ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์
ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (9 ตุลาคม พ.ศ. 2504 –) หรือเป็นที่รู้จักในนาม โป่ง หินเหล็กไฟ เป็นนักร้องนำและนักแต่งเพลงของวง ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์, หิน เหล็ก ไฟ และเดอะซัน เจ้าของฉายา กระเดือกทองคำ และ ออซซี ออสบอร์นเมืองไทย[2] เขาอยู่ในวงการมายาวนานกว่า 40 ปี[2] และเป็นที่ยอมรับจากเสียงร้องที่ทรงพลังและคำประพันธ์ที่สละสลวย ทำให้ผลงานเพลงของเขาได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก[2]
ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ |
รู้จักในชื่อ | โป่ง หิน เหล็ก ไฟ, โป่ง ปฐมพงศ์, โป่ง เดอะ ซัน, โป่ง ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์, วู้ดดี้ ดิคาปริโอ้ |
เกิด | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2504จังหวัดชุมพร ประเทศไทย |
แนวเพลง | เฮฟวีเมทัล ร็อก |
อาชีพ | นักร้อง, นักแต่งเพลง, นักธุรกิจ |
ช่วงปี | 2521 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | ห้องอัดเสียงทอง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ไมล์สโตน เรคคอร์ดส อาร์.เอส.โปรโมชั่น เบเกอรี่มิวสิค เรียลแอนด์ชัวร์ |
เว็บไซต์ | pong.stonemetalfire.com |
ประวัติ
แก้ปฐมพงศ์เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2504 ที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน ได้ชื่อว่า "ลูกโป่ง" หรือ "โป่ง" มาจากการที่มีปู่เป็นชาวจีนจึงเรียกชื่อปฐมพงศ์ไม่ชัด เพี้ยนเป็น "โป่ง" [3] จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปฐมพงศ์สนใจด้านดนตรีมาตั้งแต่เยาว์วัย โดยเขามีโอกาสฟังเพลงหลากหลายประเภท รวมถึงเพลงของดิอิมพอสซิเบิ้ล, พยงค์ มุกดา, สุรพล สมบัติเจริญ, ชาตรี ศรีชล, ศรคีรี ศรีประจวบ และ สายัณห์ สัญญา นอกจากนี้เขายังเคยนำเพลง คนหัวล้าน ของสุรพลไปประกวดร้องเพลงในบางโอกาส[2]
เส้นทางดนตรี
แก้เขาเริ่มสนใจดนตรีร็อกขณะกำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เนื่องจากเขาพบกับพิทักษ์ ศรีสังข์ซึ่งเป็นเพื่อนจากจังหวัดเดียวกันได้ตั้งวงนาอ้อนขึ้นมา[2] แต่เมื่อหลังจากสมาชิกแต่ละวงจบการศึกษาจึงถูกยุบไป[2] หลังจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้พบกับวีระ โชติวิเชียร ซึ่งต่อมาได้ร่วมกันก่อตั้งวงอินเฟอร์โน[2] ซึ่งอินเฟอร์โนมีโอกาสได้ไปแสดงในรายการของวิฑูร วทัญญูนักจัดรายการวิทยุชื่อดัง[2] ต่อมาเข้าเข้าสู่สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ในฐานะนักร้องนำวงโซดา และออกอัลบั้มชุดแรกคือ คำก้อน ในปี พ.