โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่

โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ (ไทยถิ่นเหนือ: ᩁᩰᩫ᩠ᨦᩁ᩠ᨿᩁᨻᩥᩁᩥ᩠ᨿᩣᩃᩲ᩠ᨿᨧᩢ᩠ᨦᩉ᩠ᩅᩢᨯᨻᩯ᩵ᩖ) แต่เดิมชื่อว่าโรงเรียนเทพวงศ์ ตั้งอยู่ระหว่างวัดพระบาทและวัดมิ่งเมือง (ในสมัยนั้น) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2444 ต่อมาย้ายไปตั้งหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัด (ปัจจุบันคือโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่) และผู้ว่าราชการในสมัยนั้นคือพระยานิกรกิตติการ (กั๊ก ศรีเพ็ญ) เห็นว่าพื้นที่เดิมคับแคบจึงจัดซื้อที่ทุ่งนาติดถนนเพชรรัตน์ (ปัจจุบันถนนยันตรกิจโกศล) เพื่อก่อสร้างโรงเรียน

โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่
Phiriyalai School Phrae
ที่ตั้ง
151 ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.ร. (P.R.)
ประเภทโรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญวิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
(คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร)
สถาปนาพ.ศ. 2444 (อายุ 123 ปี)
ผู้ก่อตั้งเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส54012001
ผู้อำนวยการดร.เลิศฤทธิ์ เรือนละหงษ์
จำนวนนักเรียน3,672 คน
สี  ขาว
  แดง
เพลงมาร์ชพิริยาลัย
เว็บไซต์www.piriyalai.ac.th
ต้นไม้ประจำโรงเรียน - ชมพูพันธุ์ทิพย์

ประวัติ

แก้

โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่เดิมเปิดเรียนอยู่ระหว่างวัดพระบาทกับวัดมิ่งเมือง (ปัจจุบันวัดทั้งสองได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกัน มีชื่อว่า วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร) ชื่อในสมัยนั้นคือ โรงเรียนเทพวงศ์ ตามชื่อเจ้าผู้ครองนครแพร่ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนขึ้นประมาณก่อน พ.ศ. 2444 (ก่อตั้งวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2443) ซึ่งนามโรงเรียนนี้ได้รับโปรดเกล้าฯพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2443) หลังจากเกิดกบฏเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ พ.ศ. 2445 โรงเรียนเทพวงศ์ได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดมีชื่อว่า โรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ รับนักเรียนได้ประมาณ 200 คน

ต่อมาในสมัยของพระยานิกรกิตติการ (กั๊ก ศรีเพ็ญ) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ใหม่ ณ บริเวณตรงข้ามกับจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ (คือสถานที่ตั้งโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่) เจ้าบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา) กรมการที่ปรึกษาโรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ ได้มอบไม้สักทอง 100 ท่อน โดยอาศัยแรงงานนักโทษกับช่างไม้พื้นเมืองก่อสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2454 โดยมีวัตถุประสงค์จะสร้างเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นเมื่อสร้างอาคารไม้สักและโรงเรียนเสร็จในปี 2455 จึงได้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และได้รับพระราชทานนามตามใบบอกที่ 213 เลขที่รับ 169 ลงวันที่ 6/5/56 (วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2456) ว่า โรงเรียนพิริยาลัย ซึ่งคงอาศัยเค้านามเต็มจาก "เจ้าพิริยเทพวงษ์" เจ้าผู้ครองนครแพร่

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2456 โรงเรียนพิริยาลัยเริ่มเปิดสอน ในฐานะโรงเรียนประจำจังหวัดแพร่ มีพิธีเปิดโรงเรียนวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้พร้อมกับมหาชนชาวเมืองแพร่บ่ายหน้าสู่กรุงเทพมหานครถวายบังคมแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แล้วกระตุกผ้าคลุมจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประดิษฐานอยู่ที่หน้ามุขอาคารไม้ออก สมมุติว่าโดยเปิดพระราชานุสาวรีย์ แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่กระตุกผ้าคลุมป้ายโรงเรียนออกตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “โรงเรียนพิริยาลัย” และมีข้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภ์แก่โรงเรียนนี้” ต่อมาเมื่อวัน 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 (พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4) ได้เสด็จมายังโรงเรียนพิริยาลัย เพื่อประทานธงนามโรงเรียน 13 คัน แล้ว และทรงประน้ำพระพุทธมนต์แก่นักเรียน พร้อมประทานพระโอวาท ต่อมาเมืองแพร่ได้รับการยกฐานะเป็น "มณฑลมหาราษฎร์" ในปี พ.ศ. 2458 โรงเรียนพิริยาลัยจังได้เปลี่ยนฐานะเป็นโรงเรียนประจำมณฑลไปด้วย ชื่อว่า โรงเรียนประจำมณฑลมหาราษฎร์พิริยาลัย จนเมื่อ พ.ศ. 2469 มณฑลได้ถูกยุบเป็นจังหวัด โรงเรียนพิริยาลัยจึงกลับมาเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดตามเดิม มีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า โรงเรียนประจำจังหวัดแพร่พิริยาลัย

