุด ในการเป็นสนามแข่งพรีเมียร์ลีกที่ดีที่สุด และได้รับรางวัลในฤดูกาล 2010–11[53] นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลอื่นอีกเช่นกัน[54]

สปอร์ตซิตี

แก้
 
สปอร์ตซิตี โดยมีสนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ (ซ้าย) และ แมนเชสเตอร์เวโลโดรม (ขวา)

สนามกีฬานี้เป็นศูนย์กลางในสปอร์ตซิตี ที่มีสถานที่แข่งขันกีฬาหลายแห่ง ถัดจากสนามกีฬาคือ แมนเชสเตอร์รีเจียนนอลอารีนา ที่เป็นสนามอุ่นเครื่องกรีฑาในระหว่างการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ และปัจจุบันมีความจุ 6,178 ที่นั่ง เป็นสถานที่จัดการทดสอบกีฬาระดับชาติหลายชนิด และเคยเป็นสนามของทีมสำรองแมนเชสเตอร์ซิตี[55] มีสนามแมนเชสเตอร์เวโลโดรมและเนชันนอลสควอร์ชเซนเตอร์ ที่อยู่ไม่ไกลจากสนามกีฬา ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 แมนเชสเตอร์ซิตีมีแผนที่จะก่อสร้างกังหันลม สูง 85 เมตร ออกแบบโดยนอร์แมน ฟอสเตอร์ โดยตั้งใจไว้ว่าจะให้พลังงานแก่สนามกีฬาและบ้านเรือนใกล้เคียง แต่โครงการนี้ก็ตกไป เพราะกลัวว่าน้ำแข็งบนใบพัดอาจเกิดความไม่ปลอดภัยได้[56] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ถึง 2009 ได้มีผลงานประติมากรรม บีออฟเดอะแบ็ง ของโทมัส ฮีเทอร์วิก วางอยู่ด้านหน้าของสนามกีฬา สร้างเพื่อเฉลิมฉลองกีฬาเครือจักรภพ 2002 เป็นประติมากรรมที่สูงที่สุดในสหราชอาณาจักร แต่มีปัญหาด้านโครงสร้าง ทำให้ประติมากรรมนี้แตกออกในปี ค.ศ. 2009[57]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 มีการประกาศออกมาว่าจะสร้างซูเปอร์คาสิโน แห่งแรกในสหราชอาณาจักร ที่สปอร์ตซิตี[58] แต่โครงการนี้ก็ตกไปอีกเช่นกันหลังจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และกีฬา ปฏิเสธโครงการนี้[59]

การตอบรับ

แก้
ผู้เข้าชมเฉลี่ยในพรีเมียร์ลีก
ฤดูกาล ความจุสนาม ผู้เข้าชมเฉลี่ย % ของความจุ อันดับในพรีเมียร์ลีก
2011–12 47,805 47,028* 98.3%* อันดับ 4 สูงสุด เก็บถาวร 2012-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
2010–11 47,726[60] 45,880 96.1% อันดับ 4 สูงสุด เก็บถาวร 2011-12-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
2009–10 47,726[60] 45,512 95.4% อันดับ 3 สูงสุด เก็บถาวร 2012-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
2008–09 47,726[60] 42,900 89.9% อันดับ 5 สูงสุด เก็บถาวร 2012-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
2007–08 47,726[60] 42,126 88.3% อันดับ 6 สูงสุด เก็บถาวร 2012-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
2006–07 47,726[60] 39,997 83.8% อันดับ 6 สูงสุด เก็บถาวร 2012-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
2005–06 47,726[60] 42,856 89.8% อันดับ 4 สูงสุด เก็บถาวร 2012-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
2004–05 47,726[60] 45,192 94.7% อันดับ 4 สูงสุด เก็บถาวร 2012-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
2003–04 47,726[60] 46,834 98.1% อันดับ 4 สูงสุด เก็บถาวร 2012-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
* จากการแข่งขัน 13 นัดในฤดูกาล (ราว 33%) ของฤดูกาลปัจจุบัน

ในการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพ 2002 คาดว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก[61] และสนามกีฬาได้รับเสียงวิจารณ์ด้านบวก ในเรื่องบรรยากาศและการออกแบบสถาปัตยกรรม[62] สนามได้รับหลายรางวัลด้านการออกแบบ รวมถึงรางวัลจาก สมาคมสถาปนิกอังกฤษ ปี ค.ศ. 2004 ประเภทการออกแบบทั่วไป สำหรับการออกแบบอาคาร[63] และในปี ค.ศ. 2003 ได้รับรางวัลสถาบันวิศวกรโครงสร้าง สาขารางวัลโครงสร้างพิเศษ[64]

