ภาษาอาเซอร์ไบจาน
ภาษาอาเซอรี หรือ ภาษาอาเซอร์ไบจาน เป็นภาษาราชการของประเทศอาเซอร์ไบจาน มีชื่อเรียกในภาษาของตนว่า Azərbaycan dili บางสำเนียงของภาษานี้ใช้พูดในอิหร่าน ซึ่งใช้เป็นภาษากลางระหว่างภาษาส่วนน้อยอื่น ๆ คือ ภาษาเคิร์ด ภาษาอาร์มีเนียและภาษาตาเลชิ มีผู้พูดภาษานี้ในสาธารณรัฐดาเกสถานในรัสเซีย จอร์เจียตะวันตกเฉียงใต้ อิหร่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกของตุรกี
ภาษาอาเซอร์ไบจาน | |
---|---|
ภาษาอาเซอรี | |
Azərbaycan dili, آذربایجان دیلی, Азәрбајҹан дили[note 1] | |
ออกเสียง | [ɑːzæɾbɑjˈdʒɑn diˈli] |
ประเทศที่มีการพูด | |
ภูมิภาค | อาเซอร์ไบจานอิหร่าน, ทรานส์คอเคเซีย |
ชาติพันธุ์ | ชาวอาเซอร์ไบจาน |
จำนวนผู้พูด | 30 ล้าน (2018)[1] |
ตระกูลภาษา | เตอร์กิก
|
รูปแบบมาตรฐาน | Shirvani (ในอาเซอร์ไบจาน)
Tabrizi (ในอาเซอร์ไบจานอิหร่าน)
|
ภาษาถิ่น | |
ระบบการเขียน |
|
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | อาเซอร์ไบจาน ดาเกสถาน (รัสเซีย) Organization of Turkic States |
ผู้วางระเบียบ |
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | az |
ISO 639-2 | aze |
ISO 639-3 | aze – รหัสรวม รหัสเอกเทศ: azj – อาเซอร์ไบจานเหนือazb – อาเซอร์ไบจานใต้slq – Salchuqqxq – แกชฆอยี |
Linguasphere | ส่วนหนึ่งของ 44-AAB-a |
ผู้พูดภาษาอาเซอร์ไบจานในทรานส์คอเคเซียและอิหร่านตอนเหนือ บริเวณที่ภาษาอาเซอร์ไบจานเป็นภาษาชนส่วนมาก บริเวณที่ภาษาอาเซอร์ไบจานเป็นภาษาชนกลุ่มน้อย | |
เป็นภาษาในภาษากลุ่มอัลไต มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 23 – 30 ล้านคน โดยมีราว 16- 23 ล้านคนในอิหร่านและ 7 ล้านคนในอาเซอร์ไบจาน และ 800,000 คน ในที่อื่น ๆ เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใกล้เคียงกับภาษาตุรกี ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ผู้พูดภาษานี้พอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิก สาขาโอคุซอื่น ๆ เช่น ภาษาตุรกี ที่ใช้พูดในตุรกี ไซปรัสและแหลมบอลข่าน รวมทั้งภาษาเติร์กเมนด้วย
ระบบเสียง
แก้เสียงพยัญชนะ
แก้ริมฝีปาก | ฟัน | (หลัง-) ปุ่มเหงือก |
เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
นาสิก | m | n | (ŋ) | ||||
หยุด/ กักเสียดแทรก |
ไม่ก้อง | p | t | t͡ʃ | c | (k) | |
ก้อง | b | d | d͡ʒ | (ɟ) | ɡ | ||
เสียดแทรก | ไม่ก้อง | f | s | ʃ | x | h | |
ก้อง | v | z | ʒ | ɣ | |||
เปิด | l | j | |||||
สะบัดลิ้น | ɾ |
เสียงสระ
แก้เสียงสระในภาษาอาเซฮร์ไบจาน เรียงลำดับตามอักษรดังนี้:[4][5] a /ɑ/, e /e/, ə /æ/, ı /ɯ/, i /i/, o /o/, ö /ø/, u /u/, ü /y/
หน้า | หลัง | |||
---|---|---|---|---|
ไม่ห่อ | ห่อ | ไม่ห่อ | ห่อ | |
ปิด | i | y | ɯ | u |
กลาง | e | ø | o | |
เปิด | æ | ɑ |
ตัวอักษร
แก้ภาษาอาเซอร์ไบจานเหนือในอาเซอร์ไบจานจะใช้อักษรละตินเป็นอักษรทางการ และยังคงใช้อักษรซีริลลิกในการเขียนอยู่บ้าง ส่วนภาษาอาเซอร์ไบจานใต้ในอิหร่านจะใช้อักษรอาหรับเหมือนภาษาเปอร์เซีย
อักษรละตินเก่า (ฉบับ ค.ศ. 1929–1938; ไม่ใช่งานแล้ว; แทนที่ด้วยฉบับ ค.ศ. 1991) |
อักษรละตินทางการ (อาเซอร์ไบจาน ตั้งแต่ ค.ศ. 1991) |
อักษรซีริลลิก (ฉบับ ค.ศ. 1958, เป็นทางการในดาเกสถาน) |
อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ (อิหร่าน; อาเซอร์ไบจานจนถึง ค.ศ. 1929) |
สัทอักษรสากล |
---|---|---|---|---|
A a | А а | آ / ـا | /ɑ/ | |
B в | B b | Б б | ب | /b/ |
