ไบรอัน แดเนียลสัน
ไบรอัน ลอยด์ แดเนียลสัน (Bryan Lloyd Danielson; 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1981)[2] เป็นนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันที่รู้จักดีกับ WWE ในนาม แดเนียล ไบรอัน (Daniel Bryan)[1] เขาเป็นที่รู้จักในการปล้ำสมาคม ริงออฟออเนอร์ (ROH)[3] เป็นแชมป์โลก ROH 1 สมัย[2][4] ใน WWE เขาเป็นแชมป์โลกถึง 5 สมัย (แชมป์ WWE 4 สมัย และแชมป์โลกเฮฟวี่เวท 1 สมัย)[Note 1] แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล 1 สมัย, แชมป์ยูเอส 1 สมัย และแชมป์แท็กทีม WWE 2 สมัย, แชมป์ทริปเปิลคราวน์คนที่ 26 และแชมป์แกรนด์สแลมคนที่ 15 เจ้าของกระเป๋าสัญญาสิทธิ์มันนีอินเดอะแบงก์ (2011)ชิงแชมป์โลกเวลาไหนก็ได้ และได้รับรางวัลสแลมมีอะวอร์ดสำหรับซุปเปอร์สตาร์แห่งปี 2013
ไบรอัน แดเนียลสัน | |
---|---|
ชื่อเกิด | ไบรอัน ลอยด์ แดเนียลสัน |
เกิด | Aberdeen, Washington, U.S. | พฤษภาคม 22, 1981
คู่สมรส | Brie Bella (สมรส 2014) |
บุตร | 2 |
ญาติพี่น้อง | Nikki Bella (sister-in-law) John Laurinaitis (step-father-in-law) |
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ | |
ชื่อบนสังเวียน | American Dragon Bryan Danielson Daniel Bryan Daniel Wyatt Dynamic Dragon Infinito |
ส่วนสูง | 5 ft 10 in (1.78 m)[1] |
น้ำหนัก | 210 lb (95 kg)[1] |
มาจาก | Aberdeen, Washington[1] |
ฝึกหัดโดย |
|
เปิดตัว | October 4, 1999 |
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
แก้ช่วงแรกเริ่ม
แก้แดเนียลสันเริ่มสัมผัสกับมวยปล้ำเป็นครั้งแรกในการแข่งขันมวยปล้ำที่สนามหลังบ้านที่มีชื่อว่า แบ็คยาร์ดแชมเปียนชิปเรสต์ลิง (BCW) โดยได้ใช้ชื่อว่า "เดอะ แด็กเกอร์" แล้วแดเนียลสันก็ชนะได้ตำแหน่งแชมป์เฮฟวี่เวท หลังจากที่แดเนียลสันจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี 1999 เขาได้ตัดสินใจที่จะเป็นนักมวยปล้ำอาชีพและมีความพยายามที่จะเริ่มต้นในการฝึกอบรมที่โรงเรียนสอนมวยปล้ำของดีน มาเลนโก แต่ฝึกได้ไม่นานนักโรงเรียนก็ต้องปิดตัวลง แต่เขาก็ได้รับการฝึกอบรมแทนจากชอว์น ไมเคิลส์ ที่เท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี[5] แดเนียลสันเปิดตัวครั้งแรกด้วยการสนับสนุนชอว์น ที่เท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี (TWA) ในวันที่ 21 มีนาคม 2000 เป็นครั้งแรกที่แดเนียลสันได้แชมป์มวยปล้ำอาชีพของเขา โดยจับคู่กับสปางกี แล้วเอาชนะแชมป์แทคทีม TWA อย่าง เจโรมี เซจ และรูเบน ครัซ ไปได้ หลังจากนั้นแดเนียลสันก็เริ่มทีจะทัวร์ปล้ำไปรอบประเทศ แล้วไม่นานนักแดเนียลสันก็ได้เซ็นสัญญากับสมาคมเวิลด์เรสต์ลิงเฟเดเรชั่น (WWF) หลังจากที่ได้เซ็นสัญญากัน WWF ก็ได้ส่งตัวเขาไปพัฒนาและปรับแต่งทักษะก่อนที่เมมฟิสแชมเปียนชิปเรสต์ลิง (MCW) ค่ายลูกของ WWF ในตอนนั้น ก่อนทีจะเริ่มเปิดตัวในรายการโทรทัศน์ของ WWF ในตอนนั้นเองที่แดเนียลสัน ได้รับการฝึกฝนจากวิลเลียม รีกัลแล้ว แดเนียลสันก็ได้ใช้ชื่อที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักมากขึ้นคือ "อเมริกัน ดรากอน"[6][7][8][9]
ในปี 2001 WWF ได้ตัดขาดความสัมพันธ์กับ MCW และได้ปล่อยตัว แดเนียลสันออกจากสัญญาด้วย ซึ่งตอนนั้นเขาได้คว้าแชมป์ไลท์เฮฟวี่เวท MCW และแชมป์แทกทีม MCW ร่วมกับ สปางกี อยู่ซึ่งหลังจากที่เสียแชมป์ของ MCW แล้ว แดเนียลสันก็ได้กลับไปร่วมงานกับ WWF อีกครั้ง ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นเวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (WWE) แล้ว ซึ่งปล้ำในรายการรองอย่าง วีโลซิตี แอนด์ ฮาร์ท ในระยะแรก เป็นการเพิ่มสิทธิภาพของตัวเองจนได้รับอนุญาตให้ขึ้นปล้ำในรายการหลักๆ ได้ซึ่งแดเนียลสันก็เคยขึ้นปล้ำกับจอห์น ซีนาด้วยแต่ก็แพ้[10][11] หลังจากที่หมดสัญญากับ WWE แดเนียลสันได้เริ่มทัวร์ญี่ปุ่นและฝึกฝนศิลปะการป้องกันตัวแบบ Martial-Arts ร่วมกับเพื่อนที่ฝึกจากเท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมีอย่างแลนซ์ เคด[12] และร่วมปล้ำแทคทีมคู่กันจากนั้น แดเนียลสันก็เริ่มไปปล้ำที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างเต็มตัวที่ นิวเจแปนโปรเรสต์ลิง (NJPW) ใน NJPW เขาเลิกใช้ชื่ออเมริกัน ดรากอน แต่สวมหน้ากากที่มี สีแดง, สีขาว และ สีฟ้า ที่ซึ่งระลึกถึงชื่อนั้นแทน[13] ความสำเร็จแรกของแดเนียลสันหลังจากที่ได้รับประสบการณ์ในการปล้ำมากมายใน NJPW ในวันที่ 12 มีนาคม 2004 แดเนียลสัน (ในตอนนั้นใช้ชื่อว่า แซนส์ แมสก์) ก็สามารถเอาชนะจาโด และจีโด คว้าแชมป์จูเนียร์เฮฟวี่เวทแทกทีม IWGP คู่กับ เคอร์รี แมน ใน Hyper Battle tour[14]
ริงออฟออเนอร์
แก้ในปี 2002 แดเนียลสันได้เริ่มไปปล้ำกับสมาคมใหม่ในตอนนั้นอย่างริงออฟออเนอร์ ที่นั้นเขาได้รับการยอมรับว่าเป็น "เทพเจ้าผู้ก่อตั้ง" ของสมาคมเลยก็ว่าได้ โดยแฟนๆ[15][16] มากมายชื่นชอบในฝีมือของเขาและ แดเนียลสันก็เป็นหนึ่งในนักมวยปล้ำที่ทำให้สมาคมดูมีความโดดเด่นตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสมาคมขึ้นและมีแมตช์ทียอดเยี่ยมของสมาคมคือแมตช์ 3 เส้า เป็นการเจอกันระหว่าง แดเนียลสัน, โลว์ กิ และ คริสโตเฟอร์ แดเนียล[17] ระหว่างทีแดเนียลสันปล้ำอยู่ที่ ริงออฟออเนอร์ ก็ได้เจอกับนักมวยปล้ำที่ยอดเยี่ยมหลายๆ คนอย่าง ออสติน แอรีส์[18] ซึ่งแมตช์นั้นก็ทำให้เขามีชื่อเสียงเพิ่มมากขึ้น ต่อมา แดเนียลสันก็ได้เจอกับ โฮมิไซด์ ซึ่งการเจอกันของทั้งคู่ก็ปล้ำกันในกติกาต่างๆ มากมาย ซึ่งแมตช์ทีเป็นทีจดจำคือ การปล้ำในกรงเหล็ก ในศึก ROH Final Showdown ซึ่งในตอนนั้น แดเนียลสันได้ถือว่าเป็นนักมวยปล้ำที่ดีที่สุดใน ROH เลยก็ว่าได้ ทางสมาคมจึงเกิดความคิดทีจะจัด ทัวร์นาเมนหาผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดขึ้นในปี 2004[19]
ในปี 2005 ก็มีข่าวออกมาจาก ROH ว่า แดเนียลสันประกาศว่าถ้าเกิดเขาแพ้ให้กับ ออสติน แอรีส์ ในการชิงแชมป์โลก ROH เขาจะออกจากสมาคม[20] ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำให้แฟนๆ มวยปล้ำต่างตกตะลึ่งกันเป็นอย่างมาก แต่ข่าวนี้ก็ถูกเปิดเผยในภายหลังว่านักมวยปล้ำหลายๆคนผิดหวังมากเพราะว่า แดเนียลสันวางแผนที่จะใช้เวลาบางส่วนออกไปทำอาชีพอื่นแทนการเป็นนักมวยปล้ำ หลังจากที่ แดเนียลสันแพ้ให้กับ ออสติน แอรีส์ แล้วเขาก็ได้ใช้เวลาหลายวันไปที่ยุโรปและญี่ปุ่น เพื่อเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตของตัวเอง เดือนพฤษภาคม 2005 มีข่าวลือว่าทาง โทเทิลนอนสต็อปแอคเชินเรสต์ลิง (TNA) มีความสนใจที่จะเซ็นสัญญากับแดเนียลสัน และยังมีเพิ่มเติมอีกว่าเขาได้กลับไปทดลองงานกับ WWE ด้วย ซึ่งข่าวลือเหล่านั้น ทำให้ แดเนียลสันได้ออกมายุติข่าวด้วยการกลับมาร่วมงานกับ ROH ตามเดิม การที่แดเนียลสันได้กลับมาร่วมงานกับ ROH อีกครั้งนั้นก็ทำให้เขาได้โอกาสในการชิงแชมป์โลก ROH อีกครั้ง โดยเจอกับแชมป์ในขณะนั้นอย่าง เจมส์ กิบสัน และสามรถเอาชนะคว้าแชมป์โลกมาได้ ในศึก Glory by Honor IV ในวันที่ 15 กันยายน 2005[21][22] ซึ่งช่วงนั้นเองเขาได้เจอกับสตาร์ดาวรุ่งเก่งๆ จากสมาคมอื่นอีกมากมาย[23]
ในปี 2006 เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ระหว่างค่ายชนค่ายโดย คริส ฮีโร ซึ่งในตอนนั้นสังกัดอยู่กับค่าย คอมแบตโซนเรสต์ลิง (CZW) ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องทีดุเดือดจนเป็นทีพูดถึงกันในอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้[24] ซึ่งการเจอกันในครั้งนี้ แดเนียลสันก็ได้สามารถป้องกันแชมป์โลกไว้ได้[25] แต่เรื่องราวระหว่าง 2 ค่ายไม่ได้จบแค่นั้นเพราะว่ามีการเจอกันแบบแทคทีม 10 คน ในกรงเหล็กทีเรียกว่า Cage of Death ซึ่งก็จะมีนักมวยปล้ำของแต่ล่ะค่ายออกมาทีล่ะคน หลังจากทีเริ่มปล้ำก็จะมีการสุ่มเอาสตาร์ของแต่ล่ะค่ายออกมาอีกทีล่ะคนจนครบ แต่มีสตาร์ของ ROH ไม่ยอมขึ้นปล้ำอยู่คนหนึ่งคือ ซามัว โจ ซึ่งนั้นก็ทำให้ทีมของ ROH เป็นฝ่ายแพ้[26] ทำให้แดเนียลสันต้องเซ็นสัญญาในการทีจะให้คนของ CZW กลับมาชิงแชมป์โลกได้อีกครั้งในอนาคต นั้นก็เป็นเหตุผลให้ต่อมาแดเนียลสันได้ท้าเจอกับซามัว โจ ซึ่งเป็นการปล้ำที่ยาวนานถึง 60 นาทีเต็ม แต่แดเนียลสันก็สามารถเอาชนะป้องกันแชมป์ไว้ได้[27] แดเนียลสันได้รับบาดเจ็บบริเวณหัวไหล่ของเขา หลังจากที่เจอกับ โคลต์ คาบานา แต่แดเนียลสันก็ฝืนตัวเองขึ้นปล้ำป้องกันแชมป์โลกต่อไป จนมาถึงการปล้ำแมตช์สุดท้ายของเขาในปี 2006 ปิดประวัติศาสตร์การครองแชมป์มายาวนานถึง 15 เดือนของแดเนียลสัน ด้วยการทีเขาแพ้ให้กับ โฮมิไซด์ หลังจากนั้น แดเนียลสันออกจากการปล้ำเอาเวลาไปรักษาไหล่ทีบาดเจ็บของเขา[28]
ดับเบิลยูดับเบิลยูอี
แก้ในปี 2009 เขาได้เซ็นสัญญากับ WWE โดยเข้าร่วมฝึกกับค่ายพัฒนาทักษะ ฟลอริดาแชมเปียนชิปเรสต์ลิง (FCW)[29][30] ในปี 2010 ได้เข้าร่วมแข่งขันรายการNXTซีซั่น1 ใช้นาม แดเนียล ไบรอัน โดยเดอะมิซเป็นผู้ฝึกสอน และผู้ชนะNXTซีซั่น1 คือเวด บาร์เร็ตต์[31][32] ในรอว์ (7 มิถุนายน 2010) ไบรอันได้เปิดตัวในนามสมาชิกNXTตั้งชื่อกลุ่มเดอะเน็กซัสโดยมีเวด บาร์เร็ตต์เป็นหัวหน้า โดยมาทำลายโชว์ โดยไบรอันได้ใช้เนคไทรัดคอของจัสติน โรเบิตส์ โฆษกผู้ประกาศของ WWE[33] ทำให้ไบรอันต้องถูกไล่ออก เพราะใช้ความรุนแรงมากเกินไป จึงถูกไล่ออกเพื่อแสดงความสำนึกผิด[34][35][36] ในซัมเมอร์สแลม (2010) ไบรอันได้กลับมาแบบเซอร์ไพรส์เข้าร่วมทีม WWE นำทีมโดยจอห์น ซีนา ปะทะเดอะเน็กซัส ในแมตช์แทกทีม 7 ต่อ 7 แบบคัดออก โดยมาแทนเดอะเกรทคาลีที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกเน็กซัสลอบทำร้าย ผลปรากฏว่าทีม WWE เอาชนะไปได้สำเร็จ[37][38] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2010)ได้คว้าแชมป์ยูเอสเป็นสมัยแรกจากเดอะมิซ และเป็นเข็มขัดเส้นแรกของเขาใน WWE[39][40][41] ก่อนจะเสียแชมป์ให้เชมัสในรอว์ (14 มีนาคม 2011) หลังจากครองเป็นเวลา 176 วัน[42] ช่วงก่อนรายการเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 ไบรอันได้ชิงแชมป์ยูเอสกับเชมัสในแมตช์ลัมเบอร์แจ็กโดยมีนักมวยปล้ำอยู่รอบเวที แต่จบแบบไม่มีผลตัดสินเพราะนักมวยปล้ำที่รอบเวทีขึ้นมาอัดกัน ทีโอดอร์ ลอง ผู้จัดการทั่วไปของสแมคดาวน์ เลยสั่งจัดเป็นแบทเทิลรอยัลและผู้ชนะคือเกรทคาลี[43]