ส่วนการตอบรับจากผู้สนับสนุนทีมแมนเชสเตอร์ซิตี แบ่งออกเป็น 2 ขั้ว ด้านหนึ่งไม่เต็มใจจากการย้ายมาจากเมนโรด เพราะมีกิตติศัพท์ว่าเป็นหนึ่งในสนามฟุตบอลอังกฤษที่มีบรรยากาศดีที่สุด ในขณะที่อีกด้านหนึ่งแสดงความสนใจในเรื่องสนามที่ใหญ่กว่าและได้ย้ายกลับไปแมนเชสเตอร์ตะวันออก ที่ซึ่งสโมสรก่อตั้งขึ้น ปัจจุบันสโมสรอ้างว่าขายบัตรเข้าตลอดฤดูกาลได้ 33,000 ใบ[65] ในแต่ละฤดูกาล ซึ่งมากกว่าจำนวนจุสูงสุดของเมนโรด

จากการสำรวจในพรีเมียร์ลีกปี ค.ศ. 2007 พบว่าแฟนฟุตบอลเห็นว่าสนามแห่งนี้มีความสวยงามเป็นอันดับ 2 ในพรีเมียร์ลีก รองจากสนามเอมิเรตส์สเตเดียม[66] ขณะเดียวกับแฟนของทีมคู่แข่งต่างให้ความเห็นด้านบวก โดยให้เป็นรองจากโอลด์แทรฟฟอร์ด จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2005 ในหัวข้อสนามที่ชื่นชอบที่สุดในสหราชอาณาจักร[67] ในปี ค.ศ. 2010 เป็นอันดับ 3 ของสนามที่มีการเยี่ยมชมจากต่างประเทศมากที่สุดรองจากโอลด์แทรฟฟอร์ดและแอนฟีลด์[68]

ในช่วงปีแรก แมนเชสเตอร์ซิตีประสบกับความหนักใจกับบรรยากาศที่แย่ จากปัญหาของสนามสมัยใหม่เมื่อเปรียบเทียบกับสนามดั้งเดิมอย่างเมนโรด ในปี ค.ศ. 2007 จากการสำรวจผู้สนับสนุนแมนเชสเตอร์ซิตีในพรีเมียร์ลีก ให้คะแนนสนามว่ามีบรรยากาศแย่ที่สุดในลีกเป็นอันดับ 2[66] แต่ต่อมาก็พัฒนาบรรยากาศของสนามเรื่อยมา[69]

การพัฒนาในปัจจุบัน

แก้

สภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์เป็นเจ้าของสนามกีฬาโดยสโมสรฟุตบอลได้เช่าสนามกีฬา จนเมื่อปี ค.ศ. 2008 หลังจากที่เปลี่ยนเจ้าของ สโมสรแห่งนี้อันเป็นสโมสรที่ร่ำรวยที่สุดในโลก[70] ก็ได้พิจารณาข้อเสนอการซื้อสนามกีฬาแห่งนี้โดยทันที[71] แมนเชสเตอร์ซิตีได้เซ็นสัญญาตกลงกับสภาเทศบาลฯ เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 เป็นเงิน 1 พันล้านปอนด์ในการพัฒนาสนามแห่งนี้ โดยมีสถาปนิกคือ ราฟาเอล บีโญลย์[72][73]

ในช่วงปิดฤดูกาล 2010 ได้มีการบูรณะพื้นสนามฟุตบอลและพื้นที่อำนวยความสะดวกด้วยเงิน 1 ล้านปอนด์ โดยยังสามารถหารายได้เข้าสโมสรได้ โดยยอมให้มีการจัดคอนเสิร์ตหรืองานต่าง ๆ ที่ไม่เกิดความเสียหายต่อสนาม[74] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 แมนเชสเตอร์ซิตีได้กลับมาต่อรองสัญญาเช่าของสนาม โดยจ่ายให้สภาเทศบาลฯ เป็นจำนวน 3 ล้านปอนด์ต่อปี โดยก่อนหน้านี้จะจ่ายเพียงรายได้ครึ่งหนึ่งของค่าบัตรเข้า ในนัดที่มีผู้ชมมากกว่า 35,000 คน[75] ข้อตกลงใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของการเช่าเดิมที่จะมีการพิจารณาค่าเช่าทุก 5 ปี และมีแนวโน้มว่าจะสภาเทศบาลฯ จะมีรายได้เพิ่มขึ้นราว 1 ล้านปอนด์ต่อปี จากสนามกีฬาแห่งนี้[75]

