เรย์ มิสเตริโอ
ออสการ์ เกอติเอเรส์ รูบีโอ (Oscar Gutierrez Rubio)[1] เกิด 11 ธันวาคม ค.ศ. 1974 ที่ แซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันที่รู้จักกันดีในชื่อ เรย์ มิสเตริโอ (Rey Mysterio)[11][12][13][14] เป็นแชมป์โลก WWE 3 สมัยและได้รับการเสนอชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศ WWE Hall of Fame ประจำปี 2023[15]
เรย์ มิสเตริโอ | |
---|---|
ชื่อเกิด | Óscar Gutiérrez[1][2] |
เกิด | [3] Chula Vista, California, United States[4] | ธันวาคม 11, 1974
คู่สมรส | Angie Gutierrez (สมรส 1996) |
บุตร | 2 |
ญาติพี่น้อง | Rey Misterio (uncle) El Hijo de Rey Misterio (cousin) |
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ | |
ชื่อบนสังเวียน | Colibrí[5][5] El Nino[6] La Lagartija Verde Rey Misterio II[6] Rey Misterio Jr.[7] Rey Mysterio Jr.[8][5] Rey Mysterio |
ส่วนสูง | 5 ฟุต 6 นิ้ว (168 เซนติเมตร)[9] |
น้ำหนัก | 175 ปอนด์ (79 กิโลกรัม)[9] |
มาจาก | San Diego, California[9] |
ฝึกหัดโดย | Rey Misterio[5] |
เปิดตัว | April 30, 1989[10] |
ประวัติ
แก้เรย์เป็นนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันเชื้อสายเม็กซิกัน เขาเป็นนักมวยปล้ำตัวเล็กที่สามารถเอาชนะนักมวยปล้ำที่ตัวใหญ่กว่าได้ด้วยท่าลีลาการปล้ำสไตล์เม็กซิกัน มีท่าทางผาดโผนได้หลายรูปแบบ ทำเอาคนดูลุ้นไปตามๆกัน
เขาพูดภาษาอังกฤษ และภาษาสเปน ได้ เพลงเปิดตัวจึงเป็น ภาษาสเปน เป็นส่วนใหญ่ (บางเวอร์ชันเป็นภาษาอังกฤษแบบเม็กซิกัน)
- ท่าไม้ตาย : 619 (ซิก-วัน-ไนน์ ตั้งตามรหัสพื้นที่ของเมือง ซานดีเอโก), West Coast Pop
- บ้านเกิด : แซนดีเอโก, รัฐแคลิฟอร์เนีย
- เชื้อสาย : เม็กซิกัน
- ภาษา : อังกฤษ, ประเทศอยุธยา
- น้ำหนัก : 155 ปอนด์
- ส่วนสูง : 168 เซนติเมตร (5 ฟุต 6 นิ้ว)
เรย์ได้ปล้ำใน WWE ครั้งแรก เมื่อปี 2002 กับชาโว เกร์เรโร เขาก็เอาชนะได้สำเร็จ[16] ปี 2003 เรย์ได้มีโอกาสชิงแชมป์ครูย์เซอร์เวทจากแมทท์ ฮาร์ดีอยู่หลายครั้ง โดยผ่านด่านทดสอบของแมทท์คือการที่จะต้องปล้ำแบบ 2 รุม 1 โดยมีแชนอน มัวร์ กับแครช ฮอลลี ลูกน้องคู่ V1 ของแมทท์ แต่เรย์ก็เอาชนะได้ทั้งที่บาดเจ็บเส้นเอ็นพลิกที่ต้นขา[17] ปี 2005 เรย์ได้คว้าแชมป์แท็กทีม WWE ร่วมกับเอ็ดดี เกร์เรโร แต่ไม่นานก็แตกทีมกันและได้กลายเป็นศัตรูกัน ซึ่งได้ปล้ำกันอยู่หลายต่อหลายแมตช์ เรย์ก็เอาชนะไปได้ทุกครั้ง เมื่อเอ็ดดีไม่มีหนทางที่จะชนะจึงออกมาแฉว่าลูกชายของเรย์คือโดมินิกว่าไม่ใช่ลูกของเรย์ แต่เป็นลูกของเอ็ดดี และได้มีเรื่องกับเรย์จนยาวนาน สุดท้ายเรย์ก็เอาชนะเอ็ดดีมาได้ ในแมตช์ชิงการเป็นผู้ปกครองของโดมินิก ในซัมเมอร์สแลม 2005 เรย์ก็เอาชนะมาได้อีกครั้ง ก่อนที่จะแพ้ให้กับเอ็ดดีเป็นครั้งแรกในแมตซ์กรงเหล็กในสแมคดาวน์ เนื่องจากเรย์ไม่สามารถใช้ท่าไม้ตาย 619 ได้ เพราะติดกรงเหล็ก
เรย์ได้เป็นความหวังของตระกูลเกร์เรโรที่จะได้เป็นแชมป์โลกคนต่อไป หลังจากที่เอ็ดดีได้เสียชีวิตลง เนื่องจากเรย์เป็นนักมวยปล้ำชาวอเมริกันเชื้อสายเม็กซิกันที่ยังมีผลงานที่ดีอยู่ เรย์จึงเอาชนะทริปเปิลเอชและแรนดี ออร์ตันในแมตช์รอยัลรัมเบิล (2006) โดยอยู่บนเวทีได้นานถึง 62 นาที[18] ทำให้ได้ไปท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 22 และเอาชนะเคิร์ต แองเกิลกับแรนดี ออร์ตัน คว้าแชมป์โลกสมัยแรกได้สำเร็จ[19] ในเดอะเกรทอเมริกันแบช 2006 เรย์ก็เสียแชมป์ให้บูเกอร์ ที จากการหักหลังของชาโว และในเดือนตุลาคม ทั้งคู่ได้เจอกันใน I Quit Match ผลปรากฏว่าชาโวได้จับเรย์แขวนไว้กับเสาเหล็กและใช้เก้าอี้ตีเข่าเรย์จนต้องตะโกนยอมแพ้[20] หลังจากนั้นเรย์ก็ต้องพักการปล้ำไปนานเกือบปีจากอาการบาดเจ็บที่หัวเข่า[21] สุดท้ายเรย์ก็กลับมาแก้แค้นได้สำเร็จด้วยการเอาชนะชาโวได้อีกครั้งในซัมเมอร์สแลม 2007[22] ต่อมาเรย์ได้เปิดศึกท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทจากเอดจ์ ถึง 2 ครั้ง เนื่องจากวิกกี เกร์เรโรกับเคิร์ต ฮอว์กินส์และแซค ไรเดอร์ พยายามที่จะรบกวนการปล้ำอยู่เสมอ[23] แถมมีอารการปวดกล้ามเนื้อไบเส็บด้วย ทำให้มีอุปสรรคในการปล้ำมากขึ้นซ้ำร้าย บิ๊กโชว์ออกมาทำร้ายอีก จนทำให้เรย์ต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาเป็นการด่วน[24][25] ในช่วงเดือนมิถุนายน เรย์ได้กลับมาอีกครั้งหลังจากรักษาแผลกล้ามเนื้อหายดีแล้ว เขาก็ถูกดราฟท์ไปสังกัดรอว์ในทันที[26]
ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 เรย์สามารถคว้าแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัลได้จากเจบีแอล โดยใช้เวลาเพียง 21 วินาทีเท่านั้น[27] ในเดือนพฤษภาคม 2009 เรย์ก็ได้ถูกดราฟท์กลับมาที่สแมคดาวน์[28] และเสียแชมป์อินเตอร์ให้คริส เจริโคในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2009) โดยถูกเจริโคใช้กลโกงดึงหน้ากากของเรย์ออกมา ในเดอะแบช (2009)เรย์ก็เอาแชมป์คืนจากเจริโคได้ ก่อนเสียแชมป์ในสแมคดาวน์เดือนกันยายนต่อมา ในแบรกกิ้ง ไรท์ส (2009) เรย์ได้ปล้ำแมตช์ 4 เส้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทจากดิอันเดอร์เทเกอร์ร่วมด้วยบาทิสตาและซีเอ็ม พังก์ ซึ่งอันเดอร์เทเกอร์เป็นฝ่ายป้องกันแชมป์ไว้ได้ ทำให้บาทิสตาโมโหจึงทำร้ายเรย์ จากนั้นก็ประกาศตัดเพื่อนกับเรย์และกลายเป็นฝ่ายอธรรม[29] ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2009) เรย์ได้เจอกับบาทิสตาและผลปรากฏว่าบาทิสตาเป็นฝ่ายชนะ หลังจากนั้นเรย์ก็จัดการกับบาทิสตา และเอาชนะมาได้ในระยะหลัง และขัดขวางไม่ให้บาทิสตาได้ชิงแชมป์โลกกับคนอื่นอีกด้วย[30] ต่อมาเรย์ได้เปิดศึกกับซีเอ็ม พังก์ และท้าเจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 เรย์ก็เอาชนะมาได้ และได้รีแมตช์กันในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2010) โดยถ้าเรย์ชนะ พังก์ต้องโดนตัดผม แต่เรย์ก็แพ้ไป ในโอเวอร์เดอะลิมิต (2010) เรย์ได้เจอกับพังก์อีกครั้ง โดยถ้าเรย์ชนะ พังก์ต้องโดนตัดผม แต่ถ้าเรย์แพ้ต้องเข้ามาอยู่กลุ่มสเตรจต์เอดจ์โซไซตี้ สุดท้ายเรย์เป็นฝ่ายชนะและตัดผมของพังก์จนหัวล้าน[31]
เรย์ได้คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวทอีกครั้งเป็นสมัยที่2 จากแจ็ก สแวกเกอร์ ในไฟเทิลโฟร์เวย์ (2010) ในการปล้ำ 4 เส้า ร่วมด้วยซีเอ็ม พังก์ และบิ๊กโชว์ แต่ครองแชมป์ได้เพียงแค่เดือนเดียวก็เสียแชมป์ให้เคน เพราะว่าหลังจากเรย์ชนะสแวกเกอร์ไปแล้ว แต่เคนกับใช้สิทธิ์กระเป๋า Money In The Bank ในสภาพที่ไม่พร้อมปล้ำและรวมทั้งขาของเรย์ที่ยังเจ็บอยู่ ทำให้พ่ายแพ้เสียแชมป์ไป ในสแมคดาวน์ เรย์ได้เอาชนะสแวกเกอร์ ได้สิทธิ์ผู้ท้าชิงอันดับ1 ในการชิงแชมป์โลกจากเคนในซัมเมอร์สแลม (2010) แต่ก็ไม่สามารถเอาแชมป์คืนมาได้ ต่อมาได้เปิดศึกกับอัลเบร์โต เดล รีโอ ซึ่งเรย์ถูกเดล รีโอเล่นงานที่แขนซ้ายจนต้องพักการปล้ำ[32][33] แต่ไม่นานเรย์ก็กลับมาเอาคืนเดล รีโอ ด้วยการเอาชนะและทำลายสถิติไร้พ่ายของเดล รีโอตั้งแต่ที่เข้ามาปล้ำใน WWE[34] ในแบรกกิ้ง ไรท์ส (2010) เรย์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของทีมสแมคดาวน์เอาชนะทีมรอว์ได้ ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2010)ทีมของเรย์เอาชนะทีมของเดล รีโอไปได้ ในทีแอลซี (2010) เรย์ได้ปล้ำ 4 เส้ากับ เคน, เดล รีโอ และเอดจ์ ใน TLC Match ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท สุดท้ายเอดจ์เป็นฝ่ายคว้าแชมป์ไปได้ ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2011) เรย์ได้ปล้ำอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ แมทช์ ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท โดยเอดจ์เจ้าของแชมป์ป้องกันไว้ได้