Ç ç | C c | Ҹ ҹ | ج | /dʒ/ |
C c | Ç ç | Ч ч | چ | /tʃ/ |
D d | Д д | د | /d/ | |
E e | Е е | ئ | /e/ | |
Ə ə | Ә ә | ا / َ / ە | /æ/ | |
F f | Ф ф | ف | /f/ | |
G g | Ҝ ҝ | گ | /ɟ/ | |
Ƣ ƣ | Ğ ğ | Ғ ғ | غ | /ɣ/ |
H h | Һ һ | ح / ه | /h/ | |
X x | Х х | خ | /x/ | |
Ь ь | I ı | Ы ы | ؽ | /ɯ/ |
I i | İ i | И и | ی | /i/ |
Ƶ ƶ | J j | Ж ж | ژ | /ʒ/ |
K k | К к | ک | /k/, /c/ | |
Q q | Г г | ق | /ɡ/ | |
L l | Л л | ل | /l/ | |
M m | М м | م | /m/ | |
N n | Н н | ن | /n/ | |
Ꞑ ꞑ[6] | - | - | ݣ / نگ | /ŋ/ |
O o | О о | وْ | /o/ | |
Ө ө | Ö ö | Ө ө | ؤ | /ø/ |
P p | П п | پ | /p/ | |
R r | Р р | ر | /r/ | |
S s | С с | ث / س / ص | /s/ | |
Ş ş | Ш ш | ش | /ʃ/ | |
T t | Т т | ت / ط | /t/ | |
U u | У у | ۇ | /u/ | |
Y y | Ü ü | Ү ү | ۆ | /y/ |
V v | В в | و | /v/ | |
J j | Y y | Ј ј | ی | /j/ |
Z z | З з | ذ / ز / ض / ظ | /z/ | |
- | ʼ | ع | /ʔ/ |
ในอดีตภาษาอาเซอร์ไบจานจะใช้อักษรอาหรับเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จนเมื่อปี ค.ศ. 1929 จึงได้เริ่มใช้อักษรละตินในการบันทึกภาษาอาเซอร์ไบจานเหนือ(ซึ่งแตกต่างกับรูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน) และเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกระหว่างปี ค.ศ. 1938 - 1991 และได้กลับมาใช้อักษรละตินอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน ส่วนภาษาอาเซอร์ไบจานใต้นั้นยังคงใช้อักษรอาหรับในการบันทึกมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
หมายเหตุ
แก้- ↑ รูปสะกดอักษรซีริลลิกในอดีตใช้ในสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน
อ้างอิง
แก้- ↑ ภาษาอาเซอร์ไบจาน ที่ Ethnologue (21st ed., 2018)
อาเซอร์ไบจานเหนือ ที่ Ethnologue (21st ed., 2018)
อาเซอร์ไบจานใต้ ที่ Ethnologue (21st ed., 2018)
Salchuq ที่ Ethnologue (21st ed., 2018)
แกชฆอยี ที่ Ethnologue (21st ed., 2018) - ↑ 2.0 2.1 "Azerbaijani, North". Ethnologue. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
- ↑ "Azerbaijani, South". Ethnologue. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
- ↑ Householder and Lotfi. Basic Course in Azerbaijani. 1965.
- ↑ Shiralyeva (1971)
- ↑ ถอนออกจากชุดตัวอักษรใน ค.ศ. 1938
บรรณานุกรม
แก้- Brown, Keith, บ.ก. (24 November 2005). Encyclopedia of Language and Linguistics. Elsevier. ISBN 9780080547848.
- Kök, Ali (2016). "Modern Oğuz Türkçesi Diyalektlerinde Göçüşme" [Migration in Modern Oghuz Turkish Dialects]. 21. Yüzyılda Eğitim Ve Toplum Eğitim Bilimleri Ve Sosyal Araştırmalar Dergisi (ภาษาตุรกี). 5 (15). ISSN 2147-0928.[ลิงก์เสีย]
- Mokari, Payam Ghaffarvand; Werner, Stefan (2016), Dziubalska-Kolaczyk, Katarzyna (บ.ก.), "An acoustic description of spectral and temporal characteristics of Azerbaijani vowels", Poznań Studies in Contemporary Linguistics, 52 (3), doi:10.1515/psicl-2016-0019, S2CID 151826061
- Mokari, Payam Ghaffarvand; Werner, Stefan (2017). "Azerbaijani". Journal of the International Phonetic Association. 47 (2): 207. doi:10.1017/S0025100317000184. S2CID 232347049.
- Sinor, Denis (1969). Inner Asia. History-Civilization-Languages. A syllabus. Bloomington. pp. 71–96. ISBN 0-87750-081-9.