ในฤดูกาลล่าสุดและก่อนหน้านี้ สโมสรได้ขายบัตรเข้าชมตลอดฤดูกาลจำนวน 36,000 ใบได้หมด[76] และปัจจุบันยังหาหนทางที่จะเพิ่มความจุสนาม ข้อตกลงของสโมสรกับสภาเทศบาลฯ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 อนุญาตให้พัฒนารอบสนามและขยับขยายสนามให้จุได้ 60,000 คน[73] การเพิ่มความจุสนามสามารถทำได้โดยการเพิ่มที่นั่งชั้น 3 ทางอัฒจันทร์ทิศเหนือและใต้ ให้เท่ากับอัฒจันทร์ทิศตะวันออกและตะวันตก การขยับขยายสนามนี้เชื่อมโยงไปถึงคำพูดที่สโมสรเคยกล่าวไว้ว่า "การพัฒนาสมรรถภาพเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการปฏิรูปแมนเชสเตอร์ตะวันออก"[75]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 ได้มีการเปลี่ยนชื่อสนามมาเป็น สนามกีฬาอัลติฮัด (หรือเอทิฮัด) ตามชื่อผู้สนับสนุน คือ สายการบินอัลติฮัด[21] แผนพัฒนาต่อมาคือได้เชื่อมต่อสนามเข้ากับมหาวิทยาลัยอัลติฮัด แผนพัฒนานี้เปิดเผยขึ้นในกลางเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 สโมสรยังสร้างภาพลักษณ์สถาบันศึกษาของคนรุ่นใหม่นำสมัย และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกซ้อม โดยมีสนามกีฬาขนาดเล็กจุได้ 7,000 คน บริเวณพื้นที่ทิ้งร้างในสปอร์ตซิตี[77][78]

การเดินทาง

แก้

สนามกีฬาตั้งอยู่ทางตะวันออกของศูนย์กลางเมืองแมนเชสเตอร์ สถานีรถไฟที่ใกล้ที่สุดคือ แอชเบอรีส์ ใช้เวลาเดิน 20 นาทีจากสนามกีฬา อย่างไรก็ตามการให้บริการมีอย่างจำกัด สถานีแมนเชสเตอร์พิกแคดิลลี ที่มีเส้นทางเดินรถไฟจากลอนดอน เบอร์มิงแฮม และเอดินบะระ ใช้เวลาเดินจากสนาม 30 นาที โดยมีป้ายไฟส่องสว่างตลอดทางเดิน ยังมีผู้ดูแลใกล้กับสนามอีกด้วย ส่วนสถานีอัลติฮัดแคมปัสเมโทรลิงก์ บนเส้นทางแมนเชสเตอร์เมโทรลิงก์ ใกล้กับทางเดินโจเมอร์เซอร์เวย์ จะเปิดให้บริการในฤดูกาล 2012–13[79]

มีเส้นทางรถประจำทางหลายสายจากศูนย์กลางเมือง ที่จอดที่สปอร์ตซิตีหรือบริเวณใกล้เคียง โดยในนัดวันแข่งขันจะมีรถประจำทางพิเศษจากศูนย์กลางเมืองมายังสนามกีฬา[80] สนามมีที่จอดรถ 2,000 คัน และอีก 8,000 คันในบริเวณใกล้เคียงที่ดำเนินงานโดยธุรกิจเอกชนท้องถิ่น และโรงเรียนที่เป็นพันธมิตรกับสโมสรฟุตบอล[81]

การใช้งานด้านอื่น

แก้
 
ภาพด้านข้างเวทีของคอนเสิร์ตร็อก

ภายใต้สัญญาเช่า แมนเชสเตอร์ซิตีสามารถนำสนามมาใช้จัดงานอื่นที่นอกเหนือจากฟุตบอลได้ เช่น คอนเสิร์ต มวย และรักบี้[82]

คอนเสิร์ต

แก้

นอกเหนือจากฟุตบอลแล้ว สนามยังใช้ในการจัดคอนเสิร์ตในบางโอกาส และเป็นหนึ่งในสถานที่จัดงานดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร โดยสามารถรองรับคนได้มากสุด 60,000 คน[83]

คอนเสิร์ตทีอีสต์แลนส์
ฤดูร้อนปี ศิลปิน
2004 เรดฮ็อตชิลิเป็ปเปอร์ส
2005 โอเอซิส, ยูทู
2006 เทกแดต, บองโจวี
2007 จอร์จ ไมเคิล, ร็อด สจ๊วต
2008 ฟูไฟเตอร์ส, บองโจวี
2009
2010
ไม่มีการจัด – เนื่องจากคำนึงถึง
เรื่องการพังของพื้นสนามแข่ง
[84]
2011 เทกแดด
2012 โคลด์เพลย์,[85] บรูซ สปริงส์ทีน[86]
 
มุมมองจากคอนเสิร์ตร็อก
 
การแข่งขันยูฟ่าคัปนัดตัดสิน ปี ค.ศ. 2008
 
แข่งขันมวยป้องกันตำแหน่งของฮัตตัน

ถือเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดที่ใช้ในการจัดคอนเสิร์ตในอังกฤษ ก่อนที่เวมบลีย์ใหม่จะสร้างขึ้น[83][87]