เรย์ได้เปิดศึกกับโคดี โรดส์และท้าเจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 โดยเรย์เป็นฝ่ายแพ้[35] ต่อมาเรย์ได้ย้ายไปอยู่รอว์ จากผลการดราฟท์ ในรอว์ 25 เมษายน ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2011)เรย์สามารถเอาชนะโคดีในแมตช์จับกดที่ไหนก็ได้และล้างแค้นโคดีได้สำเร็จ[36] ในรอว์ เรย์ได้ปล้ำสามเส้ากับเดอะมิซและอัลเบร์โต เดล รีโอ เพื่อหาผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์ WWE กับจอห์น ซีนา ใน I Quit Match ในโอเวอร์ เดอะ ลิมิต (2011) ซึ่งเดอะมิซเป็นฝ่ายชนะ หลังแมตช์อาร์-ทรูธได้มาลอบทำร้ายเรย์ ต่อมาเรย์ได้ขอท้าเจอกับทรูธ ในโอเวอร์เดอะลิมิต แต่เรย์ก็เป็นฝ่ายแพ้ไป[37] ในแคปิเทล พูนิชเมนท์ เรย์ได้แพ้ให้ซีเอ็ม พังก์[38] ในรอว์ 25 กรกฎาคม เรย์ได้เจอกับเดอะมิซ ผู้ชนะก็จะได้แชมป์ WWE ทันที สุดท้ายเรย์ได้เป็นผู้ชนะและคว้าแชมป์ WWE เป็นสมัยแรกมาได้สำเร็จ คืนเดียวกัน เรย์ต้องป้องกันแชมป์กับจอห์น ซีนา สุดท้ายเรย์ก็เสียแชมป์ให้กับซีนา ในรอว์ 15 สิงหาคม เรย์ได้ชิงแชมป์ WWE กับอัลเบร์โต เดล รีโอ เจ้าของตำแหน่ง สุดท้ายเรย์ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้ หลังแมตช์ เดล รีโอได้ลอบทำร้ายเรย์จนได้รับบาดเจ็บ แต่ซีนาออกมาขัดขวางเอาไว้ หลังจากนั้น เรย์ก็ต้องพักการปล้ำยาวนานหลายเดือน[39] ในรอว์ 12 ธันวาคม เรย์ได้ออกมาปรากฏตัวและประกาศมอบรางวัลสแลมมีอวอร์ด ซุปเปอร์สตาร์แห่งปี ถึงแม้อาการบาดเจ็บของเรย์ยังไม่หายดี[40] วันที่ 26 เมษายน 2012 เว็บไซต์ WWE.com ได้ประกาศว่าเรย์ถูกแบนเป็นเวลา 60 วัน หลังจากไม่ผ่านการตรวจสุขภาพตามระเบียบการของสมาคม สำหรับการฝ่าฝืนระเบียบการของสมาคม ซึ่งเป็นการถูกแบนครั้งที่สองแล้ว ถ้าหากมีครั้งที่สามเมื่อไหร่ เรย์จะถูกไล่ออกในทันที[41]
ในรอว์ 16 กรกฎาคม 2012 อัลเบร์โต เดล รีโอกำลังเล่นงานแซค ไรเดอร์ ด้วยท่า Cross ArmBreaker เรย์ได้กลับมาล้างแค้นเดล รีโอด้วย 619 จนหนีไป[42] ในสแมคดาวน์ 20 กรกฎาคม เรย์ได้จับคู่กับเชมัส เจอกับเดล รีโอ และ ดอล์ฟ ซิกก์เลอร์ สุดท้ายเรย์กับเชมัส ชนะฟาล์ว หลังแมตช์ เดล รีโออัดเชมัสแล้วต่อด้วย Cross ArmBreaker แล้วจากไปปล่อยให้ซิกก์เลอร์เอากระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ มาใช้สิทธิ์ แต่เรย์มาใส่ท่า 619 เล่นงานใส่ซิกก์เลอร์ ช่วยเชมัสไว้ได้ เชมัสเลยใส่ท่า โบรก คิก ปิดรายการไป[43] ในรอว์ ตอนที่ 1,000 เรย์ได้จับคู่กับเชมัส และซินคารา เอาชนะเดล รีโอ, ซิกก์เลอร์ และคริส เจริโคไปได้ ในซัมเมอร์สแลม (2012) เรย์ได้ชิงแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัลกับเดอะมิซ แต่เรย์ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้[44] ในรอว์ 10 กันยายน เรย์ได้แพ้ให้โคดี โรดส์ หลังแมตช์เดอะมิซขึ้นมาเยาะเย้ยเรย์ แล้วจะจับ Skull-Crushing Finale แต่โคดีเข้ามาจับมิซใส่ CrossRhodes แล้วก็หยิบเข็มขัดแชมป์อินเตอร์ขึ้นมาชู ในสแมคดาวน์ 14 กันยายน ทีโอดอร์ ลองได้จัดแมตช์ 4 เส้า เพื่อชิงแชมป์อินเตอร์ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2012) ระหว่าง เรย์, เดอะมิซ, โคดี โรดส์ และซิน คารา สุดท้ายเรย์ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้[45][46]
1 ตุลาคม เรย์กับซิน คาราชนะปรีโมและเอปีโกผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศทัวร์นาเมนต์ชิงแชมป์แท็กทีม[47] สัปดาห์ต่อมาชนะไพรม์ไทม์เพลเยอส์(ไทตัส โอนีลและดาร์เรน ยัง)ผ่านเข้ารอบชิง[48] 22 ตุลาคม เรย์กับซิน คาราได้ตกรอบแพ้โคดี โรดส์และแดเมียน แซนดาว[49] 4 กุมภาพันธ์ มาร์ก เฮนรีออกมาเล่นงานเรย์กับซิน คาราด้วย World's Strongest Slam[50] 18 พฤศจิกายน เรย์ได้กลับมาช่วยซีเอ็ม พังก์และแดเนียล ไบรอันจากการรุมของเหล่าอธรรม ในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2013)เรย์ได้ปล้ำประเพณี 5 ต่อ 5 แบบคัดออก จับคู่กับดิอูโซส์และโคดี โรดส์ และโกลดัสต์แพ้ให้เดอะชีลด์และเดอะเรียลอเมริกันส์ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30ได้ร่วมแบทเทิลรอยัลชิงรางวัลอนุสรณ์สถานอ็องเดรเดอะไจแอนต์แต่ไม่ได้ชนะ[51] ในรอว์คืนต่อมาแพ้ให้แบด นิวส์ บาร์เร็ตต์ก่อนจะหายไปอีกครั้ง