ศ. 2528 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จากนั้นเขาร่วมกับโอฬาร พรหมใจก่อตั้งวง ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ ขึ้นมาหลังจากหมดสัญญากับต้นสังกัดเดิม และออกสตูดิโออัลบั้มสองชุด ได้แก่ กุมภาพันธ์ 2528 วางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งมีเพลงดังอย่าง อย่าหยุดยั้ง, ไฟปรารถนา และ หูเหล็ก ที่มีเพลงดังคือเพลงที่มีชื่อเดียวกับอัลบั้ม วางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2532[2]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 เขาร่วมกับนำพล รักษาพงษ์และณรงค์ สิทธิสารสุนทร ก่อตั้งวง หิน เหล็ก ไฟ ซึ่งใช้เวลาถึง 2 ปีจึงตั้งวงดนตรีได้สำเร็จเนื่องจากจักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัยซึ่งเป็นมือกีต้าร์ได้เข้าร่วมวง แต่เดิมเขาได้นำตัวเดโมของวงไปเสนอกับแกรมมี่ซึ่งเป็นต้นสังกัดเดิมแต่ถูกปฏิเสธ จากนั้นเขาจึงนำไปเสนอกับอาร์เอสซึ่งทางอาร์เอสได้ตอบรับ หลังจากนั้นวงจึงออกสตูดิโออัลบั้มชุดแรกที่มีชื่อเดียวกันกับวงในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงและมีเพลงที่ได้รับความนิยมเกือบทั้งชุด อาทิ นางแมว, ยอม, พลังรัก, เพื่อเธอ, สองคน, สู้, ก่อนจะสาย, ค้างคาวไฟ, ร็อกเกอร์ ฯลฯ ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 พวกเขาได้ออกสตูดิโออัลบั้มชุดถัดมาคือ คนยุคเหล็ก ซึ่งมีเพลงที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากเช่นกัน อาทิ หลงกล, มั่วนิ่ม, คิดไปเอง, หวาดระแวง ฯลฯ
หลังจากหิน เหล็ก ไฟออกผลงานทั้งสองชุดได้เกิดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกวง ทำให้เขาและจักรรินทร์ได้แยกตัวออกไปและก่อตั้งวง เดอะซัน ภายหลังเซลเวสเตอร์ ซี เลสเตอร์ เอสเตบัน มือกลองของวงได้เข้าร่วมกับเดอะซัน[2] ทั้งยังได้พิทักษ์ มือเบสซึ่งเป็นเพื่อนของเขาเข้าร่วมกับเดอะซันเช่นกัน และในเวลาไล่เลี่ยกันณรงค์และนำพลได้ก่อตั้งวงลาวา ซึ่งเพลงดังที่เป็นที่นิยมในนามเดอะซันได้แก่ พอแล้ว, Are You Ready To Rock, Vampire, ง่ายเกินไป และ ทำดีที่สุดแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 เขาและสมาชิกวงหิน เหล็ก ไฟได้กลับมารวมตัวอีกครั้งและออกสตูดิโออัลบั้มอีกสองชุด ได้แก่ Never Say Die มีผลงานเพลงดังคือ ศรัทธา ซึ่งวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2548 และชุด Acoustique ซึ่งได้นำเพลงดังของวงมาบันทึกเสียงใหม่ในรูปแบบอะคูสติก
นอกจากนี้แล้วยังมีผลงานการแสดง ในบทสมบทในภาพยนตร์เรื่อง พันธุ์ร็อกหน้าย่น ในบทของ วู้ดดี้ ดิคาริปโอ มือคีย์บอร์ดประจำวง ในปี พ.ศ. 2546 และ Super แหบ-แสบ-สะบัด ในปี พ.ศ. 2551[4][5] อีกทั้งปฐมพงศ์ยังเคยเปิดสังกัดเพลง เรียลแอนด์ชัวร์ (ค่ายเพลงในเครือ อาร์เอส) ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2546 และในปี พ.ศ. 2549 สังกัดเพลงดังกล่าวก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนัก จึงตัดสินใจยุบ และในปี พ.ศ. 2558 ได้ค้นหาร็อกเลือดใหม่ Super Rock Project เพื่อร่วมงานกับค่ายเพลง เรียลแอนด์ชัวร์ โดยในวันที่ 1 มิถุนายน ปีเดียวกัน จะเป็นการเปิดรับผลงานเพลงจากศิลปินหน้าใหม่[6]
ชีวิตส่วนตัว
แก้เขาสมรสกับจริยา สมบัติพิบูลย์ โดยมีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ได้แก่ ฐิติชา สมบัติพิบูลย์ นักร้องในสังกัดกามิกาเซ่[7] และลูกชายชื่อ "จูเนียร์"
ผลงาน
แก้อัลบั้มวง
แก้- คำก้อน พ.ศ. 2528 วง โซดา
- กุมภาพันธ์ 2528 พ.ศ. 2530 วง The OLarn Project
- หูเหล็ก พ.ศ. 2532 วง The OLarn Project
