ไนเตรต ในทางอนินทรีย์เคมีเป็นเกลือของกรดไนตริก ไนเตรตไอออน เป็น พอลิอะตอมิกไอออน (polyatomic ion) ซึ่งมีสูตรเอมไพริกัล ดังนี้ NO3 และมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 62.01 ดัลตัน (daltons) มันเป็นด่างร่วม (conjugate) ของกรดไนตริก ไนเตรตไอออนมีโครงสร้างเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ (trigonal planar-โดยแต่ละออร์บิทัลทำมุมกัน 120 องศา) และสามารถแทนด้วยลูกผสม (hybrid) ดังรูปข้างล่างนี้

ไนเตรต
Ball-and-stick model of the nitrate ion
ชื่อ
Systematic IUPAC name
Nitrate
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEBI
เคมสไปเดอร์
UNII
  • InChI=1S/NO3/c2-1(3)4/q-1
    Key: NHNBFGGVMKEFGY-UHFFFAOYSA-N
  • InChI=1/NO3/c2-1(3)4/q-1
    Key: NHNBFGGVMKEFGY-UHFFFAOYAI
  • [N+](=O)([O-])[O-]
คุณสมบัติ
NO
3
มวลโมเลกุล 62.004 g·mol−1
กรด Nitric acid
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

เกลือไนเตรตเกิดเมื่อไอออนประจุไฟฟ้าบวกเข้าเชื่อมต่อกับอะตอมของออกซิเจน ประจุไฟฟ้าลบตัวหนึ่งของไนเตรตไอออน

ประโยชน์ (Uses)

แก้

ไนเตรต เช่น โพแทสเซียมไนเตรต (ซอลต์ปีเตอร์) และ แอมโมเนียมไนเตรต (ammonium nitrate) เป็นแหล่งสำคัญของ ไนโตรเจน ใน ปุ๋ย ไนเตรตจะต้องถูกใช้อย่างรวดเร็วโดยพืชเพราะมันจะสูญเสียง่ายจากการซึมชะละลาย (leaching) หรือกระบวนการเปลี่ยนไนเตรตเป็นไนโตรเจน (denitrification) โดยแบคทีเรียมลพิษของไนเตรตได้กลายไปเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (environmentalism issue) ในแม่น้ำและ มหาสมุทร ตัวอย่างแม่น้ำที่มีระดับไนเตรตสูงติดอันดับโลกได้แก่

ไนเตรตเป็นออกซิไดซิ่งเอเจนต์ที่ดี เมื่อผสมกับไฮโดรคาร์บอน หรือคาร์โบไฮเดรต ไนเตรตสามารถทำให้ส่วนผสมเกิดเปลวไฟหรือระเบิดได้ ตัวอย่างเช่นโพแทสเซียมไนเตรตเป็นออกซิไดซิ่งในดินปืน

ในทางการแพทย์ไนเตรตอินทรีย์ เช่น ไนโตรกลีเซอรีน (nitroglycerin) ไอโซซอร์ไบด์โมโนไนเตรต (ISMN) และ ไอโซซอร์ไบด์ไดไนเตรต (ISDN) ใช้ประโยชน์เฉพาะในการป้องกันและรักษาอาการปวดเค้นหัวใจ (angina pectoris) แต่อย่างไรก็ดีมันก็อาจเกิดปฏิกิริยาผลข้างเคียงได้หากรับประทานหลังใช้ยาซิลเดนาฟิลซิเตรต (sildenafil citrate-Viagra) หรือยาประเภทเดียวกันในระยะเวลา 24 ชั่วโมง

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้