ในช่วงที่ห่างหายจากการปล้ำก็มีรายงานว่าเรย์ต้องการที่จะออกจาก WWE แต่สมาคมได้ขยายสัญญาของเรย์ออกไปอีก 1 ปี ตามเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ในสัญญาว่าถ้าเรย์บาดเจ็บจนไม่สามารถทำงานได้เป็นเวลานาน WWE จะมีสิทธิ์ขยายสัญญาออกไปได้อีก 1 ปี[52] เรย์ได้ส่งวิดีโอไปทางสมาคม AAA TripleMania และเยี่ยมชม Lucha Underground[53][54] วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2015 เรย์ได้สิ้นสุดอายุสัญญาของเขากับ WWE แล้ว หลังจากที่ร่วมงานกันมากว่า 13 ปี[55][56][57]
เรย์ได้ทำเซอร์ไพรส์แฟนๆ WWE ด้วยการขึ้นปล้ำแบบเฉพาะกิจเข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิล (2018)เป็นคนที่27 และอยู่ถึง5คนสุดท้ายก่อนถูกฟิน บาเลอร์เหวี่ยงออกจากเวที[58] ในเกรเทสต์ รอยัลรัมเบิลเรย์ได้เข้าร่วมเป็นคนที่28 ก่อนถูกแบรอน คอร์บินเหวี่ยงออกจากเวที[59] วันที่ 19 กันยายน 2018 มีการคอนเฟิร์มว่าเรย์ได้เซ็นสัญญาระยะยาวกับ WWE ใน SmackDown ตอนที่ 1000 วันที่ 16 ตุลาคม เรย์ได้มีแมตช์เอาชนะ Shinsuke Nakamura ไปได้ในการคัดเลือก WWE World Cup[60] แต่ก็ตกรอบ Semi-Final ในศึก WWE Crown Jewel[61] ในเดือนเมษายน 2019 เรย์ได้ย้ายมาสังกัดรอว์ในตอน Superstar Shake-up และได้คว้าแชมป์ยูเอสสมัยแรกจากซามัว โจทำให้เรย์เป็นแชมป์แกรนสแลมของ WWE คนที่ 21[62] ในศึก WrestleMania Backlash ปี 2021 เรย์ได้ร่วมปล้ำแท็กทีมกับดอมินิก มิสเตริโอลูกชายของเขาเพื่อชิงแชมป์สแมคดาวน์แท็กทีม WWEกับดอล์ฟ ซิกก์เลอร์และรอเบิร์ต รู้ดและสามารถคว้าได้เป็นพ่อลูกคู่แรกในประวัติศาสตร์ WWE ที่ได้แชมป์แท็กทีมร่วมกัน[63]
ในปี 2022 เรย์ได้ถูกดอมินิกลูกชายของเขาหักหลังกลายเป็นอธรรมและไปอยู่กลุ่ม The Judgment Day[64] ทำให้เรย์ต้องย้ายไปอยู่สแมคดาวน์เพื่อหนีจากดอมินิก[65] แต่ก็ไม่วายยังถูกดอมินิกและกลุ่มของเขาตามมารังควานตลอด[66][67][68] และถูกดอมินิกท้าเจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 39 โดยเรย์รับคำท้า[69] โดยเรย์สามารถเอาชนะไปได้จากการช่วยเหลือของแบดบันนี ในสแมคดาวน์ 11 สิงหาคม 2023 ได้คว้าแชมป์ยูเอสจากออสติน เธียรีเป็นสมัยที่ 3 ก่อนเสียให้โลแกน พอล และเขาเป็นหนึ่งในนักมวยปล้ำที่ดีที่สุดตลอดกาล
ผลงานอื่นๆ
แก้Television | |||
---|---|---|---|
Year | Title | Role | Notes |
2021–present | Booyaka! Rey Mysterio vs. The Darkness | Himself (voice) |
วิดีโอเกมส์
แก้WCW Video games | |||
---|---|---|---|
Year | Title | Notes | |
1997 | WCW vs. nWo: World Tour | Video game debut | |
1998 | WCW Nitro | ||
WCW/nWo Revenge | |||
1999 | WCW/nWo Thunder | ||
WCW Mayhem | |||
2000 | WCW Backstage Assault |
WWE Video games | |||
---|---|---|---|
Year | Title | Notes | |
2003 | WWE WrestleMania XIX | Video game debut | |
WWE Raw 2 | |||
WWE SmackDown! Here Comes The Pain | Cover athlete | ||
2004 | WWE Day of Reckoning | ||
WWE Survivor Series | Cover athlete | ||
WWE SmackDown! vs. Raw | |||
2005 | WWE WrestleMania 21 | ||
WWE Day of Reckoning 2 | |||
WWE SmackDown! vs. Raw 2006 | |||
2006 | WWE SmackDown vs. Raw 2007 | Cover athlete | |
2007 | WWE SmackDown vs. Raw 2008 | ||
2008 | WWE SmackDown vs. Raw 2009 | ||
2009 | WWE SmackDown vs. Raw 2010 | Cover athlete | |
2010 | WWE SmackDown vs. Raw 2011 | ||
2011 | WWE All Stars | Cover athlete | |
WWE '12 | |||
2012 | WWE '13 | ||
2013 | WWE 2K14 | ||
2014 | WWE 2K15 | ||
2018 | WWE 2K19 | As pre-order bonus[70] | |
2019 | WWE 2K20 | ||
2020 | WWE 2K Battlegrounds | ||
2022 | WWE 2K22 | Cover athlete[71] | |
2023 | WWE 2K23 |
แชมป์และรางวัล
แก้- Asistencia Asesoría y Administración / Lucha Libre AAA Worldwide
- Mexican National Trios Championship (1 time) – with Octagón and Super Muñeco[72]
- Mexican National Welterweight Championship (1 time)[73]
- Lucha Libre World Cup (2015) – with Myzteziz and El Patrón Alberto[57]
- AAA Hall of Fame (Class of 2007)[74]
- Técnico of the Year (2015)[75]
- Catch Wrestling Europe
- CWE World Grand Prix (2017)[76]