- หิน เหล็ก ไฟ พ.ศ. 2536 วง หิน เหล็ก ไฟ
- ร็อกเพื่อนกัน พ.ศ. 2536 วง หิน เหล็ก ไฟ, ไฮ-ร็อก, หรั่ง ร็อกเคสตร้า
- คนยุคเหล็ก พ.ศ. 2538 วง หิน เหล็ก ไฟ
- เดอะ ซัน พ.ศ. 2539 วง เดอะซัน
- เสือ สิงห์ กระทิง แรด พ.ศ. 2541 วง เดอะซัน
- ถนนพระอาทิตย์ พ.ศ. 2543 วง เดอะซัน
- The Olarn Project พ.ศ. 2545 วง ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์
- Never Say Die พ.ศ. 2548 วง หิน เหล็ก ไฟ
- Acoustique พ.ศ. 2549 วง หิน เหล็ก ไฟ
- ถนนพระอาทิตย์ Extended Edition พ.ศ. 2560 วง เดอะซัน
ผลงานเดี่ยว
แก้- อัลบั้มเดี่ยว The Game 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
- อัลบั้มเดี่ยว Sexperience 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
- ซิงเกิล ก้าวหนึ่งในทะเล 13 กรกฏาคม พ.ศ. 2561
- ซิงเกิล สมุททานุภาพ (Feat. สันติ ลุนเผ่) พ.ศ. 2561
- ซิงเกิล คุณคือฮีโร่ (Feat. พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร) 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
- ซิงเกิล สู้ไปด้วยกัน พ.ศ. 2563
อัลบั้มรวมเพลง
แก้- บัลลังก์ร็อก (10 ธันวาคม 2558)
อัลบั้มพิเศษ
แก้- อัลบั้มพิเศษ คนปลูกต้นไม้ (กันยายน 2545)
- อัลบั้มพิเศษ A Tribute To อิทธิ พลางกูร (กันยายน 2547)
- อัลบั้มพิเศษ ลูกของพ่อ (26 ตุลาคม 2549)
- อัลบั้มพิเศษ คิดถึงแม่ เรารักแม่ (1 กรกฏาคม 2549)
- อัลบั้มรวมเพลง ลูกของแม่ (กรกฏาคม 2550)
- อัลบั้มรวมเพลง รักพ่อ คิดถึงแม่ (กรกฏาคม 2554)
- อัลบั้มรวมเพลง รักพ่อ รักแม่ (กรกฎาคม 2555)
- อัลบั้มรวมเพลง รักแม่ คิดถึงพ่อ (กรกฎาคม 2556)
คอนเสิร์ต
แก้- คอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อก ร็อก (29 พฤษภาคม 2536)
- คอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อก ร็อก คอนเสิร์ต เหล็กคำราม (13 พฤษภาคม 2538)
- คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ใช้สินค้าถูกกฎหมาย (17-18 สิงหาคม 2545)
- คอนเสิร์ต ทรัพย์สินทางปัญญา (29-30 สิงหาคม 2546)
- คอนเสิร์ต เก็บตะวัน A Tribute To อิทธิ พลางกูร (30 ตุลาคม 2547)
- คอนเสิร์ต Trilogy Rock Concert (30 เมษายน 2548)
- คอนเสิร์ต SMF Meeting Concert : รวมพลคนหิน เหล็ก ไฟ (10 กันยายน 2548)
- คอนเสิร์ต คิดถึงแม่ เรารักแม่ (14 สิงหาคม 2549)
- คอนเสิร์ต เราจะเป็นคนดี (2 มีนาคม 2550)
- คอนเสิร์ต มนต์เพลงคาราบาว (รับเชิญ) (7 กรกฎาคม 2550)
- คอนเสิร์ต xCOOLsive moment Miracle of voice the memories of Joe Pause (รับเชิญ) (15 ธันวาคม 2550)
- คอนเสิร์ต ฟ้าสีคราม (15 มิถุนายน 2551)
- คอนเสิร์ต Acoustic Winter Fest ครั้งที่ 3 (6 ธันวาคม 2551)
- คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 3 (14 มีนาคม 2553)
- คอนเสิร์ต วันซ์ อิน อะ ไลฟ์ ไทม์ คอนเสิร์ต โพรดิวซ์ บาย ภูษิต ไล้ทอง (รับเชิญ) (20-21 มีนาคม 2553)
- คอนเสิร์ต ร็อก ดาว คอนเสิร์ต (7 กันยายน 2553)
- คอนเสิร์ต 40 ปี the legend of the guitar (20-21 พฤศจิกายน 2553)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า 2 (รับเชิญ) (11 ธันวาคม 2553)