คอนเสิร์ตแรกที่จัดขึ้นคือคอนเสิร์ตของเรดฮ็อตชิลิเป็ปเปอร์ส ร่วมด้วยเจมส์ บราวน์ในปี ค.ศ. 2004[34] คอนเสิร์ตของโอเอซิสที่จัดที่นี่ก็มีออกเป็นดีวีดี ในชื่อ Lord Don't Slow Me Down คอนเสิร์ตนี้ที่จัดในปี ค.ศ. 2005 มีผู้ชมสูงเป็นสถิติถึง 60,000 คน[6] เทกแดดก็ออกดีวีดีคอนเสิร์ตที่แสดงที่นี่ในปี ค.ศ. 2006 ในชื่อชุด Take That: The Ultimate Tour[88]

ส่วนศิลปินอื่นที่เคยมาเล่นที่สนามนี้ได้แก่ ยูทู, ร็อด สจ๊วต, ฟูไฟเตอร์ส, แมนิกสตรีตพรีชเชอร์ส, เดอะฟิวเจอร์เฮดส์, ซูกาเบบส์, บองโจวี, จอร์จ ไมเคิล และโซฟี เอลลิส-เบ็กซ์เตอร์[84]

การจัดคอนเสิร์ตและมวยได้ทำลายพื้นสนามไป ในปี ค.ศ. 2008 หลังจบฤดูกาลได้มีการปรับปรุงพื้นสนาม และเมื่อนัดอุ่นเครื่องก่อนเปิดฤดูกาลเริ่มขึ้น สนามก็ไม่พร้อมจะเป็นสนามเหย้า ซึ่งสนามใช้จัดการแข่งขันยูฟ่าคัปนัดคัดเลือกรอบแรก จึงได้ไปจัดที่สนามกีฬาโอกเวลล์ของสโมสรฟุตบอลบาร์นสลีย์แทน[89]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 สโมสรหารายได้ในการปรับปรุงสนามแข่งใหม่[74][90] และจึงได้มีการมาจัดคอนเสิร์ตในช่วงฤดูร้อนอีกครั้งในปี ค.ศ. 2011 โดยเทกแดดได้จัดคอนเสิร์ตเป็นเวลา 7 คืน มียอดขายตั๋วราว 400,000 ปอนด์

การแข่งขันฟุตบอลอื่น

แก้

ยูฟ่าจัดสนามนี้อยู่ในประเภท 4 นอกจากจะเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีแล้ว ยังเป็นสนามฟุตบอลลำดับที่ 50 ที่จัดการแข่งขันระดับนานาชาติในอังกฤษ โดยการแข่งขันระหว่างฟุตบอลทีมชาติอังกฤษกับฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2004 และในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2005 ยังจัดนัดเปิดยูฟ่าแชมเปียนชิปหญิงที่อังกฤษเป็นเจ้าภาพ[91] สร้างสถิติมีผู้ชมเข้าชมมากที่สุดสำหรับการแข่งขันนี้ ด้วยจำนวนคน 29,092 คน[92] นอกจากนั้นยังจัดการแข่งขันยูฟ่าคัปนัดตัดสินในปี ค.ศ. 2008[91] ที่สโมสรฟุตบอลเซนิตเซนต์ปีเตอส์เบิร์กชนะเรนเจอส์ 2–0

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 สนามได้จัดการแข่งขันฟุตบอลคอนฟีเรนซ์เนชันนอล รอบเพลย์ออฟนัดตัดสินระหว่างสโมสรฟุตบอลวิมเบิลดันกับสวินดันทาวน์ โดยวิมเบิลดันสามารถเลื่อนชั้นสู่ฟุตบอลลีก ด้วยการยิงจุดโทษชนะลูตันทาวน์ไปได้[93] ยังมีการใช้สนามในการแข่งรอบเพลย์ออฟยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกนัดตัดสิน ปี ค.ศ. 2011 แทนที่จัดที่เวมบลีย์ในวันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 เนื่องจากทางยูฟ่าได้ได้กำหนดว่าสนามที่ใช้จัดแชมเปียนส์ลีกนัดตัดสินจะต้องไม่ใช้จัดการแข่งขันใดก่อนหน้านี้ 2 อาทิตย์[94]

รักบี้ลีก

แก้

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 สนามจัดการแข่งขันรักบี้ลีกนัดระหว่างประเทศระหว่างบริเตนใหญ่กับออสเตรเลีย ในรักบี้ลีกไตรเนชันส์ 2004 มีผู้เข้าชมเกือบ 40,000 คน[95] สนามยังจะใช้ในการจัดเมจิกวีกเอนด์ ในวันที่ 26 และ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ในการแข่งขันนี้มีทีม 14 ทีมจากซูเปอร์ลีกแข่งขันตลอดทั้งสุดสัปดาห์[96]