ในมันนีอินเดอะแบงก์ (2011)ไบรอันได้ชนะมันนีอินเดอะแบงก์แลดเดอร์แมตช์ของฝั่งสแมคดาวน์ ทำให้คว้ากระเป๋าสิทธิ์ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ที่ไหนเมื่อไรเวลาใดก็ได้ เพียง 1 ครั้งเท่านั้น[44] ในสแมคดาวน์ (25 พฤศจิกายน 2011) ไบรอันได้ใช้สิทธิ์กระเป๋าชิงแชมป์กับมาร์ก เฮนรีทันที และได้คว้าแชมป์มาครอบครอง แต่ทีโอดอร์ ลองออกมาบอกว่า เฮนรีไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมปล้ำ แมตช์นี้ถือว่าเป็นโมฆะ และบอกให้ไบรอันเตรียมตัวขึ้นปล้ำกับโคดี, บาร์เร็ตต์ และออร์ตัน เป็นคู่เอกในแมตช์สี่เส้า หาผู้ท้าชิงอันดับ1 ในการชิงแชมป์กับเฮนรีในสแมคดาวน์สัปดาห์ถัดไป และไบรอันก็เป็นผู้ชนะได้สิทธิ์เป็นผู้ท้าชิงกับเฮนรี[45][46] ในสแมคดาวน์ (29 พฤศจิกายน 2011) ไบรอันได้แพ้ให้เฮนรีในแมตช์กรงเหล็กชิงแชมป์โลก[47] ในทีแอลซี (2011) ไบรอันได้ใช้สิทธิ์กับบิ๊กโชว์ คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวทเป็นสมัยแรกได้สำเร็จ หลังจากที่บิ๊กโชว์คว้าแชมป์ได้จากเฮนรี[48][49]
ไบรอันได้รับบทเป็นแฟนกับเอเจ ในสแมคดาวน์ (6 มกราคม 2012) ต้องป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวทครั้งแรกกับบิ๊กโชว์ โดยระหว่างแมตช์ไบรอันพยายามใส่ท่าไม้ตายให้บิ๊กโชว์ตบพื้นยอมแพ้ แต่บิ๊กโชว์ไม่ยอม ไบรอันจึงลงไปยั่วโมโหเฮนรีที่มานั่งเป็นผู้บรรยายรับเชิญอยู่ข้างเวที ทำให้เฮนรีผลักไบรอันล้มลงไป ผลการตัดสินจึงจบลงที่ไบรอันชนะฟาวล์ และกลายเป็นฝ่ายอธรรม[50] ในสแมคดาวน์ (13 มกราคม 2012) ไบรอันต้องป้องกันแชมป์กับบิ๊กโชว์แบบไม่มีกฎกติกา โดยมีเอเจมายืนอยู่ข้างเวที ปรากฏว่าบิ๊กโชว์เผลอวิ่งไปชนเอเจล้มลงไป ขณะที่วิ่งไล่ตามไบรอัน โดยแมตช์จบด้วยการไม่มีคำตัดสิน[51] ในรอยัลรัมเบิล (2012) ไบรอันต้องป้องกันแชมป์กับบิ๊กโชว์ และมาร์ก เฮนรี ในกรงเหล็ก 3 เส้า สุดท้ายไบรอันก็เป็นฝ่ายป้องกันแชมป์เอาไว้ได้[52] ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2012)หลังจากไบรอันป้องกันแชมป์ไว้ได้ก็โดนอัดโดยเชมัส ผู้ชนะรอยัลรัมเบิลประจำปี 2012 และได้เลือกไบรอันที่จะชิงแชมป์ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28[53] สุดท้ายไบรอันก็เสียแชมป์ให้กับเชมัสในเวลาเพียง 18 วินาที หลังจากที่ไบรอันเรียกให้เอเจขึ้นมาจูบเพื่อให้กำลังใจ[54] ซึ่งหลังจากที่ไบรอันเสียแชมป์ให้กับเชมัส ในเรสเซิลเมเนีย เพียงแค่ 18 วินาที ทำให้แฟนๆต่างพากันตะโกนเรียกชื่อไบรอัน และตะโกนคำว่า Yes! ตลอดทั้งรายการรอว์ และสแมคดาวน์ ไม่เว้นแม้กระทั่งเกมส์บาสเก็ตบอล NBA ที่ทีมไมอามีฮีทลงแข่ง แฟนๆในสนามก็ตะโกน Yes! ทั้งสนามเช่นกันจนกลายเป็นคำฮิตและได้ทำเป็นลายเสื้อคำว่า Yes! Yes! Yes! และได้เปลี่ยนชื่อท่าไม้ตายจาก LeBell Lock เป็นท่า Yes! Lock ในสแมคดาวน์ (6 เมษายน 2012) ไบรอันออกมาพร้อมกับเอเจ และก็โทษเอเจ และบอกเลิกกับเอเจ ก่อนจะเดินกลับไปหลังเวที[55]
ในรอว์ (30 เมษายน 2012) ไบรอันได้ชนะเจอร์รี ลอว์เลอร์เป็นผู้ท้าชิงอันดับ1 ในการชิงแชมป์ WWEกับซีเอ็ม พังก์ในโอเวอร์เดอะลิมิต (2012)[56] สุดท้ายก็ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้[57] ในโนเวย์เอาท์ (2012) ไบรอันได้เจอกับพังก์และเคนชิงแชมป์ WWE สามเส้า แต่ก็ยังไม่สามารถคว้าแชมป์ได้[58] ในมันนีอินเดอะแบงก์ (2012)ได้ชิงแชมป์กับพังก์แบบไม่มีการปรับแพ้ฟาล์ว โดยมีเอเจเป็นกรรมการพิเศษ สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้แชมป์[59][60] ในรอว์ (16 กรกฎาคม 2012) ไบรอันได้จับคู่กับเอเจชนะอีฟ ทอร์เรสกับเดอะมิซไปได้ หลังแมตช์ไบรอันคุกเข่าขอเอเจแต่งงานและสวมแหวนให้เอเจด้วย คำตอบของเอเจคือ Yes! แล้วทั้งคู่ก็จูบกันอย่างดูดดื่มจากนั้นก็ทำท่า Yes! Yes! Yes! ไปรอบเวทีทั้งสองคน[61] ในรอว์ ตอนที่ 1,000 (23 กรกฎาคม 2012) ไบรอันกับเอเจ ออกมาทำพิธีแต่งงาน แต่เอเจไม่ยอมตอบรับการแต่งงาน แถมยังบอกว่ามีคนเข้ามาจีบเธออีกคนหนึ่ง วินซ์ แม็กแมนออกมาแล้วก็ประกาศให้เอเจ เป็นผู้จัดการคนใหม่ของรอว์ เอเจเดินจากไป ปล่อยให้ไบรอันโมโหทำลายข้าวของบนเวที ซีเอ็ม พังก์ออกมายั่วโมโหไบรอัน ตามมาด้วยเดอะ ร็อกออกมาแจก Rock Bottom ใส่ไบรอัน[62] ในสแมคดาวน์ (3 สิงหาคม 2012) ไบรอันใส่เสื้อลายใหม่คำว่า No! No! No! ให้สัมภาษณ์ที่หลังฉาก โวยวายว่าเขาคือคนเดียวที่มีสิทธิ์ตะโกน Yes! ไม่ใช่คนดูพวกนั้น[63]
ในรอว์ 10 กันยายน ไบรอันได้จับคู่กับเคนเอาชนะไพรม์ไทม์เพลเยอส์ได้สิทธิ์ไปชิงแชมป์แท็กทีม WWEกับโคฟี คิงส์ตันและอาร์-ทรูธในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2012)[64] และคว้าแชมป์ได้สำเร็จ[65] ในสแมคดาวน์ 21 กันยายน ระหว่างแมตช์เคนกับแดเมียน แซนดาว ไบรอันเอาเข็มขัดแชมป์แทกทีม 2 เส้น แล้วมาร้องโวยวายว่าข้าคือแชมป์แทกทีม ทำให้เคนเสียสมาธิจนแพ้ไป คืนเดียวกันไบรอันได้เจอกับโคดี โรดส์ ท้ายแมตช์ไบรอันจับโคดี ใส่ท่า No! Lock ได้แล้ว แต่เคนออกมาจุดไฟที่เสาเวที ทำให้ไบรอันตกใจ แล้วก็โดนจับใส่ท่า Cross Rhodes แพ้ไป ไบรอันเข้าไปโวยวายกับเคนที่หลังฉาก จากนั้นก็เริ่มทะเลาะกันอีก โคดีกับแซนดาวเข้ามาหัวเราะเยาะเย้ยว่าแชมป์แทคทีมคู่นี้มันคือตัวตลกชัดๆ ไบรอันกับเคนเลยท้าเจอกันแบบแทคทีม ในคืนเดียวกัน ไบรอันและเคนได้เจอกับโคดีและแซนดาวเป็นแมตช์ลัมเบอร์แจ็กที่มีคู่แทกทีมทุกทีมมายืนล้อมเวที สุดท้ายไบรอันและเคนชนะฟาล์ว เพราะโคดีเห็นท่าจะสู้ไม่ไหวเลยไปเอาเก้าอี้มาฟาดเคน จนถูกปรับแพ้ฟาวล์ ไบรอันเข้ามาช่วยเคนแล้วก็เอาเก้าอี้มากันคนละตัวไล่ตีโคดีกับแซนดาว หลังแมตช์ ไบรอันกับเคนยังไม่หนำใจ เลยลงไปลากพวกแทกทีมทั้งหลายขึ้นมาฟาดอย่างเมามันส์กันถ้วนหน้า ในรอว์ 24 กันยายน ได้มีการให้แฟนๆช่วยกันตั้งชื่อให้กับไบรอันและเคน โดยแฟนๆได้ตั้งชื่อทีมให้ว่าทีมเฮลโน จากนั้นโคดีกับแซนดาวก็เข้ามาลอบทำร้ายไบรอันและเคน แล้วก็ประกาศว่าพวกเขาคือทีมโรดส์สกอลาส์[66] ในเฮลอินเอเซล (2012)ต้องป้องกันแชมป์กับโรดส์สกอลาส์ สุดท้ายเฮลโนถูกปรับแพ้ฟาล์วแต่ไม่เสียแชมป์[67] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29 ทีมเฮลโนสามารถป้องกันแชมป์แทกทีมกับดอล์ฟ ซิกก์เลอร์และบิ๊กอีเอาไว้ได้[68] ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2013) ทีมเฮลโนเสียแชมป์ให้กับเซท โรลลินส์และโรแมน เรนส์ 2 สมาชิกในกลุ่มเดอะชีลด์ หลังจากที่ครองแชมป์มาเป็นเวลา 245 วัน[69]
ในรอว์ (15 กรกฎาคม 2013) จอห์น ซีนาออกมาเพื่อเลือกผู้ท้าชิงแชมป์ WWE โดยมีบรรดาซูเปอร์สตาร์มายืนอยู่ที่ลานเปิดตัว ซีนาเรียกชื่อนักมวยปล้ำทีละคนเพื่อให้แฟนๆ ช่วยกันส่งเสียงสนับสนุนคนที่อยากให้ชิงแชมป์ คนดูตะโกน Yes! Yes! Yes! แดเนียล ไบรอัน!! ซีนาประกาศเลือกไบรอันเป็นผู้ท้าชิงของเขาในซัมเมอร์สแลม (2013) ไบรอันออกมาตะโกน Yes! Yes! Yes! และคนดูก็ตะโกนตามกันทั้งสนาม[70] ในรอว์ (22 กรกฎาคม 2013) แบรด แมดด็อกซ์ออกมาประกาศให้มีการเซ็นสัญญาปล้ำระหว่างซีนากับไบรอัน ซึ่งทั้งสองคนก็เซ็นสัญญา แล้วแมดด็อกซ์ก็เตรียมจัดแมตช์ให้ไบรอันได้พิสูจน์ตัวเองว่าเหมาะสมจริงหรือไม่ที่ได้ชิงแชมป์ คืนเดียวกันไบรอันต้องปล้ำแมตช์ Gauntlet Match โดยเจอกับ แจ็ก สแวกเกอร์, ซีซาโร และไรแบ็ก ผลปรากฏว่า ไบรอันเอาชนะมาได้ 2 แมตช์แรก แมตช์สุดท้ายไบรอันชนะฟาว์ลเพราะไรแบ็กจับไบรอันไปพาวเวอร์บอมใส่โต๊ะจนพัง หลังแมตช์ไรแบ็กจะเล่นงานไบรอันต่อ แต่ซีนาออกมาช่วยไล่อัดไรแบ็กหนีไป ซีนาได้ประกาศท้าเจอไรแบ็กในแมตช์จับฟาดใส่โต๊ะ ที่หลังฉากแมดด็อกซ์คุยกับวินซ์ และตกลงจะจัดแมตช์ซีนาเจอกับไรแบ็ก และแมดด็อกซ์ก็ให้ไบรอันเจอกับเคน[71] ในรอว์ (29 กรกฎาคม 2013) ไบรอันเอาชนะเคนไปได้ คืนเดียวกันหลังจากซีนาเอาชนะไรแบ็กไปได้ในแมตช์จับฟาดใส่โต๊ะ ไบรอันออกมาคว้าเข็มขัดแชมป์ WWE แล้วเอาขึ้นไปยื่นให้ซีนาจะรับเข็มขัดแต่ไบรอันดึงกลับ ซีนาเลยแย่งเอามาจนได้ แล้วไบรอันก็ทำท่า Yes! Yes! Yes! ใส่ซีนาเป็นการปิดท้ายรายการ[72] ในซัมเมอร์สแลม ไบรอันได้ชิงแชมป์ WWE กับซีนา โดยทริปเปิลเอชเป็นกรรมการพิเศษ สุดท้ายไบรอันก็เป็นฝ่ายชนะ และได้เป็นแชมป์ WWE สมัยแรก หลังแมตช์ไบรอันกำลังฉลองแชมป์ แต่ซีนามาขัดจังหวะเหมือนจะหาเรื่อง แต่สุดท้ายก็จับมือแสดงความยินดี ซีนาเดินกลับไปและปล่อยให้ไบรอันฉลองบนเวทีโดยมีการจุดพลุฉลองอย่างยิ่งใหญ่ แต่แล้วแรนดี ออร์ตันก็เดินถือกระเป๋าออกมา ออร์ตันชูกระเป๋าข่มขวัญและเดินกลับไป แต่ทริปเปิลเอชจับไบรอันใส่ Pedigree จนหลับสนิท แล้วออร์ตันก็กลับมาใช้กระเป๋า และจับกดนับ 3 คว้าแชมป์ไปครองโดยทริปเปิลเอชก็ร่วมฉลองด้วย[73]