- Cauliflower Alley Club
- Lucha Libre Award (2020)[77]
- The Crash
- DDT Pro-Wrestling
- Destiny World Wrestling
- Hollywood Heavyweight Wrestling
- HHW Light Heavyweight Championship (1 time)[82]
- International Wrestling All-Stars
- Lucha Underground
- Pro Wrestling Illustrated
- World Championship Wrestling[86]
- WCW Cruiserweight Championship (5 times)[12]
- WCW Cruiserweight Tag Team Championship (1 time) – with Billy Kidman[13]
- WCW World Tag Team Championship (3 times) – with Billy Kidman (1), Konnan (1), and Juventud Guerrera (1)[14]
- World Wrestling Association
- World Wrestling Council
- World Wrestling Entertainment/WWE
- WWE Championship (1 time)[90]
- World Heavyweight Championship (2 times)[91]
- WWE Intercontinental Championship (2 times)[92][93]
- WWE United States Championship (3 times)[94]
- WWE Cruiserweight Championship (3 times)[12]
- WWE Tag Team Championship (4 times) – with Edge (1), Rob Van Dam (1), Eddie Guerrero (1), and Batista (1)[95]
- WWE SmackDown Tag Team Championship (1 time) – with Dominik Mysterio[96]
- Royal Rumble (2006)
- WWE Hall of Fame (2023)
- Bragging Rights Trophy (2010) – with Team SmackDown (Big Show, Jack Swagger, Alberto Del Rio, Edge, Tyler Reks and Kofi Kingston)
- 21st Triple Crown Champion
- 21st Grand Slam Champion
- Bumpy Award (1 time)
- Tag Team of the Half-Year (2021) - with Dominik Mysterio[97]
- Wrestling Observer Newsletter
- Best Flying Wrestler (1995–1997, 2002–2004)
- Best Wrestling Maneuver (1995) Flip dive into a frankensteiner on the floor
- Match of the Year (2002) with Edge vs. Chris Benoit and Kurt Angle, for the WWE Tag Team Championship, WWE No Mercy, October 20
- Most Outstanding Wrestler (1996)
- Rookie of the Year (1992)
- Worst Feud of the Year (2008) with Kane
- Wrestling Observer Newsletter Hall of Fame (Class of 2010)
สิ่งเดิมพันต่างๆ
แก้สิ่งที่เดิมพัน | ผู้ชนะ | ผู้แพ้ | สถานที่ | วันที่ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
Rey Misterio Jr. (mask) | Mr. Cóndor (mask) | Acapulco, Guerrero | Live event | 14 สิงหาคม 1992 | [98] |
Rey Misterio Jr. (mask) | Rocco Valente (hair) | Tampico, Tamaulipas | Live event | 18 ตุลาคม 1992 | [98] |
Rey Misterio Jr. (mask) | Tony Arce (hair) | Acapulco, Guerrero | Live event | 6 พฤศจิกายน 1992 | [98] |
Rey Mysterio Jr. (mask) | El Bandido (mask) | Querétaro City, Querétaro | Live event | 28 พฤษภาคม 1993 | [Note 1][98] |
Rey Misterio Jr. (mask) | Vulcano (hair) | Monterrey, Nuevo León | Live event | 11 กันยายน 1993 | [98] |
Rey Misterio Jr. (mask) | Misterioso (mask) | Tijuana, Baja California | Live event | 19 ธันวาคม 1996 | [98][99] |
Rey Misterio Jr. (mask) | Eddie Guerrero (championship) | Las Vegas, Nevada | Halloween Havoc | 26 ตุลาคม 1997 | [98] |
Kevin Nash and Scott Hall (hair[Note 2]) | Rey Misterio Jr. (mask) and Konnan | Oakland, California | SuperBrawl IX | 21 กุมภาพันธ์ 1999 | [98] |
Rey Mysterio (championship) | John "Bradshaw" Layfield (brand contract) | Bakersfield, California | SmackDown! | 26 พฤษภาคม 2006 | |
Rey Mysterio (mask) | Chris Jericho (championship) | Sacramento, California | The Bash | 28 มิถุนายน 2009 | |
Rey Mysterio (stable pledge) |
CM Punk (hair) | Detroit, Michigan | Over the Limit | 23 พฤษภาคม 2010 | [100] |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Rey Mysterio suspended for 30 days". World Wrestling Entertainment. August 27, 2009. สืบค้นเมื่อ August 27, 2009.