- คอนเสิร์ต Acoustic Rock (12 มีนาคม 2554)
- คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 4 (19 มีนาคม 2554)
- คอนเสิร์ต We Are The One Concert (23 กรกฎาคม 2554)
- จุดประกาย คอนเสิร์ต ซีรีส์ # 47 หงา & โป่ง Rock For Life (21 ตุลาคม 2554)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 3 (รับเชิญ) (10 ธันวาคม 2554)
- คอนเสิร์ต Do for Dad (3 มีนาคม 2555)
- คอนเสิร์ต Biker & River City ร่วมใจเพื่อสภากาชาดไทย (25 สิงหาคม 2555)
- คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 6 (16 มีนาคม 2556)
- คอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อก ร็อก ลีเจนด์ เหล็ก พันธุ์ เสือ (17 สิงหาคม 2556)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า 5 (รับเชิญ) (7 ธันวาคม 2556)
- คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 7 (2 มีนาคม 2557)
- คอนเสิร์ต Rock Talking Life (31 สิงหาคม 2557)
- คอนเสิร์ต Rock On The Lake Music Festival 2014 (22 พฤศจิกายน 2557)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า 6 (รับเชิญ) (6 ธันวาคม 2557)
- คอนเสิร์ต คืนรัง (20 ธันวาคม 2557)
- คอนเสิร์ต เส้นทางทรนง (26 ธันวาคม 2557)
- คอนเสิร์ต กองทุนพิทักษ์ป่าแก่งกระจาน (16 มกราคม 2558)
- คอนเสิร์ต Samutprakarn Bike Week (6 มีนาคม 2558)
- คอนเสิร์ต The Legends Live Concert ปรากฏการณ์ตำนานดนตรี (30 พฤษภาคม 2558)
- คอนเสิร์ต The Sun & Friends (17 ตุลาคม 2558)
- คอนเสิร์ต คืนรัง 2 (6 ธันวาคม 2558)
- คอนเสิร์ต Love & Hurt : Super Rock Ballads (30 เมษายน 2559)
- คอนเสิร์ต กาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ 43 (28 - 29 มิถุนายน 2559)
- คอนเสิร์ต การกุศล Friends for friend ช่วยค่ารักษาพยาบาล อดีตมือกลอง (วง Kaleidoscope) (18 พฤษภาคม 2559)
- คอนเสิร์ต Love & Hurt : Super Rock (23 กรกฎาคม 2559)
- คอนเสิร์ต The Legend of The Guitar (30 กรกฎาคม 2559)
- คอนเสิร์ต ร่างทรงคนเขียนเพลง (15 ตุลาคม 2559)
- คอนเสิร์ต คือเพื่อน เพื่อหารายได้มอบให้ เต้ย ไฮร็อก (12 มิถุนายน 2560)
- คอนเสิร์ต ทำให้หมา หาให้แมว (5 กรกฎาคม 2560)
- คอนเสิร์ต รวมพี่ รวมน้อง ร่วมร้อง เรามีเรา (10 กรกฎาคม 2560)
- คอนเสิร์ต The Legend Music Festival 2017 (11 พฤศจิกายน 2560)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า 8 (รับเชิญ) (10 ธันวาคม 2560)
- คอนเสิร์ต THE SUN THE LEGENDARY OF ROCK CONCERT (6 เมษายน 2561)
- คอนเสิร์ต คืนรัง 4 (20 มกราคม 2561)
- คอนเสิร์ต เพื่อผู้พิทักษ์ป้า (19 มีนาคม 2561)
- คอนเสิร์ต Road to Race Concert (14 กรกฎาคม 2561)
- คอนเสิร์ต คำภีร์ ไอ้เสือบุก (รับเชิญ) (29 กรกฎาคม 2561)
- คอนเสิร์ต ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว (8 สิงหาคม 2561)
- คอนเสิร์ต รำลึก มงคล อุทก (กันยายน 2561)
- คอนเสิร์ต IMMORTALS DAY (15 กันยายน 2561)
- คอนเสิร์ต Triple 3 Rock (1 ตุลาคม 2561)
- คอนเสิร์ต GSB & TIPlife present LEGEND OF ROCK CONCERT อำพล & บิลลี่ (รับเชิญ) (21 ตุลาคม 2561)