ในรอว์ (19 สิงหาคม 2013) มีการเฉลิมฉลองตำแหน่งแชมป์ของออร์ตัน ซึ่งมีนักมวยปล้ำทุกคนของ WWE มายืนที่เวที โดยมีเดอะชีลด์ยืนอยู่ริมเวที วินซ์, สเตฟานี แม็กแมน และทริปเปิลเอช (เป็นการก่อตั้งกลุ่มดิออธอริตี) ก็ออกมากันพร้อมหน้า ทริปเปิลเอชประกาศแนะนำตัวออร์ตัน แชมป์ WWE คนใหม่ ออร์ตันออกมาจับมือกับครอบครัวแม็กแมน ออร์ตันบอกว่าปกติเขาไม่ชอบขอบคุณใคร แต่ครั้งนี้เขาต้องบอกว่าเขาต้องขอบคุณทริปเปิลเอชจริงๆ ทริปเปิลเอชบอกว่าเขารู้ว่าแดเนียล ไบรอันยังอยู่ในสนามแห่งนี้ ถ้าหากว่ามีปัญหาอะไรก็จงออกมาเคลียร์กันเดี๋ยวนี้ทริปเปิลเอช ไบรอันออกมาและจะขึ้นเวทีแต่เดอะชีลด์มารุมอัดไบรอัน แต่ทริปเปิลเอชสั่งห้ามไว้ บอกให้ไบรอันขึ้นมาบนเวที ไบรอันขึ้นเวทีไปปุ๊บก็โดน RKO ทันที แล้วออร์ตันกับครอบครัวแม็กแมนก็ชูมือฉลองกัน[74] ในรอว์ (26 สิงหาคม 2013) ไบรอันออกมาบอกว่า ทริปเปิลเอชก็เป็นแค่คนที่ทรยศต่ออุดมการณ์ของตัวเอง สมัยก่อนทำตัวเป็นนักปฏิวัติใส่เสื้อแจ๊คเก็ตหนัง แต่ตอนนี้ใส่สูททำงานให้บริษัทซะแล้ว ส่วนออร์ตันก็จะต้องถูกศัลยกรรมหน้าใหม่หลังจากที่เขาจัดการแย่งแชมป์คืนในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2013) คืนเดียวกันไบรอันได้เจอกับเดอะชีลด์ สุดท้ายไบรอันก็ชนะฟาล์ว หลังแมตช์เดอะชีลด์รุมเล่นงานไบรอัน แล้วก็จัดการ Triple Powerbomb ใส่ไบรอัน ออร์ตันออกมาและก็จัดการ RKO ใส่ไบรอัน[75] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ ไบรอันสามารถคว้าแชมป์ WWE เป็นสมัยที่ 2 ได้สำเร็จ[76] ในรอว์คืนต่อมา ไบรอันออกมาท่ามกลางเสียงเชียร์ พร้อมกับเข็มขัดแชมป์ WWE เขาบอกว่าเขามีหลายอย่างที่อยากจะพูด แต่ขอพูดคำที่สื่อความหมายได้ดีที่สุดคำเดียวคือ ใช่!! แต่ทริปเปิลเอชออกมาขัดจังหวะ และบอกว่าสก็อตต์ อาร์มสตรอง ที่ตัดสินแมตช์ชิงแชมป์นับ 1 2 3 เร็วเกิน และทริปเปิลเอชได้สั่งยึดแชมป์คืน ไบรอันไม่ยอมคืน แรนดี ออร์ตันออกมา และไบรอันกับออร์ตันก็ทำท่าจะต่อยกัน แต่ทริปเปิลเอชสั่งห้ามไว้ และก็บอกให้ส่งคืนเข็มขัดแชมป์มาได้แล้วไบรอันไม่ยอมคืน เลยโดน RKO แล้วทริปเปิลเอชก็เอาเข็มขัดไปจนได้[77] ในแบทเทิลกราวด์ ไบรอันได้ชิงแชมป์ WWE ที่ว่างอยู่กับออร์ตัน สุดท้ายแมตช์จบลงโดยไม่มีผลการตัดสิน เพราะบิ๊กโชว์ออกมาก่อกวนการปล้ำ[78] ในเฮลอินเอเซล (2013) ไบรอันได้ปล้ำเฮลอินเอเซลครั้งแรกเจอกับออร์ตัน ในการหาแชมป์ WWE ที่ว่างอยู่ โดยชอว์น ไมเคิลส์เป็นกรรมการพิเศษ แต่ไบรอันก็เป็นฝ่ายแพ้จากการถูกชอว์นใส่ Sweet Chin Music เพราะไปเล่นงานทริปเปิลเอช เพื่อนรักของชอว์น[79]
ในรอว์ (28 ตุลาคม 2013) ชอว์นออกมาเพื่ออธิบายสิ่งที่เขาทำลงไป และก็เรียกไบรอันออกมา ชอว์นบอกว่าเขาไม่ได้ตั้งใจจะให้มันจบลงแบบนั้น ทริปเปิลเอชคือเพื่อนที่เขารักที่สุดและมันจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง เขาจะไม่ขอให้ไบรอันหรือใครๆ มาเข้าใจเขาแต่อยากจะขอให้ไบรอันยอมรับคำขอโทษและจับมือกับเขา ไบรอันไม่ยอมจับมือด้วย ชอว์นเลยสั่งสอนบทเรียนสุดท้ายในฐานะอาจารย์ว่าในวงการนี้ห้ามเชื่อใจใครเด็ดขาดรวมทั้งตัวเขาเองด้วย เขาคือ ชอว์น ไมเคิลส์ สตาร์ระดับ A+ และจะให้เกียรตินายได้จับมือกัน ดังนั้นจงจับมือซะดีๆ ไบรอันยอมจับมือ จากนั้นก็ลากชอว์นไปใส่ Yes Lock ก่อนที่กรรมการจะวิ่งออกมาช่วยห้าม ไบรอันให้สัมภาษณ์ที่หลังฉาก แต่ยังไม่ทันได้พูดอะไรก็โดนเดอะไวแอ็ตต์แฟมิลี เข้ามารุมกระทืบจนน่วม[80] ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2013) จับคู่กับซีเอ็ม พังก์เอาชนะฮาร์เปอร์และโรแวน 2สมาชิกกลุ่มไวแอ็ตต์แฟมิลีไปได้[81] ในทีแอลซี (2013) ไบรอันปล้ำแพ้ในแฮนดิแคป 3 ต่อ 1 กับไวแอ็ตต์แฟมิลี(เบรย์ ไวแอ็ตต์, ฮาร์เปอร์ และโรแวน)[82][83] ในรอว์ (30 ธันวาคม 2013) ไบรอันได้มาคุยกับ ทริปเปิลเอช กับสเตฟานี เพื่อขอเจอกับเบรย์ ไวแอ็ตต์ตัวต่อตัว แต่จะต้องเจอกับฮาร์เปอร์ก่อน ถ้าชนะก็ให้เจอกับโรแวนอีกคน ถ้าชนะได้หมดก็จะให้เจอกับไวแอ็ตต์ สุดท้ายไบรอันก็เอาชนะได้ทั้งฮาร์เปอร์ และโรแวน และได้เจอกับเบรย์ตัวต่อตัว แต่ยังไม่ทันได้ปล้ำฮาร์เปอร์และโรแวนก็ขึ้นมากระทืบไบรอัน จนกรรมการต้องยุติแมตช์ไป หลังแมตช์ไบรอันได้ขอเข้าร่วมกลุ่มไวแอ็ตต์แฟมิลี ก่อนจะนั่งคุกเข่าและกางแขนให้เบรย์เป็นสัญลักษณ์ว่ายินยอมสละตัว มอบตัวให้กับเบรย์ เบรย์เลยจับไบรอันใส่ Sister Abigail แล้วสั่งให้ฮาร์เปอร์และโรแวนเอาตัวไบรอันลงจากเวทีไปด้วย สุดท้ายไบรอันก็กลับเข้าไปหลังเวทีพร้อมกับไวแอ็ตต์แฟมิลี[84] ในรอว์ (13 มกราคม 2014) ไบรอันได้จับคู่กับเบรย์เจอกับดิ อูโซส์(เจย์ และ จิมมี อูโซ) ผลปรากฏว่าทีมอูโซส์ชนะฟาล์ว เพราะฮาร์เปอร์และโรแวน ขึ้นมาก่อกวนการปล้ำ คืนเดียวทั้งสองทีมได้รีแมตช์กันอีกครั้งในกรงเหล็ก สุดท้ายอูโซส์ เอาชนะไปได้ หลังแมตช์ เบรย์ด่าไบรอันและจะลงโทษอีกครั้ง แต่คราวนี้ไบรอันดิ้นหลุดออกจากท่า Sister Abigail แล้วกระโดดถีบเบรย์หลายดอก ต่อด้วยท่าเตะต่อเนื่องจนเบรย์หมดสภาพ ฮาร์เปอร์และโรแวนพยายามปีนกรงเข้ามาแต่ไบรอันก็เหวี่ยงเบรย์ไปอัดใส่ แล้วก็ปิดท้ายด้วยท่าเข่าลอยใส่เบรย์ จากนั้นก็ปีนกรงขึ้นไปฉลองด้วยท่า Yes! Yes! Yes![85][86][87] ในรอยัลรัมเบิล (2014)แพ้ให้เบรย์ ไวแอ็ตต์[88][89]
ในรอว์ (27 มกราคม 2014) ไบรอันได้จับคู่กับ จอห์น ซีนา และเชมัส เจอกับเดอะชีลด์ โดยทีมที่ชนะได้สิทธิ์เข้าร่วมแมตช์ อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ เพื่อชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท WWE ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2014) สุดท้ายแมตช์จบลงโดยไม่มีผลการตัดสิน เพราะไวแอ็ตต์แฟมิลีมาก่อกวนการปล้ำ หลังแมตช์ทีมไบรอันช่วยกันไล่อัดพวกไวแอ็ตต์ จนต้องหนีไป แล้วโฆษกก็ประกาศว่าทีมของไบรอันเป็นฝ่ายชนะฟาวล์ ได้สิทธิ์เข้าร่วมแมตช์อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์[90][91][92] ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ ไบรอันก็ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้ จากการลอบทำร้ายของเคน[93] ในรอว์ (10 มีนาคม 2014) ไบรอันได้ออกมาท้าทริปเปิลเอช เพื่อที่จะเจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30 โดยมีข้อเสนอว่าถ้าเขาชนะ เขาจะได้ร่วมแมตช์ชิงแชมป์โลกต่อในคืนนั้น และทริปเปิลเอชก็ตอบรับคำท้าของไบรอัน[94] ในเรสเซิลเมเนีย 30 ไบรอันได้เอาชนะทริปเปิลเอช และได้เข้าร่วมแมตช์ชิงแชมป์โลก 3 เส้ากับแรนดี ออร์ตัน และบาทิสตา ต่อในคืนเดียวกัน หลังแมตช์ทริปเปิลเอชได้มาลอบทำร้ายไบรอัน จนได้รับบาดเจ็บที่แขนซ้าย ในแมตช์คู่เอก 3 เส้า ไบรอันก็สามารถเอาชนะออร์ตัน และบาทิสตา และคว้าแชมป์โลกได้สำเร็จ[95][96][97][98] ในรอว์ (22 เมษายน 2014) ไบรอันเจ้าของแชมป์โลกเฮฟวี่เวท WWE คนใหม่ ออกมาฉลองหลังแต่งงานกับบรี เบลลา และสเตฟานี แม็กแมน ออกมายินดี และประกาศว่าไบรอันจะต้องป้องกันแชมป์กับเคนในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2014) ก่อนที่เคน(กลับมาสวมหน้ากากอีกครั้ง) ออกมาลอบทำร้ายไบรอันไม่หยุด จนไบรอันจะถูกหามออกจากสนาม[99] ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ ไบรอันสามารถป้องกันแชมป์กับเคนในแมตช์เอ็กซ์ตรีมรูลส์เอาไว้ได้สำเร็จ[100]
ในรอว์ (12 พฤษภาคม 2014) ไบรอันได้ออกมาประกาศเรื่องสำคัญให้แฟนๆ ทราบ และก็พูดถึงการต่อสู้ของเขาที่ต้องสู้มาตลอดตั้งแต่ตอนที่ แรนดี ออร์ตัน ใช้กระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์กับเขา เขาสู้และเขาก็ทำได้สำเร็จ เป็นแชมป์โลกเฮฟวี่เวท WWE แต่จากสไตล์การปล้ำของเขานั้นเขาก็ต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวด เขาจะต้องเข้ารับการผ่าตัดคอ มันอาจจะทำให้เขาไม่สามารถกลับมาปล้ำได้อีกตลอดชีวิต แต่เขาจะไม่ยอมให้เป็นอย่างนั้นและเขาจะกลับมาอย่างแน่นอน คืนเดียวกัน สเตฟานีออกมาพูดถึงการผ่าตัดของไบรอัน เธอบอกอีกว่า ไบรอันไม่ใช่สตาร์ระดับ A แม้ว่าหัวใจจะแข็งแกร่งแต่ร่างกายกลับทนไม่ไหว และได้ขอให้ไบรอันออกมาพูดเรื่องสำคัญต่อหน้า แต่คนที่ออกมาคือ เคน ซึ่งลากเอาไบรอัน ในสภาพฟกช้ำออกมากองไว้ แล้วก็เดินจากไป ทีมแพทย์ต้องช่วยกันหามไบรอัน ลงเปลส่งโรงพยาบาล วันที่ 15 พฤษภาคม 2014 ไบรอันได้เข้ารับการผ่าตัดที่คอ และโพสข้อความลงในทวิตเตอร์ หลังเข้ารับการผ่าตัด: "ขอบคุณทุกๆคนที่ขอให้ผมปลอดภัยระหว่างเข้ารับการผ่าตัด พวกคุณมอบพลังให้กับผมและพวกคุณคือแรงจูงใจของผมเพื่อกลับไปอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้"[101]
ในรอว์ (26 พฤษภาคม 2014) สเตฟานีออกมาที่เวทีและเรียกไบรอัน ให้ออกมาประกาศสละแชมป์ ไบรอันบอกว่า สเตฟานีเอาประชาชนมาอ้าง ความจริงแล้วก็แค่อยากจะปลดเขาออกไปเพื่อจะได้ตั้งแชมป์คนกลางตามใจชอบใช่ไหมล่ะ คงจะวางแผนมาตั้งแต่ที่เขาได้แชมป์มาในเรสเซิลเมเนีย โดยเอาชนะสามีของเธอมาได้แล้วสิ เคยคิดบ้างไหมว่าทำไมคนดูถึงตะโกน Yes! ทุกครั้งที่พวกเขาไม่ได้รับสิ่งที่พวกเขาต้องการ? ส่วนคำตอบในเรื่องที่ว่าจะให้เขาสละแชมป์น่ะเหรอ? ขอตอบด้วยคำๆ หนึ่งที่เธอไม่ค่อยจะได้ยินนะ นั่นคือ No! No! No! สเตฟานีได้ประกาศว่าจะให้โอกาสไบรอันสละแชมป์ในเพย์แบ็ค (2014) ไม่อย่างนั้น บรีจะต้องโดนไล่ออก!![102] ในเพย์แบ็ค ไบรอันออกมาพร้อมกับบรี และสเตฟานีก็บอกให้ไบรอัน ทำในสิ่งที่ถูกต้อง อย่าเห็นแก่ตัว เผื่อลูกของนายในอนาคตจะได้ดูเขาจะได้รู้ว่าพ่อไม่ใช่คนเห็นแก่ตัว ไบรอัน บอกว่าลูกของสเตฟานี คงจะดูอยู่นะ จะได้เห็นว่าแม่ของเขาเป็นคนหลงตัวเอง เอาตัวเองเป็นใหญ่ ไบรอันจะส่งเข็มขัดแชมป์ให้สเตฟานี แต่บรี ห้ามไว้ ก่อนจะประกาศว่า ขอลาออก!! แล้วก็ตบหน้าสเตฟานี ทำให้สเตฟานีต้องรีบหนีไป[103] ในรอว์ (9 มิถุนายน 2014) สเตฟานีบอกว่าเรามีปัญหาเรื่องแชมป์โลกมานานแล้ว แต่วันนี้มันจะจบลงแล้ว เพราะเราได้รับการคอนเฟิร์มจากแพทย์ที่ทำการผ่าตัดให้กับไบรอัน จากนั้นสเตฟานี ก็เปิดวิดีโอการแถลงของ ดร. โจเซฟ แมรูนส์ ผู้ทำการผ่าตัดให้กับไบรอัน ซึ่งคุณหมอก็บอกว่า ไบรอันจะไม่สามารถกลับไปทำงานได้ภายในเดือนนี้อย่างแน่นอน สเตฟานีจึงประกาศปลดแชมป์จากไบรอันทันที ก่อนจะประกาศว่าแมตช์ไต่บันไดในมันนีอินเดอะแบงก์ (2014) จะเป็นการชิงแชมป์โลกที่ว่างอยู่[104] เนื่องจากอาการบาดเจ็บของไบรอัน ทำให้ต้องห่างหายจากจอโทรทัศน์ของ WWE ไปพักใหญ่[105][106] ในรอว์ (24 พฤศจิกายน 2014) ไบรอันได้กลับมาอีกครั้ง โดยเขาได้รับมอบหมายให้ดำเนินรายการรอว์ รวมทั้งสแมคดาวน์ (28 พฤศจิกายน 2014) แทนออธอริตีที่หมดอำนาจ[107][108]