- ↑ "Rey Mysterio".
- ↑ Trejo, Aaron (2011). Rey Mysterio. North Mankato, MN: Bellwether Media. p. 9. ISBN 978-1-60014-639-8.
- ↑ Mooneyham, Mike (November 28, 2004). "Rey Mysterio Jr: Pro wrestling's human highlight". The Post and Courier. Evening Post Publishing Company. สืบค้นเมื่อ August 5, 2009.
Born on this side of the Mexican border in Chula Vista, Calif.,
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "Rey Mysterio Profile". Online World Of Wrestling. สืบค้นเมื่อ October 19, 2012.
- ↑ 6.0 6.1 แม่แบบ:Cit web
- ↑ "Rey Misterio Jr". CageMatch.net. สืบค้นเมื่อ August 17, 2015.
- ↑ "STRONG STYLE EVOLVED". New Japan Pro-Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-13. สืบค้นเมื่อ March 3, 2018.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "Rey Mysterio Bio". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ April 25, 2011.
- ↑ "Rey Mysterio Jr official web site". Rey Mysterio.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2008. สืบค้นเมื่อ September 24, 2007.
- ↑ Jeremy Roberts (November 3, 2009). Rey Mysterio: Behind the Mask. Simon and Schuster. ISBN 978-1-4165-9896-1. สืบค้นเมื่อ December 3, 2012.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 "History of the Cruiserweight Championship". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ May 15, 2008.
- ↑ 13.0 13.1 "W.C.W. World Cruiserweight Tag Team Title". The Great Hisa's Puroresu Dojo. สืบค้นเมื่อ May 15, 2008.
- ↑ 14.0 14.1 "W.C.W. World Tag Team Title". The Great Hisa's Puroresu Dojo. สืบค้นเมื่อ May 15, 2008.
- ↑ Monteagudo, Luis Jr. (March 12, 2023). "San Diego Pro Wrestler Rey Mysterio to Be Inducted into WWE Hall of Fame". Times of San Diego. สืบค้นเมื่อ 14 March 2023.
- ↑ "SmackDown! results – July 25, 2002". Online World of Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-23. สืบค้นเมื่อ 2008-05-18.
- ↑ "SmackDown! results – May 22, 2003". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2008-05-18.
- ↑ "The 2006 Royal Rumble Match". WWE. 29 January 2006. สืบค้นเมื่อ 24 September 2011.
- ↑ "Breaking New Ground". World Wrestling Entertainment. 2006-04-07. สืบค้นเมื่อ 2008-04-21.
- ↑ Hoffman, Brett (2006-10-20). "Kingdom saved". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2008-04-22.
- ↑ Starr, Noah (2006-10-21). "Rey under the knife". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2007-11-06.
- ↑ "Rey Mysterio def. Chavo Guerrero". WWE. August 26, 2007. สืบค้นเมื่อ June 22, 2012.
- ↑ Dee, Louie (2008-01-05). "Time on Rey's side". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2008-01-05.
- ↑ DiFino, Lennie (2008-02-27). "Rey Mysterio recovering after surgery". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ Vontz, Andrew (July 2008). "The Resurrection of Rey Mysterio". World Wrestling Entertainment Magazine. pp. 52–55.
- ↑ Sitterson, Aubrey (2008-06-23). "A Draft Disaster". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25.
- ↑ "Rey Mysterio def. JBL (New Intercontinental Champion)". WWE. April 5, 2008. สืบค้นเมื่อ June 22, 2012.
- ↑ Plummer, Dale (2009-04-14). "RAW: Drafting a fresh start for the WWE". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-22. สืบค้นเมื่อ 2009-04-14.
- ↑ "World Heavyweight Champion The Undertaker def. CM Punk, Batista & Rey Mysterio (Fatal Four Way Match)". WWE. October 25, 2009. สืบค้นเมื่อ June 22, 2012.
- ↑ "Batista def. Rey Mysterio". WWE. November 22, 2009. สืบค้นเมื่อ June 22, 2012.
- ↑ "Rey Mysterio def. CM Punk (S.E.S. Pledge vs. Hair Match)". WWE. May 23, 2010. สืบค้นเมื่อ June 22, 2012.
- ↑ Parks, Greg (2010-08-20). "Parks' WWE SmackDown report 8/20: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including Kane's reason for attacking Undertaker". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
- ↑ Parks, Greg (2010-08-27). "Parks' WWE SmackDown report 8/27: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including the return of The Undertaker". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
- ↑ Parks, Greg (2010-10-08). "Parks' WWE SmackDown report 10/8: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including Rey Mysteiro vs. Alberto Del Rio". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
- ↑ Bishop, Matt (April 3, 2011). "The Rock costs Cena as The Miz retains at WrestleMania XXVII". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ April 4, 2011.