มวย

แก้

ในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ริกกี้ แฮตตัน ผู้เกิดในสต็อกพอร์ต นักมวยเจ้าของแชมป์รุ่นซูเปอร์ไลท์เวททั้งจากสหพันธ์มวยนานาชาติและสมาคมมวยโลก ชนะควน ลัซกาโน ใช้ชื่อรายการแข่งขันว่า "แฮตตันส์โฮมคัมมิง" โดยมีผู้เข้าชม 56,337 คน สร้างสถิติผู้เข้าชมมากที่สุดของวงการมวยอังกฤษนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง[7]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Manchester City strike deal to rename Eastlands". BBC Sport. 8 July 2011. สืบค้นเมื่อ 13 November 2011. Manchester City have confirmed the City of Manchester Stadium will be renamed the Etihad Stadium after signing a 10-year deal with the airline.
  2. 2.0 2.1 2.2 Hubbard, Alan (12 December 1999). "City of Manchester Stadium: The Wembley rescuers". independent.co.uk. The Independent. สืบค้นเมื่อ 7 January 2008. ... the foundation stone was laid for the nation's other super stadium for the millennium. The Prime Minister, Tony Blair, did the honours in Manchester on Monday.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 Conn, David (4 October 2011). "Manchester City to pay council £2m a year for stadium naming rights". The Guardian. London: Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 12 November 2011.
  4. 4.0 4.1 White, Duncan (22 October 2011). "Manchester City plan for bigger stadium". The Telegraph. London: Telegraph Media Group Limited. สืบค้นเมื่อ 29 November 2011. The Etihad Stadium’s capacity is currently 47,805
  5. Per Nilsson (8 กันยายน 2011). "Manchester City FC" (PDF). 2011/12 UEFA Champions League statistics handbook. UEFA. p. 10.
  6. 6.0 6.1 "Man City stadium given Uefa final". BBC Sport. 4 October 2006. สืบค้นเมื่อ 28 October 2010. Highest other attendance: 60,000 for Oasis concert, 2005
  7. 7.0 7.1 Lamont, Tom (29 June 2008). "City of Manchester Stadium". The Observer. London: Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Hubbard, Alan (12 December 1999). "City of Manchester Stadium: The Wembley rescuers". The Independent. London: Independent Print Limited. สืบค้นเมื่อ 7 January 2008. The athletics track would be dismantled to allow the seating capacity to be increased from 38,000 to 48,000.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Clayton, David (24 June 2011). "Dublin Super Cup: Aviva Stadium v CoMS". mcfc.co.uk. (Manchester City Football Club). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-18. สืบค้นเมื่อ 4 July 2011.
  10. "BBC – Manchester – Sport – City of Manchester Stadium". British Broadcasting Corporation. 22 March 2006. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010. "Occasionally also referred to as Eastlands, the City of Manchester Stadium has been Manchester City's home since 2003
  11. "Manchester City's grand plan for Eastlands and its surrounds". The Guardian. UK. 18 August 2009. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010. Manchester City's grand plan for Eastlands and its surrounds
  12. 12.0 12.1 "Manchester 'may sue IOC'". BBC News. 25 January 1999. สืบค้นเมื่อ 11 November 2011.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 13.7 "Manchester model shows how West Ham can be settled tenants". London Evening Standard. ES London Limited. 11 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 12 November 2011.
  14. 14.0 14.1 14.2 "Designing The City of Manchester Stadium" (PDF). The Arup Journal. (Arup Associates). January 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-03-27. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
  15. "UK – Sports – City of Manchester Stadium conversion". arupassociates.com. (Arup Associates). สืบค้นเมื่อ 13 November 2011.
  16. "Man City stadium given Uefa final". BBC Sport. 4 October 2006. สืบค้นเมื่อ 30 July 2010.
  17. Bailey, Chris (8 พฤศจิกายน 2006). "Why Blues must cash in on name game". Manchester Evening News. M.E.N. Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2008. Some call it 'Eastlands', an area that doesn't officially exist on maps, some who like expending their breath call it by its Sunday best name 'City of Manchester Stadium', others prefer to shorten that to 'COMS' while still more refer to City's stronghold as 'Sportcity' in keeping with those nice brown signs that help everyone find their way to the complex.
  18. Bailey, Chris (8 August 2003). "Kev plans glory for Blue Camp". Manchester Evening News. M.E.N. Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-17. สืบค้นเมื่อ 19 October 2006.
  19. "Man City set sights on trophies". BBC News. 2 September 2008. สืบค้นเมื่อ 2 September 2008. News of a takeover bid backed by the Abu Dhabi royal family was greeted warmly by supporters, who have already jokingly renamed their home ground 'Middle Eastlands'.
  20. Keegan, Mike (2 October 2010). "Manchester City give council an extra £1m". Manchester Evening News. M.E.N. Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-05. สืบค้นเมื่อ 17 November 2011.
  21. 21.0 21.1 "City and Etihad: An histotic day for the club". mcfc.co.uk. (Manchester City Football Club). 8 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (web video)เมื่อ 2011-11-11. สืบค้นเมื่อ 16 November 2011.