ในรอว์ส่งท้ายปี (29 ธันวาคม 2014) ไบรอันได้ประกาศว่าเขาพร้อมแล้วที่จะกลับมาสู้แล้วและประกาศจะเข้าร่วมรอยัลรัมเบิล (2015)[109] ในรอว์ (12 มกราคม 2015) ไบรอันออกมาที่เวทีเพื่อรำลึกความหลังที่เขาได้แชมป์ที่เมืองนี้นิวออร์ลีนส์ในเรสเซิลเมเนีย 30 และเขาอยากจะทำมันให้ได้อีกครั้ง สเตฟานีออกมาที่เวทีแล้วก็เตือนให้ไบรอันจำเอาไว้ให้ดีว่าเคยโดนอะไรมาบ้าง (ตอนที่เคนใช้ท่า Tombstone ใส่เขาหลายครั้งจนทำให้บาดเจ็บที่คอ) สเตฟานีถามว่าไบรอันฟิตพอแล้วจริงๆ หรือ? หายไปตั้ง 8 เดือนเพราะบาดเจ็บจนเกือบจะกลับมาไม่ได้ ไบรอันตอบว่า Yes! เขาไม่ได้เกิดมาโดยคาบช้อนเงินช้อนทอง เขาต้องต่อสู้เพื่อทุกๆ โอกาสที่เขาจะหาได้ ไม่ว่าดิออธอริตีจะทำอะไรเขาก็จะไม่ยอมหยุดสู้ และคนดูทุกคนก็จะไม่หยุดต่อสู้เช่นกัน สเตฟานีเรียกเคนออกมาและก็จะ Tombstone อีกครั้งเพื่อให้ไบรอันพิการ แต่ไบรอันดิ้นหลุดมาอัดเคนทำให้กรรมการต้องมาช่วยกันจับแยก ในสแมคดาวน์ (15 มกราคม 2015) ได้กลับมาขึ้นปล้ำครั้งแรกในรอบ 8 เดือนชนะเคนด้วยการฟาล์ว[110] คืนเดียวกันหลังจากไบรอันชนะแท็กทีม 6 คน ทริปเปิลเอชประกาศให้ไบรอันรีแมตช์กับเคนในสัปดาห์ถัดไป ถ้าไบรอันแพ้จะหมดสิทธิ์เข้าร่วมรอยัลรัมเบิล[111] แต่ไบรอันก็เอาชนะไปแบบไม่มีกฏกติกา รักษาสิทธิ์การเข้าร่วมรอยัลรัมเบิลไว้ได้[112] ในรอยัลรัมเบิลได้เข้าร่วมเป็นลำดับที่ 10 แต่ไม่ได้ชนะ[113][114][115] ในสแมคดาวน์ (29 มกราคม 2015) เอาชนะเคนได้แบบจับยัดใส่โลงศพ[116] ในรอว์ (2 กุมภาพันธ์ 2015) ชนะเซท โรลลินส์และได้ไปเจอกับโรแมน เรนส์ที่ฟาสต์เลน (2015) เพื่อสิทธิ์ผู้ท้าชิงอันดับ 1 ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท WWE กับบร็อก เลสเนอร์ที่เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 31[117] แต่ก็ไม่สามารถคว้าสิทธิ์ได้[118] ในสแมคดาวน์ (26 กุมภาพันธ์ 2015) ไบรอันขอบคุณแฟนๆ ที่อยู่ข้างเขามาตลอด แต่ปีนี้เขาได้รับโอกาสแล้วหลายครั้งซึ่งก็ทำไม่สำเร็จ ทำให้เขาจะไม่ได้ชิงแชมป์ในเรสเซิลเมเนีย แต่เขายังไม่ยอมแพ้ แบด นิวส์ บาร์เร็ตต์ออกมาโวยวายและหงุดหงิดที่โดนขโมยแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัลและไล่ให้ไบรอันลงไปจากเวที ดีน แอมโบรสออกมาพร้อมแชมป์อินเตอร์และก็ต่อยกับบาร์เร็ตต์ แต่บาร์เร็ตต์กลับขึ้นเวทีไปได้และก็ขอให้ไบรอันคืนเข็มขัดแต่ก็เจอแอมโบรสต่อยทันทีและไบรอันก็เตะก้านคอซ้ำอีกที[119][120] ก่อนที่จะประกาศเข้าร่วมไต่บันไดชิงแชมป์อินเตอร์ที่เรสเซิลเมเนีย[121][122] และได้คว้าแชมป์อินเตอร์สมัยแรก[123] ทำให้เป็นแชมป์ทริปเปิลคราวน์[124] และแชมป์แกรนด์สแลมของWWE[125]
หลังจากเป็นแชมป์ได้ไม่นานไบรอันก็ได้รับบาดเจ็บจากการปล้ำเฮาส์โชว์ที่ดับลิน, ไอร์แลนด์ 9 เมษายน 2015 โดยก่อนหน้านี้ก็ได้รับบาดเจ็บในสแมคดาวน์ 2 เมษายน ที่เจอกับเชมัสมาก่อนแล้วก่อนจะอาการหนักขึ้นในเฮาส์โชว์ WWE จำเป็นต้องส่งไบรอันกลับอเมริกาในอีก 2-3 วันให้หลัง[126] และอาจต้องพักราวๆ 5 สัปดาห์ด้วยกัน ทำให้เขาต้องพลาดเอ็กซ์ตรีมรูลส์ที่จะต้องป้องกันแชมป์อินเตอร์กับบาร์เร็ตต์[127] ในสัปดาห์ต่อมา WWE ได้ถอดชื่อไบรอัน ออกจากตารางการปล้ำทั้งหมดแล้ว โดยถอดชื่อออกจากโปรแกรมล่วงหน้าไปหลายเดือน[128] แมตช์สุดท้ายของเขาจับคู่กับแชมป์ยูเอส จอห์น ซีนา เอาชนะแชมป์แท็กทีม ไทสัน คิด และซีซาโรไปได้[129] ในรอว์ 11 พฤษภาคม ไบรอันได้ประกาศสละเข็มขัดแชมป์อินเตอร์เพื่อพักรักษาอาการบาดเจ็บ และขอบคุณแฟนๆ ที่สนับสนุนเขามาตลอด และบอกว่าเขาอาจจะต้องพักยาวเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นปี หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาจะกลับมาปล้ำได้อีกหรือไม่[130][131] วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2016 ไบรอันได้ประกาศรีไทร์เลิกปล้ำบนทวิตเตอร์ เนื่องจากเหตุผลทางการแพทย์ ซึ่งนั่นก็คือมีอาการกระทบกระเทือนทางสมองหลายครั้งตลอดระยะเวลา 16 ปีในอาชีพการปล้ำของเขา[132][133][134][135] ไบรอันได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในฐานะตำนาน WWE[136] และเป็นพิธีกรรายการซีรีส์ Cruiserweight Classic ทาง WWE Network ร่วมกับผู้บรรยายของสแมคดาวน์ Mauro Ranallo[137] วันที่ 18 กรกฎาคม 2016 ไบรอันได้รับการแต่งตั้งโดยคอมมิสชันเนอร์ของสแมคดาวน์ เชน แม็กแมน ให้เป็นผู้จัดการทั่วไปของสแมคดาวน์[138]
วันที่ 20 มีนาคม 2018 ไบรอันได้รับอนุญาตจากทางแพทย์ของ WWE ว่าเขาสามารถกลับมาขึ้นปล้ำได้อีกครั้ง[139] และได้ทำการไล่คู่ซี้ตัวแสบเควิน โอเวนส์ และแซมี เซย์นออก เพราะไปทำร้ายคอมมิสชันเนอร์เชน ก่อนที่ตัวเองจะโดนกระทืบอีกคน[140] สัปดาห์ต่อมาไบรอันประกาศจับคู่กับเชนเจอกับโอเวนส์และเซย์นในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 34โดยถ้าโอเวนส์และเซย์นชนะก็ได้รับการจ้างกลับมา[141][142] สุดท้ายทีมไบรอันกับเชนเอาชนะไปได้ทำให้โอเวนส์กับเซย์นตกงาน[143] หลังจากกลับมาปล้ำได้ ในวันที่ 10 เมษายนไบรอันก็สละตำแหน่ง GM ก่อนจะเชนประกาศแต่งตั้งให้เพจเป็น GM คนใหม่ของสแมคดาวน์[144] คืนเดียวกันไบรอันได้ขึ้นปล้ำเจอกับแชมป์ WWE เอเจ สไตส์ แต่จบด้วยการฟาล์วเพราะชินซูเกะ นากามูระมาก่อกวนเล่นงานทั้งไบรอันและเอเจ[145][146] ไบรอันได้ร่วมปล้ำเกรเทสต์ รอยัลรัมเบิล 50 คนโดยขึ้นเป็นลำดับแรกและอยู่บนเวทีนานที่สุด 1 ชั่วโมง 16 นาที ทำลายสถิติเดิมของเรย์ มิสเตริโอ 1 ชั่วโมง 2 นาที ในปี 2006 ก่อนจะถูกบิ๊กแคสเหวี่ยงออกจากเวที ในแบ็กแลช (2018)สามารถเอาชนะบิ๊กแคสไปได้แต่ก็ถูกแคสลอบทำร้ายหลังจบแมตช์ ในมันนีอินเดอะแบงก์ (2018)ไบรอันก็เอาชนะบิ๊กแคสไปได้อีกครั้ง[147] ในสแมคดาวน์ 26 มิถุนายน 2018 อดีตคู่แท็กทีมเฮลโนอย่างเคนได้เซอร์ไพรส์ออกมาช่วยไบรอันจัดการกับพวกเดอะ บลัดเจียน บรอเธอส์ที่เป็นแชมป์สแมคดาวน์แท็กทีม WWEจนหนีไป ก่อนที่ GM เพจ จะประกาศให้ทั้งสองทีมเจอกันเพื่อชิงแชมป์แท็กทีมในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2018)แต่ไม่สามารถคว้าแชมป์ได้[148]
ไบรอันได้เปิดศึกกับโจทก์เก่าอย่างเดอะมิซอีกครั้ง แต่ก็แพ้ให้มิซในซัมเมอร์สแลม (2018)โดยมิซแอบใช้สนับมือที่หยิบมาจากมารีสชกหน้าไบรอัน[149] ก่อนจะรีแมตช์กันในเฮลอินเอเซล (2018)แบบแท็กทีมผสมคู่ผัวเมียระหว่างมิซกับมารีสปะทะไบรอันกับบรีแต่เป็นทีมมิซที่ย้ำแค้นไปได้ ก่อนจะล้างแค้นชนะมิซได้ในซูเปอร์โชว์-ดาวน์และได้สิทธิ์เป็นผู้ท้าชิงแชมป์ WWE กับเอเจ สไตส์[150] ในสแมคดาวน์ 13 พฤศจิกายน 2018 ไบรอันได้คว้าแชมป์ WWE จากเอเจและได้เป็นฝ่ายอธรรมอีกครั้งและมีโรแวนเป็นลูกน้อง[151] ก่อนเสียแชมป์ให้โคฟี คิงส์ตันที่เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 35หลังจากครองได้เป็นเวลา 145 วัน[152] ไม่นานก็ได้แชมป์สแมคดาวน์แท็กทีมร่วมกับโรแวน[153] ก่อนจะมีปัญหากับโรแวนเรื่องที่ไปทำร้ายโรแมน เรนส์และถูกโรแวนหักหลังและสะสางกันในแมตช์แท็กทีมโทนาโดโดยไบรอันจับคู่กับเรนส์เอาชนะโรแวนจับคู่กับฮาร์เปอร์ไปได้[154] ต่อมาได้เปิดศึกกับเจ้าของแชมป์ยูนิเวอร์แซล WWEอย่าง "เดอะฟีน" เบรย์ ไวแอ็ตต์ ในการชิงแชมป์ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ 2019 แต่ไม่สำเร็จ ก่อนถูกเดอะฟีนลักพาตัวหายไป[155] และกลับมาใน TLC 2019 โดยตัดผมโกนเคราสั้นๆ[156] และได้ชิงแชมป์กับเดอะฟีนอีกครั้งในรอยัลรัมเบิล 2020 แต่ไม่สำเร็จ[157] ต่อมาได้เปิดศึกกับดรูว์ กูแล็ก[158] เอาชนะไปได้ใน Elimination Chamber[159] ก่อนที่กูแล็กจะมาเป็นผู้จัดการให้ไบรอัน[160] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 36แพ้ในการชิงแชมป์อินเตอร์กับแซมี เซย์น[161] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 37ได้เข้าร่วมชิงแชมป์ยูนิเวอร์แซลกับโรแมน เรนส์และเอดจ์ในแบบสามเส้าแต่ไม่ได้แชมป์[162] ในสแมคดาวน์ 30 เมษายน 2021 ได้แพ้ในการชิงแชมป์ยูนิเวอร์แซลกับโรแมน เรนส์ทำให้ไบรอันต้องออกจากสแมคดาวน์[163]
ออลอีลิตเรสต์ลิง
แก้หลังหมดสัญญากับ WWE ในเดือนพฤษภาคม 2021 นั้น 3 เดือนต่อมาในเดือนกันยายนไบรอันได้เปิดตัวกับสมาคมน้องใหม่มาแรงอย่างออลอีลิตเรสต์ลิง (AEW) ในศึก All Out[164] ในศึก All In 2024 ไบรอันได้คว้าแชมป์โลก AEWเป็นสมัยแรกจากสเวิร์ฟ สตริกแลนด์[165] ก่อนเสียให้จอน ม็อกซ์ลีย์ในศึก WrestleDream และเป็นการยุติการปล้ำแบบฟูลไทม์[166]
สื่ออื่นๆ
แก้แดเนียลได้ให้ความสำคัญอย่างชัดเจนใน Wrestling Road Diaries สารคดีซึ่งถ่ายทำในปี 2009 ก่อนที่เขาจะเซ็นสัญญากับ WWE[167] แดเนียลเป็นแฟนของเพลงร็อคอินดี้และบันทึกเดียวกับ คิมยา ดอว์สัน ที่เป็นยกย่องให้ตำนานมวยปล้ำ "กัปตัน" ลู อัลบาโน
ความสัมพันธ์ของแดเนียลกับภรรยาของเขา บรี เบลลา เป็นจุดเด่นประจำในเรียลลิตี้ของ WWE โทเทิลดีวาส์ ทางช่อง E! Network[168]
ชีวิตส่วนตัว
แก้แดเนียลส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษมีบางสก็อตไอริชและภาษาดัตช์วงศ์ตระกูล แดเนียลได้อ้างตัวเลขของนักมวยปล้ำที่มีอิทธิพลกับสไตล์ของเขา Toshiaki Kawada, Mitsuharu Misawa และวิลเลียม รีกัล[169] เขาได้ทำยังเอ่ยถึงการสร้างแบบจำลองการต่อสู้ของเขาออกจากการทำงานของ ดีน มาเลนโก และคริส เบนวา ครั้งแรกในอาชีพแล้วใช้ฉีดเป็นแพลตฟอร์มที่จะพัฒนารูปแบบของตัวเอง[170] ในปี 2009 แดเนียลย้ายไปอยู่ที่ลาสเวกัสที่เขาได้เริ่มการฝึกอบรมในศิลปะการต่อสู้ผสมที่โรงยิม Xtreme Couture ของ แรนดี เคาเตอร์[171] นอกจากนี้เขายังเป็นเพื่อนร่วมห้องกับ นีล มีแลนสัน ในการฝึกการต่อสู้ที่ Xtreme Couture[171]