- ↑ "Rey Mysterio def. Cody Rhodes (Falls Count Anywhere Match)". WWE.
- ↑ Wortman, James (2011-05-22). "R-Truth def. Rey Mysterio". WWE. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
- ↑ Tello, Craig. "CM Punk def. Rey Mysterio". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-30. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
- ↑ Wortman, James (2011-08-15). "California scheming". WWE. สืบค้นเมื่อ 2011-08-22.
- ↑ Rey Mysterio (9 April 2012). "Twitter of Rey Mysterio". สืบค้นเมื่อ 26 April 2012.
- ↑ "Rey Mysterio suspended for 60 days". WWE. 26 April 2012. สืบค้นเมื่อ 26 April 2012.
- ↑ "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/16: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #998 - MITB PPV fall-out, Cena's announcement".
- ↑ "PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 7/20: Complete coverage of the Friday night show, including Ziggler & Del Rio vs. Sheamus & Mysterio".
- ↑ Artus, Matthew (2012-08-19). "Intercontinental Champion The Miz def. Rey Mysterio". WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19.
- ↑ "PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 8/10: Complete "virtual time" coverage of the Friday night show, including Dolph Ziggler as guest on Jericho's Highlight Reel".
- ↑ "KELLER'S WWE SMACKDOWN REPORT 8/17: Final Summerslam hype with analysis of Sheamus-Del Rio angle, Jericho-Ziggler, Zack Ryder, Booker T, more".
- ↑ Caldwell, James (October 1, 2012). "Caldwell's WWE Raw results 10/1: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - Ross Appreciation Night, Punk-Ryback feud, World Title debate". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ October 2, 2012.
- ↑ Caldwell, James (October 9, 2012). "Caldwell's WWE Raw results 10/8: Complete coverage of live Raw - Cena returns, but McMahon dominates show". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ October 9, 2012.
- ↑ Caldwell, James (October 22, 2012). "Caldwell's WWE Raw results 10/22: Ongoing "virtual-time" coverage of live Raw - final PPV hype, tournament finals". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ October 22, 2012.
- ↑ "WWE News: Update on Mysterio's latest knee injury".
- ↑ Howell, Nolan (April 6, 2014). "WrestleMania XXX brings the beginning and end of eras". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-09. สืบค้นเมื่อ April 9, 2014.
- ↑ http://www.pwinsider.com/article/89327/wwerey-mysterio-update.html?p=1
- ↑ http://www.pwinsider.com/article/87557/rey-mysterio-update-shaul-guerrero-talks-about-why-she-left-developmental-ricardo-rodriguez-cant-wait-for-90-days-to-end-and-more.html?p=1
- ↑ http://pwinsider.com/article/88817/nxt-debuts-batista-film-going-animated-mysterio-update-and-more-news.html?p=1
- ↑ Johnson, Mike (February 26, 2015). "Official WWE statement on Rey Mysterio". PWInsider. สืบค้นเมื่อ February 26, 2015.
- ↑ Johnson, Mike (February 26, 2015). "BEHIND THE SCENES OF MYSTERIO WWE DEPARTURE". PWInsider. สืบค้นเมื่อ February 26, 2015.
- ↑ 57.0 57.1 Boutwell, Josh (May 24, 2015). "AAA Lucha Libre World Cup Results – 5/24/15 (Live results)". Wrestleview. สืบค้นเมื่อ May 24, 2015.
- ↑ Johnson, Mike (January 28, 2018). "Update on WWE's big Rumble surprise". PWInsider. สืบค้นเมื่อ January 29, 2018.
- ↑ "Final championship match set for Greatest Royal Rumble; more names added to Greatest Royal Rumble Match". WWE. สืบค้นเมื่อ April 24, 2018.
- ↑ Sharma, Praval (October 11, 2018). "Rey Mysterio return match announced". SportsWhy. สืบค้นเมื่อ October 11, 2018.
- ↑ Clapp, John. "The Miz def. Rey Mysterio (WWE World Cup Semifinal Match)". WWE.com. สืบค้นเมื่อ November 2, 2018.
- ↑ Benigno, Anthony. "Rey Mysterio def. Samoa Joe to become the new United States Champion; Samoa Joe delivers vicious post-match assault". WWE. สืบค้นเมื่อ May 19, 2019.
- ↑ Powell, Jason (May 16, 2021). "WWE WrestleMania Backlash results: Powell's live review of Roman Reigns vs. Cesaro for the WWE Universal Championship, Bobby Lashley vs. Drew McIntyre vs. Braun Strowman for the WWE Championship, Rhea Ripley vs. Asuka vs. Charlotte Flair for the Raw Women's Championship, Bianca Belair vs. Bayley for the Smackdown Women's Championship". Pro Wreslting Dot Net. สืบค้นเมื่อ May 16, 2021.
- ↑ McGuire, Colin (2022-09-03). "WWE Clash at the Castle results: McGuire's review of Roman Reigns vs. Drew McIntyre for the Undisputed WWE Universal Championship, Gunther vs. Sheamus for the Intercontinental Title, Liv Morgan vs. Shayna Baszler for the Smackdown Women's Title, Seth Rollins vs. Riddle, Bianca Belair, Asuka, and Alexa Bliss vs. Bayley, Iyo Sky, and Dakota Kai". Pro Wrestling Dot Net (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-09-30.