ในปี พ.ศ. 2477 ทางราชการทหารได้อนุเคราะห์ไม้อาคารที่ทำงาน และบ้านพักจากตำบลเด่นชัยให้แก่โรงเรียน รวมกับเงินที่ได้รับเงินบริจาคสมทบอีกส่วนหนึ่งจากประชาชนชาวเมืองแพร่ นายคำรพ นุชนิยม ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ในขณะนั้นด้วย ได้ซื้อที่นาติดถนน เพชรรัตน์ (ถนนยันตรกิจโกศล) เป็นที่ตั้งโรงเรียนแห่งใหม่ ่แล้วสร้างอาคารไม้สองชั้น จำนวน 10 ห้องเรียนขึ้น (อาคารผึ้ง ปัจจุบันได้รื้อถอนไปแล้ว) ณ บริเวณที่ตั้งอาคาร 2 (ไชยลังกา) และอาคาร 3 (นิกรกิตติการ) ขณะนี้

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2478 โรงเรียนประจำจังหวัดแพร่พิริยาลัย ได้ย้ายมาเปิดสอนในสถานที่แห่งใหม่ เป็นต้นมา มีนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 และในปีนั้นได้เปิดสอบชั้นพาณิชยการปีที่ 5 ด้วย ต่อมาได้ขยายถึงพาณิชยการปีที่ 8 (เป็นโรงเรียนแห่งแรกในภาคเหนือตอนบนที่เปิดสอนชั้นพาณิชยการ)

  • พ.ศ. 2481 ยุบชันมัธยมพาณิชยการและประถมศึกษา มาเป็นสอนชั้น
  • พ.ศ. 2500 เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2503-2505 ยุบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 คงเปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 หรือ ม.ศ. 1 (มัธยมศึกษาปีที่4) ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือ ม.ศ. 5 (มัธยมศึกษาปีที่ 8)
  • พ.ศ. 2511 โรงเรียนได้รับพิจารณาให้อยู่ในโครงการโรงเรียนมันธยมศึกษาในชนบท (คมช.)
  • พ.ศ. 2517 โรงเรียนได้รับพิจารณาให้เข้าอยู่ในโครงการพัฒนาโรงเรียนส่วนภูมิภาค กลุ่มที่ 2 (คมภ.)
  • พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณสร้างอาคาร 4 (อาคารเฉลิมพระชนม์ 60 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ)[1]

รายนามคณะผู้บริหาร

แก้
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายเต่า พ.ศ. 2450 - 2451
2 นายโชติ พ.ศ. 2451 - 2454
3 ขุนวรวุฒิพิเศษ (ยศ) พ.ศ. 2454 - 2456
4 ขุนสรรพิทย์พิเศษ (สวาสดิ์ พิลาเนีย) พ.ศ. 2456 - 2459
5 ขุนดรุณวิทย์วรเศรษฐ(ยง ศิลปคุปต์) พ.ศ. 2459 - 2462
6 ขุนกิตติวาท (ผล สิงหผลิน) พ.ศ. 2462 - 2467
7 ขุนจรรยาวิฑูร (วิฑูร ทิวทอง) พ.ศ. 2467 - 2470
8 นายเล็ก น้ำทิพย์ พ.ศ. 2470 - 2472
9 ร.อ.ต.ขุน มีนะนันท์ พ.ศ. 2472 - 2472
10 นายคำรพ นุชนิยม พ.ศ. 2473 - 2478
11 นายลือ ไชยประวัติ พ.ศ. 2478 - 2492
12 นายส่ง ไชยสิทธิ์ พ.ศ. 2492 - 2498
13 นายพรหมมินทร์ แสนศิริ พ.ศ. 2498 - 2506
14 นายสุด สุวรรณาคินทร์ พ.ศ. 2506 - 2509
15 นายศรีสมมาตร ไชยเนตร พ.ศ. 2509 - 2523
16 นายวิทูร ญาณสมเด็จ พ.ศ. 2523 - 2527
17 นายขจร หาญจิต พ.ศ. 2527 - 2534 , พ.ศ. 2536 - 2537
18 นายทองอินทร์ ไชยนวรัตน์ พ.ศ. 2535 - 2536 , พ.ศ. 2537 - 2542
19 นายเนาวรัตน์ คณะนัย พ.ศ. 2542 - 2544
20 นายมานพ ดีมี พ.ศ. 2544 - 2546
21 นายพิทักษ์ บุณยเวทย์ พ.ศ. 2547 - 2551
22 นายสรพลรัตน์ กุมภิรัตน์ พ.ศ. 2551 - 2552
23 นายพงศ์พันธุ์ เป็งวงศ์ พ.ศ. 2552 - 2555
24 นายอุบลศักดิ์ ขีดสร้อย พ.ศ. 2555 - 2558
25 นายเลิศชาย รัตนะ พ.ศ. 2558 - 2566
26 ดร.เลิศฤทธิ์ เรือนละหงษ์ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