ในช่วงเวลาที่เขาเป็นแชมป์โลก ROH แดเนียลได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝึกงานจากสถาบันการศึกษามวยปล้ำ ROH แทน ออสติน แอรีย์[172] ก่อนจะถูกถอดออกจากตำแหน่งในปี 2007[173]
แดเนียลกลายเป็นมังสวิรัติในปี 2009 หลังจากที่ได้รับการยกระดับเอนไซม์ในตับและการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ[174][175] ในปี 2012 แดเนียลได้รับรางวัล Libby สำหรับการเป็น "นักกีฬาที่เป็นมิตรกับเนื้อสัตว์มากที่สุด"[176] ในเกียรติของแดเนียลสัน นายกเทศมนตรี Micah Cawley ของ ยากิมา, วอชิงตัน ประกาศว่า 13 มกราคม เป็นวัน "แดเนียล ไบรอัน เดย์"[177] ในเดือนกันยายน 2012 แดเนียลเปิดเผยว่าเขาไม่ได้เป็นมังสวิรัติ เพราะเขาไม่สามารถที่จะหาอาหารมังสวิรัติในระหว่างการเดินทางบนท้องถนนกับ WWE[178] หลังจากนั้นเขาก็อธิบายว่าเขาได้มีอาการแพ้ถั่วเหลืองและไม่สามารถหาอาหารมังสวิรัติพอแม้ไม่ใช่ทำจากถั่วเหลืองก็ตาม แต่เขาก็ยังช่วยในการรับประทานอาหารมังสวิรัติส่วนใหญ่บนท้องถนน เขายังได้อ้างว่าจะประสบกับโรคด่างขาว[179]
แดเนียลบอกว่าตัวเองในการจัดอันดับในด้านล่าง 1 เปอร์เซ็นต์สำหรับความทะเยอทะยานในการทดสอบบุคลิกภาพ WWE ให้เขา ในการตอบสนองเขากล่าวว่า "ผมมีความทะเยอทะยานไม่มีสิ่งที่สังคมบอกว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเท่าที่สิ่งที่ต้องการเงินและทุกชนิดของสิ่งที่. สิ่งที่ฉันมีความทะเยอทะยานเกี่ยวกับการเป็นที่ฉันต้องการที่จะเป็นนักมวยปล้ำที่ดีที่สุดที่ฉันอาจจะได้เป็น"[180]
ในเดือนตุลาคม 2012, แคมเปญสื่อสังคมเริ่มต้นในความพยายามที่จะช่วยตอบสนองความคอนเนอร์ Michalek พระเอกส่วนตัวของเขา, แดเนียลไบรอัน Michalek อายุหกในเวลาและความทุกข์ทรมานจาก medulloblastoma มะเร็งของสมองและกระดูกสันหลัง[181] แคมเปญที่ประสบความสำเร็จกับแดเนียลประชุม Michalek แฟนของเขาที่รวมศูนย์พลังงานในเดือนธันวาคม 2012[182] และอีกครั้งในเดือนตุลาคมปี 2013[183] Michalek เป็นแรงบันดาลใจให้กับแดเนียลเพราะ "วิธีที่เขาเดินเข้ามาในชีวิตและความสุขที่เขาได้" ในขณะที่ไม่เคยบ่น Michalek, ที่สมดุลที่ เรสเซิลเมเนีย XXX เป็นคนแรกที่แดเนียลกอดหลังจากที่เขาได้รับรางวัล[184]
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2014 แดเนียลได้แต่งงานกับดีวาส์ WWE บรี เบลลา หลังจากที่มีความสัมพันธ์กันมาเกือบสามปี[185][186]
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2014 พ่อของแดเนียลได้เสียชีวิต แต่แดเนียลยืนยันที่จะร่วมโชว์ในรอว์คืนนั้นตามที่กำหนด[187]
แดเนียลพูดถึงชัยชนะใน เรสเซิลเมเนีย XXX และแต่งงานของเขาไม่นานหลังจากที่จุดที่สูงที่สุดเท่าที่ในชีวิตอาชีพและส่วนบุคคลของเขา แต่ภายในสองเดือนแล้วเขาก็มีประสบการณ์จุดต่ำส่วนบุคคล - การตายของพ่อของเขาและคอนเนอร์ มิคาเลก - ตามด้วยจุดต่ำมืออาชีพ - การผ่าตัด[184]
ในกรกฎาคม 2014 ที่บ้านของแดเนียล ในเมือง ฟีนิกซ์ (รัฐแอริโซนา) ได้ถูกสองโจรงัดบ้าน เพื่อขโมยของ แต่โดนไบรอันไล่กวดและจับกุมตัวเอาไว้ได้ ไบรอัน กับภรรยา บรี เบลลา เพิ่งจะกลับมาถึงบ้านในตอนกลางคืนก่อนจะพบว่ามีหัวขโมยสองคนวิ่งหนีออกจากบ้านของพวกเขาและปีนรั้วหนีไป ทำให้ไบรอัน ตัดสินใจวิ่งไล่ตามไปและก็สามารถจับขโมยเอาไว้ได้หนึ่งคน[188] ไบรอัน กับบรี เพิ่งจะเดินทางกลับจากงานกิจกรรมของ WWE ที่ไปจัดที่งาน San Diego Comic Con และการไปตรวจอาการบาดเจ็บของ Bryan กับ Dr. Chris Amann แพทย์ประจำ WWE ด้วย[189]
ในระหว่างการสัมภาษณ์ 2014 แดเนียลบอกว่าเขาไม่สามารถว่ายน้ำหรือไปลึกลงไปในน้ำเนื่องจากแก้วหูฉีกขาดจากการปล้ำเมื่อปี 2007 ในสมาคม ริงออฟออเนอร์ ในแมตช์ที่เจอกับ เคนตะ และเขาอ้างว่าเขายังมีปัญหาการได้ยินในหูซ้ายของเขา[190]
เขาเป็นผู้สนับสนุนของทีมพรีเมียร์ลีกอังกฤษ เอฟเวอร์ตันเอฟซี[191] เขายังเป็นแฟนตัวยงของ Seattle Seahawks และ the San Francisco Giants
เขาได้รับการรับรอง Green Party ผู้สมัคร Jill Stein ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2016[192]
แชมป์และรางวัลความสำเร็จ
แก้- All Elite Wrestling
- AEW World Championship (1 time)
- AEW World Championship Eliminator Tournament (2021)[193]
- Men’s Owen Hart Cup (2024)
- AEW Dynamite Awards (2 times)
- Biggest Beatdown (2022) – 60 minute match vs. "Hangman" Adam Page
- Biggest Surprise (2022) – debut at All Out (shared with Adam Cole)
- All Pro Wrestling
- All Star Wrestling
- CBS Sports
- Connecticut Wrestling Entertainment
- CTWE Heavyweight Championship (1 time)[200]
- East Coast Wrestling Association
- Evolve
- Match of the Year (2010) vs. Munenori Sawa on September 11[203]
- Extreme Canadian Championship Wrestling
- Full Impact Pro
- International Catch Wrestling Alliance
- Expo Tournament (2008)[207]
- International Wrestling Association
- Memphis Championship Wrestling
- NWA Mid-South
- New Japan Pro-Wrestling
- Pro Wrestling Guerrilla
- Pro Wrestling Illustrated
- Comeback of the Year (2018)[218]
- Feud of the Year (2013) vs. The Authority[219]
- Inspirational Wrestler of the Year (2014)[219]
- Match of the Year (2013) vs. John Cena at SummerSlam[219]
- Most Popular Wrestler of the Year (2013)[219]
- Wrestler of the Year (2013)[219]
- Ranked No. 1 of the top 500 wrestlers in the PWI 500 in 2014[220]
- Pro Wrestling Noah
- Ring of Honor
- ROH Pure Championship (1 time)[223][224]
- ROH World Championship (1 time)[21][225]
- Survival of the Fittest (2004)[2][3]
- ROH Year-End Award (2 times)
- Wrestler of the Year (2007)
- Match of the Year (2007) vs. Takeshi Morishima (Manhattan Mayhem II)
- ROH Hall of Fame (Class of 2022)[226]
- Sports Illustrated
- Ranked No. 10 of the top 10 men's wrestlers in 2018[227]
- Ranked No. 5 of the top 10 wrestlers in 2021[228]
- Texas Wrestling Alliance
- Texas Wrestling Entertainment
- TWE Heavyweight Championship (1 time)[231]
- Westside Xtreme Wrestling
- wXw World Heavyweight Championship (1 time)[232][233]
- Ambition 1 (2010)[36]
- World Series Wrestling
- World Wrestling Entertainment/WWE
- WWE Championship[Note 1] (4 times)[236][237][238][239][240]
- World Heavyweight Championship (1 time)[48][241]
- WWE Intercontinental Championship (1 time)[242][243][244]
- WWE United States Championship (1 time)[245][246][247]
- WWE Tag Team Championship (1 time) – with Kane[248][249]
- WWE SmackDown Tag Team Championship (1 time) – with Rowan[250][251]
- Money in the Bank (SmackDown 2011)[252][253]
- Match of the Year (2019) vs. Kofi Kingston at WrestleMania 35[254]
- 26th Triple Crown Champion[255]
- Sixth Grand Slam Champion (under current format; 15th overall)[124][125]
- Slammy Award (12 times)
- Beard of the Year (2013)[256]
- Catchphrase of the Year (2013) – YES! YES! YES![256]
- Cole in Your Stocking (2010) – attacking Michael Cole on NXT[257]
- Couple of the Year (2013, 2014) – with Brie Bella[256][258]
- Facial Hair of the Year (2012)[259]
- Fan Participation of the Year (2013) – YES! chants[260]
- Rivalry of the Year (2014) vs. The Authority[258]
- Shocker of the Year (2010) – The Nexus' debut[257]
- Superstar of the Year (2013)[260]
- Tweet of the Year (2012) – "Goat face is a horrible insult. My face is practically perfect in every way. In fact, from now on I demand to be called Beautiful Bryan"[259][261]
- Upset of the Year (2012) – defeating Mark Henry and Big Show at the Royal Rumble[259]
- Wrestling Observer Newsletter
- Best Non-Wrestler (2017)[262]
- Best on Interviews (2018)[263]
- Best Pro Wrestling Book (2015) – Yes: My Improbable Journey to the Main Event of WrestleMania with Craig Tello[264]
- Best Pro Wrestling DVD (2015) – Daniel Bryan: Just Say Yes! Yes! Yes![264]
- Best Technical Wrestler (2005–2013, 2021–2023)[265][266][267]: 1–37 [268][269][270][271]
- Pro Wrestling Match of the Year (2007) vs. Takeshi Morishima at ROH Manhattan Mayhem II[265]
- Most Outstanding Wrestler (2006–2010)[265]
- Most Outstanding Wrestler of the Decade (2000–2009)[272]
- Wrestling Observer Newsletter Hall of Fame (Class of 2016)[273]
รางวัลอื่นๆและเกียรตินิยม
แก้- PETA Libby Award for Most Animal-Friendly Athlete (2012)[274]
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Daniel Bryan bio". WWE. สืบค้นเมื่อ June 15, 2012.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Milner, John M.; Clevett, Jason. "Bryan Danielson". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ February 20, 2010.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "Bryan Danielson". Dragon Gate USA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 15, 2009. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 3, 2018.