- ↑ Powell, Jason (October 14, 2022). "10/14 WWE Friday Night Smackdown results: Powell's review of Bray Wyatt's return, Sheamus vs. Ricochet vs. Karrion Kross vs. Solo Sikoa in a four-way for a shot at the Intercontinental Championship, Kofi Kingston vs. Sami Zayn, LA Knight vs. Mansoor". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ October 15, 2022.
- ↑ Lutete, Israel (2022-11-25). "WATCH: Rhea Ripley and Dominik attack former WWE Champion in his house during Thanksgiving". www.sportskeeda.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "…and this time, @reymysterio called the police!". Twitter (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Rhea Ripley and Dominik Mysterio crash Rey Mysterio’s Valentine’s Day dinner (ภาษาอังกฤษ)
- ↑ WWE.com Staff (March 10, 2023). "Rey Mysterio to be inducted into the WWE Hall of Fame Class of 2023". WWE. สืบค้นเมื่อ March 11, 2023.
- ↑ Mesa, Steve (July 17, 2018). "A return for Rey Mysterio and a first for Ronda Rousey on the WWE 2K19 video game". Miami Herald. สืบค้นเมื่อ July 18, 2018.
- ↑ "Rey Mysterio revealed as WWE 2K22 cover star". ESPN. January 21, 2022. สืบค้นเมื่อ March 14, 2022.
- ↑ "Comision de Box y Lucha Libre Mexico D.F. National Trios Title". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ June 24, 2008.
- ↑ "Comision de Box y Lucha Libre Mexico D.F. National Welterweight Title". Wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ June 24, 2008.
- ↑ "Rey Misterio Jr". Lucha Libre AAA World Wide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2011. สืบค้นเมื่อ June 18, 2011.
- ↑ Meltzer, Dave (January 11, 2016). "January 11, 2016 Wrestling Observer Newsletter: Cena out with shoulder injury, New Japan stars to WWE". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California: 59. ISSN 1083-9593.
- ↑ "CWE Catch Wrestling World Grand Prix 2017 In Wien - Das Finale « Events Database « CAGEMATCH - The Internet Wrestling Database". www.cagematch.net.
- ↑ "Happy to publicly announce our first award winner for 2020. The Lucha Libre award will go to one of the most popular and innovative wrestlers of all time, @reymysterio ! Please join us April 27-29th as we present Rey with this prestigious awardpic.twitter.com/921P4DHKGL". October 22, 2019. สืบค้นเมื่อ November 26, 2019.
- ↑ "Rey Mysterio es Campeón en The Crash, Volador Jr. lo masacró". MedioTiempo (ภาษาสเปน). November 5, 2017. สืบค้นเมื่อ November 5, 2017.
- ↑ "Ironman Heavymetalweight Title". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ August 12, 2016.
- ↑ "Viva la Raza: Lucha Weekly (10/4/15)". Wrestleview. October 4, 2015. สืบค้นเมื่อ October 4, 2015.
- ↑ "DWW Championship History". cagematch.net.
- ↑ Duncan, Royal; Will, Gary (2000). Wrestling Title Histories (4th ed.). Archeus Communications. ISBN 0-9698161-5-4.
- ↑ Westcott, Brian. "IWAS – International Wrestling All Stars IWAS World Tag Team Title History". Solie. สืบค้นเมื่อ June 24, 2008.
- ↑ "1/10 Lucha Underground TV taping spoilers". Pro Wrestling Insider. สืบค้นเมื่อ January 15, 2016.
- ↑ "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 1999". The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ February 26, 2015.
- ↑ "Rey Mysterio's Detailed Title History". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2008. สืบค้นเมื่อ May 15, 2008.
- ↑ Will, Gary. "WWA – World Wrestling Association World Light Heavyweight Title". Solie. สืบค้นเมื่อ June 24, 2008.
- ↑ Duncan, Royal. "WWA – World Wrestling Association World Welterweight Title". Solie. สืบค้นเมื่อ June 24, 2008.
- ↑ Gonzalez, Manuel. "WWC – World Wrestling Council (Puerto Rico) Junior Heavyweight Title". Solie. สืบค้นเมื่อ June 24, 2008.
- ↑ "WWE Championship – Rey Mysterio". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2012. สืบค้นเมื่อ July 25, 2011.
- ↑ "World Heavyweight Championship official title history". WWE. สืบค้นเมื่อ May 15, 2008.
- ↑ "History of the Intercontinental Championship: Rey Mysterio (1)". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-02. สืบค้นเมื่อ April 6, 2009.
- ↑ "History of the Intercontinental Championship: Rey Mysterio (2)". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-02. สืบค้นเมื่อ September 7, 2009.
- ↑ "WWE United States Championship". WWE. สืบค้นเมื่อ May 25, 2020.
- ↑ "WWE Tag Team Championship official title history". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ May 15, 2008.
- ↑ "WWE SmackDown Tag Team Championship". WWE. สืบค้นเมื่อ May 17, 2021.
- ↑ "WWE presenta the Bumpy Awards 2021". SOLO WRESTLING. August 4, 2021.
- ↑ 98.0 98.1 98.2 98.3 98.4 98.5 98.6 98.7 "Enciclopedia de las Mascaras". Rey Mysterio (ภาษาสเปน). Mexico City, Mexico City, Distrito Federal,. October 1, 2007. pp. 14–15. Tomo IV.
{{cite news}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ "Enciclopedia de las Mascaras". Misterioso (ภาษาสเปน). Mexico. October 2007. p. 34. Tomo III.
- ↑ "Rey Mysterio def. CM Punk (S.E.S. Pledge vs. Hair Match)". WWE. May 23, 2010. สืบค้นเมื่อ June 22, 2012.