- คอนเสิร์ต Khao Lak Music Festival (2 ธันวาคม 2561)
- คอนเสิร์ต ชีวิตสัมพันธ์ Rock On The Beach (11 มกราคม 2562)
- คอนเสิร์ต เด็กเทป ครั้งที่ 3 (6 กรกฎาคม 2562)
- คอนเสิร์ต The Rock Power Concert ระเบิดพลังร็อก (27 กรกฎาคม 2562)
- คอนเสิร์ต รวมใจราชาแห่งร็อค (21 สิงหาคม 2562)
- คอนเสิร์ต SDO Charity Concert (22 สิงหาคม 2562)
- คอนเสิร์ต Legends Of Love Songs (19 ตุลาคม 2562)
- คอนเสิร์ต เพื่อไม่ทิ้งกัน ช่วยเหลือฟี้นฟู ผู้ประสบอุทกภัยนํ้าท่วมชาวภาดอีสาน (23 ตุลาคม 2562)
- คอนเสิร์ต Pong Fest (1 กุมภาพันธ์ 2563)
- คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 11 (27 มีนาคม 2563)
- คอนเสิร์ต Thailand Connection 2020 (16 พฤษภาคม 2563)
- คอนเสิร์ต Khaosod Legends Charity (23 พฤษภาคม 2563)
- คอนเสิร์ต Boost Up @rayong รวมพลัง อึด ฮึด สู้ (22 สิงหาคม 2563)
- คอนเสิร์ต ระริกระรี้ กระดี่ (19 ธันวาคม 2563)
- คอนเสิร์ต เพื่อไม่ทิ้งกัน แสดงช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องชาวใต้ (22 ธันวาคม 2563)
- คอนเสิร์ต Khaosod Acoustic Love (13 กุมภาพันธ์ 2564)
- คอนเสิร์ต เปิดหมวก Festival (29 กรกฏาคม 2564)
- คอนเสิร์ต Love Forever (12 กุมภาพันธ์ 2565)
- คอนเสิร์ต JAM FOR LAM (28 กุมภาพันธ์ 2565)
- คอนเสิร์ต Night In Bangkok For Lam Morrison (1 ตุลาคม 2565)
- คอนเสิร์ต Road For Life (4 มีนาคม 2566)
- คอนเสิร์ต RS HITS JOURNEY CONCERT 2023 #ต้นปีถึงทีฮิต (27 พฤษภาคม 2566)
- คอนเสิร์ต การกุศล เพื่อเพื่อนศิลปินและนักดนตรี (16 สิงหาคม 2566)
- คอนเสิร์ต Rockstar Café Glamping Day (12 กุมภาพันธ์ - 24 กันยายน 2566)
- คอนเสิร์ต ไทยรักกัน เติมใจให้กัน (24 กันยายน 2566)
- คอนเสิร์ต เพื่อนมีไว้ทำไม เพื่อหารายได้ช่วยเหลือ เมฆ วินัย ไกรบุตร (26 มีนาคม 2567)
- คอนเสิร์ต PONG 47 ปี Rock Never Dies (27 เมษายน 2567)
- คอนเสิร์ต กระทิง Rock Music Festival (27 เมษายน 2567)
- คอนเสิร์ต Grammy X RS HIT100 Vol.2 (11-12 พฤษภาคม 2567)
เพลงประกอบภาพยนตร์
แก้- เชอร์รี่ แอน (2544)
- Battle Royale (เพลง มิตรภาพชั่วนิรันดร์ ในนามวง ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์) (2543)
- พันธุ์ร็อกหน้าย่น (23 มกราคม 2546)
เพลงประกอบละครและซีรีส์
แก้- เพลงใจไปถึง เพลงประกอบละครชุดอินเดียเรื่อง หนุมาน สงครามมหาเทพ
ผลงานร่วมร้องรับเชิญ
แก้- ปืนโต - อัลบั้ม Tourist ตัวฤทธิ์
- แบ่งกัน - อัลบั้ม Songs From Different Scenes 3
- ฝาโลง - อัลบั้ม มนต์เพลงคาราบาว
- เดือด (Dream Starter) - บุดด้า เบลส และมีธนดล ช้างเสวก (ปิ๊ด) ธนชัย ตันตระกูล (ยอด) จาก บอดี้แสลม มาร่วมทำหน้าที่กีตาร์และเบส
- ยิ่งรัก ยิ่งแย่ - Dezember feat. โป่ง หิน เหล็ก ไฟ
- เพลง "ศักดิ์ศรีภูเก็ต" เพลงประจำสโมสรฟุตบอลภูเก็ต เอฟซี
- คนจนรุ่นใหม่ - อัลบั้ม หนึ่งก้าว ๖๐ เพื่อนพ้องร้องเพลงพงษ์เทพ
- เพลง "I wanna love you" - โป่ง หิน เหล็ก ไฟ และเดอะ ซัน (นำเพลงโลโซ นำมาเรียบเรียงใหม่) (พ.ศ. 2559)