- ↑ "Bryan Danielson". Dragon Gate USA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 11, 2013. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 25, 2009.
- ↑ Clevett, Jason (2006-09-21). "Fiery words from American Dragon". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-02. สืบค้นเมื่อ 2012-05-04.
- ↑ Meltzer, Dave. "Wrestling Observer – headlines". Wrestling Observer Newsletter.
- ↑ "Bryan Danielson". Dragon Gate USA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-11. สืบค้นเมื่อ 2009-07-25.
- ↑ "PWG One-Hundred: Paul London & Bryan Danielson". Pro Wrestling Guerrilla on YouTube. April 22, 2009. สืบค้นเมื่อ April 26, 2009.
- ↑ "Bryan Danielson's second reign". Pro Wrestling Guerrilla. สืบค้นเมื่อ September 5, 2009.
- ↑ "SmackDown! January 16, 2003". Online World of Wrestling. 2003-01-16. สืบค้นเมื่อ 2009-07-09.
- ↑ "SmackDown!". Online World of Wrestling. 2003-01-23. สืบค้นเมื่อ 2003-01-23.
- ↑ "Bryan Danielson". Gerweck. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-11. สืบค้นเมื่อ 2009-07-18.
- ↑ "Dragon mask". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
- ↑ "NJPW Hyper Battle tour results". Strong Style Spirit. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-07-08.
- ↑ "ROH Founding Fathers". Ring of Honor. 2007-02-02. สืบค้นเมื่อ 2009-07-02.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Castle, Al. "The Best in the World: Is this more than hype?" Pro Wrestling Illustrated February 2009. 50.
- ↑ "The-Independent-Mid-Card-01.30.07:-Danielson-vs.-Rave.htm 411mania.com: Wrestling – The Independent Mid-Card 01.30.07: Danielson vs. Rave". 411 Mania.
- ↑ "Testing the Limit". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
- ↑ "Final Showdown". Online World of Wrestling. 2004-05-13.
- ↑ "Danielson evaluates options". Ring of Honor. Wrestle Mag.
- ↑ 21.0 21.1 "Ring of Honor Title". Ring of Honor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-12. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
- ↑ Keller, Wade. "Glory By Honor IV". Pro Wrestling Torch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-05-04.
- ↑ "Final Battle 2005". Online World of Wrestling.
- ↑ Meltzer, Bill. "The ROH-CZW Philly Turf War." Pro Wrestling Illustrated May 2006: 40–43.
- ↑ "ROH Hell Freezes Over". Online World of Wrestling. 2009-01-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
- ↑ "Cage of Death". Online World of Wrestling.
- ↑ "Fight of the Century Results". Online World of Wrestling. 2006-08-05. สืบค้นเมื่อ 2009-06-08.
- ↑ "Unified". Online World of Wrestling. 2006-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
- ↑ Ashish (August 24, 2009). "More WWE News: WWE Signs Danielson, Considering Other ROH Wrestlers". 411Mania. สืบค้นเมื่อ June 8, 2010.
- ↑ Caldwell, James (January 12, 2010). "WWE News: Bryan Danielson gets a name change?". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ January 12, 2010.
- ↑ Martin, Adam (2010-02-17). "Cast information for WWE's NXT". WrestleView. สืบค้นเมื่อ 2010-02-17.
- ↑ Bishop, Matt (February 23, 2010). "WWE NXT: Jericho, Bryan kick off series in style". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ February 24, 2010.
- ↑ Plummer, Dale (2010-06-08). "RAW: Vote early, vote often; NXT takes over". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2010-06-12.
- ↑ "Daniel Bryan released". World Wrestling Entertainment. 2010-06-11. สืบค้นเมื่อ 2010-06-12.
- ↑ Martin, Adam (2010-06-12). "New update on Danielson's release from WWE". WrestleView. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-23. สืบค้นเมื่อ 2010-06-12.
- ↑ 36.0 36.1 "Ambition "I"". westside Xtreme wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-01. สืบค้นเมื่อ July 6, 2010.
- ↑ Plummer, Dale (2010-08-15). "Rumored return helps Team WWE fend off Nexus at SummerSlam". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Martin, Adam (2010-08-15). "SummerSlam: Team WWE vs. Team Nexus". WrestleView. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-17. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
- ↑ Tylwalk, Nick (2010-09-20). "Few gimmicks, more title changes at Night of Champions". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-25. สืบค้นเมื่อ 2010-09-20.
- ↑ Plummer, Dale (January 24, 2011). "RAW: Punk, Barrett battle for the Royal Rumble". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ February 5, 2010.
- ↑ Plummer, Dale (January 31, 2011). "RAW: Jerry Lawler on the road to Wrestlemania". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ February 5, 2010.
- ↑ Plummer, Dale (March 14, 2011). "RAW: Cena wrecked on the Road to Wrestlemania". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ March 22, 2011.
- ↑ Powers, Kevin (2011-04-03). "The Great Khali won the Over-the-Top-Rope WrestleMania Battle Royal". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-06. สืบค้นเมื่อ 2011-04-15.
- ↑ Keller, Wade (2011-07-17). "WK'S WWE Money in the Bank PPV blog 7/17: Ongoing live coverage of Punk vs. Cena, Orton vs. Christian, Show vs. Henry, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2011-07-17.
- ↑ Cupach, Mike (2011-11-13). "Cupach's WWE SmackDown report 11/11: Alt. perspective review of Smackdown from England, Mike's Reax to key matches & overall show". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2011-11-27.
- ↑ Parks, Greg (2011-11-18). "Parks' WWE SmackDown report 11/18: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including Randy Orton & Sheamus vs. Wade Barrett & Cody Rhodes". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2011-11-27.
- ↑ "Parks' WWE SmackDown report 11/29: Ongoing "virtual time" coverage of the live Tuesday night special, including Daniel Bryan vs. Mark Henry for the World Title in a Steel Cage". Pro Wrestling Torch. 2011-11-29. สืบค้นเมื่อ 2011-11-30.
- ↑ 48.0 48.1 "Daniel Bryan's first World Heavyweight Championship reign". WWE. WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-18. สืบค้นเมื่อ 2012-02-25.
- ↑ Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE TLC PPV REPORT 12/18: Complete "virtual time" coverage of live PPV - TLC, Table, Ladder, Chair matches". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 8 January 2012.
- ↑ Cupach, Mike. "CUPACH'S WWE SMACKDOWN REPORT 12/30: Alt. perspective review of final Smackdown of 2011, Mike's Reax to Orton write-off". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 8 January 2012.
- ↑ Parks, Greg. "Parks' WWE SmackDown report 1/13: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including Daniel Bryan vs. Big Show, no count-out, no-DQ, for the World Title". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 14 January 2012.
- ↑ Caldwell, James. "Caldwell's WWE Royal Rumble report 1/29: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Rumble match, Punk-Ziggler, Cena-Kane, steel cage". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 30 January 2012.
- ↑ Giannini, Alex (February 19, 2012). "World Heavyweight Champion Daniel Bryan won the SmackDown Elimination Chamber Match". WWE. สืบค้นเมื่อ 19 February 2012.
- ↑ Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE WRESTLEMANIA 28 PPV REPORT 4/1: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Rock-Cena, Taker-Hunter, Punk-Jericho". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.
- ↑ Parks, Greg (6 April 2012). "PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 4/6: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including Sheamus vs. Alberto Del Rio". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 8 April 2012.
- ↑ Caldwell, James (30 April 2012). "Caldwell's WWE Raw Results 4/30: Ongoing "virtual-time" coverage of live Raw Starring Brock Lesnar - PPV fall-out, Triple H returns". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 1 May 2012.
- ↑ "WWE Champion CM Punk def. Daniel Bryan". WWE. 20 May 2012. สืบค้นเมื่อ 21 May 2012.
- ↑ "WWE Champion CM Punk vs. Daniel Bryan vs. Kane – Triple Threat Match". WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
- ↑ WWE Champion CM Punk vs. Daniel Bryan, WWE, สืบค้นเมื่อ 2012-06-25
- ↑ Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE MITB PPV REPORT 7/15: Complete "virtual time" coverage of live PPV - Punk vs. Bryan, Sheamus vs. Del Rio, two MITB matches". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.
- ↑ "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/16: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #998 - MITB PPV fall-out, Cena's announcement". สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.
- ↑ Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/23: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #999 - WWE recognizes 1,000 episodes, WWE Title match, Lesnar, Rock, DX, wedding". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.
- ↑ Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/30: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #1,000 - Punk explains heel turn, #1 contender match main event, Orton returns, Summerslam hype". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 4 August 2012.
- ↑ "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 9/10: Ongoing "virtual-time" coverage of live Raw - Hart back in Montreal, final PPV hype".
- ↑ "Zack Ryder won a Pre-Show Battle Royal to become No. 1 Contender for the United States Championship". WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-09-16.
- ↑ "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 9/24: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - Cena announcement, Lawler interview, latest on WWE Title picture".
- ↑ "CALDWELL'S WWE HELL IN A CELL PPV REPORT 10/28: Complete "virtual time" coverage of live PPV - Did WWE pull the trigger on Ryback as top champ?".
- ↑ "CALDWELL'S WWE WRESTLEMANIA 29 PPV RESULTS: Complete "virtual-time" coverage of live PPV from MetLife Stadium - Rock-Cena II, Taker-Punk, Lesnar-Hunter, more".
- ↑ "WWE Extreme Rules results and reactions from last night (May 19): Believe in Gold".
- ↑ "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/15 (Hour 3): Punk-Heyman epic promo exchange, Jericho vs. RVD, Cena picks his Summerslam PPV opponent".
- ↑ Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/22 (Hour 3): Bryan wrestles three times, including epic battle vs. Cesaro, Punk-Heyman confrontation, RVD in action". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 3 August 2013.
- ↑ Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/29 (Hour 3): Cena vs. Ryback tables main event, Bryan vs. Kane, Wyatts, McMahons to give Bryan a "corporate make-over?"". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 3 August 2013.
- ↑ Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE SSLAM PPV RESULTS 8/18 (Hour 3): Cena vs. Bryan WWE Title main event, did Orton cash in?". Pro wrestling Torch.
- ↑ "RAW NEWS: Cena gone 4-6 months, Triple H explanation, WWE Title & World Title pictures, RVD, new tag team, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 20 August 2013.
- ↑ Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 8/26 (Hour 3): Bryan runs The Shield gauntlet and pays the price, Orton vs. Christian, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ "WWE NEWS: New WWE champion at Night of Champions, but for how long?, plus Heyman's new associate, title match results, TNA stars spotlighted, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 17 September 2013.
- ↑ "RAW NEWS: Bryan stripped of WWE Title & title held up, Dusty returns & gets KO'ed, locker room revolt, Ryback/Heyman, new #1 contenders, more post-PPV developments". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 17 September 2013.
- ↑ "BATTLEGROUND PPV RESULTS 10/6 (Hour 3): WWE Title match, power outage situation, Punk vs. Ryback".
- ↑ Waldman, Jon. "Hell in a Cell: The usual suspects end up on top". SLAM! Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-28. สืบค้นเมื่อ 1 November 2013.
- ↑ Asher, Matthew. "Raw: Fallout from Hell in the Cell is very intriguing". SLAM! Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-15. สืบค้นเมื่อ November 14, 2013.
- ↑ Caldwell, James. "WWE S. Series PPV results 11/24 (Hour 3): Orton vs. Big Show main event, Bryan & Punk, PPV-closing face-off". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ November 27, 2013.
- ↑ Howell, Nolan. "TLC: Randy Orton crowned new WWE World Heavyweight Champion". SLAM! Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-16. สืบค้นเมื่อ December 18, 2013.
- ↑ Tucker, Benjamin. "Tucker on Raw 12/2: DVR Guide & Instant Reaction to TLC main event hype & meaningless segments". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ January 2, 2014.
- ↑ Caldwell, James. "Caldwell's WWE Raw results 12/30: Complete "virtual-time" coverage of live 2013 finale – Bryan gives up and gives in, Brock Lesnar returns, Shield shows cracks, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ January 2, 2014.
- ↑ Caldwell, James (2014-01-04). "WWE News: Introducing Daniel Wyatt (w/Pics)". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2014-01-06.
Bryan debuted in a Wyatt Family-style get-up and was introduced as Daniel Wyatt.
- ↑ Meltzer, Dave (2014-01-05). "Notes on Daniel Bryan's new WWE character". Wrestling Observer Newsletter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-08. สืบค้นเมื่อ 2014-01-08.
He was introduced as Daniel Wyatt
- ↑ Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 1/13: Complete "virtual-time" coverage of live Raw – Big show-closing angle involving Daniel Bryan, Hall of Fame, Rumble hype, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ January 14, 2014.
- ↑ Plummer, Dale; Tylwalk, Nick. "Upset fans overshadow Batista's big win at uneven 2014 Royal Rumble". SLAM! Sports: Wrestling. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ January 28, 2014.
- ↑ Folck, Josh. "WWE Royal Rumble: Pittsburgh fans voice displeasure about main events". The Express-Times. Lehigh Valley. สืบค้นเมื่อ January 28, 2014.
- ↑ Tylwalk, Nick. "Raw: The Yes Movement keeps rolling in Cleveland". SLAM! Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-15. สืบค้นเมื่อ February 25, 2014.
- ↑ Asher, Matthew. "Raw: Is there a new "Face" of the WWE?". SLAM! Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-15. สืบค้นเมื่อ March 13, 2014.
- ↑ Tylwalk, Nick. "Raw: Cesaro, Cena shine in Mile High showdown". SLAM! Wrestling. สืบค้นเมื่อ March 13, 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Asher, Matthew. "Wyatts win, Batista bombs and Randy retains at the Elimination Chamber". SLAM! Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-25. สืบค้นเมื่อ February 25, 2014.