  22. Gardner, Alan (8 July 2011). "Manchester City confirm stadium renaming in Etihad Airways agreement". guardian.co.uk. Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
  23. "Industrial past under Manchester's new stadium". oxford archeology: exploring the human journey. Oxford Archaeology. 2010. สืบค้นเมื่อ 9 September 2011.
  24. Hubbard, Alan (12 December 1999). "City of Manchester Stadium: The Wembley rescuers". independent.co.uk. The Independent. สืบค้นเมื่อ 14 November 2011. Manchester, who lost out to Wembley in the bitter battle to become England's national stadium because the Football Association did not want to look north ...
  25. "City of Manchester Stadium". cae.org.uk. (Centre for Accessible Environments). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-25. สืบค้นเมื่อ 22 July 2006. Construction of the Stadium began in January 2000, with an immovable completion date set by the Commonwealth Games.
  26. "City of Manchester Stadium". gameslegacy.com. (Commonwealth Games Legacy). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-25. สืบค้นเมื่อ 27 August 2006. ... with Sport England committing £77 million pounds to the cost and the City Council providing the remainder.
  27. James, Gary (มกราคม 2006). Manchester City – The Complete Record. Derby: Breedon Books Publishing. p. 105. ISBN 978-1859835128.
  28. "Opening ceremony of the 17th Commonwealth Games, Manchester, 25 July 2002". The British Monarchy OWS. (The Royal Household). 25 July 2002. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
  29. Schooler, Andy. "Land of Hope and Glory". Sporting Life. Leeds: 365 Media Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 27 August 2006.
  30. Bonnet, Rob (31 July 2002). "Athletics' stadium claim is pipe dream". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 19 November 2011.
  31. Hubbard, Alan (12 December 1999). "City of Manchester Stadium: The Wembley rescuers". The Independent. London: Independent Print Limited. สืบค้นเมื่อ 7 January 2008. But council sources say they are confident that the football club could be persuaded to allow the track to remain as a permanent feature with a retractable seating scheme, such as that in Paris's Stade de France which would further increase the capacity to 65,000.
  32. Hubbard, Alan (12 December 1999). "City of Manchester Stadium: The Wembley rescuers". The Independent. London: Independent Print Limited. สืบค้นเมื่อ 7 January 2008. It is estimated that making the stadium permanently suitable for track and field events would add another pounds 50m to the cost
  33. Patel, Dipesh (7 พฤศจิกายน 2007). "Stadium is no white elephant but future is just a guess". The Guardian. London: Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2011.
  34. 34.0 34.1 Conn, David (10 ตุลาคม 2006). "No cut-price Olympic legacy for football's fat cats". The Guardian. London: Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2011. ... and then the track was removed so the stadium could be handed to Manchester City on terms regarded as startlingly generous.
  35. "Man City vanquish Barca". BBC Sport. 10 August 2003. สืบค้นเมื่อ 17 November 2011.
  36. "Man City v Barcelona photos". BBC Sport. 10 August 2003. สืบค้นเมื่อ 17 November 2011.
  37. "Man City off to a flyer". BBC Sport. 14 August 2003. สืบค้นเมื่อ 17 November 2011.
  38. "Premiership round-up". The Telegraph. London: Telegraph Media Group Limited. 23 August 2003. สืบค้นเมื่อ 30 January 2010. Portsmouth followed up their victory over Aston Villa last week by drawing with Manchester City 1-1 in the first league match to be played at the City of Manchester Stadium.
  39. Stone, Simon (23 August 2003). "Manchester City 1 Portsmouth 1". Sporting Life. Leeds: 365 Media Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 23 November 2011.
  40. Magowan, Alistair (19 November 2011). "Man City 3-1 Newcastle". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 19 November 2011. Att: 47,408
  41. Wilson, Paul (19 November 2011). "Ryan Taylor mistakes keep Manchester City's unbeaten record intact". The Observer. London: Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 19 November 2011. Their goal difference has now moved, ludicrously, into the 30s and they accomplished their latest victory in front of their biggest crowd to date at this ground.
  42. Clayton, David (21 November 2011). "Blues re-writing history books". mcfc.co.uk. (Manchester City Football Club). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-24. สืบค้นเมื่อ 22 November 2011. City’s stellar start to the 2011/12 season has seen Premier League records tumble right, left and centre ... The Blues are also re-writing numerous club records
  43. 43.0 43.1 43.2 43.3 43.4 43.5 43.6 43.7 43.8 "Transforming The City of Manchester Stadium" (PDF). The Arup Journal. (Arup Associates). February 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-30. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
  44. "Arup Associates – The City of Manchester Stadium". arupassociates.com. (Arup Associates). สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
  45. Camber, Rebecca (7 กุมภาพันธ์ 2004). "Blue-heaven wedding". Manchester Evening News. M.E.N. Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2011.