- เพลง "บอกตัวเอง" - อัลบั้ม บอกตัวเอง วง Room 39 (พ.ศ. 2561)
- เพลง "เรื่องของหัวใจ" - โปรเจกต์ เพลงเรื่องใหญ่ ค่ายแบตเตอรี่มิวสิก (พ.ศ. 2562)
- เพลง "ไม่ใช่ความรัก" - LOMOSONIC อัลบั้ม My Hero (พ.ศ. 2562)
- เพลง "อย่าหยุดยั้ง" - ป๊อต โมเดิร์นด็อก ละคร ทริอาช (พ.ศ. 2565)
เพลงพิเศษ
แก้- เพลง ขวานไทยใจหนึ่งเดียว - จัดทำขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- เพลง ครองแผ่นดินโดยธรรม - จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
- เพลง สดุดีมหาราชา - จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา
- เพลง แสงสุดท้าย - จังหวะจะเดิน
- เพลง มองบนฟ้า - จัดทำขึ้นเพื่อจากหัวใจที่เต็มเปี่ยมด้วยรักและศรัทธาในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย
ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่น ๆ
แก้- เพลง คิง ออฟ ก็อป แด๊นซ์ ร้องโดย ไมเคิ่น ตั๋ง (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินหลายคน โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ โป่ง หิน เหล็ก ไฟ)
ผลงานภาพยนตร์
แก้- พ.ศ. 2541 ปาฏิหาริย์ โอมสมหวัง รับบท พ่อมด (รับเชิญ)
- พ.ศ. 2546 พันธุ์ร็อกหน้าย่น รับบทเป็น...วู้ดดี้ ดิคาปริโอ
- พ.ศ. 2551 ซูเปอร์ แหบ-แสบ-สะบัด รับบท ป้อม (รับเชิญ)
- พ.ศ. 2561 ผู้สาวขาเลาะ เดอะมูฟวีอินดี้ (รับเชิญ)
- พ.ศ. 2564 4 KINGS อาชีวะยุค 90 รับบท โป่ง (รับเชิญ)
ผลงานโปรดิวเซอร์
แก้- โปรดิวเซอร์ในอัลบั้ม Rock Blood ของวง โมทีฟ (วงดนตรี)[8]
- เอ็กเซ็คคิวทีฟโปรดิวเซอร์อัลบั้ม Born to be ศิลปินสังกัดเรียลแอนด์ชัวร์
โฆษณา
แก้- มันฝรั่งทอดกรอบ เลย์ ชุด ผมไปตัดซะ (พ.ศ. 2537)
ธุรกิจ
แก้- ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารค่ายเพลง เรียลแอนด์ชัวร์
- ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัท ร็อค คอฟฟี่ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป ร็อค คอฟฟี่ และเครื่องดื่มชูกำลัง ร็อคเพาเวอร์ (ร่วมกับ พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร รองประธานกรรมการ)
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติอย่างเป็นทางการของหินเหล็กไฟ
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 ตำนานชีวิต ‘โป่ง หินเหล็กไฟ’ อีกหนึ่งร็อกสตาร์ที่เคยอยู่ทั้ง GRAMMY-RS จากโซดา ถึงเดอะซัน
- ↑ บทสัมภาษณ์จากนิตยสาร RS Fanclub พ.ศ. 2538
- ↑ ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์
- ↑ "ประวัติจากเว็บไซต์ของหิน เหล็ก ไฟ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-11. สืบค้นเมื่อ 2012-01-03.
- ↑ Super Rock Project
- ↑ หน้า 29 บันเทิง, 'พ่อโป่ง' ย้อนวัยพา 'น้องแองจี้' ตะลุยหิมะเที่ยวสวนสนุกคลายร้อน. "ฟรีไทม์" โดย จ๊ะโอ๋. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,159: วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 แรม 10 ค่ำ เดือน 12 ปีมะแม
- ↑ "วิจารย์อัลบั้มใหม่ โมทีฟ (Rock Blood)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-11. สืบค้นเมื่อ 2014-10-20.