- ↑ Tylwalk, Nick. "Raw: Yes, the WrestleMania card gets a big twist". SLAM! Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-13. สืบค้นเมื่อ 13 March 2014.
- ↑ Howell, Nolan. "WrestleMania XXX brings the beginning and end of eras". Slam! Wrestling. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-09. สืบค้นเมื่อ April 9, 2014.
- ↑ "Saturday's ask PWTorch staff: Has WWE celebrated two separate 50 year anniversaries? Is Bryan's main event WM30 an "I told you so" moment for Triple H? Was Vince upset at Punk sitting with Dana White? Why do babyfaces win at house shows?".
- ↑ "Chris Jericho on his New Book, Feud with Bray Wyatt, Relationship with Vince, Triple H and more". Busted Open. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
- ↑ "WWE star Chris Jericho on Vince McMahon rejecting the idea of tattooing C.M. Punk as part of an angle, says Brian Gewirtz is near genius, why he didn't work WrestleMania 30". สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
- ↑ Caldwell, James. "Caldwell's WWE Raw result 4/21: Complete "virtual-time" coverage of live Raw – Return of the Champ leads to injury angle, IC Title #1 contender tourney continues". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ May 6, 2014.
- ↑ Caldwell, James. "Caldwell's Extreme Rules PPV results 5/4: Complete "virtual-time" coverage of live PPV – Bryan vs. Kane, Evolution vs. Shield, Cena vs. Wyatt steel cage match". Pro Wrestling Torch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-06. สืบค้นเมื่อ May 6, 2014.
- ↑ "Daniel Bryan undergoes successful neck surgery". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ May 15, 2014.
- ↑ "WWE Raw: no resolution on world title situation". Wrestling Observer. สืบค้นเมื่อ May 29, 2014.
- ↑ Asher, Matthew. "Shield gets suicidal and Cena looks for some Payback against Wyatt". slam.canoe.ca. SLAM! Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-02. สืบค้นเมื่อ June 2, 2014.
- ↑ Caldwell, James. "Caldwell's WWE Raw results 6/9: Complete "virtual-time" coverage of live Raw – Daniel Bryan's WWE Title status, Cena joins Shield for main event, Bray Wyatt returns, more". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ July 21, 2014.
- ↑ Caldwell, James. "WWE news: News Reports – Daniel Bryan stops home invasion". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ September 18, 2014.
- ↑ Caldwell, James. "Report: The Daniel Bryan Effect – How Bryan's injury absence has affected Raw TV ratings since Extreme Rules, plus comparison to post-Mania Season in past years". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ September 18, 2014.
- ↑ McCarron, Rob. "WWE Raw TV report: Daniel Bryan returns to run the show". Wrestling Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-28. สืบค้นเมื่อ December 2, 2014.
- ↑ Plummer, Dale. "Smackdown!: The New Day dawns on Friday night". Slam! Wrestling. สืบค้นเมื่อ December 2, 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "WWE news: Daniel Bryan makes announcement on Raw". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ 30 December 2014.
- ↑ Taylor, Scott. "Daniel Bryan def. Kane by Disqualification". WWE. สืบค้นเมื่อ 15 January 2015.
- ↑ Taylor, Scott. "Daniel Bryan, Roman Reigns & Dean Ambrose def. Seth Rollins, Big Show & Kane". WWE. สืบค้นเมื่อ 15 January 2015.
- ↑ Burdick, Michael. "Daniel Bryan def. Kane to keep Royal Rumble spot". WWE. สืบค้นเมื่อ 22 January 2015.
- ↑ "Rock's role, crowd response to Rumble winner, Bully Ray returns & other surprise entrants, more". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ 26 January 2015.
- ↑ Schwartz, Nick. "Daniel Bryan was eliminated early from the Royal Rumble and fans are furious". USA Today. สืบค้นเมื่อ 26 January 2015.
- ↑ "WWE Royal Rumble 2015: Live coverage, results, photos, reaction & more". The Plain Dealer. สืบค้นเมื่อ 26 January 2015.
- ↑ Plummer, Dale. "Smackdown!: Daniel Bryan and Kane fight over a casket on a live Smackdown!". Slam! Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-03. สืบค้นเมื่อ 30 January 2015.
- ↑ Clapp, John. "Roman Reigns vs. Daniel Bryan (Winner faces Brock Lesnar at WrestleMania)". WWE. สืบค้นเมื่อ 3 February 2015.
- ↑ Clapp, John. "Roman Reigns vs. Daniel Bryan (Winner faces Brock Lesnar at WrestleMania)". WWE. สืบค้นเมื่อ 3 February 2015.
- ↑ McCarron, Rob. "WWE Raw TV Report: Undertaker's response, Brock Lesnar stands there, Cena vs Rusev official". f4wonline.com. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
- ↑ Plummer, Dale. "Smackdown!: It's all about the Intercontinental Title". Canoe.ca. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Parks, Greg. "WWE SmackDown report 3/12: Ongoing "virtual time" coverage of Thursday show, including a six-man tag match featuring Wrestlemania I.C. Title match participants". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
- ↑ Dominello, Zach. "On WWE: Daniel Bryan, the IC title, the Network and the changing face of wrestling". f4wonline.com. สืบค้นเมื่อ 14 March 2015.
- ↑ Wortman, James. "Daniel Bryan won the Intercontinental Championship Ladder Match". WWE. สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
- ↑ 124.0 124.1 "6 Superstars who have won every active title: Photos". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2015. สืบค้นเมื่อ 4 April 2015.
- ↑ 125.0 125.1 "The new Grand Slam winners: The six Superstars who have won every active championship: Daniel Bryan". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-12. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
- ↑ "Sheamus def. Daniel Bryan by Count-out". WWE.com. April 2, 2015.
- ↑ "Daniel Bryan gets stitches: SmackDown Fallout - April 02, 2015 (1:22)". WWE.com. April 2, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-23. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15.
- ↑ "Daniel Bryan pulled from lineups". prowrestling.net. สืบค้นเมื่อ 29 April 2015.
- ↑ WWE (February 11, 2016). "Daniel Bryan's final match: Daniel Bryan & John Cena vs. Cesaro & Kidd: SmackDown, Apr. 16, 2015". สืบค้นเมื่อ October 19, 2016 – โดยทาง YouTube.
- ↑ Caldwell, James. "WWE Raw results 5/11: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - final Payback PPV hype, D-Bryan announces future, Triple H returns, more developments". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ 12 May 2015.
- ↑ "Daniel Bryan confirms he has been dealing with a concussion, says he will wrestle somewhere even if WWE doesn't clear him". prowrestling.net. สืบค้นเมื่อ 24 July 2015.
- ↑ "Daniel Bryan announces retirement". WWE. February 8, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ February 8, 2016.
- ↑ "WWE star Daniel Bryan is retiring after receiving 'a lot of concussions'". สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
- ↑ "Daniel Bryan to announce his retirement on Raw tonight". Wrestling Observer Newsletter. February 8, 2016. สืบค้นเมื่อ February 8, 2016.
- ↑ "Daniel Bryan on concussions: You have a responsibility to yourself". ESPN. February 9, 2016. สืบค้นเมื่อ February 9, 2016.
- ↑ Raj Giri (June 10, 2016). "The WWE Cruiserweight Classic will be hosted by WWE Legend Daniel Bryan® and the voice of WWE SmackDown® Mauro Ranallo". Wrestling Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-28. สืบค้นเมื่อ June 24, 2016.
- ↑ "Daniel Bryan and Mauro Ranallo to host WWE Cruiserweight Classic". WWE.com. June 22, 2016. สืบค้นเมื่อ July 12, 2016.
- ↑ Caldwell, James (18 July 2016). "Raw Update – WWE announces Raw & SD General Managers". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 20 July 2016.
- ↑ "Daniel Bryan formally cleared by WWE to return to in-ring action". CBCS Sports. สืบค้นเมื่อ March 20, 2018.
- ↑ Barnett, Jake. "3/20 Barnett's WWE Smackdown Live TV Review". prowrestling.net. สืบค้นเมื่อ 21 March 2018.
- ↑ Barnett, Jake. "3/27 Barnett's WWE Smackdown Live TV Review: Daniel Bryan's second week back, Bludgeon Brothers vs. New Day, Randy Orton and Bobby Roode vs. Jinder Mahal and Sunil Singh". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ March 27, 2018.
- ↑ Burdick, Michael. "Daniel Bryan & Shane McMahon vs. Kevin Owens & Sami Zayn". WWE. สืบค้นเมื่อ March 27, 2018.
- ↑ "WrestleMania 34 Results – 4/8/18 (Reigns vs. Lesnar, Styles vs. Nakamura, Rousey)". Wrestleview. April 8, 2018. สืบค้นเมื่อ April 8, 2018.
- ↑ Shane McMahon names Paige the new GM of SmackDown: SmackDown LIVE, April 10, 2018, WWE, April 10, 2018, สืบค้นเมื่อ April 10, 2018
- ↑ Keller, Wade (April 10, 2018). "KELLER'S WWE SMACKDOWN REPORT 4/10: WrestleMania 34 fallout, Daniel Bryan vs. A.J. Styles, new G.M. announced, Tag Team Contenders decided". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ April 10, 2018.
- ↑ Powell, Jason. "4/10 Powell's WWE Smackdown Live TV Review: AJ Styles vs. Daniel Bryan, Paige named new general manager, New Day vs. The Usos for a Smackdown Tag Title shot at the Greatest Royal Rumble". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ April 10, 2018.
- ↑ "Daniel Bryan sets Royal Rumble Match record". WWE (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-04-28.
- ↑ "WWE Extreme Rules Results – 7/15/18". Wrestleview. July 15, 2018. สืบค้นเมื่อ July 16, 2018.
- ↑ Powell, Jason. "Powell's WWE SummerSlam 2018 live review: Brock Lesnar vs. Roman Reigns for the WWE Universal Championship, AJ Styles vs. Samoa Joe for the WWE Championship, Alexa Bliss vs. Ronda Rousey for the Raw Women's Championship, Daniel Bryan vs. The Miz". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018.
- ↑ Powell, Jason. "Powell's WWE Super Show-Down live review: Undertaker vs. Triple H for the final time, AJ Styles vs. Samoa Joe in a no DQ, no count-out match for the WWE Title, The Shield vs. Braun Strowman, Drew McIntyre, and Dolph Ziggler, Becky Lynch vs. Charlotte for the Smackdown Women's Title". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ October 6, 2018.
- ↑ Barnett, Jake (November 13, 2018). "11/13 Barnett's WWE Smackdown Live TV Review: WWE Survivor Series shakeup due to Becky Lynch's injury, New Day vs. Big Show, Sheamus, and Cesaro, the final push for Sunday's event". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ November 13, 2018.
- ↑ Lambert, Jeremy (April 18, 2019). "Report: Daniel Bryan Dealing With An Undisclosed Injury; Sheamus Off TV Due To A Concussion". Fightful. สืบค้นเมื่อ May 7, 2019.
- ↑ Barnett, Jake (May 7, 2019). "5/7 WWE Smackdown Live Results: Barnett's review of The Usos vs. Daniel Bryan and Rowan for the vacant Smackdown Tag Titles, Raw wrestlers appear, Ali vs. Andrade, Carmella and Ember Moon vs. Mandy Rose and Sonya Deville". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ May 8, 2019.
- ↑ Barnett, Jake. "9/24 WWE Smackdown Live Results: Barnett's review of the last USA Network broadcast, Roman Reigns and Daniel Bryan meet to clear the air, Sasha Banks and Bayley vs. Charlotte Flair and Carmella, the build to HIAC continues". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ September 24, 2019.
- ↑ Powell, Jason (November 15, 2019). "11/15 WWE Friday Night Smackdown results: Powell 's review of Big E and Kofi Kingston vs. The Revival for the Smackdown Tag Titles, Daniel Bryan on Miz TV, Bayley vs. Nikki Cross, Mustafa Ali and Shorty G put their Team Smackdown spots on the line vs. Robert Roode and Dolph Ziggler". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ November 16, 2019.
- ↑ Powell, Jason (December 15, 2019). "Powell's WWE TLC live review: The Kabuki Warriors vs. Becky Lynch and Charlotte Flair vs Asuka in a TLC match for the Smackdown Tag Titles, Roman Reigns vs. King Corbin in a TLC match, Bray Wyatt vs. The Miz, Rusev vs. Bobby Lashley in a tables match". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ December 15, 2019.
- ↑ Powers, Kevin (January 26, 2020). "Universal Champion "The Fiend" Bray Wyatt def. Daniel Bryan". WWE. สืบค้นเมื่อ January 26, 2020.
- ↑ Powell, Jason (February 21, 2020). "2/21 WWE Friday Night Smackdown results: Powell's review of Goldberg's appearance, Naomi vs. Carmella for a shot at the Smackdown Women's Championship at WWE Super ShowDown, eight-man tag match, The Bellas on A Moment of Bliss". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ March 7, 2020.
- ↑ Powell, Jason (March 8, 2020). "WWE Elimination Chamber results: Powell's live review of Shayna Baszler vs. Asuka vs. Ruby Riott vs. Liv Morgan vs. Sarah Logan vs. Natalya in an Elimination Chamber match for a shot at the Raw Women's Championship at WrestleMania 36, Smackdown Tag Title Elimination Chamber match". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ March 8, 2020.
- ↑ Powell, Jason (March 13, 2020). "3/13 WWE Friday Night Smackdown results: Powell's review of John Cena's appearance, Jeff Hardy's return, Daniel Bryan vs. Cesaro, Bayley and Sasha Banks vs. Alexa Bliss and Nikki Cross, no fans in attendance at the WWE Performance Center". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ March 28, 2020.
- ↑ Powell, Jason (March 27, 2020). "3/27 WWE Friday Night Smackdown results: Powell's review of Big E and Kofi Kingston vs. The Usos for shot at the Smackdown Tag Titles at WrestleMania, Drew Gulak vs. Shinsuke Nakamura, Asuka vs. Alexa Bliss, Bray Wyatt's Firefly Funhouse". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ March 28, 2020.
- ↑ Powell, Jason (April 11, 2021). "WrestleMania 37 results: Powell's live review of night two with Roman Reigns vs. Edge vs. Daniel Bryan in a Triple Threat for the WWE Universal Championship, Asuka vs. Rhea Ripley for the Raw Women's Championship, Big E vs. Apollo Crews in a Nigerian Drum Fight for the IC Title". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ April 11, 2021.