  46. "Manchester City kicks off innovative smartcard services and sponsorships with wireless, RF-enabled Intelligent Stadium" (PDF). h71028.www7.hp.com. (Hewlett-Packard). February 2004. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-09. สืบค้นเมื่อ 27 August 2006. The contact-free solution admits up to 1,200 patrons per minute stadium-wide and also eliminates box-office queues.
  47. James, Gary (มกราคม 2006). Manchester City – The Complete Record. Derby: Breedon Books Publishing. pp. 103–105. ISBN 978-1859835128.
  48. Spencer, Pete (13 November 2003). "City stand by Bell". Manchester Evening News. M.E.N. Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-15. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
  49. "MCFC STADIUM". bluemoon-mcfc.co.uk. (BLUEMOON). 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-23. สืบค้นเมื่อ 22 November 2011. The South Stand is now, officially at least, the Key 103 stand after the club sold the naming rights (and our dignity) to a local radio station
  50. James, Gary (มกราคม 2006). Manchester City – The Complete Record. Derby: Breedon Books Publishing. p. 105. ISBN 978-1859835128.
  51. "UEFA Cup Final on Special Pitch". prnewswire.co.uk. (PR Newswire Europe Ltd.). 8 May 2008. สืบค้นเมื่อ 22 November 2011.
  52. Reynolds, John (14 May 2008). "UEFA Cup Final Venue (Mad for it)". Pitchcare. (Maxwell Amenity Ltd.). pp. 14–18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 27 August 2009.
  53. "Pitch perfect: Manchester City groundstaff win Premier League award". Manchester Evening News. M.E.N. Media. 4 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-07. สืบค้นเมื่อ 25 August 2011.
  54. Mulholland, Paul (26 November 2010). "Top award for City groundstaff". mcfc.co.uk. (Manchester City Football Club). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 25 August 2011.
  55. Inglis, Simon (2004). Played in Manchester. London: English Heritage. ISBN 1-873592-78-7.
  56. "Work starts on Bang dismantling". BBC News. 15 April 2009. สืบค้นเมื่อ 15 April 2009.
  57. "Work starts on Bang dismantling". BBC News. 15 April 2009. สืบค้นเมื่อ 15 April 2009.
  58. "Manchester wins super-casino race". BBC News. 30 January 2007. สืบค้นเมื่อ 31 January 2007.
  59. "Manchester's 'Supercasino' Plans Bust". skyNEWS HD. British Sky Broadcasting Group. 26 February 2008. สืบค้นเมื่อ 17 September 2009.
  60. 60.0 60.1 60.2 60.3 60.4 60.5 60.6 60.7 "Man City stadium poised to become bigger than Old Trafford – Exclusive". Mirror Football. London: MGN Ltd. 4 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2011. Note: The original MCFC OWS source citation supporting this value is now archived and inaccessible but this more recent one is still extant. Also see Talk Page discussion WRT veracity of this value for all seasons prior to current one.
  61. Cram, Steve (1 August 2002). "The best Britain has seen". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
  62. Henderson, Charlie (28 July 2002). "Stadium is star of the Games". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
  63. "Building prize for 'icon Gherkin'". BBC News. 16 October 2004. สืบค้นเมื่อ 7 January 2008. Other winners at this year's ceremony included the City of Manchester stadium, designed by Arup Associates. It won the RIBA Inclusive Design Award for great design in a safe and convenient environment.
  64. "City of Manchester Stadium: awards". arupassociates.com. (Arup Associates). สืบค้นเมื่อ 27 August 2009.
  65. "Fans are buzzing as City ticket sales rise". Manchester Evening News. M.E.N. Media. 17 กรกฎาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2011. Sales of the Seasoncards – as they are officially known – have already passed the total of 33,000 sold last summer.
  66. 66.0 66.1 "Premier League Fan Survey – 2006/07 season" (PDF). National Fan Survey 2006/07. (SportsWise on behalf of the Premier League). 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010.
  67. "City has 'best' football stadium". BBC News. 2 September 2005. สืบค้นเมื่อ 21 November 2011. Fans prefer visiting Manchester, with Old Trafford and the City of Manchester stadium coming first and second in a list of their favourite venues.
  68. "Premier League lures overseas visitors to UK". BBC News. 19 August 2011. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011. The most popular stadiums for overseas visitors were those of Manchester United, Liverpool, and Manchester City.
  69. "City of Manchester Stadium as a 2018 Stadium". 2018england.co.uk. (2018 England). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-15. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011. ... the locals are much more settled and the atmosphere generated can be just as fierce as it used to be at Maine Road.
  70. Evans, Martin (2 September 2008). "Man City tops football rich league with Arab takeover". Daily Express. London: Northern and Shell Media Publications. สืบค้นเมื่อ 4 September 2008.
  71. Qureshi, Yakub (2 กันยายน 2008). "The new football powerhouse". Manchester Evening News. M.E.N. Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2008.