รายชื่ออาคาร

แก้
  • อาคาร 1 - อาคารพิริยะ อาคารอำนวยการ
    • ชั้นที่หนึ่ง ฝ่ายบริหารงานงบประมาณและธุรการ ห้องผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารทั่วไปและส่งเสริมสวัสดิภาพและสวัสดิการ ฝ่ายบริหารวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มสธ
    • ชั้นที่สอง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ฝ่ายแนะแนว
    • ชั้นที่สาม ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
  • อาคาร 2 - อาคารไชยลังกา
    • ชั้นที่หนึ่ง ห้องพยาบาล
    • ชั้นที่สอง ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และห้องเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,4
    • ชั้นที่สาม ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และห้องสมุดนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
    • ชั้นที่สี่ ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-6
  • อาคาร 3 - อาคารนิกรกิตติการ อาคารวิทยาศาสตร์
    • ชั้นที่หนึ่ง ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการชีววิทยา ห้องเรียนทั่วไป
    • ชั้นที่สอง ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไป ห้องพักครู
    • ชั้นที่สาม ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการเคมี ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3
  • อาคาร 4 - อาคารเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    • ชั้นที่หนึ่ง ฝ่ายบริหารงานบุคคลและส่งเสริมคุณภาพนักเรียน ห้องสภานักเรียน ห้องโสตทัศนศึกษา 1
    • ชั้นที่สอง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 4
    • ชั้นที่สาม ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 2
    • ชั้นที่สี่ ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
  • อาคาร 5 - อาคารฉลองราชย์ 60 ปีพิริยานุสรณ์
    • ชั้นที่หนึ่ง ห้องโสตทัศนศึกษา 2 ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
    • ชั้นที่สอง ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
    • ชั้นที่สาม ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องพักครูสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ห้องพักครูระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ห้องสายลมหวล)
    • ชั้นที่สี่ ห้องเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องเรียนจริยธรรม
  • อาคาร 6 - อาคารทิพยศิลป์
    • ชั้นที่หนึ่ง ฝ่ายกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา
    • ชั้นที่สอง ห้องเรียนธุรกิจศึกษา ห้องเรียนนาฏศิลป์
    • ชั้นที่สาม ห้องเรียนดนตรีศึกษา ห้องเรียนนาฏศิลป์
    • ชั้นที่สี่ ห้องปฏิบัติการงานช่าง
  • อาคาร 7 - อาคารเฉลิมราชย์พิริยานุสรณ์
    • ชั้นที่หนึ่ง ห้องจัดและออกอากาศรายการวิทยุโรงเรียน 107.25 FM ห้อง Resource Center ห้องสมุด ห้องสมุดออนไลน์
    • ชั้นที่สอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 3
    • ชั้นที่สาม ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 3
    • ชั้นที่สี่ ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 6
  • อาคาร 8 - อาคารเกษตร ห้องเรียนเกษตร คหกรรม
  • อาคาร 9 - อาคารภูมิพิริยานุสรณ์
    • ชั้นที่หนึ่ง ห้องฝ่ายกิจการนักเรียนและปกครอง ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
    • ชั้นที่สอง ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 5
    • ชั้นที่สาม กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ) ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 5
    • ชั้นที่สี่ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น) ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 5
  • หอประชุมผึ้งหลวง สร้างขึ้นเมื่อปี 2538
  • อาคารผึ้งเงิน ธนาคารโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ สนับสนุนโดยธนาคารออมสิน
  • อาคารผึ้งทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา
  • อาคารเจ้าหลวง ห้องประชาสัมพันธ์ ศูนย์อาเซียนศึกษา โรงอาหาร

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Piriyalai School Phrae - ประวัติโรงเรียน". sites.google.com.
  • หนังสือรายงานคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ปี 2549

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้