เลย์

เครื่องหมายการค้าประเภทของว่างและบริษัท

เลย์ (อังกฤษ: Lay's) เป็นชื่อผลิตภัณฑ์มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ เช่นเดียวกันกับชื่อบริษัทที่ก่อตั้งแบรนด์ขนมทอดกรอบในสหรัฐ บางครั้งมีการเรียกชื่อแบรนด์เป็นฟริโต-เลย์ เนื่องจากทั้งเลย์และฟรีโตสเป็นแบรนด์ที่ขายให้กับบริษัทฟรีโต-เลย์ ซึ่งกลายเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมดของเป๊ปซี่โคตั้งแต่ ค.ศ. 1965

โลโกเลย์
ไฟล์:Lay's Thailand logo 2019.svg
โลโกเลย์ในไทย
เลย์รสชาติดั้งเดิม

โดยหลักฟริโต-เลย์ใช้ชื่อแบรนด์ "Lay's" ในสหรัฐ และใช้ชื่ออื่น ๆ ในบางประเทศ เช่น: Walkers ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์; Smith's ในออสเตรเลีย; Chipsy ในอียิปต์[1]กับคาบสมุทรบอลข่านตะวันตก;[2] และ Tapuchips ในอิสราเอล[3]

ประวัติ

แก้

นาย เฮอร์แมน เลย์ เริ่มทำธุรกิจมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบที่เมืองแนชวิลล์ รัฐเทสเนสซี ในปี 1961 ดูลิน และ เลย์ ได้ตกลงที่จะร่วมกิจการระหว่างธุรกิจของพวกเขาเพื่อจัดตั้ง บริษัท Frito – Lay ต่อมาหน่วย ธุรกิจ Frito-Lay North America ทำรายได้รวม 29% ของรายได้ทั้งหมดของ PepsiCo และเป็น 36% ของกำไรบริษัท มีส่วนแบ่งการตลาด 70% ของธุรกิจขนมขบเคี้ยวในอเมริกาแต่ในระยะหลังมียอดการจำหน่ายที่ลดลงธุรกิจ เครื่องดื่มอัดลมของเป๊ปซี่ เล็งเห็น แนวโน้มหลักของธุรกิจนี้คือ การหันมาให้ความสำคัญกับคุณค่าของขนมขบเคี้ยวที่เพิ่มมากขึ้น โดยเชื่อว่าเป็นการรางวัลกับตัวเองด้วยของกินที่มีคุณค่าและมีรสชาติดีผู้ ผลิตหลายรายมีการพัฒนารสชาติใหม่ ขึ้นมาโดยใช้น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ มากขึ้น มีการปรับรสชาติให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค มีการจัดทำ package ที่มีขนาดเล็กลงเพื่อให้คำนึงถึงปริมาณที่คนบริโภคมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยง การกินในปริมาณที่มากเกินไปและยังสามารถพกพาได้สะดวกมากยิ่งขึ้น Frito-Lay เป็นขนมที่ครองตลาดได้มากที่สุดในอเมริกาที่วางจำหน่ายของอุปโภคสะดวกซื้อ โดยอาหารกึ่งสำเร็จรูปบรรจุห่อเพื่อให้รับประทานได้สะดวก และใช้เวลาเตรียมเพียงเล็กน้อย รวมไปถึง ขนมขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม และหวาน เช่น มันฝรั่งทอด เพรซเซิ้ล ข้าวโพดคั่ว แครกเกอร์ ถั่ว ธัญพืช คุ้กกี้ เป็นต้น ในปี 2008 มีการปรับปรุงประสิทธิภาพขนมขบเคี้ยวให้ดีต่อสุขภาพ เป็นการริเริ่มกลยุทธ์ใหม่ให้เป็นกลยุทธ์หลัก โดยพยายามลดส่วนประกอบที่เป็นไขมันออกจากขนมทั้งหมดของบริษัท เช่น Frito-Lay, Ruffles, Cheetos, Toritos, Doritos และมีความพยายามที่จะมองหานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะทำให้ขนมขบเคี้ยวให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น โดยเปิดตัวมันฝรั่งทอด Lay’s รสคลาสสิกที่ทอดด้วยน้ำมันดอกทานตะวัน และยังคงรักษารสชาติเดิมไว้ได้แต่สามารถลดไขมันชนิดอิ่มตัวลงได้ถึง 50%

ข้อโต้แย้ง

แก้

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2019 เป๊ปซี่โคสาขาอินเดียได้ฟ้องร้องชาวไร่สี่คนในรัฐคุชราตด้วยข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ทางบริษัทอ้างว่าพวกเขาปลูกมันฝรั่งที่บริษัททำให้เครื่องหมายการค้าไว้สำหรับมันฝรั่งกรอบเลย์ของตนโดยเฉพาะ[4][5] สองปีต่อมา การพิจารณาคดีเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชและสิทธิของเกษตรกร ค.ศ. 2001[6]

อ้างอิง

แก้
  1. "Chipsy Egypt". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 2019-08-13.
  2. "Who we are". pepsico.rs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-28. สืบค้นเมื่อ 2019-08-13.
  3. Tapuchips - Elite. Strauss-group.com. Retrieved on 2012-03-29.
  4. Rishi Iyengar (25 April 2019). "PepsiCo is suing farmers in India for growing the potatoes it uses in Lays chips". CNN. สืบค้นเมื่อ 2019-04-26.
  5. Jebaraj, Priscilla (2019-04-25). "Potato farmers cry foul as PepsiCo sues them". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 2019-04-26.
  6. Jebaraj, Priscilla (3 December 2021). "PepsiCo loses rights to special Lays variety potato in India". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 2021-12-04.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้