  72. "Man City approach top architect to design £1billion Eastlands complex". Mirror Football. London: MGN Ltd. 15 May 2010. สืบค้นเมื่อ 30 July 2010.
  73. 73.0 73.1 Linton, Deborah (17 มีนาคม 2010). "City stadium will be a glowing blue beacon". Manchester Evening News. M.E.N. Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010.
  74. 74.0 74.1 "Manchester City in £1.5m corporate facilities upgrade". BBC News. 28 May 2010. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010.
  75. 75.0 75.1 75.2 Keegan, Mike (2 ตุลาคม 2010). "Manchester City give council an extra £1m". Manchester Evening News. M.E.N. Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2010.
  76. "Key business issues facing EPL franchises". Sports Business Journal. Street and Smith’s Sports Group. 15–21 August 2011. สืบค้นเมื่อ 21 November 2011. The club sells 36,000 season tickets annually.
  77. "Manchester City training village" (web video). YouTube. (originally released by Manchester City Football Club). July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 November 2011.
  78. Linton, Deborah (19 September 2011). "Video and picture gallery: How Manchester City's training village will look". Manchester Evening News. M.E.N. Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-10. สืบค้นเมื่อ 16 November 2011.
  79. "Metrolink - East Manchester line". metrolink.co.uk. (Transport for Greater Manchester). 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-04. สืบค้นเมื่อ 21 November 2011.
  80. "City of Manchester Stadium". Football Ground Guide. (Manchester City Football Club with the permission of Duncan Adams). 4 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-03. สืบค้นเมื่อ 22 November 2011.
  81. "Away travel: How to get to the City of Manchester Stadium". yourparkingspace.co.uk. (Your Parking Space). 2011. สืบค้นเมื่อ 22 November 2011. The City of Manchester Stadium does actually have 2,000 parking spaces of its own and the Club works with local businesses to provide another 8,000 spaces in the surrounding area on match days.
  82. "Concerts – Hospitality – Manchester City FC". mcfc.co.uk. (Manchester City Football Club). May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-02. สืบค้นเมื่อ 28 October 2010.
  83. 83.0 83.1 "Blues stadium is top rock venue". Manchester Evening News. M.E.N. Media. 29 November 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  84. 84.0 84.1 Linton, Deborah (15 June 2010). "Concerts are back at City's stadium". Manchester Evening News. M.E.N. Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 29 October 2010.
  85. "Coldplay to perform at Etihad Stadium". mcfc.co.uk. (Manchester City Football Club). 11 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-28. สืบค้นเมื่อ 16 November 2011.
  86. "Springsteen City date confirmed". mcfc.co.uk. (Manchester City Football Club). 21 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 21 November 2011.
  87. "Manchester City kicks off innovative smartcard services and sponsorships with wireless, RF-enabled Intelligent Stadium" (PDF). h71028.www7.hp.com. (Hewlett-Packard). February 2004. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-09. สืบค้นเมื่อ 21 November 2011. And it can function as a 60,000-seat concert arena—the largest stadium performance site in the UK.
  88. Long, Chris (22 November 2006). "Take That – The Ultimate Tour". BBC Manchester. สืบค้นเมื่อ 11 August 2009.
  89. "Oakwell to host Man City Uefa tie". BBC Sport. 20 June 2008. สืบค้นเมื่อ 21 November 2011.
  90. "Work begins on CoMs pitch". mcfc.co.uk. (Manchester City Football Club). 21 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (web video)เมื่อ 2010-07-20. สืบค้นเมื่อ 29 October 2010.
  91. 91.0 91.1 "Man City stadium given Uefa final". BBC Sport. 4 October 2006. สืบค้นเมื่อ 28 October 2010.
  92. "2005: Official approval for EURO success". uefa.com. (UEFA). 2005. สืบค้นเมื่อ 15 November 2011. ... with the opening game – England's thrilling 3–2 victory against Finland at the City of Manchester stadium on Sunday 5 June – attracting 29,092 fans, a record for a women's match in Europe.
  93. Ryan, Mark (21 May 2011). "AFC Wimbledon 0 Luton Town 0 (aet, 4–3 on pens): Dons promoted to Football League". Daily Mail. London: Associated Newspapers Ltd. สืบค้นเมื่อ 21 May 2011.
  94. "Blue Square Bet Premier final moves to Manchester". BBC Sport. 24 September 2010. สืบค้นเมื่อ 21 May 2011.
  95. "Rugby League Project – Great Britain vs. Australia". rugbyleagueproject.org. (Rugby League Project). 30 October 2004. สืบค้นเมื่อ 30 July 2010.
  96. "RL fixtures released: Magic weekend confirmed for Etihad Stadium". Manchester Evening News. M.E.N. Media. 25 พฤศจิกายน 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011. It was also announced that the event - at which a full round of games is played at one venue - will be staged over the weekend of May 26-27.
บรรณานุกรม
  • James, Gary (ธันวาคม 2010). Manchester – A Football History (2nd edition). Halifax: James Ward Books. ISBN 978-0955812736.
  • James, Gary (มกราคม 2006). Manchester City – The Complete Record. Derby: Breedon Books Publishing. ISBN 978-1859835128.
อ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้