- ↑ "SmackDown results, April 30, 2021: Reigns bars Bryan from SmackDown and hits him with a post-match Con-Chair-To". WWE (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
- ↑ Powell, Jason (September 5, 2021). "AEW All Out results: Powell's live review of CM Punk vs. Darby Allin, The Young Bucks vs. The Lucha Bros in a cage match for the AEW Tag Titles, Kenny Omega vs. Christian Cage for the AEW Title, Britt Baker vs. Kris Statlander for the AEW Women's Title, Chris Jericho vs. MJF". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ September 5, 2021.
- ↑ Powell, Jason (August 25, 2024). "AEW All In results: Powell's live review of Swerve Strickland vs. Bryan Danielson for the AEW World Championship, Toni Storm vs. Mariah May for the AEW Women's Championship". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ August 25, 2024.
- ↑ Luis Pulido (October 12, 2024). "AEW WrestleDream (10/12/2024) Results: Bryan Danielson vs Jon Moxley, Will Ospreay, Mariah May, More". Fightful.com. สืบค้นเมื่อ October 13, 2024.
- ↑ "Wrestling Road Diaries DVD Trailer". Wrestleview. สืบค้นเมื่อ 8 October 2013.
- ↑ "Total Divas Brie Bella and WWE Superstar Daniel Bryan Get Engaged – See the Ring!". E! Network.
- ↑ "American Dragon Bryan Danielson interview". สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
- ↑ Alvarez, Bryan. "2007 Bryan Danielson interview". Figure 4 Weekly. สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.
- ↑ 171.0 171.1 Ocal, Arda. "'Incredible' support from fans has WWE superstar Daniel Bryan primed for Extreme Rules (Page 2)". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-09. สืบค้นเมื่อ 29 April 2012.
- ↑ "ROH Wrestling". ROH Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2012-06-10.
- ↑ "Delirious head trainer". Ring of Honor. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-10. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
- ↑ "Vegan WWE Superstar Daniel Bryan". Peta. 2011-04-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2011-06-23.
- ↑ "AOW 68: Daniel Bryan « Art Of Wrestling". Tsmradio.com. 2011-11-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-24. สืบค้นเมื่อ 2012-06-10.
- ↑ "Bryan tops pro athletes for PETA award". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 19 January 2012.
- ↑ "peta2 names Bryan "Most Animal-Friendly Athlete"". WWE.
Last Friday, Mayor Micah Cawley of Yakima, Wash., declared Jan. 13 “Daniel Bryan Day” in honor of The Submission Specialist, who hails from nearby Aberdeen, Wash.
- ↑ Martin, Adam (15 September 2012). "Daniel Bryan on no longer being vegan, Jerry Lawler". WrestleView. สืบค้นเมื่อ 15 September 2012.
- ↑ Daniel Bryan (July 30, 2011). "Tweet Number 97214858474422272". Twitter. สืบค้นเมื่อ October 31, 2014.
@tarynlove77 It's vitiligo, not any artificial patch, which is an autoimmune disease you can look up on Wikipedia.
- ↑ Mazzarone, Mike. "Interview: WWE's Daniel Bryan Talks James Hetfield, Vince McMahon, Triple H & Brock Lesnar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-12. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
- ↑ "Online effort to help 6-year-old fighting brain cancer meet WWE star succeeds". WXPI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-13. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
- ↑ Noel, Carly. "Pittsburgh boy battling cancer meets hero, WWE star Daniel Bryan". WXPI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-19. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
- ↑ "Video: Local boy fighting cancer reunited with WWE star". WXPI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-13. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
- ↑ 184.0 184.1 Ryan, Nathan. "WWE superstar Daniel Bryan opens up on winning the championship and losing loved ones". Fox Sports. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
- ↑ Kirk, Kamala. "Total Divas' Brie Bella and WWE Superstar Daniel Bryan Are Married – See the Wedding Pics!". E! Online. สืบค้นเมื่อ 12 April 2014.
- ↑ "WWE newswire: Bryan & Brie wedding details, who attended?; Ultimate Warrior Saturday updates, Batista DVD cover art". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ 26 July 2014.
- ↑ "Daniel Bryan's father passes away". WWE Official Website. 21 April 2014. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
- ↑ "WWE Superstar Daniel Bryan apprehends burglar with rear naked chokehold". The Independent. July 26, 2014. สืบค้นเมื่อ December 31, 2014.
- ↑ "Yes! Former WWE champ catches suspected burglar, leads to more arrests". KSAZ-TV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-01. สืบค้นเมื่อ January 1, 2015.
- ↑ "Triple H, Daniel Bryan, Cesaro and Seth Rollins on WWE's signing of Kenta". WWE Official Website. 17 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-14. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.
- ↑ "WWE superstar Daniel Bryan reveals which EPL club he supports". Fox Sports. 23 January 2011. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.
- ↑ "WWE News: Daniel Bryan Reveals Who He Is Voting For, AJ Styles, Becky Lynch & More Set For Wizard World". 411MANIA. สืบค้นเมื่อ September 29, 2016.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (November 13, 2021). "AEW World Championship Eliminator Tournament (2021)". Cagematch – The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ November 14, 2021.
- ↑ "All Pro Wrestling Title Histories". titlehistories.com. สืบค้นเมื่อ July 11, 2008.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (June 16, 2002). "APW Worldwide Internet Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "All Pro Wrestling 2001 Results". All Pro Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2011. สืบค้นเมื่อ July 8, 2009.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (May 6, 2003). "ASW World Mid-Heavyweight Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "Matches « World Mid-Heavyweight Title Tournament « Tournaments Database « CAGEMATCH – The Internet Wrestling Database". www.cagematch.net.
- ↑ 199.0 199.1 Silverstein, Adam (December 26, 2018). "The Man comes around: Becky Lynch breaks out for WWE as the 2018 Wrestler of the Year". CBS Sports.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (September 12, 2009). "CTWE Heavyweight Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "Solie's Title Histories: ECWA – EAST COAST WRESTLING ASSOCIATION". www.solie.org.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (April 7, 2001). "ECWA Tag Team Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "Results Of Year End Awards". Evolve. January 4, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2011. สืบค้นเมื่อ January 6, 2011.
- ↑ "NWA Junior Heavyweight Championship". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 22, 2009. สืบค้นเมื่อ July 8, 2009.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (October 12, 2001). "NWA Canadian Junior Heavyweight Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (January 14, 2006). "FIP Heavyweight Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "Matches « Expo 2008 Tournament « Tournaments Database « CAGEMATCH – The Internet Wrestling Database". www.cagematch.net.
- ↑ "IWA Summer Attiude [sic] Results: Bryan Danielson Wins Gold". July 19, 2010. สืบค้นเมื่อ September 16, 2012.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (July 17, 2010). "IWA Puerto Rico Heavyweight Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (August 12, 2000). "MCW Southern Light Heavyweight Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (December 1, 2000). "MCW Southern Tag Team Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "NWA Southern Junior Heavyweight Championship". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2008. สืบค้นเมื่อ July 8, 2009.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (September 1, 2000). "NWA Southern Junior Heavyweight Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (March 12, 2004). "IWGP Junior Heavyweight Tag Team Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "PuroresuMission R (Reborn, Return, Revolution)". Puroresumission.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2010. สืบค้นเมื่อ June 10, 2012.
- ↑ Westcott, Brian. "PWG – Pro Wrestling Guerrilla PWG Heavyweight Title History". Solie. สืบค้นเมื่อ July 27, 2008.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (July 29, 2007). "PWG World Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "AJ Styles y Becky Lynch lideran los premios PWI 2018". Súper Luchas. January 2, 2019. สืบค้นเมื่อ March 17, 2019.
- ↑ 219.0 219.1 219.2 219.3 219.4 "PWI Awards". Pro Wrestling Illustrated. Kappa Publishing Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 21, 2016. สืบค้นเมื่อ April 22, 2017.
- ↑ "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 2014". Pro Wrestling Illustrated. The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ December 2, 2014.
- ↑ Wilson, Kevin (July 1, 2009). "Bryan Danielson". Puroresu Central. สืบค้นเมื่อ July 6, 2009.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (September 14, 2008). "GHC Junior Heavyweight Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "Ring Of Honor Pure Championship". Ring of Honor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2010. สืบค้นเมื่อ April 5, 2010.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (August 12, 2006). "ROH Pure Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (September 17, 2005). "ROH World Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "Bryan Danielson Inducted into Inaugural ROH Hall of Fame Class". Ring of Honor. February 7, 2022. สืบค้นเมื่อ February 7, 2022.
- ↑ "The Week in Wrestling: Top 10 Men's Wrestlers of 2018". Sports Illustrated. January 3, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 12, 2019.
- ↑ Barrasso, Justin. "The Top 10 Wrestlers of 2021". Sports Illustrated (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-02-02.
- ↑ Hoops, Brian (March 21, 2020). "Daily pro wrestling history (03/21): Flair vs. Fujinami at WCW/NJPW Supershow". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ March 22, 2020.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (March 21, 2000). "TWA Tag Team Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ Kreikenbohm, Philip. "TWE Heavyweight Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "wXw World Heavyweight Title". Westside Xtreme Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 9, 2012. สืบค้นเมื่อ May 11, 2010.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (March 7, 2009). "wXw World Heavyweight Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ Pulsone, Mario. "WSW – World Series Wrestling WSW Heavyweight Title History". Solie. สืบค้นเมื่อ July 3, 2008.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (June 1, 2007). "WSW Heavyweight Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "Daniel Bryan's first WWE Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2013. สืบค้นเมื่อ March 21, 2015.
- ↑ "Daniel Bryan's second WWE Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 20, 2016. สืบค้นเมื่อ March 21, 2015.
- ↑ "Daniel Bryan's third WWE World Heavyweight Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2014. สืบค้นเมื่อ March 21, 2015.
- ↑ Pappolla, Ryan (November 13, 2018). "Daniel Bryan def. AJ Styles to win the WWE Championship". WWE. สืบค้นเมื่อ November 13, 2018.
- ↑ Kreikenbohm, Philip. "WWE Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (December 18, 2011). "World Heavyweight Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "Intercontinental Championship – Daniel Bryan". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2015. สืบค้นเมื่อ March 29, 2015.
- ↑ "WWE Intercontinental Championship". สืบค้นเมื่อ August 5, 2020.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (August 18, 2013). "WWE Intercontinental Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "Daniel Bryan's first United States Championship reign". World Wrestling Entertainment. September 19, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2010. สืบค้นเมื่อ October 25, 2010.
- ↑ "WWE United States Championship". สืบค้นเมื่อ May 25, 2020.
- ↑ Kreikenbohm, Philip. "WWE United States Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "Team Hell No's first WWE Tag Team Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2015. สืบค้นเมื่อ March 21, 2015.
- ↑ Kreikenbohm, Philip. "WWE Tag Team Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "WWE SmackDown Tag Team Championships". WWE. สืบค้นเมื่อ July 11, 2019.
- ↑ Kreikenbohm, Philip. "WWE SmackDown Tag Team Championship". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "Daniel Bryan wins the Smack Down Money in the Bank Ladder Match". WWE. สืบค้นเมื่อ July 17, 2011.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (July 17, 2011). "Money in the Bank (SmackDown 2011)". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ October 10, 2020.
- ↑ "The Top 25 Matches of 2019". WWE. December 30, 2019. สืบค้นเมื่อ January 1, 2020.
- ↑ "411's Wrestler of the Week – Rollins Takes WOTY". 411Mania. สืบค้นเมื่อ March 31, 2015.
- ↑ 256.0 256.1 256.2 "2013 Slammy Award winners". WWE. December 8, 2013. สืบค้นเมื่อ March 21, 2015.
- ↑ 257.0 257.1 "WWE News: Full list of 2010 Slammy Awards, 10 announced on WWE's website". Pro Wrestling Torch. December 13, 2010. สืบค้นเมื่อ December 17, 2010.
- ↑ 258.0 258.1 Laboon, Jeff (December 8, 2014). "2014 Slammy Award winners". WWE. สืบค้นเมื่อ March 21, 2015.
- ↑ 259.0 259.1 259.2 "Slammy award winners voted by WWE.com". Wrestling Observer Newsletter. December 16, 2012. สืบค้นเมื่อ March 21, 2015.
- ↑ 260.0 260.1 Caldwell, James (December 9, 2013). "WWE news: Complete list of "Slammys" winners during Raw". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ March 21, 2015.
- ↑ "2012 WWE Slammy Awards and WWE.com Slammy Awards winners". WWE. December 16, 2012. สืบค้นเมื่อ March 21, 2015.
- ↑ Alvarez, Bryan (March 15, 2018). "WOR: 2017 WRESTLING OBSERVER NEWSLETTER AWARDS DISCUSSION AND MORE!". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ March 15, 2018.
- ↑ "BONUS SHOW: Wrestling Observer Newsletter Awards". Post Wrestling. March 17, 2019. สืบค้นเมื่อ March 23, 2019.
- ↑ 264.0 264.1 Meltzer, Dave (January 25, 2016). "January 25, 2016 Wrestling Observer Newsletter: 2015 Observer Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California: 48. ISSN 1083-9593.
- ↑ 265.0 265.1 265.2 Meltzer, Dave (January 26, 2011). "Biggest issue of the year: The 2011 Wrestling Observer Newsletter Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, CA: 1–40. ISSN 1083-9593.
- ↑ Meltzer, Dave (February 10, 2016). "February 15, 2016 Wrestling Observer Newsletter: Daniel Bryan Retires". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California. ISSN 1083-9593.
- ↑ Meltzer, Dave (January 27, 2014). "January 27, 2014 Wrestling Observer Newsletter: 2013 Annual awards issue, best in the world in numerous categories, plus all the news in pro-wrestling and MMA over the past week and more". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California. ISSN 1083-9593. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2020. สืบค้นเมื่อ May 6, 2015.
- ↑ Meltzer, Dave (February 18, 2022). "February 21, 2022 Observer Newsletter: 2021 Awards issue, Cody and Brandi Rhodes leave AEW". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ February 18, 2022.
- ↑ Jaymond P (February 24, 2023). "2022 Wrestling Observer Awards Results". WrestlePurists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2023. สืบค้นเมื่อ March 4, 2023.
- ↑ Meltzer, Dave (February 2023). "February 2023 Wrestling Observer Newsletter: Results of the 2022 Wrestling Observer Newsletter Awards". Wrestling Observer Newsletter.
- ↑ Meltzer, Dave (February 23, 2024). "February 26, 2024 Observer Newsletter: 2023 Observer Awards issue". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ February 23, 2024.
- ↑ Beltrán, William (August 3, 2010). "Según el Wrestling Observer… ¿Quiénes son los mejores los mejores de la década?". Superluchas (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ October 30, 2015.
- ↑ Meltzer, Dave (November 30, 2016). "December 5, 2016 Wrestling Observer Newsletter: Wrestling Observer Hall of Fame with 4 inductees". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ December 1, 2016.
- ↑ Caldwell, James (January 18, 2012). "Bryan tops pro athletes for PETA award". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ March 21, 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Daniel Bryan ที่ WWE.com
- Bryan Danielson ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส